ชลธร วงศ์รัศมี เรื่อง
การใช้ขวานจามรถที่จอดขวางหน้าประตูบ้าน การล้างแค้นของมธุสรใน ‘ล่า’ การปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ การส่งเสียงเรียกร้องด้วยความโกรธเกรี้ยวไม่น่าฟังในม็อบชาวบ้าน การใช้ไสยศาสตร์สาปแช่งคนที่เราไม่มีวันเพรียกหาความยุติธรรมด้วยวิธีปกติจากเขาได้
อะไรคือความรุนแรง? อะไรไม่ใช่ความรุนแรง?
101 ชวนสำรวจจักรวาลอันละเอียดอ่อนของความรุนแรงกับ ผศ.ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วชวนตั้งคำถามว่าหลังป้าใช้วิธีทุบรถเรียกร้องความยุติธรรมได้สำเร็จแล้ว สังคมไทยควรดำเนินต่อไปอย่างไร เราควรแก้ปัญหาสไตล์นี้มากขึ้นหรือไม่?
ตัวแทนความยุติธรรมจะลงทัณฑ์แทนเอง
เพราะเหตุใดการกระทำของ น.ส.รัตนฉัตร แสงหยกตระการ หรือที่ใครๆ เรียกว่า ‘ป้าขวาน’ ซึ่งทุบรถที่จอดขวางประตูบ้านจนยับเยิน และทำให้ตลาดผิดกฎหมายรอบบ้านป้าสามแห่งต้องเลิกกิจการ จึงได้รับความชอบธรรมจากสังคมมากเช่นนี้? จันจิรากล่าวว่าสิ่งที่ป้าทำนั้นเข้าหลักคลาสสิกของ ‘ความรุนแรงเพื่อความยุติธรรม’ แทบทุกประการ
“ดิฉันคิดว่าคนไทยรับการกระทำของป้าได้เพราะหลายสาเหตุ หนึ่ง เซนส์ความยุติธรรมของคนไทยพัวพันกับการตกเป็นเหยื่อของระบบรัฐและผู้มีอำนาจ สังคมไทยมีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนสูงมาก คนชนชั้นกลางลงไปรู้สึกตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะคนเมืองจำนวนมากมีประสบการณ์ตรงกัน คือถูกเอารัดเอาเปรียบโดยสมาชิกร่วมสังคมเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นบนท้องถนน ในที่อยู่อาศัย ที่สาธารณะอื่นๆ บางทีเราก็เอาเปรียบเขา แต่พอถูกเอาเปรียบ สิ่งที่ตามมาคือตั้งคำถามถึงรัฐที่ไม่ตอบสนองความยุติธรรม จนสุดท้ายทำให้คนต้องลุกขึ้นมาจัดการเรียกร้องความยุติธรรมด้วยตนเอง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า take matters into your own hands คนรู้สึกร่วมว่านี่ชีวิตฉันเอง
“สอง คนรู้สึกว่าป้าสู้มาหลายปี ทำมาทุกหนทางแล้ว เลือกซื้อบ้านแพงๆ ก็แล้ว กฎหมายก็สู้แล้ว บีบแตรก็ทำแล้ว ฟ้องขอคำสั่งศาลคุ้มครองพื้นที่บริเวณบ้านก็ทำแล้ว เอาป้ายมาแปะหน้าบ้านก็ทำแล้ว คนยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมจอดรถอีก กลายเป็นว่าจุดนี้ไปเข้าหลักคลาสสิกของความรุนแรงคือเป็นมาตรการสุดท้าย (last resort) ทั้งหมดเลยกลายเป็นวงจรของความรุนแรงเพื่อความยุติธรรม”
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”box” background_layout=”light” text_orientation=”left” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” disabled=”off”]“ปฏิบัติการอันรุนแรงและละเมิดกฎหมาย ยังมีให้เห็นอยู่ เพราะปฏิบัติการทางการเมืองอันรุนแรงนั้นมีต้นทุนแสนจะต่ำเมื่อเทียบกับผลสำเร็จอันยั่วยวนและเร้าใจจากปฏิบัติการดังกล่าว”
Leigh Payne
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_style=”solid” disabled=”off”]เราล้วนถูกความรุนแรงไล่ล่า
“แน่นอนว่าเราไม่มีสิทธิ์ไปทำลายทรัพย์สินของคนอื่น แต่ในกรณีนี้มีเหยื่อสองฝ่าย คือเจ้าของรถหน้าบ้านป้า และตัวป้าเองนั่นแหละที่เป็นเหยื่อในโครงสร้างระบบยุติธรรมของเรา ถ้าถามว่าสิ่งที่แกทำกับทรัพย์สินของคนอื่นเป็นความรุนแรงมั้ย ถ้ามองมุมเดียวก็เป็น แต่หลายๆ กรณีผู้ใช้ความรุนแรงเองก็เป็นเหยื่อของระบบ”
จันจิรากล่าวว่าเราจะพบ ‘ความรุนแรงเพื่อความยุติธรรม’ ในลักษณะคล้ายกันนี้ได้ตามข่าวอาชญากรรมบนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทั่วๆ ไปในนามของการ ‘แก้แค้น’ ซึ่งนับเป็น ‘ความยุติธรรมในความรู้สึกผู้ถูกกระทำ’
“การแก้แค้นเกิดขึ้นเพราะระบบยุติธรรมทำงานได้ไม่เต็มที่ คนอาจรู้สึกว่าเราถูกรังแกแล้ว ไปแจ้งความ ตำรวจก็ไม่เห็นทำอะไรเลย เพราะฉันไม่ใช่คนมีสี ไม่ใช่คนมีเงิน ไม่ใช่ผู้มีอำนาจ เพราะฉะนั้นในสมการของความรุนแรงเพื่อการแก้แค้น หรือความรุนแรงเพื่อความยุติธรรม มันจะมีความรู้สึกว่าเราตกเป็นเหยื่อ อำนาจของเรากับฝ่ายผู้กระทำหรือฝ่ายรัฐ ไม่เท่ากัน ความรุนแรงช่วยให้อำนาจของเรามากขึ้น”
หนึ่งในพื้นที่ซึ่งอำนาจจากความรุนแรงปรากฏอย่างมากคือพื้นที่ของละคร ใจเริงใน ‘เพลิงบุญ’ ก้านแก้วใน ‘หลงไฟ’ หรือ มธุสรใน ‘ล่า’ ตัวละครเหล่านี้เป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ มธุสรและลูกถูกข่มขืนแต่กระบวนการยุติธรรมเฉยชาต่อสองแม่ลูกอย่างโหดร้าย จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เธอออก ‘ล่า’ อาชญากรทุกคน จันจิรากล่าวว่าความนิยมละครเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความรุนแรงเชิงระบบและประสิทธิภาพของรัฐมากกว่าที่คิด
“สิ่งที่ตอบโจทย์ความยุติธรรมในสังคมไทยคือเรื่องบาปกรรม เพราะฉะนั้นละครจึงเต็มไปด้วยวิธีคิดแบบนี้ คือถึงแม้ว่าเราทำอะไรไม่ได้ รัฐช่วยเราไม่ได้ แต่สุดท้ายแล้วมีอยู่สองทางคือตัวร้ายใช้ความรุนแรงเพื่อความยุติธรรม คนดีรอบาปกรรม สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงสุดท้ายของละครคือคนดูจะได้รับความรู้สึกตอบสนอง คนชั่วตาย ถ้าเป็นผู้หญิงที่รับบทเป็นคนไม่ดีส่วนใหญ่จะถูกข่มขืน หรือไม่สมปรารถนา สุดท้ายคนดีที่ไม่ทำร้ายคนอื่นเพื่อความยุติธรรมก็จะได้รับสิ่งที่ตัวเองสมควรจะได้”
ขณะที่คนไทยได้รับความยุติธรรมผ่านโลกมายาและการรอคอยกฎแห่งกรรมทำงาน ความยุติธรรมในชีวิตจริงยังห่างไกล โครงสร้างทางสังคมยังคงเลี้ยงดูค่านิยมต่างๆ ที่มองไม่เห็นพิษภัยในวันนี้ แต่เตรียมตัวเติบใหญ่เป็นความรุนแรงในวันหน้า
“จริงๆ กรณีป้าเป็นกรณีที่คนเห็นใจ เพราะชัดว่าแกเป็นเหยื่อ แต่มีอีกหลายกรณีที่ไม่ชัดเช่นคนที่ก่ออาชญากรรมข่มขืน แล้วสังคมเรียกร้องให้ประหารชีวิต ในกรณีของอาชญากรรมจำนวนมาก ตัวผู้กระทำก็เป็นเหยื่อของระบบ มีผลการวิจัยชี้ว่าในสังคมที่ระบบการศึกษาปลูกฝังค่านิยมผู้ชายเป็นใหญ่ (patriarchy) การกระทำความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิงในบางกรณีเป็นเรื่องรับได้ เพราะว่าผู้ชายมีสถานะเหนือกว่า มีกำลังมากกว่า มีค่านิยมว่าการแสดงออกถึงความต้องการทางเพศเป็นเรื่องปกติของผู้ชาย เพราะฉะนั้นผู้กระทำ ผู้ใช้ความรุนแรงคดีข่มขืนก็ถือว่าเป็นเหยื่อของการศึกษาหรือสื่อที่เผยแพร่ค่านิยมเหล่านี้ได้ ยังไม่รวมถึงระบบยุติธรรมที่จริงๆ แล้วไม่ช่วยให้อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการข่มขืนน้อยลง หรือทำให้เหยื่อในกรณีข่มขืนสามารถเรียกร้องความเป็นธรรมได้
“ช่วงหลังดิฉันศึกษาเกี่ยวกับระบบความมั่นคงของรัฐพอสมควร พบว่าระบบรัฐที่ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพทำให้คนเชื่อขาดความเชื่อมั่นในระบบรัฐ ไล่ตั้งแต่ระบบที่รักษากฎหมาย เช่น ศาล ตำรวจ เป็นต้น ในทางรัฐศาสตร์คำว่า ‘ศักยภาพของรัฐ’ (state capacity) สำคัญมาก ประสิทธิภาพของรัฐอยู่ที่สถาบันต่างๆ ของรัฐสามารถตอบสนองในแง่การบริการให้ความปลอดภัย การหยิบยื่นความยุติธรรมได้หรือไม่ ถ้าไม่มีประสิทธิภาพ คนก็ไม่เชื่อมั่นในระบบ และลุกขึ้นมาจัดการเรื่องต่างๆ เอง โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรงเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม อาชญากรรมอาจจะมากขึ้น ในหลายสังคมเมื่อ ‘ประสิทธิภาพของรัฐ’ ต่ำ จะจัดการความขัดแย้งระดับใหญ่ๆ ไม่ได้ สิ่งที่รัฐทำคือใช้ความรุนแรงเลย เราก็ติดอยู่ในกับดักของความรุนแรง ทั้งจากรัฐและจากประชาชน”
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”box” background_layout=”light” text_orientation=”left” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” disabled=”off”]“ถ้าคนที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองเข้าไปในศาล แล้วศาลรับฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝั่งเท่ากัน ถึงแม้ว่าเขาจะถูกลงโทษภายหลัง แต่ถ้าผ่านกระบวนการที่มีความเป็นธรรม ลงโทษในระดับที่เหมาะสม ไม่ได้มุ่งล้างแค้น มีกฎหมายก็บังคับกันไป เขาก็จะไม่สะสมความรู้สึกเคียดแค้นชิงชังมาก ถ้าเขาพ้นโทษออกมา ก็จะไม่ได้รู้สึกโกรธแค้นใคร หรือรู้สึกได้รับความอยุติธรรม ซึ่งจะช่วยตัดลดโอกาสที่เขาจะไปก่อความรุนแรง
แต่สมมติว่ากระบวนการยุติธรรมล้มเหลว เป็นกระบวนการที่เอาไว้ลงโทษคนเห็นต่าง พอเขาพ้นโทษออกมา เราไม่สามารถรู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น? ถ้าสิทธิเราไม่ได้รับการคุ้มครอง เราจะเริ่มรู้สึกหวนกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติที่ว่า every man for himself เราจะรู้สึกว่าในเมื่อกฎหมายปกป้องเราไม่ได้ แล้วเราจะเคารพมันทำไม”
อานนท์ ชวาลาวัณย์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_style=”solid” disabled=”off” border_color=”#ffffff”]ความรุนแรงคืออะไร ?
“ในหลายกรณีผู้ที่เป็นเหยื่อเองใช้ความรุนแรง แต่ไม่ใช่ทุกกรณีจะได้รับความเห็นใจแบบป้า เช่นกรณีเรื่องทรัพยากรหรือว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนทั่วๆ ไป” จันจิรากล่าว
เมื่อเห็นคนต่างจังหวัดประท้วงปิดถนนกดดันรัฐบาล นักศึกษาวิพากษ์วิจารณ์ระบบการศึกษาและประเทศด้วยท่าทีแข็งกร้าว ชาวบ้านใช้ความดิบ ไสยศาสตร์ กู่ตะโกนคำหยาบคายกดดันผู้มีอำนาจ ในสายตาคนไทยจำนวนมากหลายเหตุการณ์เหล่านี้ถูกผนวกเข้าเป็นความรุนแรง ขณะที่เหตุการณ์ตากใบ-กรือเซะ การสลายการชุมนุมปี 2553 การสนับสนุนให้มีโทษประหาร คือเหตุการณ์ที่จันจิรายกตัวอย่างว่าเป็นข้อยกเว้นในการยอมรับความรุนแรงของคนไทย
เช่นนี้แล้ว ‘ความรุนแรง’ คืออะไร?
“ในแวดวงสันติภาพและความขัดแย้งศึกษา คำว่า ‘ความรุนแรง’ เป็นมโนทัศน์ (paradigm) มากกว่าเป็นข้อเท็จจริงที่สถาวรไม่เปลี่ยนแปลง แต่ละสังคมมีวิธี ‘สร้าง’ ความเข้าใจเรื่องความรุนแรงต่างกัน ในสังคมไทย วิธีคิดเรื่องความรุนแรงครอบคลุมหลายๆ อย่าง บางเรื่องที่ไม่ใช่ความรุนแรง เราก็ไปคิดว่าเป็นความรุนแรง บางเรื่องเป็นความรุนแรงซึ่งไม่ควรได้รับการยอมรับ เราก็ยอมรับถือว่าเป็นข้อยกเว้น
“อย่างในข่าวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คอมเมนต์ในสื่อโซเชียลเวลาเกิดเหตุโจมตีคือบุกเลย ถล่มมันเลย เพราะรัฐส่งสารต่อสังคมเสมอว่าถ้าบูรณภาพทางดินแดนของรัฐถูกท้าทาย รัฐควรมีความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง คนจะรู้สึกเห็นด้วยกับวิธีคิดเรื่องความมั่นคงของกองทัพ ตำรวจ และระบบราชการ
“อย่างกรณีป้าดิฉันไม่อยากใช้คำว่า ‘ความรุนแรง’ เพราะเมื่อเราใช้คำนี้ คนมักนึกถึงการฆ่ากัน คำว่า ‘ความรุนแรง’ ในความหมายทั่วๆ ไปของสังคมไทยตีตราคน ทำให้เราเกิดจินตนาการในหัวหลายแบบ เช่น ความก้าวร้าว ความขัดแย้ง การทะเลาะถกเถียงก็ถูกจัดเข้าไปอยู่ในความรุนแรง สำหรับดิฉัน สามอย่างนี้ไม่ใช่ความรุนแรงเสมอไป เวลาที่เราคุยกันจากมุมการศึกษาความขัดแย้ง ความรุนแรง และสันติวิธี ปรากฏการณ์ใหญ่ที่ครอบคลุมทั้งหมดคือความขัดแย้ง วิธีคิดโดยทั่วไปของคนไทยเอาความรุนแรงเป็นปรากฏการณ์ใหญ่แล้วเอาทุกอย่างเข้าไปอยู่ในกรอบความรุนแรง แต่ว่าปรากฏการณ์ใหญ่จริงๆ กรอบใหญ่จริงๆ คือความขัดแย้ง
“พอขัดแย้งกัน เราจะพิจารณาว่าคนในสถานการณ์ขัดแย้งเลือกใช้เครื่องมืออะไร เช่น อาจใช้ความก้าวร้าว จริงๆ แล้ว ความก้าวร้าวในสังคมไทยก็มีมิติทางวัฒนธรรม เช่น ถ้าเด็กเถียงผู้ใหญ่จะถูกหาว่าก้าวร้าว หัวรุนแรง ในภาษาอังกฤษคำว่าหัวรุนแรง (radical) ไม่ได้หมายความว่าใช้ความรุนแรง แต่หมายความว่าเรายึดมั่นในอุดมการณ์บางอย่าง ยึดมั่นว่าเรามีสิทธิบางอย่าง ยึดมั่นว่าเรามีเหตุผลบางอย่างให้เราต่อสู้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงก็ได้
“เราควรรื้อประเด็นเรื่องความรุนแรงกับความขัดแย้งของสังคมไทย หนึ่งคือทำอย่างไรให้สังคมเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ แล้วมีสับเซ็ตที่อยู่ในความขัดแย้งเป็นเครื่องมือให้เราจัดการความขัดแย้งเต็มไปหมด เช่น เจรจา แจ้งความ เอาความในชั้นศาล ใช้สันติวิธี การถกเถียงกัน การแลกเปลี่ยนถกเถียงไม่ใช่เรื่องเสียหน้า ดิฉันคิดว่าตรงนี้เป็นปัญหาใหญ่ เวลาที่ใครมาเถียงเรา แย้งความคิดเรา เรารู้สึกเสียหน้า พอเป็นแบบนี้ หลายคนต่อยมันเลย ใช้ความรุนแรง ในสถานการณ์แบบนี้ อาจต้องมานั่งคุยกันใหม่ว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติและอาจไม่นำไปสู่ความรุนแรงเสมอไป”
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”box” background_layout=”light” text_orientation=”left” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” disabled=”off”]“ขอโทษนะคะเร ที่วัลย์พูดไม่ถูกใจคุณ แต่เราโตพอที่จะพูดกันได้อย่างเปิดเผยและอย่างจริงใจ วัลย์จะรักและแต่งงานกับผู้ชายที่ทำงานอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพื่อตัวของเขาเอง หรือเพื่อฐานะของตัวเอง เพื่อความเด่น หรือเพื่อจะให้เป็นที่นับถือของคนอื่น แต่เป็นคนที่ทำงานเพื่องานและเพื่อโลกที่เขาเกิดมา ผู้ชายที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรกลมหึมาที่กำลังสร้างยุคใหม่ของอนาคต ไม่ใช่ผู้ที่เกาะกับดุมหรือฟันเฟืองของมันเฉยๆ หาความสุขส่วนตัวไปชั่ววันๆ หนึ่ง และตายไปเมื่อถึงเวรของตัวโดยมิได้ทิ้งร่องรอยอะไรไว้เบื้องหลัง
“เธอ-ราดิคัลเสียจริต” เขาพูดเกือบเป็นเสียงตะโกน
จาก ความรักของวัลยา โดย เสนีย์ เสาวพงศ์
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_style=”solid” disabled=”off” border_color=”#ffffff”]ไม่มีสันติวิธีพาสเจอร์ไรซ์
จันจิรากล่าวว่าความก้าวร้าว ความขัดแย้ง การทะเลาะถกเถียง ความดิบหยาบ อาจเป็นส่วนหนึ่งของสันติวิธีได้ ขณะเดียวกัน ความสุภาพ ความเรียบร้อย ความน่ารักอาจไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสันติวิธีเสมอไป
“ถ้าพูดอย่างแฟร์ๆ สันติวิธีไม่ได้อยู่ตรงข้ามความรุนแรง สันติวิธีอยู่ตรงข้ามกับความจำนน การไม่ทำอะไรเลย และการยอมแพ้ ถ้าลองดูกรณีตัวอย่างของคุณป้า สิ่งที่คุณเห็นก็คือเส้นทางยาวๆ ที่แกเลือกใช้สันติวิธีแล้ว ก่อนต่อเนื่องไปใช้การทุบรถ
“ดิฉันยกตัวอย่างที่หลายๆ คนในสังคมไทยมักจะเข้าใจผิด คือคานธี เวลาเราพูดถึงคานธีคนนึกถึงอหิงสา เป็นสันติวิธีแบบเรียบร้อย เป็นคนดี น่ารัก ไม่หยาบคาย ไม่รบกวนสังคม แต่จริงๆ คานธีทำหลายอย่างที่รบกวนสังคมมาก เช่น ยุให้คนอินเดียทั้งหมดละเมิดกฎหมายที่จักรวรรดิอังกฤษบังคับใช้ เช่น ไม่ให้คนอินเดียผลิตเกลือเอง คานธีบอกว่าสิ่งที่ต้องทำคือละเมิดกฎหมาย เดินขบวนทั่วประเทศเลย ถามว่าไนซ์ไหม-ไม่ ถามว่าเป็นพลเมืองดีไหมที่ไปละเมิดกฎหมาย
“อีกสิ่งหนึ่งที่คนไม่ค่อยพูดถึงขบวนการสันติวิธีในอินเดียคือการสาปแช่ง การสาบแช่งถือเป็นสันติวิธี เป็นวิธีหนึ่งที่คนที่อยู่ในวรรณะต่ำกว่าสามารถทักท้วง คัดค้าน ประท้วงผู้ที่อยู่ในวรรณะสูงกว่าได้ คือไปอดข้าวหน้าบ้านเขา แต่ว่าอดไม่พอต้องสาปแช่งไปด้วย ในวิธีคิดแบบนี้คือผู้ที่อยู่ในวรรณะสูงกว่า มีอำนาจมากกว่าจะต้องออกมาทำอะไรบางอย่าง ตอบสนองข้อเรียกร้องบางอย่าง ไม่อย่างนั้นคำสาปแช่งนี้จะเป็นจริง ถามว่าอันนี้ไนซ์ไหม ก็ไม่ไนซ์
“มีตัวอย่างปฏิบัติการสันติวิธีเต็มไปหมดในโลกนี้ ดูดีๆ จะเห็นความรุ่มรวย ไม่จำเป็นต้องสุภาพเรียบร้อย ไม่ดูเป็นคนดีเสมอไป สันติวิธีของคนดีเอาเข้าจริงๆ ในโลกมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย ส่วนใหญ่เป็นสันติวิธีแบบละเมิดกฎหมาย บางทีก็ทำร้ายจิตใจ
“สำหรับคนในสังคมไทยจำนวนหนึ่ง สันติวิธีคือวิธีสันติ ทำอะไรแล้วชาวบ้านไม่เดือดร้อน แต่ว่าในความเป็นจริง สันติวิธีไม่จำเป็นต้องนำมาซึ่งความสันติสุขก็ได้ ในหลายกรณีสันติวิธีทำให้เราเดือดร้อน เช่น การปิดถนน การขวางสถานที่เป็นหมวดหมู่หนึ่งของปฏิบัติการสันติวิธี เพราะฉะนั้นถามว่าคนเดือดร้อนไหม เดือดร้อน แต่ว่าเพราะคนรู้สึกเดือดร้อนนั่นแหละ ชีวิตถูกรบกวน คนต้องฟังว่าฝ่ายที่เขาทำอย่างนี้เขาอยากได้อะไร”
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”box” background_layout=”light” text_orientation=”left” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” disabled=”off”]“เวลารัฐและสื่อเรียกร้องว่า ‘ชาวบ้านต้องอย่าใช้ความรุนแรง’ เราย้อนถามเสมอว่าทำไมชาวบ้านต้องใช้ความรุนแรง การปิดถนนหรือสถานที่ราชการคือการเพิ่มอำนาจต่อรอง ถ้าอำนาจต่อรองไม่ได้ การคุยกันแทบจะไม่มีความหมาย เราต้องตั้งคำถามกลับว่าทำไมต้องทำให้ชาวบ้านต้องใช้ความรุนแรงเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ทำไมเราไม่มีกลไกที่ทำให้ทุกฝ่ายสามารถมีพื้นที่ที่ทุกคนมีอำนาจต่อรองเท่ากัน
“การละเมิดสิทธินำไปสู่ความรุนแรง ความรุนแรงจากการละเมิดสิทธิสร้างความรุนแรงบวกๆ กันเข้าไปอีกเรื่อยๆ ชาวบ้านพยายามสู้ด้วยสันติวิธี แต่ความรุนแรงรูปแบบอื่นก็ยังกระทำกับชาวบ้านอยู่เสมอๆ ชาวบ้านต้องการสันติวิธีเสมอแต่เป็นสันติวิธีที่แก้ปัญหาและนำไปสู่หลักสิทธิมนุษยชนที่ทำให้ทุกคนได้มีชีวิตที่ดี แต่ถ้ากลไกมันไม่เกิด กระบวนการไม่นำไปสู่ความเป็นธรรม เวลาสื่อบอกว่าชาวบ้านใช้ความรุนแรงเขาก็เจ็บปวด”
ณัฐพร อาจหาญ นักสิทธิมนุษยชนภาคอีสาน
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_style=”solid” disabled=”off”]เส้นแบ่งระหว่างความรุนแรงและสันติวิธี
ฟังดูเส้นแบ่งระหว่าง ‘สันติวิธี’ และ ‘ความรุนแรง’ ดูจะเบาบางไม่น้อย เช่นนี้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าปฏิบัติการใดยังเดินในแนวทางสันติวิธีและปฏิบัติการใดที่ล่วงเข้าขีดขั้นความรุนแรง
“สันติวิธีมีหัวใจอยู่ที่การสร้างพันธมิตร และระดมเสียงสนับสนุนจากคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ถ้าขบวนการอยากแค่โชว์พลัง ทำให้ประชาชนที่สนับสนุนเขาเห็นว่ายิ่งใหญ่ มีพลังทำได้ และตั้งใจรบกวนฝ่ายตรงข้ามอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้ตั้งใจเปลี่ยนทัศนคติของผู้สนับสนุนฝ่ายตรงข้าม ก็ง่ายที่จะใช้วิธีการรบกวนแบบสุดโต่งและนำไปสู่ความรุนแรงได้ ในสังคมไทยเรื่องนี้จะชัดเจนทั้งในสองสีเสื้อ คือตั้งใจใช้วิธีการรบกวนสุดๆ เพื่อรบกวนรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามอย่างชัดเจน และตั้งใจโชว์พลังให้กลุ่มเห็นว่าเราสามารถท้าทายผู้มีอำนาจได้ เป้าหมายไม่ใช่การสื่อสารกับผู้สนับสนุนชนชั้นนำหรือผู้มีอำนาจที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม”
จันจิรายกตัวอย่างการขบวนการสันติวิธีที่ไม่ได้ตั้งใจรบกวนฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นแต่ตั้งใจระดมเสียงสนับสนุนจากคนคิดต่าง เช่น กลุ่มสมัชชาคนจน ซึ่งคัดค้านเขื่อนปากมูลโดยปักหลักค้างคืนอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาล 99 วัน แต่ไม่ได้ปิดทำเนียบรัฐบาลจนรัฐบาลทำงานไม่ได้ อีกทั้งยังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ส.ส. และตัวแทนสังคมทุกภาคส่วนจนสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหลายประการแก่ส่วนรวม
“ในกรณีผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงไม่ถูกเข้าใจได้ง่ายอย่างป้า ตัวผู้ที่เป็นเหยื่อเองต้องคิดว่าจะทำอย่างไรจึงได้รับเสียงสนับสนุนจากสาธารณะ จากมหาชน ให้เขาเห็นว่าเราเป็นผู้ไม่ใช้ความรุนแรง ดิฉันคิดว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้คนตัวเล็กตัวน้อยเปล่งเสียงได้เวลาถูกกระทำจากโครงสร้างของรัฐ” จันจิรากล่าว
“ในฐานะคนทำวิจัยเรื่องสันติวิธี เราสนับสนุนให้คนสู้กับความอยุติธรรม เราไม่ได้บอกว่าคุณต้องยอมจำนน ต้องยอมแพ้ อย่างกรณีป้า ดิฉันคิดว่าป้าแกทำมาทุกวิถีทางแล้ว ทางสู้ของแกก็คือสันติวิธี สู้ในเรื่องสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคลมานาน จนกระทั่งแกปรี๊ด แต่ในแง่ขบวนการต่อสู้ขนาดใหญ่ เวลาคนตัวเล็กตัวน้อยหันมาใช้วิธีรุนแรง ปัญหาคือภาพข่าวจะออกไปในทางที่เป็นผู้ก่อการร้าย เป็นอาชญากร ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อเสียงสนับสนุนของสาธารณชน สังคมจะเห็นใจเราไหม ถ้าใช้ความรุนแรง แม้มีแนวโน้มที่บอกว่าให้คนสู้ แต่ว่าจะทำอย่างไร สู้แล้วต้องได้รับความชอบธรรมจากสังคมวงกว้าง ต้องไตร่ตรองถึงผลที่จะตามมา ต่อผู้เป็นเหยื่อ และที่ทางของเราในสังคม”
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”box” background_layout=”light” text_orientation=”left” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” disabled=”off”]“สังคมเองสามารถทำให้ต้นทุนของการใช้ความรุนแรงสูงขึ้น ด้วยการร่วมกันประณามความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากทุกฝ่าย อย่างไม่เลือกข้าง และไม่กำกวม ไม่ว่าความรุนแรงนั้นจะเป็นการรัฐประหารโดยกองทัพ การยกพวกไปทำร้ายร่างกายกลุ่มการเมืองอื่นที่เห็นต่างจากตน หรือการใช้กำลังเข้าบุกรุกอาคารสถานที่ ทำลายทรัพย์สิน และคุกคามคนอื่น ดังที่นักทฤษฎีหลายรายชี้ให้เห็นทั้งในทางทฤษฎีและในเชิงประจักษ์ว่า ท่าทีและการตอบสนองจากรัฐและสังคมมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของยุทธวิธีที่ขบวนการทางการเมืองหนึ่งๆ เลือกใช้ การนิ่งเฉยดูดายของสังคมและไม่ทำหน้าที่รักษากฎหมายอย่างเคร่งครัดของรัฐ คือปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของความรุนแรง”
พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_style=”solid” disabled=”off” border_color=”#ffffff”]ป้าขวานคนต่อไป
หลังพลังขวานในมือป้าสั่นสะเทือนทั้งรัฐและเอกชนให้หันมาทำสิ่งที่ถูกกฎหมายจนคุณภาพชีวิตป้าดีขึ้น น่าสนใจว่าต่อไปสังคมไทยจะมีป้าขวานคนต่อไปหรือไม่ ในเมื่อการเรียกร้องโดยสงบตามช่องทางปกตินับสิบปีไม่ได้ผลเท่าการจับขวานครั้งเดียว?
“อาจเป็นไปได้เพราะมีตัวอย่างแล้ว ทีนี้ดิฉันคิดว่าสิ่งที่เราต้องเปลี่ยน (shift) ทิศทางของบทสนทนานี้คือ ทำอย่างไรให้เห็นว่าป้าแกสู้มานาน เป็นสิบปี แล้วแกไม่ยอมแพ้ เราไม่ค่อยเห็นถึงสิบปีของแก เรามาสะใจที่แกไปทุบรถ ถ้ามองเรื่องสิบปี คุณจะเห็นคนรอบตัวกล่าวหาว่าแกดื้อ มีการใช้อิทธิพลรังควาญแก การปกป้องสิทธิของตัวเองไม่ใช่ความดื้อ เป็นการต่อสู้และทำด้วยสันติวิธีได้หลายทาง
“อีกประเด็นหนึ่งคือสังคมไทยต่อสู้เรื่องสิทธิมาตลอด สิทธิมีหลายแบบ ป้าสู้เรื่องสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล แต่พอเป็นประเด็นใหญ่อย่างเรื่องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน สิทธิผู้ลี้ภัย คนไม่ค่อยเห็นว่าเราต้องสู้ด้วยกันเพื่อพิทักษ์สิทธิเหล่านี้ ดิฉันคิดว่าอาจจะต้องทำให้เกิดการโต้เถียงอีกแบบหนึ่งที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องความสะใจ
“ส่วนบทบาทของคนที่ศึกษาเรื่องความรุนแรง สันติภาพ และความขัดแย้ง คือการรื้อความเข้าใจเรื่องความขัดแย้ง ทำไมเราถึงต้องรื้อ? เพราะพอคุณเอาทุกอย่างไปกองอยู่ในหมวดความรุนแรง คุณจะไม่เห็นทางเลือกอื่นๆ เวลาเจอความขัดแย้งจะกระโดดไปที่ความรุนแรงเลย เพราะเข้าใจว่าไม่มีทางอื่นแล้ว หน้าที่ของเราคือรื้อและทำให้เห็นว่ามีทางเลือกอื่นๆ เต็มไปหมด นี่คือสันติวิธี”
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]