คุณว่า…คุณเป็นคนดีอย่างที่คิดจริงหรือ?
คุณเลือกที่จะขโมยของเพื่อช่วยแม่ที่กำลังป่วยอยู่หรือไม่ ?
คุณจะเลือกจ่ายเงินช่วยลูกให้พ้นความผิดหรือเปล่า ?
ความดีกับคนดีแตกต่างกันยังไง ?
ทำไมคนไทยมีสถิติบริจาคเงินสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก แต่กลับไม่ชอบเป็นอาสาสมัคร ?
ทำไมสถิติการจ่ายค่าแป๊ะเจี๊ยะในประเทศไทยสูงขึ้น 16 เท่า ?
เก็บคำตอบของคุณไว้ในใจ และอย่าเพิ่งบอกใคร ถ้าคุณยังไม่ได้ดูคลิปนี้
ร่วมไขปริศนา “ทำไมคนไทยขี้โกง ?” ผ่านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมด้วยการทดลอง
กับคลิปความรู้ชิ้นใหม่ล่าสุด
—
“ทำไมคนไทยขี้โกง ?”
ผลิตโดย SIAM lab x WHY NOT Social Enterprise x 101
ควบคุมการผลิตโดย Knowledge Farm – ฟาร์มรู้สู่สังคม
อำนวยการผลิตโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
—
ช่วยๆ กันแชร์เพื่อสังคมที่ดีขึ้นกว่าเดิม
Related Posts
เป็นนักกีฬาแล้วโด๊ปยาทำไมการใช้สารกระตุ้นหรือโด๊ปยา เป็นปัญหาที่ปรากฏในแวดวงกีฬามาเนิ่นนาน และมักจะถูกโยงเข้ากับการทุจริตในการแข่งขันอยู่เสมอๆ ว่าแต่อะไรคือสาเหตุหลักที่ทำให้การโด๊ปยังเป็นที่นิยม แล้ววิธีแก้ปัญหาที่เด็ดขาดควรเป็นอย่างไร บทความนี้จะชวนคุณวิเคราะห์ไปด้วยกัน
ทำไมคนเราสองมาตรฐานเคยสงสัยไหมว่า ทำไมบางคนที่ต่อต้านคอร์รัปชันสุดลิ่มทิ่มประตู เกลียดนักการเมืองขี้โกงยิ่งกว่าสัตว์เลื้อยคลาน ถึงไม่รังเกียจตัวเองขณะยื่นแบงค์ร้อยให้ตำรวจเวลาถูกจับ ทั้งที่มันก็เป็นความ ‘ผิด-หลง’ แบบเดียวกันนั่นแหละ!
จะแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ต้องเริ่มที่ความไม่เท่าเทียมในสังคมคอร์รัปชันทำร้ายคนจนมากกว่าคนรวย เพื่อจะเข้าถึงบริการสาธารณะ คนจนต้องเจอกับการหลอกลวงและการเรียกร้องสินบนมากกว่าคนรวย ในขณะที่ผลประโยชน์จากการคอร์รัปชัน มักจะส่งผ่านไปถึงคนที่มีสายสัมพันธ์ในสังคมที่ดีกว่า-ซึ่งก็คือคนรวยนั่นเอง
ชี้ชะตาอนาคตแบรนด์ด้วย ‘ความโปร่งใส’หมดยุคที่ธุรกิจทั้งหลายจะทำตัวลับๆ ล่อๆ กันแล้ว เพราะเทรนด์ที่กำลังมาในตอนนี้คือความต้องการของบรรดาผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจกับ ‘ความโปร่งใส’ ของธุรกิจ... ยิ่งเปิดเผยเท่าไหร่ ยิ่งโดนใจคนมากเท่านั้น!
อยู่ในสังคมขี้โกง เราต้องโกงตาม?‘ใครๆ ก็ทำกัน’ คือประโยคฮิตที่เป็นสาเหตุของการคอร์รัปชัน จนทำให้การลุกมาสวนกระแสกลายเป็นเรื่องยากเสียเหลือเกิน แต่ลองเปลี่ยนวิธีคิดนิดเดียวแล้วจะรู้แล้วว่าอยู่แบบไม่โกงน่ะ ไม่ได้ยากขนาดนั้นหรอก!
-
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม คอร์รัปชัน พฤติกรรมการโกง