fbpx
เชฟบุ๊ค-บุญสมิทธิ์ พุกกะณะสุต : เพราะอาหารไม่มีพรมแดน

เชฟบุ๊ค-บุญสมิทธิ์ พุกกะณะสุต : เพราะอาหารไม่มีพรมแดน

เชฟผู้สร้างสรรค์อาหารฟิวชั่น เก่งกาจในการหยิบจับวัตถุดิบที่ไม่คิดว่าจะเข้ากันได้มารังสรรค์เป็นอาหารรสคุ้นลิ้น ทั้งเป็นพิธีกรที่บุกครัวมาแล้วหลากหลายพื้นที่ บุ๊ค-บุญสมิทธิ์ พุกกะณะสุต จะชวนคุณมาจับเข่าเล่าเรื่อง ‘แม่ทา’ สถานที่ที่บันดาลใจให้เขาฝันอยากเป็นเกษตรกร ในสารคดี ‘ณ’ – บ้านของเขา เรื่องของเราทุกคน

โชยกลิ่นป่า เคล้ากลิ่นฝัน มานั่งล้อมโต๊ะคุยกัน ฟังเรื่องบ้านของเขา สะท้อนถึงเรื่องเราทุกคน

 

 

สารคดี ‘ณ’ น่าสนใจอย่างไร

สิ่งที่น่าสนใจคือจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านชาวแม่ทา ได้รับรู้ความเป็นมาของเขาแบบจริงๆ จังๆ ในมุมที่เราอาจจะเคยแต่ได้ยิน แต่ไม่ได้เข้าไปสัมผัสมาก่อน หลังจากได้ยินโปรเจ็กต์นี้ก็ทำให้อยากรู้ว่าเขาใช้ชีวิตกับแบบไหน ทำอะไร ต้องการผลักดันให้เกิดอะไรขึ้นบ้างในบ้านของเขา แล้วเขาสามารถทำได้มากแค่ไหน

 

หยิบประเด็นในพื้นที่จริงมาทำงานอย่างไร มีวิธีการคิดงานอย่างไร

เราเป็นคนทำอาหาร เราเชื่อว่าอาหารไม่มีพรมแดน อาหารทุกชาติสามารถสื่อสารกับทุกคนทุกชนชั้นได้ ร่วมกันกินได้ คนเราจะเข้าใจกันมากขึ้นจากการพูดคุย และช่วงเวลาที่ได้คุยกันมากที่สุดคือรอบโต๊ะอาหาร เราเลยลองเข้าถึงชาวบ้าน สัมผัสชีวิตชาวบ้าน ผ่านอาหาร เรียนรู้วิถีชีวิตแท้ๆ ของเขาจากการทำอาหารและการร่วมโต๊ะอาหาร

 

 

ในฐานะเชฟ เมื่อต้องเลือกวัตถุดิบในพื้นที่แม่ทามาทำอาหาร เราเลือกอย่างไร

ด้วยความที่เราเป็นคนเมือง เมื่อได้ไปสัมผัสวัตถุดิบจริงที่แม่ทา ได้ไปรู้สึก เราได้รู้ว่าการที่พวกเขาช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติส่งผลมาถึงเรื่องคุณภาพอาหารทั้งหมด ตั้งแต่ผักปลอดสารพิษ นมสดใหม่ หรือแม้กระทั่งปูนา ในปัจจุบัน ปูนาหายากมาก ต้องเป็นนาที่ไม่มีสารเคมีเท่านั้นถึงจะเจอ การได้พบเจอสิ่งเหล่านี้ทำให้เรารู้ว่ายังมีอะไรอีกมากมายในโลกของอาหาร ถึงแม้ตัวเราเองเป็นเชฟ แต่เรายังเป็นแค่คนตัวเล็กๆ ในโลกของอาหารอันกว้างใหญ่

 

 

ช่วงที่ได้ลงพื้นที่ได้รับแรงบันดาลใจอะไรบ้าง

ประทับใจทั้งสามท่านที่เราได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วย รุ่นแรกคือพ่อพัฒน์ ซึ่งเป็นนักจัดการด้านอินทรีย์ ใช้ของจากธรรมชาติ ที่ชอบที่สุดคือแก๊สหุงต้มแบบชีวภาพ ซึ่งเราไม่เคยเจอมาก่อนว่าจะสามารถประหยัดทรัพยากรได้ขนาดนี้

พอได้มาคุยกับนายก อบต.กนกศักดิ์ คนทำงานรุ่นที่สอง ท่านก็ลบภาพเกี่ยวกับข้าราชการแบบเดิมที่เรารับรู้ไปจนหมด ด้วยการที่นายกฯ กนกศักดิ์ยินดีส่งต่ออำนาจให้คนรุ่นใหม่โดยไม่หวงอำนาจ เพราะอยากให้คนรุ่นต่อไปได้เข้ามาสานต่อการพัฒนาชุมชนอย่างเต็มที่ รู้สึกว่าเขาใจกว้าง และทำเพื่อชุมชนจริงๆ

มาถึงคนสุดท้าย อั๋น เป็นอะไรที่ชอบมาก เพราะเขามีความฝันที่แปลกดี คืออยากเป็นเกษตรกร เราไม่ค่อยได้เจอคนแบบนี้ แต่ที่แปลกยิ่งกว่านั้นคือ ชีวิตอีกด้านของเขาก็ดูเป็นคนรุ่นใหม่มากๆ เปิดร้านกาแฟ เล่นดนตรี เล่นอูคูเลเล่ แต่งตัวฮิปฮอป แต่กลับทำตามฝันตัวเองที่จะเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่

แล้วที่สำคัญที่สุด คนทั้งสามเจนเนอเรชันสามารถผสมกลมกลืนกันในชุมชนได้อย่างลงตัวมาก แล้วรูปแบบของแต่ละคนก็เกื้อหนุนกัน เอื้อประโยชน์ต่อกันทั้งหมด ทำให้เราประทับใจคนทั้งสามรุ่น

ดังนั้น แรงบันดาลใจหลักๆ มาจากชาวแม่ทาที่เราได้เข้าไปเห็นความพยายามต่อสู้เพื่อบ้าน เพื่อชุมชน ต่อสู้อย่างจริงจัง ไม่ย่อท้อ สู้จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง แล้วเขาก็ปลูกฝังความรักให้แก่คนในชุมชน เป็นแรงบันดาลใจที่เรารู้สึกว่าถ้าตั้งใจสู้ ตั้งใจจริง สักวันต้องสำเร็จเหมือนที่พวกเขาทำสำเร็จให้เห็นมาแล้ว

 

การสร้างสรรค์สารคดี ‘ณ’ เปลี่ยนแปลงอะไรในตัวเราไปบ้าง

สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนเลยคือหลังจากกลับมาจากแม่ทา เราอยากเป็นชาวสวน เหมือนจะพูดเล่น แต่เราไปซื้อที่ราชบุรีไว้แล้วด้วย คิดว่าปลายชีวิตของตัวเองอยากจะทำสวน เพราะจากที่เราได้เห็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่หวือหวา แต่มีความสุขกับธรรมชาติ เงินมากแค่ไหนก็ซื้อไม่ได้ เป็นความสุขที่เราพอใจในสิ่งที่เราเป็น เรารู้สึกว่าสถานที่แบบนั้นน่าอยู่มากสำหรับเรา

 

 

ความหมายของคำว่า ‘บ้าน’ คืออะไร

จริงๆ คำว่า ‘บ้าน’ ไม่ใช่แค่ที่พักอาศัย ไม่ใช่แค่ชุมชนที่เราอยู่ แต่คำว่า ‘บ้าน’ ในมุมที่รู้สึกจากสารคดี ‘ณ’ คือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คือความผสมกลมกลืน โดยเฉพาะที่แม่ทาเป็นการผสมผสานของคนแต่ละเจนเนอเรชันที่มีความต่างกันในเรื่องความคิด แต่เขากลับเอาความคิดที่แตกต่างมารวมกันแล้วทำให้อยู่ในรูปแบบที่ผสมกันอย่างได้ลงตัว และเกิดเป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่องไม่ได้เป็นความขัดแย้ง

……………………….

เชิญร่วม workshop ความคิดสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ศิลปะบอกเล่าปัญหาสังคมกับนักสร้างสรรค์หลากหลายแขนง

Eyedropper Fill ศิลปินสื่อผสมแห่งยุค
B-Floor กลุ่มละครเข้มข้นลึกซึ้ง
ชาติฉกาจ ไวกวี ช่างภาพยียวนกวนเท่
นิ้วกลม+โตมร ศุขปรีชา ครีเอทีฟและมือเขียนบทแห่งทีม 101

ในงานเปิดตัวสารคดี “ณ” – บ้านของเขา เรื่องของเราทุกคน บ่ายอาทิตย์ที่ 9 เมษายนนี้ เวลา 12.30-17.10 น. ที่ NOW Studio สยามสแควร์ ซอย 7

ลงทะเบียนฟรีได้ ที่นี่

และติดตามสารคดี ‘ณ’ – บ้านของเขา เรื่องของเราทุกคน ได้ทาง The101.world และช่อง NOW 26 ทุกบ่ายโมงครึ่งวันอาทิตย์ เริ่ม 23 เมษายนนี้

ร่วมสร้างสรรค์โดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) และเครือข่ายที่ดินแนวใหม่ ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองแห่งชาติ (คทช.)

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save