fbpx
พี่ๆ ข่มขืนหนูซ้ำทำไม?

พี่ๆ ข่มขืนหนูซ้ำทำไม?

อดิศร เด่นสุธรรม,สมคิด พุทธศรี เรื่อง

ภาพิมล หล่อตระกูล ภาพ

พี่ๆ ข่มขืนหนูซ้ำทำไม?

พี่ๆ ข่มขืนหนูซ้ำทำไม?

คำถามกับผู้หญิงที่ถูกข่มขืน

มาลองเช็คกันว่าคุณเคยถามคำถาม หรือมีคำถามเหล่านี้กับผู้หญิงที่ถูกข่มขืนหรือไม่…

ผู้หญิงที่เป็นเหยื่อเหมือนถูกข่มขืนซ้ำเป็นครั้งที่สอง

คุณรู้หรือเปล่า การถามคำถามลักษณะนี้ ทำให้ผู้หญิงที่เป็นเหยื่อเหมือนถูกข่มขืนซ้ำเป็นครั้งที่สอง!!

คำถามที่มีทัศนคติเชิงลบต่อเหยื่อที่เป็นผู้หญิงลักษณะนี้ ทั้งจากบุคคลทั่วไป รวมไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม (เช่น ตำรวจสอบสวน) เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ผู้หญิงไม่กล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
* จากสถิติของศูนย์ช่วยเหลือสังคม (OSCC) ปี 2559 มีผู้หญิงกว่า 17,000 คน ถูกกระทำความรุนแรง แต่มีเพียง 749 รายเท่านั้นที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

ตั้งคำถามที่ดีกับการข่มขืน

ในทางกลับกัน คุณรู้หรือไม่ คำถามที่ดี ก็สามารถช่วยผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงเห็นทางออกของปัญหา รวมไปถึงส่งเสริมให้พวกเธอกล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอีกด้วย

ลักษณะของการตั้งคำถามที่ดี

ลักษณะของการตั้งคำถามที่ดี
1. ไม่ตั้งคำถามเชิงลบ หรือมีอคติ
2. ตั้งคำถามด้วยการใช้หลักการ 5 ให้ 5 ไม่

ลักษณะของคำถามที่ดีจะมีคำตอบมากกว่าหนึ่งคำตอบ ตอบได้กว้างเท่าที่คนตอบต้องการจะพูด

เช่น ถามว่าคิดอย่างไร? รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง? เป็นต้น

ลักษณะของคำถามที่แย่คือคำถามที่วางกรอบด้วยมายาคติผิดๆ จากสังคม ตีตรา หรือตัดสินเหยื่อด้วยการตั้งคำถามเช่น ทำไมดึกดื่นผู้หญิงไม่กลับบ้าน ผู้หญิงดีๆ ต้องอยู่บ้านสิ

ดึกดื่นค่ำมืดทำไมไปอยู่ตรงนั้น? เหล่านี้คือคำถามเชิงลบที่ทำให้ผู้หญิงเป็นเหมือนคนอื่นในสังคม

5 ให้ 5 ไม่

คำถามที่ดีนอกจากกจะช่วยผู้ถูกกระทำความรุนแรงได้แล้ว ยังสามารถช่วยพวกเธอฟื้นฟูจิตใจได้ดีขึ้นอีกด้วย คุณสามารถตั้งคำถามโดยใช้หลักการ 5 ให้ หรือ 5 ได้

5 ให้ :

  1. ให้ความเป็นมิตร
  2. ให้ความใส่ใจ
  3. ให้กำลังใจ
  4. ให้ข้อมูล
  5. ให้การช่วยเหลือ

5 ไม่ :

  1. ไม่รู้สึกว่าเหนือกว่า
  2. ไม่ตัดสิน
  3. ไม่ตัดสินใจแทน
  4. ไม่ทำร้ายซ้ำสอง
  5. ไม่ใช่พนักงานสอบสวน

การตั้งคำถามจากทัศนคติที่ดีนอกจากจะให้ผู้เสียหายไม่รู้สึกถูกเลือกปฏิบัติแล้ว ยังจะช่วยเปลี่ยนความเข้าใจทางสังคมที่มีต่อผู้หญิง ที่สำคัญยังช่วยให้พวกเธอกล้าที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่มีความเท่าเทียมทางเพศอีกด้วย

สุดท้ายแล้วกระบวนการยุติธรรมที่เท่าเทียม และไม่เหลื่อมล้ำสามารถสะท้อนได้จากกลุ่มเปราะบางที่เป็นผู้หญิงเหล่านี้

ทุกคนในทุกระดับสังคม ทั้งตัวคุณเอง รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ต่างมีส่วนร่วมสร้างความรุนแรงทางเพศให้เกิดขึ้น แม้คุณจะไม่ใช่ผู้กระทำผิด แต่คุณอาจเป็นผู้ส่งต่อ ทัศนคติผิดๆ เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศที่คลาดเคลื่อน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องลบมายาคติหรือชุดความเข้าใจที่ผิดพลาดในเรื่องเพศ เพื่อสร้างกระบวนการยุติธรรมที่มีความยุติธรรมจริงๆ กระบวนการยุติธรรมที่เอื้อต่อผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรง กระบวนการยุติธรรมที่จะไม่ทิ้งใครคนใดคนหนึ่งไว้ข้างหลัง

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018