fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนกรกฎาคม 2563

Spotlight ประจำเดือนกรกฎาคม 2563

 

I LOVE MY JOB : คน (รัก) งาน และที่ทำงานในอนาคต

 

เชื่อว่าหลายคนกำลังต่อสู้กับการงานที่รัก ไม่ว่าจะเพื่อความฝัน เพื่อลูก เพื่อครอบครัว เพื่ออนาคต หรือเพื่อเป้าหมายในชีวิต
แต่ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจ หลายครั้งเหล่าคนรักงานต่างต้องโอบกอดการงานอย่างแนบชิด จนพื้นที่ ‘การงาน’ เข้ามาเบียดบังพื้นที่ส่วนอื่นของชีวิต โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ ‘หนัก’ เช่นนี้

สมดุลระหว่างชีวิตและงานไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่เคยง่าย และอาจจะยิ่งยากขึ้นไปอีกในอนาคต เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงเร็วจนน่าตกใจ ในขณะที่โควิด-19 และวิกฤตเศรษฐกิจก็บีบคั้นมนุษย์งานทุกคน

ในสภาวะเช่นนี้ เราควรจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของการงานกับชีวิตอย่างไร เพื่อที่จะสามารถพัฒนาชีวิตการทำงานไปพร้อมๆ กับชีวิตส่วนตัวและครอบครัวได้ โดยแต่ละส่วนมีบทบาทสนับสนุนกัน

101 ชวนผู้อ่านร่วมสำรวจความเปลี่ยนแปลงในโลกการทำงานยุคใหม่ ผ่านบทความ บทสัมภาษณ์ และสื่อรูปแบบต่างๆ ตลอดช่วงเดือนนี้ ที่จะทำให้เห็นเทรนด์ในโลกการทำงานที่กำลังเกิดขึ้น เห็นภาพการปรับตัวสู่อนาคตตั้งแต่ระดับคนทำงาน เจ้าของกิจการ จนถึงผู้กำหนดนโยบาย ที่เห็นคุณค่าร่วมกันของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนในโลกการทำงาน

เพราะเรารักงาน และควรได้รับความรักกลับจากการงานเช่นกัน

 

ความน่าจะอ่าน 2020

 

ความน่าจะอ่านมาแล้ว ขอเชิญน้องแก้วล้อมวง

ว่ากันว่าปี 2020 คือปีที่ทดสอบมนุษย์ได้อย่างหนักหนาสาหัสที่สุด ไม่ว่าพื้นที่ไหนในโลกก็เจอภาวะวิกฤต ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ถ้าจะมีปีไหนสักปีถูกคั่นไว้บนหน้าประวัติศาสตร์โลก ปี 2020 ต้องขึ้นทำเนียบอย่างไม่ต้องสงสัย

ความน่าจะอ่านในปี 2020 นี้ เราอยากจะใช้คำว่า ‘การแนะนำหนังสือที่เป็นประชาธิปไตย…กว่าครั้งที่แล้ว’ แต่ก็เกรงใจนักอ่าน เลยหยิบเอาประเด็นที่ปี 2020 ยืนหนึ่งเรื่องรับความสาหัสสากรรจ์ในทุกรูปแบบ มาชวนคนเลือกในธีม – อ่านอะไรดีในปีแสนสาหัส โดยใช้กติกาเดิมกับครั้งที่แล้ว คือชวนเจ้าของสำนักพิมพ์ บรรณาธิการ ร้านหนังสือ และนักวาดภาพประกอบ กว่า 60 คน มาร่วมเลือกหนังสือ 3 เล่มที่คิดว่าน่าอ่านที่สุดในปี 2020

แต่ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งที่แล้ว คือเราเปิดให้ ‘นักอ่านทุกคน’ มาร่วมโหวตหนังสือน่าอ่านที่สุดแห่งปีแสนสาหัสนี้ไปด้วยกัน ด้วยการเพิ่มรางวัล ‘ความน่าจะอ่าน ขวัญใจมหาชน’ เข้ามาด้วย (บอกแล้วว่าเป็นการแนะนำหนังสือที่เป็นประชาธิปไตยกว่าครั้งที่แล้ว)

ติดตามความน่าจะอ่าน 2020 ได้ตลอดเดือนกรกฎาคม และพบกันในรูปแบบงานเสวนาวันที่ 8 สิงหาคม 2563

 

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนกรกฎาคม 2563

 

 

‘เมียน้อย’ ที่ไม่ใช่ตัวร้ายในละคร

 

โดย สิรินทร์ มุ่งเจริญ

“เมียน้อยในชีวิตจริงต่อรองความหมายภาพเมียน้อยที่ละครโทรทัศน์นำเสนอด้วยการจำแนกความเป็นเมียน้อยของพวกเธอให้แตกต่างจากภาพในละครโทรทัศน์ที่บอกว่าพวกเธอเป็นผู้หญิงไม่ดี เช่น การต่อรองความหมายว่า พวกเธอเป็น ‘เมียน้อยทำมาหากิน’ ไม่ใช่ ‘เมียน้อยเกาะผัวกิน’ หรือ ‘เมียน้อยให้เกียรติเมียหลวง’ ไม่ใช่ ‘เมียน้อยราวีเมียหลวง’ ซึ่งการจำแนกตนเองให้ต่างออกไปนั้นเป็นกลยุทธ์การเอาตัวรอดของคนที่มีอำนาจน้อย เพื่อต่อรองพื้นที่ยืนในสังคม”

“ทัศนคติในสังคมปิตาธิปไตยที่ว่า ‘ผู้ชายถึงจะมีผู้หญิงหลายคน แต่ถ้าเลี้ยงดูผู้หญิงได้ก็พอแล้ว’ ก็มีอิทธิพลมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

“…ในช่วงปี 2477 เมื่อสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายถึงการเลือกใช้ระบบ ‘ผัวเดียวเมียเดียว’ มีผู้โต้แย้งว่า ระบบ ‘ผัวเดียวหลายเมีย’ ทำหน้าที่ปกป้องผู้หญิง คือหากผู้หญิงเต็มใจเป็นเมียน้อยของชายที่ร่ำรวย ถ้าห้ามไม่ให้เธอจดทะเบียนสมรสก็จะดูไม่ยุติธรรม ในปัจจุบันแม้เราจะยึดระบบ ‘ผัวเดียวเมียเดียว’ แล้ว แต่ถ้าผู้ชายที่มีภรรยาแล้วสามารถ ‘เลี้ยงดู’ ภรรยาน้อยได้ในด้านการเงิน สังคมดูจะมองเป็นเรื่องที่ยอมรับได้และไม่รีบโทษผู้ชายเรื่องมีชู้เท่ากับที่รีบรุมประณามเมียน้อย”

สิรินทร์ มุ่งเจริญ เขียนถึงภาพของ ‘เมียน้อย’ ที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ พร้อมคุยกับเมียน้อยในชีวิตจริงว่าเหมือนหรือต่างจากในสื่ออย่างไร และศึกษาจากงานวิจัยว่าความคิดแบบไหนที่อยู่เบื้องหลังความชิงชังเมียน้อยในสังคมไทย

 

THE UGLY TRUTH : ชั่วโมงการทำงาน ค่าแรง และความจริงที่เจ็บปวดของงานกองถ่าย

 

โดย ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

“แม้เราจะทำงานมาเยอะ ชอบการถ่ายหนังมาก แต่เราไม่เคยให้ความสำคัญกับหนังเรื่องนึงมากกว่าชีวิตคนเลย เราไม่เคยเจอหนังเรื่องไหนที่เราคิดว่าสำคัญพอที่จะให้ใครมาเจ็บ มาตาย เพราะการถ่ายหนังเลย” — ภิไธย สมิตสุต ผู้กำกับภาพ

“มีคนพร้อมจะเดินเข้าทางประตูหลังแล้วบอกว่า ‘ไม่เป็นไร ราคานี้ ผมทำเอง’ หรือที่เรียกกันว่าตัดราคา เพราะฉะนั้นคนจ้างก็จะรู้สึกว่า ฉันยังสามารถหาคนทำงานคุณภาพแบบนี้ในราคาต่ำได้ แต่อย่าลืมว่า คนที่รับงานไปอาจจะทำให้ผลงานของคุณสอดไส้ด้วยสิ่งที่ไม่มีคุณภาพก็ได้” — พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ ผู้ออกแบบงานสร้างภาพยนตร์

“เราไม่เห็นภาพคนทำงานโปรดักชันทุกคนรวมตัวกันแข็งขืน ออกมาบอกว่า ‘ฉันจะไม่ทำงานที่มันเกินเวลา หรืองานที่ไม่เป็นธรรมอีกแล้ว’ ในขณะที่เราก็ไม่เห็นภาพคนให้ทุนมารวมตัวกันเพื่อทำให้สวัสดิภาพการทำงานของทุกคนดีขึ้น จ่ายเงินมากขึ้น เพื่อทุกคนจะได้นอนพักผ่อนเพียงพอ เพราะทั้งสองฝั่งอยู่ในผลประโยชน์” — ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์ สนทนากับ สามบุคคลที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สะท้อนปัญหาของการทำงานกอง ตั้งแต่เรื่องคิวการทำงาน ค่าตอบแทน และปัญหาที่เกิดจากต้นทุนการถ่ายทำ ไปจนถึงข้อเสนอแนะต่างมุมเพื่อสร้างสวัสดิภาพการทำงานกองถ่ายที่เป็นธรรม

 

การเกิดอีกครั้งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

 

โดย ธนาพล อิ๋วสกุล

ในวาระครบรอบ 123 ปีชาตกาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สังคมไทยกำลังเปลี่ยนภาพจำของเขาในประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่างน่าสนใจ

ธนาพล อิ๋วสกุล เขียนถึงการเปลี่ยนความหมายของ ‘จอมพล ป.’ จาก ‘ผู้ร้ายในประวัติศาสตร์การเมืองไทย’ มาเป็นนายทหารฝ่ายคณะราษฎรที่สามารถกำราบฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติอย่างราบคาบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่ยอมจำนนของฝ่ายประชาธิปไตย

 

Bye Bye Intel – เมื่อ Apple เลือกจบความสัมพันธ์กับ Intel ที่ยาวนานกว่าทศวรรษ

 

โดย โสภณ ศุภมั่งมี

“ตอนที่ ARM Holdings เริ่มต่อกรกับ Intel ในตลาดได้ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 ตอนนั้นหลายคนต่างคิดว่าไม่นาน Intel คงจะใช้ประโยชน์จากทั้งขนาดและความเป็นเจ้าตลาดมาบีบให้คู่แข่งตัวเล็กๆ ออกไปจากตลาดได้สำเร็จ

“แต่ข่าวที่ Apple ประกาศว่าจะเริ่มต้นใช้ ARM ในเครื่อง Mac เมื่อเดือนก่อน เป็นการยืนยันชัยชนะอีกครั้งหนึ่งของบริษัทที่เล็กกว่า (จะบอกว่าเล็กก็ไม่ถูกนักเพราะ SoftBank ก็เข้ามาถือตั้งแต่ปี 2016 แล้ว) ว่าพวกเขาก็มีของดี และ Intel ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่ขนาดไหน สุดท้ายก็หมดทางสู้ซะแล้ว

“แล้ว Intel ไปพลาดตรงไหน?”

โสภณ ศุภมั่งมี เขียนถึงการเปลี่ยนผ่านความสัมพันธ์ระหว่าง Apple กับการใช้ชิปของ Intel เจ้าตลาดโปรเซสเซอร์

 

เด็กช้า ตอนที่ 2

 

โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เขียนถึงแหล่งพลังงานของ ‘เด็กช้า’ คือ self-esteem หมายถึงความรักตนเอง ความสามารถที่จะรู้ว่าตนเองทำอะไรได้บ้าง แต่เด็กมักถูกที่บ้านหรือโรงเรียนตีตราว่าโง่งี่เง่าหรือช้าเป็นเต่า ทำให้แหล่งพลังงานของเขาถูกทำลาย

เด็กช้าจำนวนมากมีความเสียหายที่ความจำใช้งานด้านเสียง ทำให้เขาหลงลืมคำสั่งของครูหรือพ่อแม่ เมื่อถูกละเลยก็ถูกตีตราว่าช้าหรือโง่ จนเสียโอกาสที่จะพัฒนา

 

‘อาฟเตอร์ช็อก’ – สอบใหญ่จริงของเศรษฐกิจไทย

 

โดย สันติธาร เสถียรไทย

“บททดสอบที่แท้จริงอาจยังไม่มาถึง เราอาจสอบกลางภาคผ่าน แต่สอบใหญ่กำลังจะมา นั่นคือเมื่อเราเริ่มเปิดให้มีการท่องเที่ยวระหว่างประเทศโดยไม่มีการกักตัว”

สันติธาร เสถียรไทย เขียนถึง ‘อาฟเตอร์ช็อก’ ทางเศรษฐกิจและการเงินที่อาจเกิดขึ้นเมื่อการระบาดของโควิด-19 ระลอกสองมาถึง รวมถึงหนทางในการเผชิญหน้าต่อคลื่นอาฟเตอร์ช็อกนี้

 

ข่มขืนนักเรียน บ้านเก่า คนหาย สกาลา ตัดต้นไม้ใหญ่ และตัดผมแหว่ง

 

โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เขียนถึง ขั้นตอนของระบบราชการที่ทำให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นซ้ำๆ แล้วเลือนหายไป การศึกษาสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องฝึกความสามารถละทิ้งของเก่า-ริเริ่มสิ่งใหม่ให้แก่เด็ก

“เรื่องรื้อบ้านเก่าที่แพร่จะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย หากเราไม่ปฏิรูปการศึกษาเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เพราะเราจะผลิตประชากรรุ่นใหม่ ซึ่งเก่า เราจะได้ข้าราชการรุ่นใหม่ ซึ่งเก่า และที่น่าห่วงที่สุดคือเราจะได้ระบบการทำงานที่อ้างว่าใหม่ 4.0 แต่เก่า”

 

หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว One Hundred Years Of Solitude

 

โดย ‘นรา’

“ดูคล้ายกับคุยโม้โอ้อวดอยู่สักหน่อยนะครับ เมื่อผมเที่ยวไปบอกกับใครต่อใครว่า จนถึงบัดนี้ ได้อ่านนิยายเรื่อง “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว” ของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซจบไปแล้ว 7 รอบ”

“แต่พูดให้ติดดินเป็นปกติธรรมดา ผมอ่านนิยายเรื่องนี้ซ้ำหลายรอบด้วย 2-3 เหตุผล อย่างแรกคือ เป็นงานเขียนที่ผมชอบมาก และได้อรรถรสความบันเทิงเพิ่มพูนมากขึ้นทุกครั้งที่อ่าน”

“ถัดมาคือ ผมอ่านซ้ำเพราะหลงใหลในความมหัศจรรย์พันลึกของนิยายเรื่องนี้ ทั้งความแปลกพิสดารของรายละเอียดเหตุการณ์ และท่วงทีลีลาในการบอกเล่าระดับอภิมหาเทพ ซึ่งสามารถเปรียบเปรยแบบไม่เกินเลยความจริงได้ว่า ‘เหมือนพระเจ้าสร้างโลก’”

“ประการสุดท้ายน่าจะสำคัญสุด ผมอ่านซ้ำเพราะอยากแก้สงสัยขจัดปมด้อย เนื่องจากการอ่านครั้งที่ผ่านๆ มา มักเกิดปริศนาค้างคาใจไว้มากมาย”

‘นรา’ เขียนถึง ‘หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว’ วรรณกรรมต้นแบบของนวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์อันลือลั่นโดยกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ

 

ความตาย

 

โดย วรพจน์ พันธุ์พงศ์ 

“ในเวลาที่ร่างกายคุณสด คุณต้องเป็นนกใหญ่ คุณต้องบิน” หมาป่าบอกผม

วรพจน์ พันธ์ุพงศ์ เล่าถึง “ความตาย” ผ่านประสบการณ์ของนักเขียนชั้นครู–ผู้ทิ้งความหมายอันประเมินค่ามิได้ไว้ก่อนตาย

 

เปิดโผ ‘Top Highlights’ ความน่าจะอ่าน 2020

 

โดย กองบรรณาธิการ The101.world

ปรบมือ! รัวกลอง! กู่ร้อง! ให้กับ หนังสือ Top Highlights ใน #ความน่าจะอ่าน2020

หลังจากที่เราทยอยปล่อย ‘The Finalists’ ความน่าจะอ่าน 2020 ทั้งหมดไปแล้ว ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะได้ทราบว่า เล่มใดบ้างที่ได้รับคะแนนสูงสุดจากการแนะนำของบรรณาธิการและนักอ่านร่วม 60 คน

ทั้งนี้ จากลิสต์หนังสือทั้งหมด 121 เล่มในรอบ The Finalists มีหนังสือที่ตีพิมพ์ภายในปี 2019-2020 ติดเข้ามาในรอบ Top Highlights ทั้งสิ้น 26 เล่ม โดยเล่มที่ได้รับคะแนนสูงสุด ได้ 6 คะแนน คือ ตาสว่าง โดย Claudio Sopranzetti, Sara Fabbri และ Chiara Natalucci (นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ แปล/ Sara Fabbri ภาพประกอบ)

ส่วนเล่มอื่นๆ จะเป็นเล่มใด และถูกเลือกโดยใครบ้าง ตามไปดูกันเลย!

 

วิกฤตเศรษฐกิจล้มเผด็จการได้หรือไม่

 

โดย วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

วิกฤตเศรษฐกิจมักส่งผลข้างเคียงทางการเมืองแบบไม่คาดคิด

ระบอบเผด็จการหวาดกลัววิกฤตเศรษฐกิจยิ่งกว่าปัจจัยอื่นใด ในขณะที่ผู้สนับสนุนประชาธิปไตยเชื่อว่านี่คืออาวุธที่ทรงพลังที่สุดในการเปลี่ยนแปลงการเมือง

แต่ลำพังวิกฤตเศรษฐกิจอย่างเดียวสามารถล้มเผด็จการได้จริงหรือ

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร เขียนถึงเงื่อนไขที่เป็นตัวกำหนดพลังของวิกฤตเศรษฐกิจในการล้มระบอบเผด็จการ

 

เพราะสถาปัตยกรรมคือภาระและภาษี

 

โดย รชพร ชูช่วย

ภายใต้โถงอาคารสูงใหญ่ที่เราเห็น กระจกเงาวับที่เราตื่นตะลึง หรือบ่อน้ำพุที่งดงามไร้ที่ติ ล้วนมีคนทำงานดูแลอยู่เบื้องหลัง และนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายมหาศาลทั้งในปัจจุบันและอนาคต

คอลัมน์ Shaped by Architecture เดือนนี้ รชพร ชูช่วย เขียนถึงต้นทุนการดูแลรักษาอาคารขนาดใหญ่ของรัฐ ที่เชื่อมโยงกับค่าใช้จ่ายของลูกหลานในอนาคต

“ในการก่อสร้างอาคารของราชการในบริทบของประเทศไทยนั้น มีการกำหนดกรอบงบประมาณก่อสร้างอย่างชัดเจน แต่ประเด็นของงบประมาณในการใช้งานรวมไปถึงการบำรุงดูแลรักษาอาคาร มักจะไม่ถูกหยิบยกมาพิจารณาอย่างจริงจังในขั้นตอนการออกแบบ เพื่อประเมินถึงงบประมาณตลอดอายุการใช้งานของอาคาร”

“การสร้างอาคารของรัฐถึงแม้จะเป็นการสร้างสัญลักษณ์ศูนย์รวมจิตใจ สร้างความภาคภูมิใจ และเก็บเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของปัจจุบันสื่อสารไปยังอนาคตได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งต่อภาระให้คนรุ่นหลังที่ต้องดูแลรักษาต่อไป อาจจะเป็นการใช้ภาษีของคนที่ยังไม่เกิดเสียด้วยซ้ำ”

 

Fauxpology: ขอโทษตอแหล

 

โดย โตมร ศุขปรีชา

การขอโทษมีหลายแบบ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ไม่เพียงต้องฝึกเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นการแสดงออกที่มาจากเบื้องลึกของหัวจิตหัวใจอย่างแท้จริง

แล้วคำขอโทษประเภท “ขอโทษด้วยก็แล้วกัน” สะท้อนอะไรบ้าง?

โตมร ศุขปรีชา เขียนถึง การขอโทษโดยไม่ได้ขอโทษ ที่เรียกกันว่า fauxpology หรือ ‘ขอโทษตอแหล’ ที่มีคำกล่าวขอโทษแต่ไม่ได้สำนึกผิดอย่างแท้จริง

 

หากโลกนี้ไม่มีเก้าอี้

 

โดย เอกศาสตร์ สรรพช่าง

“เก้าอี้ไม่ได้มีส่วนในวิวัฒนาการของมนุษยชาติ แต่มันกลายเป็นสิ่งหนึ่งที่เราขาดมันไม่ได้ และถูกใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด”

คอลัมน์ สารกันเบื่อ เดือนนี้ เอกศาสตร์ สรรพช่าง ตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของเก้าอี้ ที่ ‘ดูเหมือน’ จะเป็นวัตถุที่เราขาดในชีวิตไม่ได้

“การทำเก้าอี้ขึ้นมาหนึ่งตัวเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทรัพยากรหลายอย่าง โดยเฉพาะเวลาทำมาหากิน ความสำคัญของเก้าอี้จึงอาจไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่าอยู่ดีๆ มนุษย์ก็นึกสนุกทำมันขึ้นมา แต่มันต้องมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งอยากนั่งแล้วดูอยู่สูงกว่าคนอื่นๆ”

 

ศาสตราจารย์ ความรู้ และมหาวิทยาลัยระดับโลก

 

โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึงการเมืองในการ ‘ประเมินความรู้’ ความพยายามเลื่อนอันดับในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ความเหลื่อมล้ำในการจัดงบประมาณ และการชี้วัดบุคลากรด้วยจำนวนผลงานวิชาการ

“มหาวิทยาลัยบางแห่งก็ใช้วิธีการซึ่งชวนตกใจอยู่ไม่น้อยในการเพิ่มผลงานการตีพิมพ์ในนามของมหาวิทยาลัย ด้วยการจ้าง ‘มือปืนรับจ้าง’ ชาวต่างประเทศตีพิมพ์ผลงานภายใต้ชื่อของมหาวิทยาลัย โดยมีข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องมีการตีพิมพ์จำนวนกี่บทความในรอบระยะการจ้าง”

“อาจารย์อาวุโสชาวต่างประเทศท่านหนึ่งที่ผมรู้จักมักคุ้นได้ตีพิมพ์เผยแพร่งานวิชาการของตนเองออกมาสู่สาธารณะ ภายหลังจากการเก็บข้อมูลและการทำงานในช่วงระยะเวลาประมาณ 20 ปี งานชิ้นนี้จึงต้องใช้เวลามากกว่าสองทศวรรษกว่าที่จะเผยแพร่ออกมาได้

“เข้าใจว่าอาจารย์ท่านนี้ถ้าบังเอิญมาเกิดและทำงานทางวิชาการอยู่ในสังคมไทยก็อาจต้องถูกเลย์ออฟก่อนที่จะมีชื่อเสียงเป็นแน่แท้”

 

ร่วมรากแต่ขัดแย้ง ความบาดหมางระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย

 

โดย อรอนงค์ ทิพย์พิมล

อรอนงค์ ทิพย์พิมล เขียนถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่ทั้งสองประเทศมีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่าง จนนำไปสู่ความขัดแย้งในการช่วงชิงความเป็นเจ้าของภาษาและวัฒนธรรมมลายู

“ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่หลังจากมาเลเซียประกาศเอกราชได้ไม่นาน กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่ต้นยุคทศวรรษ 1960 เมื่อมาเลเซียต้องการผนวกดินแดนบริเวณซาวักและซาบาห์บนเกาะบอร์เนียว … เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียรู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง”

“ชาวอินโดนีเซียได้เรียกชื่อประเทศมาเลเซียอย่างล้อเลียนว่า ‘มาลิงเซีย’ (Malingsia) แทนคำว่า Malaysia โดยคำว่า ‘maling’ ในภาษามลายูหมายถึง ‘หัวขโมย’ เป็นการจิกกัดของชาวอินโดนีเซียที่มองว่ามาเลเซียเป็นหัวขโมย ชอบขี้ตู่ทึกทักเอาวัฒนธรรมของอินโดนีเซียไปเป็นของตน”

 

101 Policy Forum : นโยบายต่างประเทศไทยในระเบียบโลกใหม่

 

โดย กองบรรณาธิการ The101.world

::101 Policy Forum นโยบายต่างประเทศไทยในระเบียบโลกใหม่ ชวนนักการเมืองหลากพรรคแลกเปลี่ยนถกเถียงเรื่องนโยบายการต่างประเทศไทยในระเบียบโลกใหม่::

นโยบายการต่างประเทศ นับว่าเป็นอีกกุญแจสำคัญหนึ่งที่จะทำให้ประเทศไทยรักษาที่ทางของตนท่ามกลางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและความร่วมมือตลอดเวลา

แต่เมื่อวิกฤตโรคระบาดเข้ามาปั่นป่วน ระเบียบโลกที่ระส่ำระสายจากความขัดแย้งพันลึกระหว่างสองมหาอำนาจจีนและสหรัฐฯ อยู่แล้ว ก็ถูกตอกย้ำให้ตกอยู่ในสภาวะไร้เสถียรภาพมากกว่าเดิม

โจทย์ใหญ่ที่ประเทศไทยต้องตอบให้ได้คือ นโยบายการต่างประเทศแบบไหนที่จะพาไทยให้รอดท่ามกลางสภาวะเช่นนี้

101 ชวน พรรณิการ์ วานิช คณะก้าวหน้า, ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ Pre-Doctoral Fellow จากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สรัสนันท์ อรรณนพพร พรรคเพื่อไทย และอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมหาที่ทางในฝันของไทยในระเบียบโลกใหม่ ตอบโจทย์สำคัญว่านโยบายการต่างประเทศแบบ ‘ไผ่ลู่ลม’ จะยังคงเป็นทางออกหนึ่งเดียวของยุทธศาสตร์การต่างประเทศไทยหรือไม่ ความมั่นคงรูปแบบไหนที่จะทำให้ไทยอยู่รอดท่ามกลางความท้าทายใหม่ อาเซียนในฐานะกลไกในระดับภูมิภาคต้องปรับตัวอย่างไร และประชาชนจะมีส่วนร่วมในนโยบายการต่างประเทศได้อย่างไร

 

วูดโรว์ วิลสันกับความโหดร้ายของประวัติศาสตร์

 

โดย ศุภมิตร ปิติพัฒน์

หรือการลบ ‘ประวัติศาสตร์สีดำ’ อาจทำให้ประวัติศาสตร์นั้นโหดร้ายกว่าเดิม?

ศุภมิตร ปิติพัฒน์เขียนถึงกรณีการปลดชื่อประธานาธิบดี ‘วูดโรว์ วิลสัน’ ออกจาก ‘Woodrow Wilson School of Public and International Affairs’ เพื่อตั้งคำถามว่า เราควรกลับไปแก้ ‘ประวัติศาสตร์สีดำ’ ให้ถูกต้องกับคุณค่าปัจจุบัน หรือเปิดรับสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นไว้เป็นความทรงจำร่วมกันของสังคม

 

“อิเมลดา มาร์กอสเป็นคนน่ารัก”: บทเรียนประชาธิปไตยจาก The Kingmaker

 

โดย ธีรภัทร อรุณรัตน์

ธีรภัทร อรุณรัตน์ เขียนถึงภาพยนตร์สารคดี The Kingmaker ที่ฉายภาพชีวิต อิเมลดา มาร์กอส อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งฟิลิปปินส์ที่พยายามฟื้นคืนอำนาจของตระกูลมาร์กอส แม้สามีจะล่วงลับไปนานแล้ว

ความเหลื่อมล้ำทางอำนาจและการถือครองทรัพยากรที่สะท้อนผ่านชีวิตอิเมลดา สะท้อนให้เห็นว่า ‘ประชาธิปไตยไม่ใช่ยาวิเศษ’ เมื่อความเป็นหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของระบอบประชาธิปไตยถูกงัดคานอำนาจโดยตรงกับความยิ่งใหญ่ของทุนในผู้คนไม่กี่หยิบมือ

แต่ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบที่ว่างเปล่าซึ่งรอให้เติมเต็มเนื้อในที่แก้ปัญหาเหล่านี้ได้

 

ออกแบบนโยบายอย่างฉลาด เพื่อแก้จุดตายของการทำนโยบายไทย

 

โดย ฉัตร คำแสง

ฉัตร คำแสง เปิดคอลัมน์ใหม่ ‘Policy Praxis’ ว่าด้วยศาสตร์และองค์ความรู้ในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ จากประสบการณ์ในชั้นเรียนที่ Harvard Kennedy School และการทำงานในสถาบันคลังสมองด้านนโยบายสาธารณะ

ประเดิมตอนแรกด้วยการวิเคราะห์ ‘จุดตาย’ ของการทำนโยบายแบบไทยๆ พร้อมนำเสนอเครื่องมือใหม่ที่ช่วยออกแบบและขับเคลื่อนนโยบายอย่างชาญฉลาด

 

ผลงาน ‘อ่านใหม่’ ยอดนิยม

เดือนกรกฎาคม 2563

 

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ : มองเศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทย 2019 ไม่มีหรอกซูเปอร์เทคโนแครตที่รู้ทุกอย่าง

 

โดย สมคิด พุทธศรี

เมื่อต้นปี 2019 101 สนทนากับ “เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” เรื่องอนาคตของเศรษฐกิจโลกและไทยในมิติต่างๆ

“เนิร์ดเศรษฐศาสตร์” ผู้ชื่นชอบหนังสือ “ทรราชย์เทคโนแครต” (Tyranny of Experts) กล่าวถึงตลาดนโยบายสาธารณะของไทยว่า

“ถ้าเราเปลี่ยนวิธีคิดในกระบวนการกำหนดนโยบายใหม่ ปล่อยให้กลไกตลาดในตลาดนโยบายทำงาน นโยบายใหม่จะอุบัติ (emerge) ขึ้นมาเอง

“สมมติคุณเห็นโทรศัพท์เครื่องหนึ่งเสีย คุณคงดูว่าโทรศัพท์เครื่องนั้นมีปัญหาอะไร แต่ถ้าคุณเห็นว่าโทรศัพท์รุ่นนี้เสีย คุณต้องกลับมาดูที่กระบวนการผลิตมีปัญหาอะไร ผมคิดว่ากระบวนการผลิตนโยบายของไทยมีปัญหา เป็นปัญหาระดับปรัชญาหรือวิธีการมองโลกเลย

“เวลาแก้ปัญหาเชิงนโยบาย คนส่วนมากมักคิดว่าคำตอบอยู่ที่รัฐ หรือไม่ก็ระบบราชการ ในโลกที่ซับซ้อนมากๆ แบบที่เป็นอยู่ เราจะคาดหวังให้รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง หรือสภาพัฒน์ เป็นคนวาดภาพและวางแผนได้จริงหรือ การให้สุดยอดผู้เชี่ยวชาญไม่กี่คนมานั่งกำหนดนโยบายจากบนลงล่าง ไม่สามารถตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงได้แล้ว

“ไม่ใช่แค่โลกเปลี่ยนและซับซ้อนขึ้นเท่านั้น ศักยภาพของรัฐไทยเมื่อเทียบเมื่อ 30-40 ปีที่แล้วลดลงมาก สถานการณ์ตอนนี้เลยกลายเป็นว่าเราไปฝากความหวังและพึ่งพิงกลไกที่ไม่ได้มีศักยภาพแล้ว”

นอกจากนั้น คุณภาพของการถกเถียงและการตั้งคำถามของสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการกำหนดนโยบาย

“ปัญหาของสังคมไทยคือ คุณภาพการถกเถียงต่ำมาก ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน อาจจะเป็นเพราะวัฒนธรรมความเกรงใจแบบไทยๆ ที่ทำให้ไม่กล้าถามหรือเถียงกัน แต่บางทีมันเกินไปมาก หลายครั้งเวลาที่ผู้มีอำนาจตอบคำถามนี่ เหตุผลเขาแย่มาก เหมือนกับว่าเขาไม่มีความรู้เลย แต่พวกเราก็ยังปล่อยผ่านไป … ผมเชียร์ให้มีการตั้งคำถามเยอะๆ มันจะช่วยให้กระบวนการกำหนดนโยบายดีขึ้นได้”

สุดท้าย “เศรษฐพุฒิ” มอง “ความหวัง” ของประเทศไทยว่า

“ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพมากมายมหาศาล เรามีสมรรถนะ (endowment) ที่ดีมากในหลายเรื่อง ถ้าทำให้การแข่งขันอย่างเป็นธรรมเกิดขึ้นได้ เราจะไปต่อได้ เพราะแบบนี้ผมจึงเชื่อในการทดลองสิ่งใหม่จากคนที่หลากหลาย เชื่อในการกระจายอำนาจ ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมร้านอาหาร จะเห็นเลยว่า การแข่งขันที่เข้มข้นทำให้กระบวนการ ‘ทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์’ (creative destruction) สูงมาก ร้านอาหารเกิด แก่ เจ็บ ตาย กันเป็นว่าเล่น แล้วร้านที่อยู่รอดได้คือร้านที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ตลาดได้

“อย่างไรก็ตาม เวลาพูดถึงความหวัง สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าชีวิตของพวกเขา หรืออย่างน้อยเห็นว่าลูกหลานรุ่นต่อไปจะมีชีวิตที่ดีกว่าเดิมได้ ถ้าไม่มีตรงนี้ ประเทศไทยก็ไปต่อลำบาก”

ว่ากันว่า หลังเดือนกันยายน 2020 “เศรษฐพุฒิ” ผู้นี้มีโอกาสสูงที่จะเข้ารับตำแหน่ง “ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย” คนใหม่ ต่อจาก “วิรไท สันติประภพ”

จริงหรือไม่ – อีกไม่นานคงทราบกัน แต่ไม่ว่าจะในฐานะอะไร ความคิดของ “เศรษฐพุฒิ” เรื่อง “เศรษฐกิจ” และ “เศรษฐศาสตร์” ล้วนเต็มไปด้วยความน่าสนใจเสมอ อยากชวนให้ลองอ่านความคิดของเขากันดู

 

สปิริตสื่อไทยใต้ท็อปบูท บทเรียนจาก “ฐปณีย์-อิศรา-ประชาไท”

 

โดย ธิติ มีแต้ม 

บทเรียนของสื่อไทยในห้วงยามที่สังคมปกครองด้วยคำสั่งคืออะไร

ธิติ มีแต้ม ชวน ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ‘ข่าว 3 มิติ’ มนตรี จุ้ยม่วงศรี บ.ก.ศูนย์ข่าวสืบสวนสอบสวน ‘สำนักข่าวอิศรา’ และ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการ ‘เว็บไซต์ประชาไท’ มาถอดบทเรียน เพื่อทบทวนบทบาทสื่อมวลชนไทย ภายใต้การควบคุมของ คสช.

เมื่อเพดานเสรีภาพถูกกดต่ำลง สปิริตสื่อจะฉายฉานอย่างไร

“IO คือการยืนยันว่าไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษในหมู่ชายชาติทหาร” – ฐปณีย์ เอียดศรีไชย

“หัวใจของข่าวสืบสวนสอบสวน ไม่เลือกรัฐบาลพลเรือนหรือรัฐบาลทหาร ข่าวอุทยานราชภักดิ์ที่อิศรารายงาน ผมก็ไม่มีอะไรต้องกลัว ผมไปลงพื้นที่เอง ไปคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ ไม่มีใครมาห้าม” – มนตรี จุ้ยม่วงศรี

“ต้องยอมรับว่า คสช. ทำสำเร็จที่ทำให้สังคมไทยรู้สึกบั่นทอนและคุ้นชินกับการใช้วิธีนอกกฎหมาย” – จีรนุช เปรมชัยพร

 

“นักเศรษฐศาสตร์ต้องตั้งคำถามใหญ่กว่าเดิม” ธนสักก์ เจนมานะ กับการศึกษาความเหลื่อมล้ำไทย

 

โดย วจนา วรรลยางกูร

“ผมเชื่อว่านักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ต้องกล้าตั้งคำถามที่ใหญ่กว่าเดิม ปัญหาของนักเศรษฐศาสตร์คือเรามักทำประเด็นเล็กๆ ไม่ได้ตั้งคำถามใหญ่ในเชิงสังคม”

“ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพยายามที่จะเอาความเป็นการเมืองออกจากความเหลื่อมล้ำ (depoliticize) แม้มีการหยิบยกเรื่องความเหลื่อมล้ำมาพูดถึง แต่เป็นนโยบายแบบแก้ปัญหาปลายเหตุ ถึงที่สุดแล้วปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองด้วย”

“หากจะแก้เรื่องความเหลื่อมล้ำจริงๆ ก็คือการปฏิรูปสถาบันทางการเมือง แน่นอนว่างานวิจัยเศรษฐศาสตร์ด้านนโยบายนั้นสำคัญ แต่ด้วยลักษณะทางการเมืองปัจจุบันจะเสนออะไรไปก็เป็นไปไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงที่สถาบันทางการเมืองซึ่งก็ดูไม่มีวี่แววสักเท่าไหร่”

วจนา วรรลยางกูร คุยกับ มาร์ค-ธนสักก์ เจนมานะ นักศึกษาปริญญาเอก Paris School of Economics และนักวิจัย World Inequality Lab (WIL) ถึงงานวิจัยเรื่องความเหลื่อมล้ำไทยของเขาและชีวิตนักวิจัยในปารีส ร่วมศูนย์วิจัยเดียวกันกับ โธมัส พิเก็ตตี้ ผู้เขียนหนังสือ Capital in the 21st Century

 

การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเรื่องเพศ : เมื่อคดีข่มขืนยอมความไม่ได้อีกต่อไป

 

โดย ปกป้อง ศรีสนิท

ปกป้อง ศรีสนิท เขียนถึงการการแก้ไขความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2562 ตั้งแต่การยอมความในคดีข่มขืน การคุ้มครองเด็ก และการเพิ่มโทษคนที่แสวงหาผลประโยชน์จากโสเภณี

“28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราได้เปลี่ยนเป็นความผิดอาญาแผ่นดินอย่างสมบูรณ์ โดยผลของประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่มาตรา 281 คงเหลือให้เป็นความผิดยอมความได้เฉพาะการข่มขืนระหว่างคู่สมรสในบางพฤติการณ์ที่ไม่รุนแรงเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงถึงโครงสร้างการดำเนินคดีข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งน่าจะมีส่วนช่วยสร้างความรับรู้ให้กับคนในสังคมโดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ให้เคารพและให้เกียรติทางเพศกับผู้อื่น ไม่ใช่ซึมซับการใช้อำนาจเหนือเหมือนในฉากหนังเดิมๆ ว่าข่มขืนไปก่อนแล้วเขาก็จะมารักเราเอง…”

“หากวันนี้เราทราบว่ามีผู้ย้ายมาเป็นเพื่อนบ้านใหม่เคยทำผิดฐานฉ้อโกงมาหลายคดี แต่เพื่อนบ้านใหม่นั้นไม่เคยถูกลงโทษเลยเพราะคดีอาญายุติหมด เพราะผู้เสียหายไม่เอาเรื่องบ้าง มีการยอมความบ้าง เราคงยังรู้สึกปลอดภัยอยู่ เพราะเขาไม่ใช่ภัยสังคม เพียงแต่หากเขาขอยืมเงิน เราอย่าให้ยืมเขาก็พอ

ตรงกันข้าม หากวันนี้เราทราบว่ามีเพื่อนบ้านย้ายมาอยู่ใหม่ที่เคยทำผิดข่มขืนกระทำชำเราหลายคดี และไม่เคยถูกลงโทษเลยเพราะคดียุติลง เพราะยอมความบ้างหรือเหตุผลทางเทคนิคบ้าง เราคงรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยสำหรับตัวเราและครอบครัว ด้วยเหตุนี้ ข่มขืนกระทำชำเราจึงควรเป็นความผิดอาญาแผ่นดินที่ยอมความไม่ได้

สำหรับข้ออ้างที่ว่าผู้เสียหายไม่กล้าแจ้งความ ก็อย่าไปบังคับเขา เพราะจะเป็นการกระทบจิตใจเขาซ้ำสอง ในเรื่องนี้กระบวนการยุติธรรมได้แก้ไขมานานแล้ว กล่าวคือ การสอบสวนความผิดเกี่ยวกับเพศที่ผู้เสียหายเป็นผู้หญิง ต้องใช้พนักงานสอบสวนหญิงเป็นผู้ถามปากคำ นอกจากนี้ ศาลสามารถคุ้มครองผู้เสียหายไม่ให้เผชิญหน้ากับผู้กระทำความผิดในการพิจารณาคดีเหล่านี้ได้”

 

‘ปีศาจ’ ความเหลื่อมล้ำ และกาลเวลา

 

โดย ธร ปีิติดล

ธร ปีติดล อ่านความเหลื่อมล้ำที่ปรากฏในนวนิยาย ‘ปีศาจ’ ของเสนีย์ เสาวพงศ์ พร้อมวิเคราะห์ว่าเหตุใดกาลเวลาที่เปลี่ยนไป จึงไม่อาจเปลี่ยนความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้เลย

 

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม

เดือนกรกฎาคม 2563

 

101 Gaze Ep.1 “โคตรคนกอง อึดทะลุคิว”

 

โดย ทีมงาน 101 Gaze

::101 Gaze รายการที่เคลือบหวานให้ปรากฎการณ์ทางสังคมที่เข้มข้น ชวนคุณมาจดจ้องเรื่องราวต่างๆ ผ่านมุมมองความคิดที่ลึก และมุมมองสายตาที่ล้ำ::

ประเดิมตอนแรกด้วย ‘โคตรคนกอง อึดทะลุคิว’

เวลาการทำงานต่อกันหลายสิบชั่วโมงจนต้องอดหลับอดนอน คิวการถ่ายทำที่อัดแน่น วันต่อวัน คืนต่อคืน นี่คือสภาพการทำงานที่ท้าทายขีดจำกัดของ ‘คนกอง’ หรือคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ตลอดมา

และเมื่อถึงคราวที่วายร้ายอย่าง ‘โควิด’ เข้ามาเปลี่ยนทุก scene บนโลกไปอย่างฉับพลัน พวกเขาต้องเจอกับอะไร สภาพการทำงานที่แสนสาหัสจะถูกซ้ำเติมหรือไม่

หนทางใดจะเป็นทางออกเพื่อกู้หัวใจ ความเป็นธรรม และสวัสดิภาพในการทำงานของคนกองให้ดีขึ้น!

สำรวจปัญหาการทำงานกองถ่าย ผ่านความเห็นและประสบการณ์ของ ตั้ม-พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ ผู้ออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ (Production Designer) ไก่-ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ และ ปั๊ป-ภิไธย สมิตสุต ผู้กำกับภาพ

 

101 One-On-One Ep.160 “รัสเซียบนระเบียบโลกใหม่” กับ กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ

 

โดย 101 One-on-One

ในรอบหลายปีที่ผ่านมา รัสเซียกำลังกลับมาเป็นผู้เล่นหลักในเวทีโลกอย่างน่าจับตามอง ยิ่งในช่วงระเบียบโลกกำลังปั่นป่วน บทบาทในเวทีการเมืองโลกของรัสเซียยิ่งแหลมคม

กระนั้น ผลประโยชน์ของรัสเซียก็มีความเฉพาะตัว ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกับผู้เล่นหลักค่ายใดในโลก

รัสเซียอยู่ตรงไหนในภูมิศาสตร์การเมืองโลก อะไรคือวิสัยทัศน์ของรัสเซียต่อระเบียบโลกใหม่ และอะไรคือฝันใหญ่ของวลาดิเมียร์ ปูติน

สนทนากับ ดร.กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ โครงการรัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล

 

101 One-On-One Ep.162 “คิด เคลื่อน ไทย ในมหาวิกฤต” กับ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช

 

โดย 101 One-on-One

ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับ 3 วิกฤตใหญ่ – สุขภาพ เศรษฐกิจ การเมือง – กลุ่ม CARE ได้เปิดตัวขึ้นเพื่อสร้างทางเลือกและเขย่าดุลยภาพใหม่ในสนามการเมืองไทย

คุยกับ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม CARE ผู้ผ่านเกมการเมืองและประสบการณ์การบริหารมาอย่างโชกโชน

‘หมอมิ้ง’ อ่านเศรษฐกิจการเมืองไทยในมหาวิกฤตรอบนี้อย่างไร คุยลึก ถามตรงพร้อมกัน

ดำเนินรายการโดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์

 

101 One-On-One Ep.164 มองอนาคตโลกการทำงาน กับ ธนา เธียรอัจฉริยะ

 

โดย 101 One-on-One

‘ชีวิตส่วนตัว’ และ ‘งาน’ ไม่อาจแยกกันได้สนิท ยิ่งเมื่อโควิดเข้ามา ยิ่งทำให้คนเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของรูปแบบการทำงานตามวิธีการใช้ชีวิต หรือแม้แต่มีการชวนถกเถียงว่า “เราทำงานกันไปเพื่ออะไร”

แล้วโลกทำงานในอนาคตเป็นอย่างไร หาคำตอบไปพร้อมกันกับ ธนา เธียรอัจฉริยะ CMO ธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ abc คุยเรื่องการทำงานของคนรุ่นใหม่ ทัศนคติต่องานของเจเนอเรชันล่าสุด และการจัดการบริหารองค์กรให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไป

ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

 

SIDE B อีกเสียงจากที่เขาบอกว่า “ความเจริญจะเข้ามาในชุมชน”

 

โดย ธิติ มีแต้ม และเมธิชัย เตียวนะ

“ฉันเดินทางจากบ้านใน อ.จะนะ จ.สงขลา เข้ากรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศ เป็นระยะทางกว่า 1000 กิโลเมตร เพื่อมายื่นหนังสือถึงผู้นำประเทศของฉันอย่างไร้ความหวังและไม่รู้ชะตากรรมในอนาคต หากแต่เป็นหนทางหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำ

“ในขณะเดียวกันนี้เพื่อนๆ ของฉันกำลังเดินทางไปเรียนหนังสือหลังจากโรงเรียนปิดมานานกว่า 3 เดือน ด้วยสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 มันทำให้ฉันคิดถึงความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของคุณ ที่เคยเลือกที่จะต้องขาดเรียนหนังสือเพื่อปกป้องโลกใบนี้ไว้ สิ่งนี้ได้ทำให้พลังใจของฉันฟื้นคืนขึ้นอีกครั้ง

“ฉันจึงอยากบอกเล่าความคิด ความรู้สึก และเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นกับฉันและพี่น้องของฉันให้คุณได้รับรู้ ด้วยหวังว่าพลังระหว่างเราทั้งสองคนจะเชื่อมโยงถึงกันได้ ซึ่งฉันจะได้นำไปใช้เพื่อการปกป้องบ้านเกิดและชุมชนของฉัน ซึ่งหมายถึงการได้ปกป้องโลกใบนี้ร่วมกันด้วย สิ่งที่คุณทำได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับฉัน ทำให้ฉันมั่นใจในสิ่งที่ฉันกำลังทำอยู่ ขอบคุณนะ…เกรต้า”

ข้อความในใจบางส่วนจาก ไครียะห์ ระหมันยะ เยาวชนไทยอายุ 17 ปี ส่งถึง เกรตา ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีดิช เนื่องจากชาวบ้าน อ.จะนะ จ.สงขลา กำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลง ชุมชนและทะเลของพวกเขาถูกท้าทาย

รัฐบาลอ้างการพัฒนา จ่อผุดนิคมอุตสาหกรรม กินพื้นที่ 16,753 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมเบา 4,253 ไร่, พื้นที่อุตสาหกรรมหนัก 4,000 ไร่, พื้นที่เขตอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า 4,000 ไร่ จำนวน 4 โรง กำลังผลิตรวม 3,700 เมกะวัตต์, พื้นที่เขตอุตสาหกรรมต่อเนื่องกับกิจกรรมหลังท่าเรือ 2,000 ไร่, พื้นที่เขตอุตสาหกรรมศูนย์รวมและกระจายสินค้า 2,000 ไร่, พื้นที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จและแหล่งที่พักอาศัย จำนวน 500 ไร่

โครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุน 18,680 ล้านบาท สามารถจ้างงานได้ถึง 100,000 อัตรา 

เสียงชาวจะนะ อาจถึงหู เกรตา ธันเบิร์ก แต่จะถึงหูรัฐบาลไทยหรือไม่ ?

101 ชวนชมสารคดีข่าวสั้น SIDE B อีกเสียงจากที่เขาบอกว่า… “ความเจริญจะเข้ามาในชุมชน”

 

 

 

 

 

 

 

 

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save