fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world (ตุลาคม 2560)

20 ผลงานใหม่ยอดนิยมที่มีผู้อ่านสูงสุดของ The101.world ในช่วงเดือนตุลาคม 2560

 

เมื่อบ้าน วัด โรงเรียน หล่อหลอมความโกง : ถอดรหัสพฤติโกงกับธานี ชัยวัฒน์

 

โดย ทีมงาน The101.world

ผศ.ดร. ธานี ชัยวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม จะมาอธิบายว่าพฤติกรรมการโกงไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในนักการเมืองอย่างที่เราเข้าใจ แต่เป็นเรื่องที่ติดกับคนในสังคมไทยแทบทุกคน พฤติกรรมแบบนี้เกิดจากอะไร แล้วเราควรแก้ไขอย่างไรกันแน่?

ชมคลิป “ทำไมคนเราถึงโกง?” โดย ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ได้ที่นี่

 

เมื่อ E-Commerce กลายเป็นอดีต และ O2O คืออนาคต

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

อาร์ม ตั้งนิรันดร เล่าอนาคตของวงการค้าปลีกที่กำลังมาแรงทั้งในจีนและสหรัฐอเมริกา นั่นคือ O2O (Online to Offline) โมเดลธุรกิจที่ไม่ใช่ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้ารูปแบบเดิม แต่ก็ไม่ใช่ E-Commerce ในโลกออนไลน์เท่านั้น แล้วมันคืออะไรกันแน่?

 

ถกเรื่องความเหลื่อมล้ำในรั้วโรงเรียน กับ อรรถพล อนันตวรสกุล

 

โดย วันดี สันติวุฒิเมธี

วันดี สันติวุฒิเมธี ชวน อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิพากษ์การศึกษาไทย จากความเหลื่อมล้ำในรั้วโรงเรียน จนถึงทางออกของการปฏิรูประบบการศึกษา

……….

(1)

“ขณะนี้ความเหลื่อมล้ำได้บุกเข้ามาในโรงเรียนของรัฐมากขึ้นเรื่อยๆ โรงเรียนกลายเป็นผู้ผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำและความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมให้เด็กเห็น ทั้งที่การศึกษาเป็นเรื่องสวัสดิการขั้นพื้นฐาน แต่ช่องว่างของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนกำลังถ่างกว้างมากขึ้น”

(2)

“พ่อแม่ส่วนใหญ่เมื่อส่งลูกเข้าโรงเรียนก็คิดว่าตนเองหมดบทบาทแล้ว เวลาระดมทรัพยากรก็เอาเงินใส่ซองให้โรงเรียนก็จบ สิ่งสำคัญคือ เราต้องพยายามสนับสนุน ให้พ่อแม่เข้ามาเป็นเจ้าของการศึกษามากกว่าเป็นผู้จ่ายเพื่อการศึกษา”

(3)

“เด็กเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างเหลื่อมล้ำ ยอมเป็นคนอยู่ข้างล่าง ตระหนักในสิทธิพิเศษของคนอยู่ข้างบน นี่คือสิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการมีโปรแกรมพิเศษเหล่านี้อยู่ในโรงเรียน”

(4)

“เด็กเก่งจะเติบโตมาด้วยสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันสูงมากขึ้นเรื่อยๆ … เด็กเหล่านี้ต้องแข่งกันถีบตัวเองขึ้นไปให้ได้ เพราะพ่อแม่ปลูกฝังค่านิยมแบบปากกัดตีนถีบให้ คือ กัดคนข้างบนลง แล้วถีบคนข้างล่างลงไป”

(5)

“ในสังคมไทย เด็กเริ่มไปโรงเรียนวันแรกด้วยความอยากเรียนรู้มาก สุดท้ายเรียนจบจากมหาวิทยาลัยด้วย degree with no passion ไม่มีแม้กระทั่ง passion ต่อตัวเอง ดังนั้น passion ต่อสังคมไม่ต้องพูดถึง”

……….

 

ไขปริศนา วาระสุดท้าย ‘พระเจ้าตาก’ : ประหารจริง หรือจัดฉาก?

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

เมื่อพูดถึง ‘พระเจ้าตาก’ หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สิ่งที่คนรับรู้โดยทั่วไปคือภาพของวีรกษัตริย์ ผู้กอบกู้เอกราชจากพม่าและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง

ครั้นเวลาล่วงมาหลายร้อยปี ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าตากบางแง่มุมที่คลุมเครือ โดยเฉพาะชุดเหตุการณ์ในวาระสุดท้ายที่ยังคงเป็นข้อถกเถียงกันว่า พระเจ้าตากสติวิปลาสและถูกประหารชีวิตจริงหรือไม่?

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล รายงานจากงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2560 ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เก็บความการบรรยายของ ปฐมพงษ์ สุขเล็ก ผู้เขียนหนังสือ ‘การเมือง เรื่องเล่า พระเจ้าตาก หลัง 2475’ ในหัวข้อ ‘อวสานพระเจ้าตาก : จากพงศาวดารถึงวรรณกรรมปัจจุบัน’ มาเล่าสู่กันฟังถึงที่มาที่ไปของ ‘เรื่องเล่าและการสร้างความหมาย’ เกี่ยวกับ ‘พระเจ้าตาก’ ที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะฉากสำคัญในบั้นปลายชีวิต

 

แนวคิด nudge ดัดพฤติกรรมมนุษย์

 

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ

วรากรณ์ สามโกเศศ เล่าเรื่องการประยุกต์ใช้แนวคิด nudge ของ Richard Thaler ผู้เขียนหนังสือ “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” (Misbehaving) เจ้าของรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์คนล่าสุด ว่ามีส่วนช่วยทำให้ชีวิตส่วนตัวและสังคมดีขึ้นได้อย่างไร

 

 

 อยุธยานอกตำราเรียน

 

โดย อันโตนิโอ โฉมชา

จากอดีตที่ผ่านมา เราได้รับการปลูกฝังจากตำราเรียนประวัติศาสตร์ ว่าสังคมอยุธยาเป็นสังคมชาวไร่ชาวนา ทำกสิกรรมเป็นอาชีพหลัก มีการแบ่งชนชั้น ใช้ระบบไพร่ขุนมูลนาย พอกรุงแตก พม่าก็เผาทำลายเมืองจนเหลือเพียงซากปรักหักพัง ขนวัสดุและของมีค่าต่างๆ กลับไปยังบ้านเมืองของตน

ทว่าจากหลักฐานชุดใหม่ที่นักวิชาการรุ่นหลังพยายามศึกษา เผยให้เห็นว่าข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในตำราเรียนนั้น เป็นการเขียนประวัติศาสตร์แบบ ‘เข้าข้างตัวเอง’ เพื่อสร้างจิตสำนึกแบบชาตินิยม และเป็นชุดข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อยู่พอสมควร

ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2560 เรื่อง “250 ปีเสียกรุงศรีอยุธยา – สถาปนากรุงธนบุรี” จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีการหยิบยกข้อมูลหลักฐานใหม่เกี่ยวกับอยุธยามานำเสนอในหลายประเด็น

101 ขอนำเสนอประเด็นสำคัญจากเวทีย่อย หัวข้อ “เศรษฐกิจและสังคมสยาม : จากอยุธยาถึงกรุงธนบุรี” มาเล่าสู่กันฟัง ว่าด้วยมุมมองใหม่เกี่ยวกับสภาพสังคมเศรษฐกิจในสมัยอยุธยา และความเข้าใจผิดบางประการ เกี่ยวกับเหตุการณ์ ‘กรุงแตก’

สิงคโปร์โมเดล : กำแพง 4 ด้านที่เผด็จการข้ามไม่พ้น

 

โดย วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

ผู้นำหลายประเทศเฝ้าฝันถึงโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ แต่อะไรคือกำแพงกั้นขวางที่ทำให้ “สิงคโปร์โมเดล” ไม่สามารถถูกผลิตซ้ำในประเทศอื่นได้ง่ายๆ

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร เสนอคำตอบเกี่ยวกับเงื่อนไขความสำเร็จของสิงคโปร์ที่ประเทศอื่นยากจะเลียนแบบ

 

‘ขอนแก่นโมเดล’ พัฒนาเมืองด้วยพลังคนเมือง : คุยกับ สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย

 

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

หากพูดถึงเรื่องเมืองที่กำลังมาแรงในประเทศไทย ขอนแก่นน่าจะเป็นหนึ่งในนั้นอย่างแน่นอน ทุกวันนี้ ทุกคนต่างประจักษ์กันแล้วว่า ขอนแก่นเป็นเมืองแรกๆ ที่ลุกขึ้นมาพัฒนาตัวเอง โดยเริ่มจากคนท้องถิ่น ไม่ง้อรัฐ จนกลายเป็นโมเดลที่เมืองอื่นๆ อยากเดินตาม

วชิรวิทย์ คงคาลัย ชวนถามคำถามสำคัญว่าพวกเขาเดินมาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย จะมาเป็นผู้ไขข้อสงสัยดังกล่าว

 

ให้ใบหน้าเล่าเรื่องเพศ

 

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

จะรวยจะจน จะมีโชคลาภหรือไม่มี คนจีนบอกว่าให้ดูที่โหงวเฮ้งบนใหน้า แต่นอกจากเรื่องเหล่านั้น รู้หรือเปล่าว่า ‘สัดส่วนใบหน้า’ ของเรายังบอกถึง ‘ความต้องการทางเพศ’ ได้อีกต่างหาก

ใบหน้าของคุณและคนที่แอบชอบจะบอกแรงขับทางเพศได้อย่างไร อ่านบทความนี้ให้จบแล้วรีบเอาไม้บรรทัดมาวัดกัน!

 

ความสำเร็จที่ล้มเหลว” ของปรีดี เกษมทรัพย์ (ที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์)

 

โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล

สมชาย ปรีชาศิลปกุล ทบทวนคุณูปการของ ‘ปรีดี เกษมทรัพย์’ ที่มีต่อการบุกเบิกการเรียนการสอนนิติปรัชญาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตั้งคำถามถึง ‘ความหยุดนิ่ง’ ของสถานะความรู้ทางนิติปรัชญาของสถาบันทางกฎหมายแห่งนี้

 

อ่านคำถามอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ​ ถึงฝ่ายอนุรักษนิยม เรื่องระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

 

โดย ศุภมิตร ปิติพัฒน์

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ เขียนจดหมายถึง สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จากอีกฟากฝั่งหนึ่งทางอุดมการณ์ เพื่อสนทนาและคิดต่อจากคำถามสำคัญที่อาจารย์สุธาชัยเคยตั้งไว้ให้ฝ่ายอนุรักษนิยมตอบ คำถามนั้นคือเรื่องระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

 

 

โดย จิตติภัทร พูนขำ

เปิดเบื้องลึกการเมืองรัสเซีย วิถีแห่งอำนาจของประธานาธิบดีปูตินเป็นอย่างไร ปูตินเดินบนวิถีผู้นำแบบไหน เครือข่ายอำนาจของเขาคือใคร มีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างไร และเส้นทางอำนาจของการเมืองรัสเซียในอนาคตจะเป็นอย่างไร

 

ยักษ์ผู้ฆ่า ‘แจ๊ค’ : จากจุดเริ่มต้นถึงบทสุดท้ายของช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.

 

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

ลองยกโทรศัพท์มือถือของคุณขึ้นมาดู ถ้ายังพบว่ามีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรหน้าตาแสนคุ้นเคยอยู่ ยินดีด้วย คุณกำลังจะได้เป็นเจ้าของมรดกทางเทคโนโลยีที่ (เกือบ) จะสูญพันธุ์

ที่เราบอกอย่างนั้น เพราะในอีกไม่ช้าไม่นาน ช่องเสียบอายุกว่าร้อยปีนี้กำลังจะถูกยักษ์ใหญ่ในโลกไอทีร่วมใจกันฆ่า จนลูกหลานยุคหน้าอาจได้เห็นมันแค่ในพิพิธภัณฑ์

เรื่องราวของพอร์ตสารพัดนึกนี้จะน่าเศร้าอย่างไร ค้นหาคำตอบได้ในนิยายสุดเศร้าชิ้นนี้เลย!

 

ดวงมณี เลาวกุล : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความฝันที่(ไม่)เป็นจริง?

 

โดย สมคิด พุทธศรี

101 ชวน ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอบทุกคำถามและข้อวิจารณ์เกี่ยวกับร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง – ภาษีเพื่อความเป็นธรรมและเพื่อท้องถิ่นที่หลายฝ่ายร่วมผลักดันมาหลายทศวรรษแต่ไม่สำเร็จสักที

รอบนี้ความฝันมีโอกาสเป็นจริงหรือไม่

……….

(1)

“ที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่มีเครื่องมือที่ใช้จัดการเรื่องการกระจายอำนาจและการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ … (นี่คือ)โจทย์ของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”

(2)

“ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตย คนที่มีอำนาจในการออกกฎหมายส่วนใหญ่มักเป็นคนที่มีทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่คนธรรมดาหรือตาสีตาสาที่ไหน ดังนั้น ผลประโยชน์ทับซ้อนจึงเยอะมาก”

(3)

“ผู้วิจารณ์คำนวณภาษีอย่างไร ใช้ข้อมูลอะไรเป็นฐานภาษี เพราะการจัดเก็บจากที่ดินที่เป็นอาคารพาณิชย์ ไม่ได้ใช้มูลค่าที่ซื้อขายจริงเป็นฐานภาษี แต่ใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ซึ่งทุกคนทราบดีว่าต่ำกว่าราคาซื้อขายจริงค่อนข้างมาก ดังนั้น ถ้าผู้วิจารณ์คำนวณโดยใช้มูลค่าซื้อขายจริง ก็เป็นไปได้ว่าจะเข้าใจผิดและคำนวณผิด …

… นอกจากนี้ การคำนวณยังต้องหักค่าเสื่อมราคาอีก โดย 10 ปีแรก จะหักค่าเสื่อมปีละ 1% หลังจากนั้นจะหักปีละ 2% จนกระทั่งถึง 42 ปี ปีที่ 43 เป็นต้นไปหักค่าเสื่อม 76% ตลอดอายุการใช้งาน นี่เป็นกรณีของตึกหรือบ้านทั่วๆ ไป ถ้าเป็นบ้านไม้จะหักค่าเสื่อมได้มากกว่าและเร็วกว่านี้ โดยตั้งแต่ปีที่ 19 ก็หักค่าเสื่อม 93% ตลอดอายุการใช้งานแล้ว ดังนั้น พวกมรดกในเขตเมืองทั้งหลายที่ส่วนใหญ่มักเป็นอาคารเก่าเกิน 42 ปีแล้ว จะมีฐานภาษีสิ่งปลูกสร้างเพียงแค่ประมาณ 1,800 บาท (24 % ของ 7,500 บาท) ต่อตารางเมตรเท่านั้น”

(4)

“โจทย์จึงไม่ใช่การเอาอำนาจกลับคืนจากท้องถิ่น แต่คือการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ถ้ามีกระบวนการเรียนรู้และการตรวจสอบมากขึ้นในอนาคต คอร์รัปชันในท้องถิ่นจะลดลงไปเอง และท้องถิ่นจะตระหนักได้ว่าควรใช้เงินไปทำอะไรบ้าง”

……….

 

ยุคสมัยแห่งความเงียบ (ครั้งที่ 2) ของไทย

 

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

ประจักษ์ ก้องกีรติ ย้อนอดีต 59 ปี รัฐประหารปี 2501 ของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หนึ่งในจุดเปลี่ยนการเมืองไทยที่สำคัญที่สุด

จากยุคสมัยแห่งความเงียบในครั้งนั้นถึงครั้งนี้ กงล้อประวัติศาสตร์หมุนทับประชาชนผ่านเครื่องมืออะไรและอย่างไร

……….

“ความสำเร็จของรัฐเผด็จการอำนาจนิยมอย่างยั่งยืนมิได้อยู่ที่การปิดกั้น ‘ประชาชนบางกลุ่ม’ แต่อยู่ที่การกีดกัน ‘ประชาชนทุกกลุ่ม’ ออกจากไปกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสมัครใจ

และไม่ได้อยู่ที่การทำลาย ‘พลเมืองบางคนที่เข้มแข็ง’ หากอยู่ที่การแปรเปลี่ยนคนทั้งสังคมให้กลายเป็น ‘พลเมืองที่เฉื่อยชา’

และความสำเร็จขั้นสุดยอดคือ มิเพียงทำให้ประชาชนบางกลุ่มบางคนกลัวที่จะตั้งคำถาม แต่ทำให้ประชาชนทั้งหมดทั้งมวลไม่ฉุกคิดแม้แต่จะตั้งคำถามกับการใช้อำนาจของผู้นำอีกต่อไป

ระบอบเผด็จการที่ดำรงอยู่อย่างยาวนานต่อเนื่องจึงไม่ได้ทำลายแค่สถาบันทางการเมืองที่ส่งเสริมประชาธิปไตยหรือหลักนิติรัฐอย่างที่มักจะเข้าใจกัน แต่มันยังทำลายสติปัญญาของผู้คนที่จะตั้งคำถาม ทำลายจิตวิญญาณของพลเมืองที่รักอิสระเสรี และทำลายสามัญสำนึกของประชาชนที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีศักดิ์ศรีและเคารพตัวเอง”

– ประจักษ์ ก้องกีรติ –

……….

 

ความน่าจะอ่าน : 15 เล่มน่าอ่าน จากงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 22

 

โดย ทีมงาน The101.world

โอกาสนี้ เราจึงขอชี้เป้ากันให้ชัดๆ อีกที กับ ’15 หนังสือน่าอ่าน’ คัดสรรโดยกรรมการ ‘ความน่าจะอ่าน’ คนเดิม-คนดี ทั้ง 5 คน

นอกจากนี้ อีกหนึ่งไฮไลต์ในงานที่อยากให้ทุกคนได้ไปสัมผัส ก็คือนิทรรศการ ‘ความท๙งจำ’ ประมวลเหตุการณ์และพระราชประวัติด้านต่างๆ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2490 จนถึงปัจจุบัน บอกได้คำเดียวว่าทรงคุณค่า (และหาชมยาก) อย่างยิ่ง 

รู้ทันอนาคต The Industries of the Future กับ อเล็ก รอสส์

 

โดย ทีมงาน The101.world

อเล็ก รอสส์ จะมาให้ความกระจ่างกับคำถามที่เราสงสัยเกี่ยวกับอนาคต อย่างเราควรปรับตัวอย่างไรให้ทันความเปลี่ยนแปลงยิ่งกว่าเดิมของโลกอนาคต แล้วนวัตกรรมใหม่ๆ จะส่งผลต่อเราและสังคมในแง่ไหนบ้าง

ชวนตื่นตาตื่นใจกับคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเจ้าของหนังสือ ‘The Industries of the Future’ ที่ติดอันดับขายดีของ New York Times ในปี 2559 และมันสมองระดับที่ปรึกษาของบารัค โอบามา และฮิลลารี คลินตัน

และ ห้ามพลาด! บทสัมภาษณ์สุดพิเศษ เมื่อ 101 จับเข่าคุยกับนักคิดหนุ่มแห่งโลกอนาคต “อเล็ก รอสส์” ซึ่งเพิ่งประกาศท้าชิงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแมรีแลนด์ในการเลือกตั้งปี 2018

“ผมตัดสินใจลงเลือกตั้งหลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง เพราะคิดว่า พรรคเดโมแครต รวมถึงการเมืองอเมริกัน ต้องการคนหน้าใหม่และไอเดียใหม่”

รอสส์ บอกกับ 101 ด้วยสายตามุ่งมั่น ระหว่างพูดคุยสารพัดเรื่อง จากเรื่องที่เขายังไม่ได้ ‘เขียน’ ไว้ในหนังสือ ตั้งแต่เรื่องประเทศกำลังพัฒนากับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากอุตสาหกรรมใหม่ และด้านมืดของเทคโนโลยี จนถึงเรื่องเศรษฐกิจและการเมืองแห่งอนาคตที่เขากำลังจะลงมือ ‘เขียน’ บันทึกการเมืองบทใหม่ด้วยตัวเอง

อ่านบทสัมภาษณ์ระหว่าง อเล็ก รอสส์ กับ สมคิด พุทธศรี และจิตทิพย์ มงคลชัยอรัญญา ได้ ที่นี่

 

‘สายส่ง’ มีไว้ทำไม ? : คุยกับ มิ่งมานัส ศิวรักษ์ แห่งสายส่ง ‘เคล็ดไทย’

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

ซีรีส์ ‘อนาคตธุรกิจหนังสือไทย’ ตอนใหม่ ว่าด้วยเรื่องราวของ ‘สายส่ง’

ในวงจรธุรกิจหนังสือ นอกจากสำนักพิมพ์ที่เป็นผู้ผลิตต้นทาง กับร้านหนังสือที่เป็นปลายทาง ฟันเฟืองสำคัญอีกอย่างก็คือ ‘สายส่ง’ ซึ่งอยู่ตรงกลาง ทำในหน้าที่ในการจัดจำหน่าย ช่วยกระจายหนังสือจากสำนักพิมพ์ไปยังร้านต่างๆ

ทว่าในยุคที่ผู้ผลิตกับลูกค้าสามารถติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรง ผ่านช่องทางออนไลน์และระบบขนส่งที่ทันสมัย คนที่อยู่ตรงกลาง ย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ยิ่งในช่วงที่แวดวงหนังสือซบเซา ทุกภาคส่วนต้องดิ้นรน สายส่งตกเป็นหนึ่งในจำเลย ข้อหาหักส่วนแบ่งโดยที่แทบไม่ต้องทำอะไรเลย

บทบาทที่แท้จริงของสายส่งหนังสือคืออะไร แตกต่างจากการจัดจำหน่ายสินค้าในธุรกิจอื่นอย่างไร และต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้างในสถานการณ์ปัจจุบัน

101 คุยกับ มิ่งมานัส ศิวรักษ์ แห่งสายส่งศึกษิต บริษัท เคล็ดไทย จำกัด เพื่อตอบข้อสงสัยต่างๆ เหล่านี้ รวมถึงคำถามสำคัญที่ว่า สายส่งมีไว้ทำไม?

 

ผลกระทบของ Brexit กับปัญหาขยะ

 

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

ผลกระทบของการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรหรือ #Brexit ไม่ได้จบอยู่แค่ปัญหาผู้อพยพ หรือเศรษฐกิจและการค้าเท่านั้น เพราะเรื่องที่เราคิดว่าเล็กๆ อย่าง ‘ขยะ’ ก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน

ขยะเกี่ยวอะไรกับ Brexit แล้วอนาคตด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของชาวยุโรปจะเป็นอย่างไรต่อไป ไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน!

 

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ กับสายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย

 

โดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ รำลึกถึง สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นักประวัติศาสตร์ก้าวหน้า ผู้ไม่เคยท้อถอยและสิ้นหวังต่อการเคลื่อนไหวและต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ของประชาชน

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020