fbpx
‘Voice of the Wall’ ฟ้อนต์แห่งเสรีภาพ จากลายมือที่เคยฝากไว้บนกำแพงเบอร์ลิน

‘Voice of the Wall’ ฟ้อนต์แห่งเสรีภาพ จากลายมือที่เคยฝากไว้บนกำแพงเบอร์ลิน

บทความชวนดูงานศิลปะและนวัตกรรมจากโลกที่หนึ่ง ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้สังคมและชีวิตคน ผ่านสายตานักออกแบบมัลติมีเดียจากโลกที่สามในนามกลุ่ม Eyedropper Fill

Eyedropper Fill เรื่อง

ราว 60 ปีก่อน กำแพงเบอร์ลิน ถูกสร้างขึ้น แบ่งเยอรมนีออกเป็นสองฝั่งเยอรมันตะวันออก ภายใต้อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และอำนาจของสหภาพโซเวียต และเยอรมันตะวันตก ภายใต้อุดมการณ์เสรีนิยมและอำนาจของ 3 ประเทศตะวันตก อังกฤษ สหรัฐฯ และฝรั่งเศส

กำแพงสูง 4 เมตร ยาว 155 กิโลเมตร ไม่ได้ขีดคั่นเพียงเขตแดนบนแผนที่ อำนาจปกครอง และอุดมการณ์  แต่ยังแบ่งแยกผู้คน พลัดพรากครอบครัว มิตรภาพและคนรักออกจากกัน หลังกำแพงฝั่งเยอรมันตะวันออกเปรียบเสมือนคุก ผู้คนต้องใช้ชีวิตภายใต้การปกครองที่มีตำรวจคอยสอดส่องและควบคุมพฤติกรรมของประชาชนตลอดเวลา คนที่พยายามหลบหนีไปยังฝั่งตะวันตกร่วมร้อยถูกสังหารตลอดช่วงเวลาเกือบ 30 ปีที่กำแพงคงอยู่ จนกระทั่งวันที่กำแพงเบอร์ลินล่มสลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989 ประวัติศาสตร์ของกำแพงยังคงถูกใช้เป็นบทเรียนและสัญลักษณ์ เพื่อพูดถึงเรื่องเสรีภาพจวบจนปัจจุบัน

กำแพงเบอร์ลิน

ที่มาภาพ :  Associated Press/Lionel Cironneau

เดือนพฤศจิกายนผ่านมา ครบรอบ 30 ปีที่กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย ในปีนี้ Heimat – สตูดิโอออกแบบจากเบอร์ลิน สร้างสรรค์แบบอักษร (Font) ชื่อ Voice of the Wall มองเผินๆ เหมือนลายมือเขียนแบบกราฟิตี้ทั่วไป แต่ความพิเศษคือตัวอักษรทุกตัว สร้างขึ้นจากภาพถ่ายลายมือที่ผู้คนเคยเขียนไว้บนกำแพงเบอร์ลิน

Voice of the Wall

ที่มาภาพ : https://voiceofthewall.de

ย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่กำแพงยังอยู่ ประชาชนฝั่งเยอรมันตะวันออกถูกห้ามไม่ให้เข้าใกล้กำแพง ในขณะที่ฝั่งตะวันตก ศิลปิน แอคติวิสท์ และคนทั่วไป ใช้กำแพงเป็นเหมือนกระดานวาดภาพขนาดใหญ่ สร้างสรรค์ผลงานกราฟิตี้ เขียนถ้อยคำ และวาดภาพ สื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับเสรีภาพ รวมถึงเรียกร้องให้มีการทำลายกำแพง ศิลปินแอคติวิสท์ชาวอเมริกันผู้ล่วงลับอย่าง Keith Haring ก็เคยเขียนภาพความยาวกว่า 300 เมตรลงบนกำแพงนี้เช่นกัน

Voice of the Wall / Berlin Wall

ที่มาภาพ : Tseng Kwong Chi / https://publicdelivery.org/keith-haring-berlin-wall/

Matthias Storath ผู้อำนวยการฝ่ายความคิดสร้างสรรค์ของสตูดิโอ Heimat เล่าถึงแรงบันดาลใจของฟ้อนต์ Voice of the Wall จากคำถามที่ว่าหากกำแพงเบอร์ลินสามารถบอกกล่าวอะไรเราได้ ในวันนี้มันจะบอกเราว่าอะไร ?”

สตรีทอาร์ตและกราฟิตี้เป็นสื่อที่สร้างอิมแพคและขับเคลื่อนสังคมเสมอมา ในฐานะเสียงของคนในสังคม โดยเฉพาะสังคมที่ไร้เสรีภาพในการแสดงออก ชุดฟ้อนต์นี้จึงสร้างขึ้นให้ทุกคนใช้เพื่อแสดงออกถึงเสรีภาพที่ตัวเองมี ผ่านตัวอักษรที่เปรียบเสมือนเสียงของกำแพงเบอร์ลิน

Humans Unite Voice of the Wall

ที่มาภาพ : https://voiceofthewall.de

เราสามารถดาวน์โหลดชุดฟ้อนต์ Voice of the Wall ไปใช้ได้ ผ่านเว็บไซต์ https://voiceofthewall.de นอกจากนี้ ภายในเว็บไซต์ เรายังสามารถใช้ฟ้อนต์นี้พิมพ์ข้อความของตัวเอง สร้างเป็นภาพและดาวน์โหลดไปใช้เป็นแบนเนอร์ใน facebook, instagram และ twitter ได้

No More Dictatorship Voice of the Wall

ข้อความประกาศเสรีภาพที่ทุกคนพิมเข้าไป ภายหลังจะถูกรวบรวม นำไปพิมพ์เป็นหนังสือแจกจ่ายให้แก่ผู้นำประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสียงของเราให้กระจายต่อ ทำลายกำแพง’ – ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นที่กีดกั้นคนทั่วโลกจากเสรีภาพต่อไป

ชมวิดีโอแคมเปญ 

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save