fbpx

ความแตกต่างระหว่างสองผู้นำ

ในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16:30 น. โดยกองทัพไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในนามของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร โค่นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดูเหมือนว่าโอกาสที่ประเทศไทยจะมีผู้นำทางการเมืองคนอื่นขึ้นมาเปรียบเทียบการทำงานกับพลเอกประยุทธ์ แทบเป็นไปไม่ได้เลย

จนกระทั่งการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานครที่ผ่านมา เมื่อคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้มีภาพลักษณ์เป็นอินเทอร์เน็ตมีม ในฐานะ “รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี” ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงแบบถล่มทลายมาเป็นอันดับ 1 คือ 1,386,215 คะแนน สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

คนหนึ่งเดินหาเสียงทุกวัน ให้ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาอย่างสง่างามในตำแหน่งผู้ว่าฯ ขณะที่อีกคนหนึ่งมาจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจ จนได้นายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องเดินตามท้องถนน ไม่ต้องลงสมัครรับเลือกตั้งให้ชาวบ้านเลือก แต่มาด้วยคะแนนเสียงจาก ส.ว. 250 เสียง ที่พรรคพวกตัวเองเป็นคนแต่งตั้งกันเข้ามาในสภา

เพียงระยะเวลาแค่ไม่ถึงเดือน คุณชัชชาติมาพร้อมกับภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำแบบใหม่ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากผู้นำอีกคนหนึ่งที่อยู่มายาวนานถึง 8 ปี

อะไรคือความแตกต่างในบทบาทของผู้นำทั้ง 2 คน

1) คนหนึ่งเห็นประชาชนเป็นลูกน้อง เพราะเคยชินกับการเป็นนายพลมาตลอด เชื่อมั่นตนเอง ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง

อีกคนยึดถือความคิดกลุ่มเหนือความคิดตนเอง เห็นประชาชนเป็นนาย เดินเข้าหาข้าราชการ หาชาวบ้านทุกฝ่าย เพื่อขอความคิดและความร่วมมือ

2) คนหนึ่งชี้นิ้วออกคำสั่งอย่างเดียว มักพูดเสมอว่า “สั่งการไปแล้ว” แต่ไม่สามารถอธิบายแนวทางการแก้ไขปัญหาอะไรได้ชัดเจน เพราะไม่มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ

อีกคนสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงาน ลงไปทำงานกับผู้ปฏิบัติงาน รับฟังปัญหาจริงที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาแก้ไข สามารถอธิบายแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจนว่าจะเดินทางไหน

3) คนหนึ่งลงพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นงานอิเวนต์เปิดตัว เปิดโครงการ เปิดการประชุม หรือกล่าวปาฐกถา ชาวบ้านธรรมดาเข้าถึงยาก โดยมีชายหัวเกรียนห้อมล้อมคอยอารักขาเป็นขบวน แม้แต่ปากกายังไม่ให้เข้าใกล้ ส่วนด้านนอกก็มีเสียงร้องของมวลชนจัดตั้งว่า “นายกฯ สู้ๆ”

อีกคนลงพื้นที่ตามลำพัง มีผู้ติดตาม 2-3 คน เพื่อจะได้เรียนรู้ รับฟัง และเข้าใกล้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด เพื่อจะแก้ไขได้ถูกทาง แต่ไปที่ไหนมีประชาชนห้อมล้อมคอยเป็นกำลังใจ

4) คนหนึ่ง เวลาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน มักจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ ชอบสั่งสอน ขี้บ่น และพูดจาฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง

อีกคน เวลาให้สัมภาษณ์ มักจะอารมณ์ดี รับฟังเสียงของคนอื่น ฉลาดในการตอบคำถาม และมีท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน

5) คนหนึ่ง เวลาเกิดวิกฤติ มักพูดแก้ตัวว่า สั่งการลูกน้องไปแล้ว แต่มักมีข้ออ้างต่างๆ ว่าทำไมถึงแก้ปัญหาไม่ได้

อีกคนลงไปคลุกหน้างาน รวมพลังทุกฝ่าย มีความมุ่งมั่นที่จะหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูลทุกอย่างเป็นหลักสำคัญในการแก้ไข

6) คนหนึ่งมักชอบโบ้ย เอาแต่ตำหนิ โยนความรับผิดชอบไปให้กับลูกน้อง ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นคนรับผิดชอบสูงสุด

อีกคนทำงานเป็นทีม ร่วมกันรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น ปล่อยให้ผู้ร่วมงานตัดสินใจดำเนินการได้เอง ไม่ต้องรอการตัดสินใจจากผู้บังคับบัญชา

7) คนหนึ่งพูดกับสาธารณชนทีไร ชอบบ่นว่าตัวเองทำงานหนักมากๆ แต่ไม่ยอมลาออก

อีกคนทำงานแต่เช้ามืด ไม่เคยบ่น บอกว่าเพราะอาสาเต็มใจเข้ามาทำงานเอง

8) คนหนึ่งให้สัมภาษณ์ทีไร ชอบแขวะคนอื่น โทษทุกคน โทษรัฐบาลสมัยก่อน ยกเว้นตัวเอง ทั้งๆ ที่อยู่มา 8 ปี

อีกคนฉลาดในการตอบ พูดจาไม่ดูถูกใคร พูดจาเชิงบวก ให้กำลังใจทุกฝ่าย เพื่อขอความร่วมมือกับทุกคน

9) คนหนึ่งอยู่ในโลกเก่า ไม่ยอมปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงอะไร ใช้แต่อำนาจ พูดบ่นแต่เรื่องเดิมๆ

อีกคนอยู่ในโลกใหม่ เข้าใจการเปลี่ยนแปลง และพร้อมจะก้าวไปกับคนทุกยุค เพื่อนำพาสังคมให้อยู่รอด

10) คนหนึ่งอยู่มา 8 ปีแล้ว ผลงานแทบไม่ปรากฎ ชาวบ้านเบื่อหน่ายมานาน มองไม่เห็นอนาคตของประเทศ แต่ตัวเองยังอยากอยู่ไปเรื่อยๆ

อีกคน ทำงาน ทำงาน ทำงาน พูดอะไรออกมา ก็ทำให้คนเห็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

คนหนึ่งเป็น commander ออกคำสั่งอย่างเดียวแบบทหาร จากบนลงล่าง หลงตัวเอง เห็นตัวเองเป็นศูนย์กลาง

อีกคนเป็น leader รับฟังคนทุกฝ่าย และชักจูงให้ผู้คนมาทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อเป้าหมายเดียวกัน

ในการบริหารบ้านเมืองภายใต้สภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้ เราอยากได้ผู้นำแบบใด

MOST READ

Thai Politics

3 May 2023

แดง เหลือง ส้ม ฟ้า ชมพู: ว่าด้วยสีในงานออกแบบของพรรคการเมืองไทย  

คอลัมน์ ‘สารกันเบื่อ’ เดือนนี้ เอกศาสตร์ สรรพช่าง เขียนถึง การหยิบ ‘สี’ เข้ามาใช้สื่อสาร (หรืออาจจะไม่สื่อสาร?) ของพรรคการเมืองต่างๆ ในสนามการเมือง

เอกศาสตร์ สรรพช่าง

3 May 2023

Politics

23 Feb 2023

จากสู้บนถนน สู่คนในสภา: 4 ปีชีวิตนักการเมืองของอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล

101 ชวนอมรัตน์สนทนาว่าด้วยข้อเรียกร้องจากนอกสภาฯ ถึงการถกเถียงในสภาฯ โจทย์การเมืองของก้าวไกลในการเลือกตั้ง บทเรียนในการทำงานการเมืองกว่า 4 ปี คอขวดของการพัฒนาสังคมไทย และบทบาทในอนาคตของเธอในการเมืองไทย

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

23 Feb 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save