fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world (พฤศจิกายน 2560)

20 ผลงานใหม่ยอดนิยมที่มีผู้อ่านสูงสุดของ The101.world ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560

“ปรากฏการณ์ตูน” บอกอะไร

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ วิเคราะห์ “ปรากฏการณ์ตูน” บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทย

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

โลกยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ยังคงหมุนรอบสหรัฐฯ หรือกำลังจะหันมาหมุนรอบจีน? อาร์ม ตั้งนิรันดร สำรวจสองมุมมองที่แตกต่าง จากสองนักวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศชั้นนำของโลก … Joseph Nye ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Ian Bremmer คอลัมนิสต์และนักวิเคราะห์การต่างประเทศชื่อดัง

มาดูกันว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีน ใครถือไพ่เด็ดอะไรไว้บ้าง

 

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

กษิดิศ อนันทนาธร สนทนากับ ม.ร.ว.สายสวัสดี สวัสดิวัตน ธิดาของ “ท่านชิ้น” – ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน ถึงเรื่องความสำเร็จและความล้มเหลวของ “ท่านชิ้น” ผู้มีบทบาทโลดแล่นอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยจากยุครัชกาลที่ 7 ถึงยุครัชกาลที่ 9 ตอนต้น โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในฐานะ “เสรีไทย”

 

นรกหลังเกาะสวรรค์ มัลดีฟส์

 

โดย ธีรภัทร เจริญสุข

ธีรภัทร เจริญสุข เขียนถึงด้านมืดดำของประเทศมัลดีฟส์ ดินแดนสวรรค์สำหรับนักท่องเที่ยว แต่เป็นนรกสำหรับประชาชนจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับความย้อนแย้งทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา

“การปลูกฝังว่าการท่องเที่ยวที่ให้คนต่างชาติมาใส่ชุดเปิดเผยเนื้อหนัง เต้นรำร้องเพลงและดื่มเหล้าเป็นเรื่องชั่วร้าย ทำลายศีลธรรมแบบอิสลามอันดี ยังถูกแพร่กระจายในกลุ่มผู้นับถืออิสลามหัวรุนแรงจำนวนมากที่อาศัยอยู่บนเกาะ … แม้แต่กฎหมายของมัลดีฟส์เองก็ลักลั่น คือบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์แบบอิสลามกับประชาชนบนเกาะหลัก แต่เว้นกฎหมายเหล่านั้นให้กับเกาะรีสอร์ทและในโรงแรม”

 

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

“ชาวบ้านต้องการเลือกรัฐบาล เขารู้ว่ารัฐประหารมันไม่ถูกกฎหมาย ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ถ้าอยากเป็นนายกก็มาลงเลือกตั้งสิ แล้วชาวบ้านจะเลือกใครก็เป็นสิทธิของเขา สิ่งสำคัญคือเขารู้จักรอ คิดดูสิ สามปีก็ยังรอ…”

ในฐานะคนที่เกิดและเติบโตมาในภาคอีสาน และในฐานะนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องราวของคนอีสานอย่างจริงจัง ผ่านการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามอย่างเข้มข้น – รศ.ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล่าให้เราฟังว่าภาพที่คนทั่วไปรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับคนอีสาน แตกต่างจากสิ่งที่เขาได้สัมผัสมาอยู่พอสมควร และส่วนใหญ่ล้วนเป็นวาทกรรมที่สร้างขึ้นจากส่วนกลาง

คนอีสานยัง ‘โง่ จน เจ็บ’ จริงหรือไม่ , ทำไมทักษิณถึงมีอิทธิพลต่อคนอีสานจำนวนมาก , รากฐานความคิดทางการเมืองของคนอีสานเป็นอย่างไร , ขบวนการเสื้อแดงในภาคอีสานมีความเคลื่อนไหวอย่างไรหลังการยึดอำนาจของคสช. ฯลฯ

ต่อไปนี้คือบทสนทนาชุดใหญ่ กับ สมชัย ภัทรธนานันท์ ว่าด้วยสารพัดข้อสงสัยเกี่ยวกับการเมืองในภาคอีสาน ซึ่งเชื่อมโยงถึงกับวิกฤตการเมืองไทยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา

 

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม – ศาสตร์ที่กำลังมาแรง

 

โดย โตมร ศุขปรีชา

โตมร ศุขปรีชา เขียนถึงวิวัฒนาการของ ‘เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม’ ศาสตร์ที่กำลังมาแรงในขณะนี้

“เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมคือตัวอย่างของการศึกษา ‘ข้ามสาย’ (Cross Disciplinary) ที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจิตวิทยาแล้ว เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมยังเกี่ยวข้องกับประสาทวิทยา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ วิวัฒนาการของมนุษย์ จิตวิทยาระดับลึก (Depth Psychology) และศาสตร์อื่นๆ อีกมาก”

“ในอนาคต เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมจะยิ่ง ‘สนุก’ เข้าไปอีก เพราะเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านประสาทวิทยา เราจะสามารถ ‘ปักหมุด’ ได้แม่นยำขึ้นว่าพฤติกรรมแบบไหน เกิดจากการทำงานของสมองหรือสารเคมีในร่างกายอย่างไรบ้าง

“เมื่อประกอบกับศาสตร์ใหม่อื่นๆ เช่น จิตวิทยาวิวัฒนาการ รวมถึงเทคโนโลยีสื่อสารที่จะสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ขึ้นในหลายมิติ ก็จะทำให้เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมสามารถนำศาสตร์เหล่านี้ มาวิเคราะห์ความไร้เหตุผลของมนุษย์ได้ลึกขึ้นเรื่อยๆ…”

 

 

โดย อธิภัทร มุทิตาเจริญ

อธิภัทร มุทิตาเจริญ เสนอ 3 ข้อชวนคิด ก่อนออกไป ‘ช็อปช่วยชาติ’ – ผู้เสียภาษีได้ประโยชน์แค่ไหน, คุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ และมันสะท้อนภาพใหญ่ของประเทศอย่างไร

ทาสแมวจงฟัง เลี้ยงแมวอย่างไรไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

 

โดย เพชร มโนปวิตร

รู้หรือไม่ว่า เจ้าเหมียวแสนซนที่ทำให้มนุษย์อย่างเราๆ ยอมตกเป็นทาส แท้จริงแล้วมีพิษสงร้ายกาจกว่าที่คุณคิด

ผลวิจัยจากหลายสำนัก ระบุตรงกันว่า ‘แมว’ คือตัวการสำคัญที่สร้างหายนะให้กับระบบนิเวศ และเป็นต้นเหตุการสูญพันธ์ของสัตว์กว่า 60 ชนิด ในรอบ 500 ปีที่ผ่านมา

เพชร มโนปวิตร จะพาคุณไปสำรวจโลกของแมวในฐานะที่เป็นผู้ล่า พร้อมแนวทางการแก้ปัญหาที่ ‘ทาสแมว’ ทั้งหลายควรทราบ

 

 

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

รู้หรือไม่ว่า กว่าที่ ‘ก๋วยเตี๋ยว’ จะกลายมาเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทยในปัจจุบัน มันมีจุดเริ่มต้นมาจากไหน และเกี่ยวข้องกับการ ‘สร้างชาติ’ ในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างไร

วชิรวิทย์ คงคาลัย จะพาคุณย้อนประวัติศาสตร์การกินของคนไทย ที่เริ่มต้นจากการกินแบบ ‘กับน้อยๆ ข้าวเยอะๆ’ มาสู่ยุค ‘กับเยอะๆ ข้าวน้อยๆ’ ซึ่งเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์ทางการเมืองอย่างที่คุณคาดไม่ถึง

 

 

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ

วรากรณ์ สามโกเศศ เล่าเรื่อง sandbox และ algorithm สองคำทันสมัยด้านเทคโนโลยีในโลกแห่งอนาคต

 

โดย ธีรภัทร เจริญสุข

ธีรภัทร เจริญสุข เขียนถึงประวัติศาสตร์ของ ‘ซัวเถา’ ต้นกำเนิดของบรรพบุรุษชาวจีนโพ้นทะเลที่ย้ายมาตั้งรกรากในไทย สืบลูกสืบหลานที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนมาจนถึงปัจจุบัน

วันเวลาผ่านไป รากเหง้าเดิมถูกลบเลือนไปพร้อมๆ กับคนรุ่นเก่า ร่องรอยแห่งความแร้นแค้นถูกแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้างและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทว่า ‘เชื้อ’ บางอย่างยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ลางๆ
บทความนี้จะพาเราไปตามรอยบรรพบุรุษ พร้อมชุดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบ ‘จีน-ไทย’ ในแง่มุมที่คนทั่วไปไม่ค่อยรับรู้

 

โดย พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ตั้งคำถาม 4 เรื่องต่อมาตรการ “ช็อปช่วยชาติ”

 

โดย สมคิด พุทธศรี

หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะเขย่าสังคมอย่างไร ส่งผลต่อเศรษฐกิจแค่ไหน และเราต้องปรับตัวอย่างไร?

แม้หลายคนจะมองหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ในด้านบวก โดยเชื่อว่าพลังของเทคโนโลยีจะนำมาซึ่งความสะดวกสบายและความมั่งคั่งให้กับมนุษย์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ความกังวลถึงพลังด้านลบของเทคโนโลยีก็มีไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน

มาร์ค ศักซาร์ (Marc Saxer) ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (Friedrich-Ebert-Stiftung หรือ FES) ภูมิภาคเอเชีย เจ้าของผลงานวิเคราะห์วิกฤตการเมืองไทยอันเฉียบคมเรื่อง “สังคมไทยในวังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน” (In Vertigo of Change: How to Resolve Thailand’s Transformation Crisis) เป็นหนึ่งในนักคิดที่ให้ความสนใจเรื่อง “เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้” (The Economy of Tomorrow) หรือการสร้างสังคมเศรษฐกิจแห่งอนาคตที่เป็นธรรมทางสังคม ยั่งยืน และเป็นพลวัตเขียว มาอย่างต่อเนื่อง

ในบทความใหม่ของเขา เรื่อง The Human Economy: The social democratic path to decent livelihoods and development in digital capitalism (2017) Saxer ยืนยันว่าความท้าทายของการปฏิวัติดิจิทัลไม่ได้อยู่ที่เรื่องเทคโนโลยีอย่างหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ แต่อยู่ที่การกระจายความมั่งคั่ง รายได้ ความเป็นเจ้าของ โอกาส และการกำกับควบคุมต่างหาก

กล่าวให้ชัดขึ้น สังคมดิจิทัลแห่งอนาคตมิได้มีแต่โจทย์เรื่องเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ความสำคัญอยู่ที่การสร้างระบบเศรษฐกิจการเมืองใหม่ที่รับมือกับความท้าทายแห่งยุคสมัยได้

และ Human Economy หรือ “เศรษฐกิจฐานมนุษย์” คือคำตอบที่เขานำเสนอ ในฐานะโมเดลการพัฒนาใหม่ในยุคทุนนิยมดิจิทัล

Human Economy คืออะไร มีเนื้อหาสาระอย่างไร นโยบายรูปธรรมในการทำให้เกิดขึ้นจริงมีอะไรบ้าง 101 ชวนอ่านรายงานของสมคิด พุทธศรี ชิ้นนี้

 

สังคมที่ยังยากจะปรองดอง มองผ่าน “ปรากฏการณ์ตูน”

 

โดย อายุษ ประทีป ณ ถลาง

อายุษ ประทีป ณ ถลาง มอง “ปรากฏการณ์ตูน” เห็นความยากจะปรองดองของสังคมไทย

โรคซึมเศร้า รายได้ และความเหลื่อมล้ำ: ใครว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคคนรวย

 

โดย พลอย ธรรมาภิรานนท์

พลอย ธรรมาภิรานนท์ สำรวจงานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยโรคซึมเศร้า ฐานะเศรษฐกิจของประเทศ ระดับการพัฒนา และความเหลื่อมล้ำ ส่งผลกระทบต่อภาวะซึมเศร้าของคนในสังคมอย่างไร โรคซึมเศร้าเป็นโรคคนรวยจริงหรือไม่

แซนวิชชีสบนเครื่อง KLM บอกอะไรกับเรา

 

โดย กรณิศ ตันอังสนากุล

กรณิศ ตันอังสนากุล ชวนเหินฟ้าไปชิม ‘กรีนแซนวิช’ บนเครื่องบินของสายการบิน KLM ซึ่งเป็นสายการบินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

มาติดตามกันว่าเป้าหมายเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมของ KLM จากเรื่องเล่าของความยั่งยืนผ่านแซนวิชชีสชิ้นเล็กที่เสิร์ฟเป็นอาหารว่างบนเครื่องบินจะทำให้คุณรับรู้ถึงความใส่ใจต่อโลกได้แค่ไหน

 

 

โดย ปกป้อง จันวิทย์

ปกป้อง จันวิทย์ ชวน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หนึ่งใน กสทช. ชุดแรก มาถามตรง-ตอบตรง เรื่อง “6 ปี กสทช.” ตั้งแต่ประเด็นธรรมาภิบาล การจัดสรรคลื่นความถี่ การคุ้มครองผู้บริโภค จนถึงกฎหมาย กสทช. ฉบับใหม่ในระบอบ คสช.

จากผู้อำนวยการโรงพยาบาลขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทหลายแห่ง ประธานชมรมแพทย์ชนบท เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ประธานคณะทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)

สู่ตำแหน่งใหญ่ในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ภายใต้ กสทช.

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประเมินการทำงานของตัวเอง และ กสทช. ตลอด 6 ปีที่ผ่านมาอย่างไร

อะไรคือความสำเร็จและความล้มเหลวของ กสทช. อะไรคือความท้าทายของ กสทช. ชุดหน้า และอะไรคือวาระที่สังคมไทยต้องช่วยกันจับตาต่อไป

 

 

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

วชิรวิทย์ คงคาลัย คุยกับ ลูกแก้ว-โชติรส นาคสุทธิ์ เจ้าของเพจที่เขียนเรื่อง ‘เพศ’ ได้อย่างเร่าร้อน แต่แอบซ่อนนัยยะทางสังคมการเมืองไว้อย่างแนบเนียน

นอกจากเรื่องราวในเพจที่ชวนหลงใหล เรื่องราวของ ‘ลูกแก้ว’ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

บทสัมภาษณ์นี้จะพาคุณไปทำความรู้จักว่าเธอเป็นใครมาจากไหน อะไรคือแรงผลักดันที่ทำให้เธอทำเพจแนวนี้ ไปจนถึงทัศนะต่างๆ ที่เธอมีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน

“เราเคยเชื่อมาตลอดว่า เราเป็นคนชอบอยู่ในระเบียบวินัย เป็นคนที่ชอบทำตามกฎ จนกระทั่งเราเข้าไปในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไป เพราะพอไปเจอสถานการณ์ที่ถูกกดจากอำนาจจริงๆ ขนาดเวลาเข้าแถว ตาจะมองไปทางซ้ายหรือขวายังไม่ได้เลย เราต้องมองตรงไปที่คอคนข้างหน้าอย่างเดียว เลยรู้สึกว่าไม่ไหว จำได้ว่าที่ชอบกฎระเบียบ เพราะมันทำให้เรารู้สึกเหนือกว่าคนอื่น”

“ทุกเรื่องที่เราพูด จะพูดผ่านการเอากันของคนสองคน หรือบางทีอาจจะสามหรือสี่คน เช่น เราพูดถึงคนเอากันครั้งแรกในวันรัฐประหาร แล้วระหว่างเอากัน ผู้หญิงโดนปิดปาก ไม่ให้พูดอะไร ถ้าอ่านเอามัน ก็อาจมองว่า แค่เอากัน และเล่นปิดปาก แต่ถ้าอ่านเพื่อต้องการอะไรมากกว่านั้น ก็จะเห็นนัยยะอะไรบางอย่าง”

“ถ้าคุณคิดว่าเราเขียนเรื่องเพศ เรื่องเซ็กซ์ โดยไม่พูดถึงเรื่องการเมือง คุณกำลังเข้าใจผิดมากๆ แต่ก็ไม่เป็นไร คุณมีสิทธิเข้าใจผิด และจะอ่านเพื่อเอาแต่ความเร่าร้อนไปก็ได้”

 

“ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” : ตรวจสุขภาพอย่างไรไม่ให้ทำร้ายคนที่คุณรัก

 

โดย ณัฐกานต์ อมาตยกุล

101 เปิดงานวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) “ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” ชี้ด้านมืดของการตรวจสุขภาพที่อาจนำไปสู่โศกนาฏกรรม และแนะนำแนวทางการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมว่า ควรตรวจอะไร เมื่อไหร่ดี และอะไรที่ไม่ควรตรวจ เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายหรือเสียเงินเปล่า

……….

เรามักคิดในแง่ดีว่าการตรวจสุขภาพจะช่วยสกัดความเสี่ยงในการเผชิญโรคร้าย และต่ออายุเราและคนที่เรารักไปอีกนานๆ

แต่ด้านมืดของการตรวจสุขภาพก็มีอยู่ และมักไม่มีใครพูดถึง

ด้านที่ว่ามันอาจนำชีวิตเราไปสู่จุดจบก่อนวัยอันควร

การตรวจร่างกายละเอียดยิบย่อยและฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น ไม่เพียงทำให้เราเสียเงินทองเปล่า แต่อาจเปลืองตัว เพราะความจริงก็คือ มิใช่ผู้ป่วยทุกรายที่ ‘มี’ ความผิดปกติทางพยาธิวิทยา (มีความผิดปกติของเซลล์หรือการทำงานของอวัยวะ) จะต้อง ‘เจ็บป่วย’ จากความผิดปกตินั้น

แต่ถ้าดันตรวจพบ แล้วตัดสินใจไปรักษา ก็กลายเป็นว่าผู้ป่วยจะพบกับความเสี่ยงที่มากขึ้น บางคนอาจรุนแรงถึงชีวิต จนกลายเป็นโศกนาฏกรรมจากการตรวจสุขภาพ

แล้วอะไรคือสิ่งที่จำเป็นต้องตรวจ แล้วควรตรวจเมื่อไหร่ อะไรที่ไม่ควรตรวจ และอะไรคือสิทธิตรวจฟรีที่มักไม่มีใครรู้

“ณัฐกานต์ อมาตยกุล” สำรวจคำตอบในรายงานซีรีส์ “สุขภาพ 101” ชิ้นนี้

 

 

โดย วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

การเติบโตอย่างทั่วถึง หรือ Inclusive growth คือแก่นการพัฒนาที่ทุกประเทศล้วนอยากไปให้ถึง แต่สำหรับประเทศไทย Inclusive growth เป็นไปได้จริง หรือไกลเกินฝัน

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร ใช้เศรษฐศาสตร์การเมืองวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ Inclusive growth ในสังคมเศรษฐกิจไทย จากสามมิติ – ผลประโยชน์และแนวร่วม (interest), หน้าที่และหน้าตาของสถาบัน (institutions) และคุณค่าและอุดมการณ์ใหม่ (ideas)

 

รายการ 101 One-on-One

 

โดย 101-one-on-one

“ปัญหาสำคัญของกรุงเทพฯ คือมันโตเร็วเกินไป ขณะที่โครงสร้างการบริหารจัดการ กลับไม่สามารถรับมือกับความเติบโตของเมืองได้เลย…”

‘อ่านเมือง’ แบบคำต่อคำ กับ นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center : UddC) และอาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรายการ 101 One-on-One ตอนที่ 6

 

 

โดย 101-one-on-one

“สิ่งที่คนกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ คือเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามพลวัตของโลก พอเราไปกำหนดยุทธศาสตร์ชาติไว้ยาวถึง 20 ปี ถ้าโลกมันไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ จะเกิดอะไรขึ้น… ”

“อ่านยุทธศาสตร์ชาติ” แบบคำต่อคำ กับ บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ในรายการ 101 One-on-One ตอนที่ 7 กับซีรีย์ “อ่านอนาคตสังคมไทย”

 

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “อ่านเลือกตั้ง 2561” กับ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ใน 101 One-on-One | ep08

จันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560 สองทุ่มตรง ทาง The101.world

ชวนคุย โดย ปกป้อง จันวิทย์ บรรณาธิการ 101
………….

 

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “อ่านประชารัฐ” กับ สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด

ใน 101 One-on-One | ep09

จันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 สองทุ่มตรง ทาง The101.world

ชวนคุย โดย ปกป้อง จันวิทย์ บรรณาธิการ 101
………….

 

คลิปความรู้สร้างสรรค์ของ 101

 

 

โดย ทีมงาน The101.world

นี่คือความรู้สึกของคนไทยทุกคน

เมื่อคนที่รักต้องออกไปใช้ถนน

ช่วยกันแชร์สักนิด
ถ้าคุณอยากให้ถนนไทยปลอดภัยกว่านี้

 

 

โดย ทีมงาน The101.world

ถ้าคุณคิดจะมีลูก คุณต้องดูคลิปนี้

ถ้าลูกคุณกำลังจะคลอด คุณต้องยิ่งดูคลิปนี้
เพราะการเลือกวิธีการคลอดสามารถกำหนดคุณภาพชีวิตในอนาคตของแม่และลูกได้

ยุคนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่เลือกวิธีผ่าคลอดมากกว่าคลอดธรรมชาติให้กับลูก เพราะง่าย สะดวก ระบุเวลาได้ แต่…ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มั่นใจแล้วหรือ ว่ารู้จักการผ่าท้องคลอดดีแล้วจริงๆ?

งานนี้เราได้ร่วมมือผลิตคลิปน่ารักๆ กับทางทีม Teaspoon Studio เพื่อสื่อสารส่งความหวังดีให้กับว่าที่พ่อแม่ทุกท่านให้รับทราบว่า การคลอดไม่ใช่แค่เรื่องของการเกิด แต่เป็นการเลือกสุขภาพของทั้งแม่และลูกที่จะอยู่ติดตัวพวกเขาไปตลอดทั้งชีวิต

เพราะฉะนั้นเราเลยอยากให้คุณคิดให้ดี กับ “9 เรื่องที่ควรรู้ก่อนคลอด”

อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มเรื่อง “ผ่าท้องคลอดไม่ใช่คำตอบสุดท้าย” ไขปมความไม่รู้และความเข้าใจผิดของเหล่าพ่อแม่มือใหม่ กับ ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ได้ที่ https://www.the101.world/thoughts/cesarean-section/

 

 

โดย ทีมงาน The101.world

มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ด้วยการ ‘ถาม’

————————————————-

เวลาไปหาหมอ คุณถามหมอเยอะขนาดไหน?

ถามน้อย… หมอรู้ดีกว่าเรา เชื่อหมอเถอะ
ถามนิดเดียว… หมอรีบ คนป่วยรออีกเพียบ
ถามแบบกล้าๆ กลัวๆ…ถามเยอะเดี๋ยวดูไม่ฉลาด ไปถามหมอกูเกิ้ลดีกว่า ไม่โดนด่าแน่ๆ

แต่คุณรู้หรือเปล่าการรักษาที่ดี เริ่มตั้งแต่คุณก้าวเข้าห้องตรวจและเริ่มคุยกับหมอแล้ว

จะดีแค่ไหน ถ้าเรามีตัวช่วย 5 คำถามที่จะช่วยให้ทั้งหมอและผู้ป่วยได้คุยถึงทางเลือกและช่วยกันหาทางรักษาที่ดีที่สุด ลดการรักษาที่ไม่จำเป็น ไม่ต้องเจ็บตัวเก้อ ไม่ต้องเสียเงินแบบฟรีๆ

มาเริ่มตั้งคำถาม เพื่อสุขภาพที่ดีของเรา เปลี่ยนจากการ “ไปหาหมอ” เป็นการ “ไปคุยหมอ”

ดูแล้วอย่าลืมช่วยกันส่งต่อ ถ้าคุณอยากเห็นคนรอบข้างมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

————————————————-

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.the101.world/thoughts/choosing-wisely/

 

 

โดย ทีมงาน The101.world

วิกฤตน้ำท่วม น้ำแล้ง ดูจะเป็นปัญหาที่เกิดวนซ้ำเป็นประจำอยู่ทุกปี และนับวันความเสียหายจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

เรามักเข้าใจว่า วิกฤตน้ำเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งก็เป็นจริงส่วนหนึ่ง แต่อีกสาเหตุที่สำคัญคือวิกฤตน้ำเกิดจากความล้มเหลวในการบริหารจัดการน้ำ

มาทำความเข้าใจถึงปัญหาและทางออกของระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ผ่านคลิป “CHANGE: ก้าวข้ามวิกฤตน้ำ” ผลิตโดย 101 และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

 

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020