fbpx

Agony Uncle* Hema ลุงเฮม่าตอบปัญหา: ว่าด้วยนักแสดงในหนังไม่ตรงกับวรรณกรรม และการหยุดวิ่งในสวนสาธารณะเมื่อเพลงชาติขึ้น

ช่วงนี้คนถกเถียงเรื่องแคสต์นักแสดงไม่ตรงต้นฉบับวรรณกรรมหรือนิยาย ลุงมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างคะ – ผักบุ้ง

ตอบคุณผักบุ้ง 

บางคนว่ากระแสเรื่องนี้มันเริ่มจาก Bridgerton (ซีรีส์พีเรียดในยุครีเจนซี หรือต้นศตวรรษที่ 19 ในอังกฤษ ตัวละครผิวดำและผิวสีเข้มรับบทสำคัญ – คือปกติจะได้แค่บทคนรับใช้ยืนถือถาดไร้ปากเสียงอยู่มุมห้อง) แต่ลุงว่าน่าจะเริ่มจาก Hamilton แล้ว (ตัวละครผิวสีเล่นเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของอเมริกา แถมยังแรปกันตลอดเรื่องอีกต่างหาก) น่าจะเป็นงานที่ทำให้คนยอมรับเรื่องการเลือกตัวแสดงที่สีผิวหรือเชื้อชาติอาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า color-blind casting ซึ่งดูกันดีๆ แล้วน่าจะเป็นมากกว่านั้น คือเขาจงใจเลือกตัวแสดงผิวสีมาเล่นในท้องเรื่องที่น่าจะเป็นพื้นที่ของคนผิวขาวเพื่อประกาศจุดยืนทางการเมือง เรื่องโอกาสของคนต้องเสมอกัน เรื่องการรับรู้ของคนดูไม่ควรโดนครอบงำ ฯลฯ ซึ่งฝรั่ง (อีกนั่นแหละ) เรียกว่า color-conscious casting

บางคนอาจจะเถียงเข้าข้างฝรั่งอนุรักษ์นิยมว่า ก็ไม่ใช่, ราชินีแอน โบลีน (ในทีวีซีรีส์ซึ่งใช้นักแสดงผิวดำ) เป็นผิวขาวนะ หลานของกษัตริย์อาเธอร์แห่งอัศวินโต๊ะกลมจะให้ดาราแขกอย่างเดฟ พาเทล (Dev Patel) แสดงได้อย่างไรกัน (The Green Knight) หรือเอลดริส เอลบา (Idris Elba) ยังเคยมาดหมายจะมาเป็นเจมส์ บอนด์ ม่ายยยยนะ แล้วเงือกน้อยตนใหม่ที่นักร้องผิวดำ ฮัลลี เบลีย์ (Halle Bailey) แสดงนั่นอีกล่ะ รับไม่ได้

ว่าแต่มีใครเคยเห็นเงือกบ้างครับ ตกลงเงือกนี่ผิวขาวหรือผิวดำ

สีผิวของเงือกอยู่ในหัวของคนดูต่างหาก

นี่มันความบันเทิง ถ้าเขาเลือกตัวแสดงมาแล้วมันดูสนุก ก็น่าจะจบตรงนั้น ถ้าดูแล้วจินตนาการของหนังหรือละครไม่สามารถพาเราข้ามกรอบความคิดของตัวเองไปได้ ก็แปลว่าหนังไม่สนุก ดาราเล่นไม่ถึง หรือไม่เราอาจจะตีกรอบความคิดของเราเองไว้หนาเกินไป

บังเอิญว่าสังคมที่เราอยู่ไม่ค่อยมีการพูดถึงเรื่องพวกนี้ เราเลยไม่ค่อยอินกับความพยายามที่จะดึงเรื่องของสีผิวและเชื้อชาติมาหาความยุติธรรม หรือว่าเมืองไทยเป็นสังคมที่ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ

ไม่น่าจะใช่นะ

ไม่งั้นครีมผิวขาวกระจ่างใสจะขายดีหรือ

ผมชอบวิ่งมากเลยครับ ผมจะออกไปวิ่งตอนเย็นทุกๆ วัน ถ้าผมวิ่งในสวนสาธารณะจะมีการเป่านกหวีดให้หยุดวิ่งระหว่างเพลงชาติทุกครั้ง แต่มันค่อนข้างส่งผลกับการวิ่ง เพราะการหยุดกระทันหันจะทำให้หน้ามืด ถ้าไม่หยุดก็จะมีสายตาคนรอบข้างมอง ผมควรทำไงดีครับ – ปาโก้

ตอบคุณปาโก้

จำได้ว่าเคยคุยเรื่องนี้ไปแล้ว เอาเรื่องกฎหมายกันก่อน เรื่องการยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีนี่ไม่มีกฎหมายมารองรับนะครับ ไม่ยืนก็ไม่มีใครมาทำอะไรเราได้ (ว่ากันตามกฎหมายนะ) แต่การยืนเคารพเพลงชาตินั้นมันไม่ใช่แค่จารีต ซึ่งเราท้าทายได้ แต่การละเว้นไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 หมวด 9 มาตรา 48 มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ซึ่งลุงแน่ใจว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่รู้ข้อเท็จจริงนี้ ฮ่าๆๆๆ) อย่างไรก็ตามแต่การยืนเคารพธงชาติมันมีกฎหมายรองรับอยู่ครับ

ถึงจะมีข้อถกเถียงกันอยู่ถึงความเหมาะสมของการบังคับใช้กฎหมายนี้ ทั้งในฐานะของตัวกฎหมายเอง และในหลายบริบทมันเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต แต่นั่นเป็นเรื่องของนักกฎหมายและเขายังเถียงกันไม่จบ ลุงว่าทางที่ดีหยุดวิ่งตอนเพลงขึ้นน่าจะดีกว่า

สมัยที่ลุงยังวิ่งอยู่ในสวนสาธารณะลุงก็ไม่ชอบหยุดยืนเหมือนกัน เหตุผลเพราะมันเสีย pacing ตอนหลังก็ต้องปรับวิถีนิดหนึ่ง 

อย่างแรกคือไม่ให้เวลาวิ่งของตัวเองไปคาบกับช่วงแปดโมงเช้าหรือหกโมงเย็น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย

อย่างที่สองคือไหนๆ จะต้องเสีย pacing เพราะต้องหยุดวิ่งมายืนพักแล้ว ลุงเลยคิดเอาเองว่าเราต้องจัดให้หนักกว่าเดิม ปรับ pacing ของเราให้เป็นแบบ TABATA หรือ HIIT หนักสลับเบาเพื่อผลลัพธ์ที่เข้มข้นแข็งแรง คือทันทีที่ได้ยินเสียงเพลงเตือนอันแสนจะคุ้นหู ดูเหมือนจะชื่อเพลง ‘พม่าประเทศ’ ให้สปรินต์เลยครับ พอได้ยินเสียงนกหวีดก็หยุดพัก เสร็จแล้วก็น่าจะจัดอีกสัก 3-4 รอบ ช่วยสร้าง stamina ดีนักแล

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save