fbpx
เมื่อหุ่นยนต์เริ่มคล้ายมนุษย์ : อะไรคือจุดเริ่มต้นของความคล้าย

เมื่อหุ่นยนต์เริ่มคล้ายมนุษย์ : อะไรคือจุดเริ่มต้นของความคล้าย

วิโรจน์ ศุขพิศาล เรื่อง

แฟนการ์ตูนมังงะหลายท่านอาจจะเคยอ่านการ์ตูนเรื่องหนึ่งที่ชื่อว่า ‘คุโรมาตี้ โรงเรียนคนบวม’ เนื้อเรื่องการ์ตูนเรื่องนี้ก็วนเวียนภายในโรงเรียนที่รวมเหล่าบรรดาคนเพี้ยนๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยในเรื่องก็มีตัวละครตัวหนึ่งที่ชื่อว่า ‘เมกะซาวะ ชินอิจิ’ ตัวละครตัวนี้มีความน่าสนใจและเป็นที่พูดถึงในหมู่คนอ่านการ์ตูนว่า เจ้าเมกะซาวะนี้เป็นหุ่นยนต์หรือเป็นคนจริงๆ กันแน่ เพราะดูภายนอกแล้วมีความละม้ายคล้ายกับหุ่นยนต์ แต่ว่าการกระทำ การพูดจาและความรู้สึกนึกคิดมีความเป็นมนุษย์ไม่ผิดเพี้ยน จนมีวลีติดปากของเมกะซาวะว่า ‘ฉันเป็นเด็ก ม.ปลาย จริงๆ นะ’

 

แม้การ์ตูนเรื่องนี้จะมีเนื้อหาเพื่อความสนุกสนาน รวมเรื่องราวแปลกๆ ของแต่ตัวละคร  แต่เจ้าเมกะซาวะ ก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่ชวนพวกเรามาตั้งคำถามว่า อะไรที่ทำให้เรามองว่ามนุษย์กับหุ่นยนต์เริ่มมีความคล้ายกัน

 

เมกะซาวะ ชินอิจิ

 

คำว่า ‘หุ่นยนต์’ (robot) เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1921 โดย Karel Capek นักเขียนบทละครชาวเช็ก เป็นคำอธิบายตัวละครตัวหนึ่งที่เป็นเครื่องจักรคล้ายมนุษย์ที่ทำงานในโรงงาน

แต่เรามาเริ่มรู้จักหุ่นยนต์อย่างจริงจังในปี 1954 เมื่อหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยหุ่นยนต์ตัวแรกที่ใช้โรงงานมีชื่อว่า ‘Ultimate’ ผลิตโดย George Devo หุ่นยนต์ตัวนี้ไม่ได้มีรูปร่างคล้ายมนุษย์อย่างที่เราคิดกัน แต่เจ้า Ultimate มีเพียงแขนที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายชิ้นส่วนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยรับคำสั่งจากมนุษย์มาอีกที

หุ่นยนต์ในยุคแรกยังเป็นที่รู้จักในวงจำกัดอยู่เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม และสามารถ ‘ทำ’ งานบางอย่างที่เป็นงานหนัก มีความเสี่ยง และเป็นงานผลิตซ้ำ แต่ยังไม่สามารถทำงานที่มีความซับซ้อนได้และยังไม่สามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้

 

Ultimate หุ่นยนต์ตัวแรกที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่มาภาพ: Mother Jones

 

ต่อมา หุ่นยนต์ก็เริ่มพัฒนามากขึ้น โดยเริ่มก้าวออกจากในโรงงานอุตสาหกรรม ขยับเข้ามาใกล้กับชีวิตประจำวันของเรา และมีความคล้ายมนุษย์มากขึ้น หุ่นยนต์ที่คนทั่วไปน่าจะรู้จักกันมากที่สุดคือ ‘Asimo’ ที่ผลิตโดยบริษัทฮอนด้า

ความสามารถของ Asimo คือ นอกจากสามารถเดิน วิ่งคล้ายมนุษย์แล้ว มันยังสามารถพูดคุยโต้ตอบกับคนได้ด้วย แถมยังจดจำหน้าตา เสียง และลักษณะท่าทางของมนุษย์ได้

เจ้าหุ่นยนต์อีกตัวที่น่าทึ่งไม่แพ้กันคือ ‘Pepper’ ผลิตโดย Aldebaran Robotics ร่วมกับ SoftBank ที่ออกแบบมาให้เรียนรู้อารมณ์ของมนุษย์ได้ด้วย

หุ่นยนต์ Pepper ถูกนำไปใช้ในงานด้านบริการของภาคธุรกิจ เช่น การต้อนรับลูกค้า การแนะนำผลิตภัณฑ์ เป็นต้น หุ่นยนต์ในยุคนี้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากยุคแรกก็คือ มันสามารถ ‘สื่อสาร’ กับเราได้ แม้จะเป็นการสื่อสารที่เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดอยู่ก็ตาม

 

Pepper หุ่นยนต์ที่เรียนรู้อารมณ์ของมนุษยได้
ที่มาภาพ: Soft Bank Robotics

 

หุ่นยนต์กำลังก้าวเข้าสู่รอยต่อสำคัญ เมื่อเทคโนโลยีโดยเฉพาะทางด้าน Artificial Intelligence (AI) มีการพัฒนาขึ้นมาก AI เปรียบได้กับสมองของหุ่นยนต์ที่เป็นการเลียนแบบความคิดของมนุษย์ พัฒนาการด้าน AI ทำให้หุ่นยนต์สามารถสร้าง ‘กระบวนการคิด’ คล้ายมนุษย์มากขึ้น สามารถประมวลผลและสามารถคาดการณ์บางอย่างได้จากข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งในหลายกรณีมันยัง ‘ฉลาด’ กว่าคนด้วยซ้ำไป

อย่างไรก็ตาม แม้กระบวนการคิดของหุ่นยนต์จะมีการพัฒนาคล้ายกับความคิดของมนุษย์ขึ้นมาก แต่ความคิดของหุ่นยนต์ก็ยังไม่เหมือนกับมนุษย์เสียทีเดียว ยังมีกิจกรรมบางประเภทที่สมองของหุ่นยนต์ไม่สามารถทำได้

Tim Unban เจ้าของบล็อกชื่อดัง ‘Wait But Why’ บอกว่าพัฒนาการของ AI ในปัจจุบันสามารถคิดงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ความคิด การวิเคราะห์ การประมวลผลได้ และสามารถคิดงานที่เป็นโจทย์เฉพาะได้ แต่ AI ยังไม่สามารถทำบางกิจกรรมที่ ‘ไม่ได้ใช้ความคิด’ ได้

Urban ยกตัวอย่างว่าถ้าเราให้ AI แนะนำเพลงให้กับเรา AI จะสามารถเลือกเพลงนั้นจากข้อมูลการฟังเพลงที่ผ่านมาของเราได้ แต่หากเราถาม AI ให้คำแนะนำสำหรับการออกเดต สิ่งนี้ต้องอาศัยประสบการณ์หรือสัญชาตญาณ AI จึงไม่สามารถแนะนำให้ได้

แต่ Urban บอกว่า ในอนาคตไม่นานเกินรอ คือไม่น่าจะเกิน 45 ปี AI จะพัฒนาขึ้นไปได้มาก โดย AI จะสามารถสร้างกระบวนการคิดที่เหมือนกับมนุษย์มากขึ้นไปอีก

อาจเป็นแบบนี้ก็ได้ ที่ทำให้แฟนการ์ตูนเรื่อง ‘คุโรมาตี้ โรงเรียนคนบวม’ ถึงกับแยกไม่ออกว่า เจ้าเมกะซาวะ เป็นมนุษย์หรือหุ่นยนต์กันแน่ เพราะว่าหลายครั้งเหลือเกินที่มันทำอะไรหลายอย่างที่อาจไม่ได้ใช้ความคิดเลย ซึ่งนั่นคือคุณสมบัติอย่างหนึ่งของความเป็นมนุษย์

ที่ก็ไม่รู้ว่าเราควรดีใจหรือเสียใจดี!

 

อ่านเพิ่มเติม

-บทความ BLURRING THE BOUNDARY BETWEEN MAN AND MACHINES: ARE HUMANS THE NEW SUPERCOMPUTER? จาก Neuro Science News, April 13, 2016

-บทความ What if Computers Become Smarter Than Humans? จาก Wharton University of Pennsylvania, November 22, 2016

-บทความ THE HYPE—AND HOPE—OF ARTIFICIAL INTELLIGENCE ของ Om Malik จาก The New Yorker,  

-บทความ Who is Pepper? จาก Soft Bank Robotics

History of robots จาก Wikipedia

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save