fbpx
อีเวนต์และคอนเสิร์ตต้องปรับตัวอย่างไรในวันที่ไม่มีใครอยากออกมาจอยกัน

อีเวนต์และคอนเสิร์ตต้องปรับตัวอย่างไรในวันที่ไม่มีใครอยากออกมาจอยกัน

บทความชวนดูงานศิลปะและนวัตกรรมจากโลกที่หนึ่ง ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้สังคมและชีวิตคน ผ่านสายตานักออกแบบมัลติมีเดียจากโลกที่สามในนามกลุ่ม Eyedropper Fill

 

Eyedropper Fill เรื่อง

 

ในช่วงเวลาการระบาดของโควิด-19 หลายสถานที่ต้องปิดตัวลงชั่วคราว หรือไม่ก็ปรับเปลี่ยนวิธีการบริการเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของไวรัสให้ได้มากที่สุด คนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์, ความบันเทิง และการโฆษณาที่ทำงานภายใต้เงื่อนไขที่ต้องชวนคนออกมาเจอกันอย่างอีเว้นต์, คอนเสิร์ต หรือสัมมนา ก็พลอยกุมขมับกันเป็นแถบตามไปด้วย

แม้ไม่มีใครห้ามจัดงาน แต่ผู้จัดก็คงรู้กันดีว่า ถึงจัดในช่วงนี้ก็คงไม่มีใครอยากจะก้าวขาออกจากบ้านพกอารมณ์สนุกมาจอยกันในงานเหมือนอย่างเคย อีเว้นต์และคอนเสิร์ตที่กำลังจ่อคิวในช่วงสองสามเดือนนี้จึงจำต้องเลื่อนออกไปโดยปริยาย หนักหน่อยก็ยกเลิก

Virtual Event’ อาจเป็นคีย์เวิร์ดที่คนทำอีเวนต์ซึ่งกำลังปวดขมับต้องหันมารู้จักให้เร็ว เพราะนี่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกและทางรอดของเราในช่วงเวลานี้

เมื่อต้นเดือนเมษายน ผู้ให้บริการเว็บฟังเพลงและผู้จัดคอนเสิร์ตเจ๋งๆ ในไทยมาแล้วหลายต่อหลายงานอย่าง Fungjai ลุกขึ้นมาจัดงานชื่อ AT HOME Festival ชวนศิลปินตั้งกล้อง เซ็ตอัพเครื่องเสียง ถ่ายทอดดนตรีสดจากบ้านศิลปินไปสู่คนดูที่กำลังนั่งเหงาอยู่ที่บ้านผ่านไลฟ์ทาง YouTube และ Facebook เพื่อนำรายได้จากการสนับสนุนของผู้ชมส่งต่อให้ศิลปินนักดนตรี เป็นการช่วยเหลือศิลปินอีกทางในช่วงที่งานโชว์หด คอนเสิร์ตหาย แบบที่ยังตอบโจทย์ของการรักษาระยะเพื่อป้องกันไวรัสระบาด จากการติดตามพบว่าได้ยอดสนับสนุนไปไม่น้อย และฝั่งคนดูเองก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าดนตรีช่วยเยียวยาความรู้สึกในช่วงนี้ได้มาก

ในเทศกาลนั้น ผู้ชมสามารถเข้าร่วมได้จากบ้านตัวเองตามชื่องาน ดูศิลปินที่กำลังเล่นอยู่ในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น (เอาจริงๆ ความใกล้ชิดนี้ก็เอ็กซ์คลูซีฟไปอีกแบบแถมยังสามารถส่งเสียงทักทายให้นักดนตรีที่เราชอบผ่านช่องคอมเมนต์

นี่คือบรรยากาศของเทศกาล  ที่ว่า

 

ฟังใจ At Home Festival by Fungjai
ภาพ : https://twitter.com/hellofungjai

 

Virtual Event และ Live stream concert ไม่ใช่เรื่องใหม่ เดิมทีแพลตฟอร์มการทำอีเวนต์และเทศกาลออนไลน์ถูกใช้เป็นทางเลือกสำหรับงานที่จัดในที่ห่างไกล เข้าถึงยาก หรือเปิดโอกาสให้คนที่ไม่สามารถเดินทางมาร่วมงานจริงสามารถเข้าร่วมงานผ่านทางออนไลน์ เทศกาลดนตรีระดับโลกหลายงานใช้ Live stream concert ควบคู่ไปกับงานจริง แต่ในช่วงเวลาของโควิด ทางเลือกจึงกลายเป็นทางหลักที่ผู้จัดทั่วโลกหันมาสนใจ

 

DeWolff Deffected Virtual Festival

 

การจัด Virtual Event หรือ Live stream concert ฟังดูเหมือนไม่ได้ยากอะไร แค่หาวงดีๆ ตั้งกล้อง เปิดไลฟ์ ชวนคนเข้า แค่นั้นเองไม่ใช่เหรอ? ดูเหมือนจะง่ายกว่าเดิมซะอีก แล้วอะไรคือความท้าทายของมัน?

ในยุคที่แพลตฟอร์มอย่าง Facebook Live  หรือ YouTube Live เปรียบเหมือนสถานที่จัดงานที่ผู้จัดเจ้าไหนก็สามารถเข้าไปใช้ได้แบบไม่เสียตังค์ ความท้าทายหลักของการจัดงานออนไลน์นี้จึงตกมาอยู่ที่เรื่องของ Experience Design หรือ การออกแบบประสบการณ์

ลองนึกภาพอีเว้นต์หรือเทศกาลดนตรีที่เราเคยไป งานที่มอบประสบการณ์น่าประทับใจให้เรา คงเริ่มจากสถานที่จัดงานที่เดินทางสะดวก ในงานมีของกินอร่อยๆ เตรียมไว้ไม่ให้ต้องเดินออกไปซื้อไกล ไลน์อัพศิลปินไล่กราฟอารมณ์ความสนุกต่อเนื่องไม่มีตก เสียงและมีเดียต่างๆ ในงานมีคุณภาพ งานมีกิจกรรมสนุกๆ มีพิธีกรที่เป็นกันเองช่วยละลายพฤติกรรมคน มีโมเมนต์ว้าวๆ หรือช่วงเวลาน่าจดจำฝากไว้ความทรงจำของเรา แต่กลับกัน หากประสบการณ์ที่เราได้รับเป็นไปในทางตรงกันข้าม นั่นคงเป็นประสบการณ์อีเว้นต์ที่แย่สำหรับเราไม่น้อย

แนวคิดของการออกแบบประสบการณ์ในงานอีเว้นต์จะยังคงไม่เปลี่ยนไป แม้แพลตฟอร์มในวันนี้ (และในอนาคตอันใกล้) จะเปลี่ยนร่างจาก On-Ground มาสู่ Online ภารกิจของผู้จัดอีเว้นต์และคอนเสิร์ตหลังจากนี้คือสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ Virtual Event และมอบความรู้สึกที่ใกล้เคียงกับอีเว้นต์จริงที่เคยจัดมาให้ได้มากที่สุด

ด้วยความที่ AT HOME Festival จัดโดย Fungjai ที่เชี่ยวชาญการจัดอีเว้นต์จริง แถมยังชำนาญบนแพลตฟอร์มออนไลน์ นี่จึงเป็น Virtual Event ลำดับแรกๆ ในไทยที่ทำได้ดีไม่น้อย ตั้งแต่การจัดไลน์อัพศิลปิน, มีพิธีกรสนุกๆ ชวนทำกิจกรรมคั่นรายการ, ผู้ชมสามารถโต้ตอบกับศิลปินผ่านช่องคอมเมนต์ และที่ชอบที่สุดคงเป็นเรื่องอาหารที่ผู้ร่วมงานสามารถสั่งอาหารได้ระหว่างการชมไลฟ์ แค่สแกน QR Code บนหน้าจอ ให้ความรู้สึกเหมือนร้านอาหารในเทศกาลดนตรีที่ช่วยให้เราอิ่มท้องได้โดยไม่ต้องพักความสนุก

หากโควิดจะอยู่กับเราไปอีกนาน Virtual Event จะไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มประวิงเวลา แต่อาจเป็นทางหลักของคนจัดอีเว้นต์ในวันนั้น ประสบการณ์ของอีเว้นต์เสมือนจะต้องแข่งขันกันพัฒนาให้ดูจริงขึ้น, สนุกขึ้น และเป็นมนุษย์มากขึ้น นั่นหมายความว่า นักออกแบบประสบการณ์ในพื้นที่จริง (On-ground) อย่างสถาปนิก, นักออกแบบสเปซ, นักออกแบบการบริการ (Service desiger) ฯลฯ จำเป็นต้องประสานพลังกันกับนักพัฒนาออนไลน์ อย่างนักออกแบบซอฟต์แวร์, นักออกแบบเว็บไซต์ หรือโปรแกรมเมอร์ พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิตอลเพื่อสร้างพื้นที่เสมือนที่มีความเป็นมนุษย์รองรับการจัดงาน Virtual Event ในอนาคต เพราะประสบการณ์เสมือนที่ให้ความประทับใจราวกับประสบการณ์ของการร่วมงานจริง จะกลายเป็นปัจจัยหลักสำหรับผู้ชมในการตัดสินใจว่าจะจ่ายเงินเข้าร่วมงานนี้หรือไม่

ในอนาคตเราอาจมีปุ่มส่งเสียงปรบมือหรือส่งเสียงกรี๊ดให้เรากดตอนกำลังดู Live stream concert หรืออาจมีปุ่มเอาอีก!’ ให้กดตอนคอนเสิร์ตจบแต่อารมณ์ไม่จบ (อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ โปรแกรมที่เราใช้ Work from home ทุกวันนี้อย่าง ZOOM ยังมีฟังก์ชั่น Virtual Hand raising ไว้ยกมือถามขณะประชุมมาแล้ว) เราอาจกดปุ่มทำความรู้จักคนที่ดูคอนเสิร์ตอยู่ด้วยกัน, มีเกมสนุกๆ ให้เล่นภายในงาน, มีร้านอาหารอร่อยให้กดสั่งแบบใกล้มือ ส่งอาหารและเครื่องดื่มถึงหน้าบ้านโดยแทบไม่ต้องลุกออกจากเทศกาล

Virtual Event, Virtual Festival และ Live stream concert คือนวัตกรรมที่พิสูจน์ว่า มนุษย์ยังคงหาที่ทางมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างเป็นมนุษย์เสมอ แม้ในช่วงเวลาที่เจอหน้ากันไม่ได้

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save