fbpx
ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

“ทาชิโร่จิม่า” 田代島 หนึ่งในสอง “เกาะแมว” ที่เลื่องชื่อของญี่ปุ่น เป็นเกาะขนาดเล็กที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือหรือชายฝั่งซังริคุ ในเขตเมืองอิชิโนะมากิ จังหวัดมิยางิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น เป็นถิ่นฐานอยู่อาศัยของผู้คนมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ด้วยสภาพอากาศของเกาะที่เหมาะกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทำให้มีผู้อพยพมาตั้งบ้านเรือนและประกอบกิจการเลี้ยงไหมอยู่ถึงสองหมู่บ้านบริเวณอ่าวที่สามารถตั้งท่าเรือได้ ได้แก่ หมู่บ้านโอโดมาริ และหมู่บ้านนิโทดะ ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดราวก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 บนเกาะแห่งนี้มีประชากรมากถึงห้าพันคนทำอุตสาหกรรมผ้าไหมเพื่อส่งออก

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

ระหว่างนั้นเองที่ชาวบ้านผู้เลี้ยงไหมได้นำแมวเข้ามาเลี้ยงบนเกาะ เนื่องจากแมวช่วยไล่กำจัดหนูที่เป็นศัตรูร้ายของหนอนไหมและผ้าไหม ชาวเกาะให้ความรักความเอ็นดูกับแมว ถึงขั้นทำศาลเจ้าแมวไว้บูชาตอบแทนการนำโชคความรุ่งเรืองของกิจการไหมและประมง ประกอบกับการประมงบนชายฝั่งซังริคุทีเป็นอาชีพรองของคนบนเกาะทำให้มีอาหารเหลือเฟือแก่หมู่มวลแมวจนจำนวนแมวบนเกาะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในทางตรงข้าม จำนวนประชากรมนุษย์บนเกาะกลับทยอยลดลง

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

เมื่ออุตสาหกรรมผ้าทอสมัยใหม่ที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ครองตลาด เมืองใหญ่นับวันขยายยิ่งขึ้น การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบนเกาะเล็กๆ ไม่ใช่วิถีชีวิตที่คนรุ่นใหม่จะอยู่ได้ ภายใน 50 ปี หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทาชิโร่จิม่าก็กลายเป็นเกาะร้างที่มีประชากรแมวมากกว่าประชากรมนุษย์ถึงสิบเท่าตัว โรงเรียนประถมบนเกาะปิดตัวลงในปี 1989 และศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ปิดลงในปี 2008 มีความพยายามจะกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยใช้การ์ตูนเป็นหลัก จากแนวคิดของนักเขียนการ์ตูนชื่อดังอย่างอิชิโมริ โชทาโร่ ผู้เขียนไอ้มดแดง (คาเมนไรเดอร์), จิบะ เท็ตสึยะ ผู้เขียนโจ สิงห์สังเวียน แต่ก็ไม่ค่อยได้ผลมากนักกับเกาะที่ห่างไกลเช่นนี้ จนกระทั่งการมาถึงของยุคอินเทอร์เน็ตที่เผยแพร่ความน่ารักของมวลแมวบนเกาะนี้ไปทั่วโลก

ในปี 2006 คู่สามีภรรยาผู้รักแมวคู่หนึ่งย้ายจากเมืองเซนได มาอยู่อาศัยบนเกาะทาชิโร่จิม่า แล้วทำบล็อกถ่ายภาพและเล่าเรื่องหมู่แมวบนเกาะแห่งนี้ ดึงดูดคนรักแมวจากทั่วญี่ปุ่นให้นั่งเรือมาสัมผัสสวรรค์ของแมวบนเกาะสักครั้ง และจากนั้นเกาะทาชิโร่จิม่าก็กลายเป็นข่าวบนหน้าสื่อออนไลน์ที่สรรหาความน่ารักของสัตว์เลี้ยงตัวเล็กๆ ให้ชาวเน็ตดู หลายคนเมื่อได้อ่านก็ดั้นด้นมาหาและเล่นกับแมวจำนวนหลายร้อยตัวบนเกาะที่แฝงอยู่กับป่าเขาและบ้านร้างบนเกาะ ทั้งดูน่ารักและลึกลับไปพร้อมกัน

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

ในเหตุการณ์มหาพิบัติคลื่นสึนามิเดือนกุมภาพันธ์ปี 2011 เกาะแห่งนี้ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ไม่มากเนื่องจากพื้นที่กลางทะเลมีเวิ้งอ่าวและเกาะแก่งกั้นไว้ ความเสียหายบริเวณอ่าวและท่าเรือถูกซ่อมแซมและแก้ไขอย่างรวดเร็ว ผู้คนที่อยู่อาศัยบนเกาะไม่มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บหนัก ส่วนหนึ่งเล่าว่าเป็นเพราะเจ้าแมวบนเกาะรู้ตัวและส่งเสียงร้องเตือนก่อนที่จะวิ่งหนีขึ้นเขาทันทีที่เกิดแผ่นดินไหว ทำให้ชาวเกาะตื่นตัวอพยพอย่างทันท่วงที

ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในทุกฤดูกาล ทำให้เมืองอิชิโนะมากิซึ่งเป็นเขตปกครองต้นสังกัดของทาชิโร่จิม่า บรรจุเกาะแมวแห่งนี้เป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวหลักของเมือง เพิ่มเที่ยวเรือเฟอร์รี่ระหว่างเมืองบนฝั่งกับเกาะจากวันละเที่ยวเป็นวันละสามเที่ยว และปรับปรุงสาธารณูปโภค เช่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ท่าเรือ ระบบไฟฟ้า รวมถึงสถานที่รองรับนักท่องเที่ยวให้มากและสะดวกสบายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีป้ายและแผนที่ภาษาอังกฤษอำนวยความสะดวก

การส่งเสริมการท่องเที่ยวของเกาะแมวยังต่อยอดไปด้วยการทำสินค้าที่ใช้แมวเป็นมาสคอตหลัก ตั้งแต่เสื้อยืด ถ้วยชา ปลาแห้งปลากรอบที่ชาวประมงบนเกาะจับมาแปรรูป จนถึงโฟโต้บุ๊กและซีดีรวมภาพ คลิปวิดีโอชีวิตแมวบนเกาะ เรียกได้ว่าใครเป็นคนรักแมวถ้าได้ไปเยือนเกาะนี้ต้องล้มละลายกลับมาเป็นแน่แท้

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

ปัจจุบันบนเกาะทาชิโร่จิม่า เริ่มมีผู้ย้ายกลับคืนถิ่นและผู้รักแมวมาอาศัยใหม่ คอยดูแล ให้อาหาร และทำธุรกิจต้อนรับนักท่องเที่ยวคนรักแมว โดยการสนับสนุนของเทศบาลเมืองที่ช่วยเหลือปรับปรุงบ้านร้างที่ไร้ผู้ครอบครองให้เข้าพักอาศัยได้ มีบริการมินชูคุ (เกสต์เฮาส์แบบญี่ปุ่น) และร้านอาหาร เครื่องดื่ม และของที่ระลึกบริการ เพราะความน่ารักของเจ้าแมวทั้งหลายบวกกับพลังของสื่อโซเชียลของโลกยุคใหม่และการจัดการคมนาคมที่เอื้อกันแบบญี่ปุ่นทำให้เกาะที่ใกล้ร้างกลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ทาชิโร่จิม่า ฟื้นเมืองด้วยมวลแมว

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save