fbpx
ถนนสู่ทำเนียบขาว (1) : Iowa

ถนนสู่ทำเนียบขาว (1) : Iowa

ปกป้อง จันวิทย์ เรื่อง

 

ล่าช้าไปเกือบหนึ่งวันเต็มๆ ผลการเลือกตั้งขั้นต้น (Primary) สนามแรกที่ไอโอวาก็ออกมาแล้ว แต่เป็นผลแค่ 62% นะครับ ยังห่างจาก 100% อีกไกล ประธานพรรคเดโมแครตที่ไอโอวามาดูงาน กกต. ไทยหรือเปล่า ถึงประกาศผลทั้งช้า ทั้งจบไม่ลง

ผู้แพ้วันนี้ชัดๆ คือพรรคเดโมแครต เรียกว่าเสียฟอร์มมาก ตั้งแต่ติดตามการเลือกตั้งอเมริกามาไม่เคยเจอกรณีแบบนี้ เล่นเอาโดนัลด์ ทรัมป์หัวเราะเยาะ ถือโอกาสทวีตด่าว่าพรรคเดโมแครตทำอะไรก็ไม่สำเร็จเหมือนตอนบริหารประเทศไม่ผิด

ผู้แพ้อีกคนที่หมดท่าสุดๆ คือโจ ไบเดน อดีตรองประธานาธิบดียุคบารัค โอบามา โพลว่าสูสีกับเบอร์นี แซนเดอร์ส สมาชิกวุฒิสภารัฐเวอร์มอนต์ ผลปรากฏว่าคะแนนเข้าที่สี่

ส่วนผู้ชนะประจำวันคือ พีท บูติจัจ หรือ “เมเยอร์พีท” อดีตนายกเทศมนตรีเซาท์เบนด์ รัฐอินเดียนา ที่ได้คะแนนเกินคาด ตีคู่กับลุงเบอร์นี่ รับแรงส่งต่อไปสนามหน้าคือนิวแฮมป์เชียร์ ถ้าพีทคว้าชัยได้อีกจะขึ้นชั้นมาอยู่กลุ่มตัวเต็งทันที และถ้าเบอร์นี่คว้าชัย ความเป็นเต็งหนึ่งก็จะยิ่งชัด ส่วนอลิซาเบธ วอร์เรน สมาชิกวุฒิสภารัฐแมสซาชูเซตส์ ก็ต้องรีบตีตื้นขึ้นมาให้ได้ก่อนจะเฟดหายไป ช่วงหลังคะแนนตกลงไปมาก

สนามเลือกตั้ง 2020 เริ่มต้นนับหนึ่งอย่างเป็นทางการแล้ว แต่พรรคเดโมแครตยังไม่ตกผลึกลงตัวว่ายุทธศาสตร์การเมืองแบบไหนถึงจะโค่นประธานาธิบดีทรัมป์ลงได้ จะเอาคนเก่าๆ กลางๆ อย่างไบเดนไปดึงเสียงฝั่งนั้น รวมถึงคนกลางๆ และชนชั้นกลางโดยเฉพาะคนทำงานผิวขาวที่ทิ้งพรรคไปหาทรัมป์เมื่อคราวก่อน หรือจะเอา anti-establishment แต่อยู่อีกขั้วหนึ่งทางซ้ายสุดอย่างเบอร์นี ปลุกคนอีกขั้วหนึ่งและคนหน้าใหม่ๆ ให้ออกมาสู้ทรัมป์ให้รู้แล้วรู้รอดกันไปเลย หรือจะเบาลงนิดลดดีกรีลงหน่อยมาซ้ายพิมพ์เดโมแครตอย่างวอร์เรน หรือจะเอาแนวคนหนุ่มสดใหม่สายกลางในเดโมแครต (สดจริงอายุไม่ถึง 40) ผู้ประกาศตัวเป็นเกย์ อดีตทหาร อดีตผู้บริหารเมืองเล็กๆ ประชากรแสนคนแถบมิดเวสต์ แต่ไม่มีประสบการณ์การเมืองระดับชาติเลยอย่างเมเยอร์พีท

เดโมแครตเลือกกันไม่ถูกว่าจะเอายังไงดี ข้างหนึ่งบอกไบเดนแข่งกับทรัมป์แพ้แน่นอน ต้องแนวแบบเบอร์นีถึงปลุกเดโมแครตให้ตื่นขึ้นได้ด้วยยาแรง อีกข้างบอกเบอร์นี่แข่งกับทรัมป์แพ้แน่นอน ต้องแนวแบบไบเดน ถึงจะรวมพลังสมานฉันท์ในพรรคไปลุยทรัมป์ได้ ส่วนวอร์เรนก็ต้องแข่งกันเองกับเบอร์นี เพราะแย่งฐานเสียงลิเบอรัลกัน แทนที่จะไปแข่งกับสายกลางเก่าอย่างไบเดนและกลางใหม่อย่างพีท ช่วงหลังจะเห็นสองคนซัดกันเองตัดคะแนนกันเองมากขึ้นๆ

อีกเรื่องคือทุกคนที่เอ่ยชื่อมา — แก่หมด เบอร์นี่ 78 ไบเดน 77 วอร์เรน 70 ส่วนพี่พีท (จริงๆ น้องพีทด้วยซ้ำ) 38 (ส่วน 40-50-60 แทบไม่เหลือรอด) ว่ากันว่าคนแก่ทั้งสามผ่านช่วงพีคทางการเมืองของตัวเองมาหมดแล้ว ส่วนน้องพีทก็ยังละอ่อนมาก รอบนี้เร็วเกินไปไหม คนเลือกก็เลือกไม่ถูกเหมือนกันว่าจะเอาไงดี จะเลือกจากอุดมการณ์ อายุ เพศ หรืออะไรดี (ส่วนเชื้อชาติและสีผิว ตกรอบกันไปหมดแล้ว เหลือแต่แอนดรูว์ หยาง)

ทั้งหมดทั้งปวง คนที่นั่งอยู่บนภู ดูเดโมแครตลุยกัน คอยเสี้ยมสนุก ก็คือทรัมป์ ซึ่งตอนนี้กุมสภาพในรีพับลิกันแบบไม่มีคู่แข่ง และเดินหน้าหาเสียงมาก่อนใครเพื่อน

คือตั้งแต่วันรับตำแหน่งประธานาธิบดี (ฮา)

ถ้าพรรคเดโมแครตหาทางออกไม่ได้โดยเร็วและไม่รีบเตรียมพร้อมลุยกับทรัมป์อย่างมีเอกภาพ มีโอกาสไม่น้อยที่ทรัมป์จะอยู่คู่โลกต่อไปอีกสี่ปี

ส่วนเดโมแครตก็จะตามรอยประชาธิปัตย์ คือลงเหวไป

ไปๆ มาๆ การเมืองอเมริกากับการเมืองไทยมีอะไรใกล้กันจนน่าตกใจในช่วงหลายปีมานี้.

 

หมายเหตุ: อ่าน ถนนสู่ทำเนียบขาว (2) : New Hampshire ได้ ที่นี่ 

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

17 Jul 2020

ร่วมรากแต่ขัดแย้ง ความบาดหมางระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย

อรอนงค์ ทิพย์พิมล เขียนถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่ทั้งสองประเทศมีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่าง จนนำไปสู่ความขัดแย้งในการช่วงชิงความเป็นเจ้าของภาษาและวัฒนธรรมมลายู

อรอนงค์ ทิพย์พิมล

17 Jul 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save