ปกป้อง จันวิทย์ เรื่อง
ใครเคยเยี่ยมชม National Museum of American History หนึ่งในพิพิธภัณฑ์สังกัด Smithsonian Institution กลางกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. น่าจะเคยเห็นงานประติมากรรมแกะสลักหินอ่อนชิ้นนี้ตั้ง ตระหง่านอยู่บนชั้นสอง
ดูออกไหมครับว่านี่คือ จอร์จ วอชิงตัน ผู้นำการปฏิวัติอเมริกันเพื่อประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ประธานการประชุมร่างรัฐธรรม นูญที่ฟิลาเดลเฟียในช่วงฤดู ร้อนปี 1787 บิดาผู้ก่อร่างสร้างประเทศ และประธานาธิบดีคนแรกสหรัฐอเมริกา
ผลงานชิ้นนี้มีจุดกำเนิดในวาร ะ 100 ปีชาตกาลของจอร์จ วอชิงตัน เมื่อปี 1832 รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาว่าจ้าง Horatio Greenough ประติมากรอเมริกันให้ส ร้างงานประติมากรรมของวอชิงตันเพื่ อจัดแสดงใน US Capitol Rotunda ห้องโถงกลมใต้หลังคาโดมตึกรัฐสภา
Greenough ใช้เวลา 9 ปีกว่าจะทำสำเร็จ แต่ผลงานของเขาได้รับเสียงวิจารณ์หนาหูมาก เพราะ Greenough เลือกที่จะสร้างสรรค์ภาพวอชิงตันล้อสไตล์เทพกรีกโบราณ เปลือยอก มือขวาชี้นิ้วขึ้นสวรรค์ มือซ้ายถือดาบ ขัดกับภาพจำของสังคมอเมริกั นที่มีต่อ(สห)รัฐบุรุษคนนี้ มิพักต้องพูดถึงว่านี่เป็นงานประติมากรรมจอร์จ วอชิงตันชิ้นแรกอย่างเป็นทา งการในนามประเทศสหรัฐอเมริก าอีกด้วย
สุดท้ายงานสลักหินอ่อนหนัก 12 ตันชิ้นนี้ก็ไม่สามารถฝ่าด่ านเสียงวิจารณ์เข้าไปนั่งอยู่ในอาคารรัฐสภาแห่งชาติได้ ตลอดรอดฝั่ง ต้องย้ายไปตั้งอยู่ที่สวนฝั่งตะวันออกนอกตึกรัฐสภา ต่อมาย้ายไปที่ Patent Office ตามด้วย Smithsonian Castle จนมาอยู่ที่ National Museum of American History ในที่สุด
Greenough ตั้งใจสร้างวอชิงตันโดยมีต้น แบบจากประติมากรรมกรีกโบราณ Zeus Olympios ของ Phidias หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ขอ งโลกยุคโบราณ เหตุที่เลือกกรีกโบราณเพราะ เป็นต้นธารประชาธิปไตย เขาหมายให้วอชิงตันเป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพ
ทำไมผลงานชิ้นนี้เป็นหนึ่งในงานศิลปะอเมริกันที่ชอบที่สุด ของผม? นอกจากความกล้าหาญชาญชัยของ ศิลปินในการตีความวอชิงตันแ บบแหวกแนวไม่เหมือนใครแล้ว คำตอบอยู่ตรง ‘มือซ้าย’ ครับ
สังเกตดาบในมือซ้ายของวอชิง ตันไหมครับ เขาถือดาบไว้ ไม่ใช่เพื่อทำสงครามกับรัฐอื่นหรือฟาดฟันประชาชน แต่วอชิงตันหันด้ามดาบยื่นใ ห้ประชาชน
ไม่ใช่คมดาบ
นี่เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการ คืนอำนาจให้แก่ประชาชนหลังส งครามปฏิวัติอเมริกา (1775-1783) จนปลดแอกจากอังกฤษสำเร็จ
ว่ากันว่าในยุคหลังสงคราม ความนิยมของวอชิงตัน ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพฝ่า ยอาณานิคม พุ่งสูงมาก เพราะความสามารถด้านการทหาร และการเมือง รวมทั้งความเป็นผู้นำ วอชิงตันซึ่งช่วงนั้นอายุปร ะมาณ 45 ปี นำทัพอเมริกาจากอาณานิคม 13 แห่ง ซึ่งมีกำลังคนน้อยกว่าอังกฤ ษ 10 เท่า กำลังอาวุธก็ทาบกันไม่ติด แถมจำนวนมากเป็นชาวบ้านที่ไ ม่ได้ผ่านการฝึกทหารแบบเป็น เรื่องเป็นราวด้วยซ้ำ แต่สุดท้ายก็เอาชนะสงครามมห าอำนาจใหญ่ของโลกอย่างอังกฤ ษได้ด้วยฝีมือด้านการทหารแล ะการทูต
ด้วยเหตุนี้ ในช่วงหลังสงคราม ประชาชนและทหารจำนวนหนึ่งจึ งเรียกร้องให้สถาปนาจอร์จ วอชิงตันเป็นกษัตริย์หรือจั กรพรรดิ์ในอเมริกายุคเอกราช สมบูรณ์ แต่วอชิงตันไม่ยอมรับ กลับบอกให้สนับสนุนรัฐบาลพล เรือนตามระบบ แล้วลาออกจากตำแหน่งผู้บัญช าการกองทัพ ทิ้งยศฐาบรรดาศักดิ์กลับไปอ ยู่ไร่ชนบทของตัวเองที่เมาท์เวอร์นอน รัฐเวอร์จิเนีย
การตัดสินใจสละอำนาจในตำแหน่งจอมทัพว่าเจ๋งแล้ว ต่อมาวอชิงตันยังตัดสินใจสล ะอำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอีก
ในช่วงท้ายของการเป็นประธาน าธิบดีสมัยที่สอง ผู้คนจำนวนมากเรียกร้องให้ว อชิงตัน ซึ่งแปดปีก่อนหน้านี้ได้รับ เลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรก ของสหรัฐอเมริกาอย่างไร้คู่ แข่งด้วยคะแนนเอกฉันท์ เป็นประธานาธิบดีต่อไปเรื่อ ยๆ
ในเวลานั้นยังไม่มีกฎเกณฑ์จำกัดวาระการดำรงตำแหน่งประธ านาธิบดี แต่วอชิงตันกลับตัดสินใจแบบ เดียวกัน คือเลือกที่จะทิ้งอำนาจ กลับไปเป็นสามัญชนคนธรรมดา อยู่บ้านไร่เมาท์เวอร์นอนขอ งตัวเองจนวาระสุดท้าย ปล่อยให้ระบบการเมืองตามรัฐ ธรรมนูญเดินหน้าของมันต่อไป แสดงให้เห็นว่าสถาบันนั้นยิ่งใหญ่กว่าตัวบุคคล และตั้งบรรทัดฐานเป็นแบบอย่ างให้ผู้นำรุ่นหลังไว้
ประติมากรรม Enthroned Washington ชิ้นนี้ จึงจับแก่นภายในของวอชิงตัน และประชาธิปไตยไว้อยู่หมัด ในมือข้างนั้น ด้วยท่าจับดาบเล่มนั้น.
Related Posts
ทรัมป์ 101: ที่มาและที่ไปของสหรัฐอเมริกายุคประธานาธิบดีทรัมป์ โดนัลด์ ทรัมป์ ทำงานในตำแหน่งประธานาธิบดียังไม่ทันครบสองเดือน สหรัฐอเมริกาก็เปลี่ยนไปจนแทบจำไม่ได้ ทั้งโลกหายใจไม่คล่องคอ รอดูว่าทรัมป์จะปล่อยหมัดเด็ดที่คาดไม่ถึงอะไรออกมาอีก The101.world ชวนย้อนอ่านบทสัมภาษณ์เรื่อง 'ทรัมป์ 101' ระหว่าง ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กับ ปกป้อง…
ปัญหาประชาธิปไตยในอเมริกา การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2016 เปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองของ “ประชาธิปไตยในอเมริกา” อย่างมหาศาลเกินจินตนาการ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ชวนวิเคราะห์การเมืองอเมริกันภายใต้โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีแบบที่สหรัฐไม่เคยพบเจอมาก่อน
Why Leaders Lie? ทำไมผู้นำจึงโกหก คอลัมน์ READ-O-SAPIENS เดือนนี้ ว่าด้วยเรื่องการโกหกของท่านผู้นำ หัวใจของการโกหกอยู่ตรงไหน ผู้นำโกหกกันบ่อยจริงไหม พวกเขาโกหกไปเพื่ออะไร และการโกหกเพื่อประเทศชาตินั้นมีกี่รูปแบบ ภาคิน นิมมานรวงศ์ หยิบหนังสือ Why Leaders Lie: The…
กฎแห่งการมีกิริยาเป็นที่รัก จอร์จ วอชิงตัน และพระพุทธเจ้า ยึดมั่นใน "กฎกติกา" ที่คล้ายกันในเรื่องใด วรากรณ์ สามโกเศศ เล่าเรื่อง rules of civility กฎสำคัญแห่งความสำเร็จที่ไม่ควรมองข้าม
ประชาธิปไตย Democracy จอร์จ วอชิงตัน ประวัติศาสตร์อเมริกัน สมิธโซเนียน ผู้นำ
บรรณาธิการอำนวยการ The101.world