fbpx
จุ๋ย จุ๋ยส์ : บ้านคือจุดเริ่มต้นของชีวิต ไม่มีบ้าน ไม่มีเรา

จุ๋ย จุ๋ยส์ : บ้านคือจุดเริ่มต้นของชีวิต ไม่มีบ้าน ไม่มีเรา

จุ๋ย จุ๋ยส์-สุทธิพงศ์ สุทินรัมย์ ศิลปิน นักดนตรี และนักแต่งเพลง เจ้าของผลงานประหลาดป๊อป เพลงที่เมื่อได้ยินต้องหวนฟังซ้ำ ศิลปินบีตบ็อกซ์ นักเปล่งเสียง ผู้สามารถแปลงอุปกรณ์รอบกายให้เกิดจังหวะ

แม้จะเกิดที่โคราชแต่ก็ยังไม่เคยรู้จักชีวิตลูกอีสานดีนัก 101 จึงชวนจุ๋ย จุ๋ยส์มาบอกเล่าความรู้สึก ถ่ายทอดเรื่องจริงจากผืนดินที่ให้กำเนิดออกมาเป็นเสียงเพลง

ก่อนจะได้พบกับ จุ๋ย จุ๋ยส์ ในสารคดี ‘ณ’ – บ้านของเขา เรื่องของเราทุกคน ตอน ‘เสียงแคนจากแผ่นดินอื่น’ และ ‘ทำนองน้ำ’ มาฟัง ‘เสียง’ จากหัวใจและมันสมองของนักดนตรีคนนี้

 

คิดว่า ‘ณ’ มีความน่าสนใจอย่างไร

สารคดีชุดนี้จะเป็นกระบอกเสียงให้กับคนเมืองทั่วไปได้รู้เรื่องราว ณ บ้านของคนอีกคนหนึ่ง ซึ่งเราอาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อน และทำให้ได้มองเห็นชีวิตอีกแง่มุมหนึ่งของคนในพื้นที่ บางทีเราอยู่กับตัวเอง มองเห็นแค่คนรอบข้าง แต่สารคดี ‘ณ’ จะพาเราไปสัมผัส ณ จุดที่เราไม่เคยมองเห็น หรือไม่เคยตั้งใจมอง

 

ในการทำสารคดีชุดนี้มีอะไรกระทบกระแทกจิตใจ หรือให้แรงบันดาลใจแบบที่ไม่คาดฝันมาก่อน 

หลักๆ เลยคือชีวิต ชีวิตมีหลากหลายแบบ แล้วชีวิตในสารคดีก็เป็นชีวิตที่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยสัมผัส เพิ่งได้เคยเข้ามาสัมผัสว่ามีชีวิตแบบนี้ด้วยเหรอ เขาใช้ชีวิตกันแบบนี้ มีปัญหาแบบนี้ แก้ปัญหากันแบบนี้

ชีวิตคนเราก็มีปัญหาหมดแหละ แต่เราอาจจะไม่เคยรับรู้ถึงปัญหาที่เขาเจอ เหมือนกับว่าได้มาแชร์ปัญหากัน ปัญหาของเรามีแบบหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาปากท้องของคนเมือง แต่พอลงพื้นที่ไปถ่ายทำสารคดี ‘ณ’ เราได้เจอปัญหาปากท้องอีกแบบหนึ่ง ซึ่งใหญ่และยากกว่าของเรามาก ไหนจะเรื่องการต่อสู้เพื่อที่ดิน เพื่อชุมชน แต่ชุมชนก็สามารถดูแลกันเอง จัดการกันเองได้ ทำให้รู้สึกอิ่มใจ ดีใจที่ได้เห็น เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้กับเราด้วย ทำให้เห็นว่าปัญหาของเรากลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปเลย แค่เราไม่รู้จะไปกินข้าวที่ไหน วันนี้เราจะทำอะไรดี อันนี้เป็นปัญหาที่น้อยมาก

 

 

มีวิธีการอย่างไรในการหยิบประเด็นแต่ละพื้นที่มาทำงานสื่อสาร

ของผมเหมือนเป็นตัวแทนของคนเมือง แปลงสารที่ผมได้เห็นได้สัมผัสออกมาเป็นเมโลดี้แบบที่คนเมืองน่าจะเข้าใจง่าย และสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้  หน้าที่ของเราคือไปดึงปัญหาจากพื้นที่ขึ้นมา อาจจะเป็นปัญหาที่เคร่งเครียด ยากจะเข้าใจ เราก็เอามาถ่ายทอดให้เข้าใจได้ง่ายด้วยสไตล์ดนตรีของผม ซึ่งเป็นเพลงป๊อป คอร์ดสวยๆ ก็หวังว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงมันได้มากขึ้น

 

 

การสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในตัวเราบ้าง 

เปลี่ยนในเรื่องการย้อนกลับมามองตัวเอง ถ้าเกิดเรารู้สึกท้อ หรือเวลาคิดงานไม่ออก ก็มองกลับไปตอนถ่ายรายการ ซึ่งที่ผมไปเจอทั้งชุมชน ‘ดงขี้เหล็ก’ และ ‘คลองหินปูน’ ก็รู้สึกว่าปัญหามีเยอะ แล้วเขายังจัดการกันได้ แก้ปัญหากันได้ แล้วทำไมปัญหาของเราแค่เล็กน้อย จะแก้ไม่ได้ จากที่ได้คลุกคลีกับชาวบ้าน เห็นการจัดการ ทำให้เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีทางแก้ อาจต้องใช้เวลาหน่อย แต่แก้ได้แน่นอน

 

 

ความหมายของคำว่า ‘บ้าน’ คืออะไร

อย่างตอนไปดงขี้เหล็กเพื่อจะไปดูเขื่อนใต้ดิน ได้ไปสวนมะนาวของพี่บรรจง โห มะนาวลูกโตมาก ประทับใจมาก เพราะที่ดินทำการเกษตรคือชีวิตของเขา ถ้าผลผลิตดี ชีวิตเขาก็จะดีไปด้วย สำหรับเกษตรกร ที่ดินคือบ้าน คือหัวใจของเขา บ้านคือจุดเริ่มต้นของชีวิต ทุกคนต้องมีบ้าน ถ้าไม่มีบ้านก็เหมือนกับคนเร่ร่อน ไม่มีหลักไม่มีฐาน บ้านคือสถานที่ที่ทำให้เรามีแรง เพื่อต่อสู้กับสิ่งที่อยู่ข้างนอก บ้านคือเกราะกำบัง เกราะคุ้มภัยของเรา เอาไว้พักผ่อน พิงกาย เวลาเราเหนื่อย เราก็นอนพักที่บ้าน พอเรามีแรง เราก็ออกจากบ้านไปต่อสู้

……………………….

เชิญร่วม workshop ความคิดสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ศิลปะบอกเล่าปัญหาสังคมกับนักสร้างสรรค์หลากหลายแขนง

Eyedropper Fill ศิลปินสื่อผสมแห่งยุค
B-Floor กลุ่มละครเข้มข้นลึกซึ้ง
ชาติฉกาจ ไวกวี ช่างภาพยียวนกวนเท่
นิ้วกลม+โตมร ศุขปรีชา ครีเอทีฟและมือเขียนบทแห่งทีม 101

ในงานเปิดตัวสารคดี “ณ” – บ้านของเขา เรื่องของเราทุกคน บ่ายอาทิตย์ที่ 9 เมษายนนี้ เวลา 12.30-17.10 น. ที่ NOW Studio สยามสแควร์ ซอย 7

ลงทะเบียนฟรีได้ ที่นี่

 

และติดตามสารคดี ‘ณ’ – บ้านของเขา เรื่องของเราทุกคน ได้ทาง The101.world และช่อง NOW 26 ทุกบ่ายโมงครึ่งวันอาทิตย์ เริ่ม 23 เมษายนนี้

ร่วมสร้างสรรค์โดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) และเครือข่ายที่ดินแนวใหม่ ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองแห่งชาติ (คทช.)

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save