fbpx
เมื่อจีนหมายชมดวงดาว (อังคาร)

เมื่อจีนหมายชมดวงดาว (อังคาร)

วิโรจน์ ศุขพิศาล เรื่อง

หนทางการก้าวขึ้นมาผู้นำด้านอวกาศของจีนไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่เพื่อสานฝัน ‘China Dream’ จีนมุ่งมั่นว่าจะไปสำรวจดาวอังคารให้ได้ภายในปี 2020

 

วงการด้านอวกาศกลับมาคึกคักอีกครั้งหลังจากที่จีนแง้มรายชื่อส่งเข้าประกวดเพื่อใช้เป็นชื่อยานอวกาศที่จะส่งไปดาวอังคารในปี 2020 ส่วนหนึ่งจาก 35,900 รายชื่อที่ส่งเข้าประกวดนี้มีตั้งแต่คอนเซ็ปต์เชิงจิตวิญญาณเช่น ไล่ล่าความฝัน (chasing dream) ไปจนถึงชื่อสัตว์ในจินตนาการ เช่น มังกรทะยานฟ้า (soaring dragon) ชื่อที่จะถูกใช้เรียกยานอวกาศลำใหม่นี้จะประกาศผลในวันที่ 24 เมษายน ซึ่งเป็นงานวันอวกาศประจำปีของจีน นอกจากเรื่องการตั้งชื่อยานอวกาศที่สุดล้ำแล้ว น่าสนใจว่าทำไมจีนถึงอยากขึ้นมารันวงการอวกาศกัน

จริงๆ แล้วรัฐบาลจีนมีการตั้งโครงการเกี่ยวกับอวกาศมากว่า 50 ปี แต่ก็ต้องเริ่มๆ หยุดๆ เพราะในช่วงทศวรรษนั้นจีนมีเรื่องอื่นที่ให้ต้องขบคิด ไม่ว่าจะเป็นปฏิวัติวัฒนธรรมในยุคเหมา การปฏิรูปเศรษฐกิจในยุคเติ้ง เสี่ยวผิง รวมไปถึงการพัฒนาทางด้านอวกาศในช่วงนั้นก็ต้องเรียนรู้จากประเทศอื่นโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่ความร่วมมือระหว่างประเทศก็ต้องหยุดไปเพราะจีนถูกกล่าวหาว่าพยายามล้วงความลับด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ทั้งยังถูกห้ามส่งนักบินอวกาศขึ้นไปประจำที่สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) เพราะเหตุผลด้านความมั่นคงอีกด้วย

แม้จะดูมีอุปสรรคนานัปการ จีนยังคงพัฒนากิจการอวกาศมาตามลำดับทั้งการส่งดาวเทียมขึ้นโคจรรอบโลก ไปถึงการส่งมนุษย์ขึ้นไปสำรวจอวกาศ ความฝันล่าสุดของจีนที่ประธานนาธิบดีนายสี จิ้นผิง หมายมั่นปั้นมือมากก็คือ การส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวอังคารให้เฉียดมากที่สุด ไปถ่ายภาพในระยะ 400 เมตรจากพื้นดิน

และฝันที่ใหญ่กว่านั้นคือการส่งมนุษย์อวกาศคนแรกที่ขึ้นไปเหยียบดาวอังคารให้ได้ภายในปี 2030 ซึ่งความก้าวหน้าด้านกิจการอวกาศของจีนจะเป็นการช่วยเสริมภาพ ‘China Dream’ ที่มุ่งฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของประเทศจีนให้กลับมาอีกครั้ง

หากเลียบเคียงมองประเทศอื่นว่าคิดเห็นประการใดจากโครงการด้านอวกาศของจีน หลายชาติก็มีความหวาดๆ ว่าการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของจีนนั้นสามารถนำไปใช้ในกิจการพลเรือนก็ได้หรืออาจนำไปใช้ในทางทหารก็ได้ สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรก็ยังดูมีความลังเลใจว่าควรมีดำเนินความร่วมมือด้านกิจการอวกาศกับจีนอย่างไรโดยเฉพาะประเด็นเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี แม้หลายชาติจะยังดูลังเลใจ แต่สหประชาชาติก็หยอดคำหวานกับทางการจีนในการเปิดสถานีอวกาศ ที่จีนมีแผนจะสร้างเสร็จในปี 2022 โดยให้ประเทศอื่นๆ สามารถใช้งานได้ด้วย หลังจากที่สถานอวกาศนานาชาติจะปลดระวางใน 2 ปีให้หลัง

China Dream ช่างดูยิ่งใหญ่โดยแท้!

 

อ่านเพิ่มเติม

-บทความ Why China wants to go to Mars ของ M.F. จาก The Economist, 

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save