fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world เดือนพฤษภาคม 2561

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world เดือนพฤษภาคม 2561

สปิริตสื่อไทยใต้ท็อปบูท บทเรียนจาก “ฐปณีย์-อิศรา-ประชาไท”

 

โดย ธิติ มีแต้ม

ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 จนถึงปัจจุบัน แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังไม่ได้ทุ่มโพเดียมใส่นักข่าว และปิดสื่อหรือจับนักข่าวไปยิงเป้าแบบที่เคยขู่ไว้ แต่สื่อมวลชนไทยก็ต้องเผชิญกับการถูกกดดันและคุกคามจากอำนาจรัฐที่ควบคุมโดย คสช. ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บทเรียนของสื่อไทยในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาคืออะไร ธิติ มีแต้ม ชวน ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ‘ข่าว 3 มิติ’ มนตรี จุ้ยม่วงศรี บ.ก.ศูนย์ข่าวสืบสวนสอบสวน ‘สำนักข่าวอิศรา’ และ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการ ‘เว็บไซต์ประชาไท’ มาถอดบทเรียน เพื่อทบทวนบทบาทสื่อมวลชนไทย ภายใต้การควบคุมของ คสช.

เมื่อเพดานเสรีภาพถูกกดต่ำลง สปิริตสื่อจะฉายฉานอย่างไร

“IO คือการยืนยันว่าไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษในหมู่ชายชาติทหาร” – ฐปณีย์ เอียดศรีไชย

“หัวใจของข่าวสืบสวนสอบสวน ไม่เลือกรัฐบาลพลเรือนหรือรัฐบาลทหาร ข่าวอุทยานราชภักดิ์ที่อิศรารายงาน ผมก็ไม่มีอะไรต้องกลัว ผมไปลงพื้นที่เอง ไปคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ ไม่มีใครมาห้าม” – มนตรี จุ้ยม่วงศรี

“ต้องยอมรับว่า คสช. ทำสำเร็จที่ทำให้สังคมไทยรู้สึกบั่นทอนและคุ้นชินกับการใช้วิธีนอกกฎหมาย” – จีรนุช เปรมชัยพร

 

เศรษฐศาสตร์เสกสมรส เจ้าชายแฮรี่กับงานแต่งช่วยชาติ

 

โดย เอกศาสตร์ สรรพช่าง

เอกศาสตร์ สรรพช่าง พาเราเจาะลึกงานเสกสมรสของราชวงศ์อังกฤษ
ที่เป็นมากกว่าความรักของคนสองคน แต่คือ สินค้าทางวัฒนธรรม

ธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่น ท่องเที่ยว การสื่อสาร ฯลฯ ล้วนรอคอยการเสกสมรสของราชวงศ์

ราชวงศ์อังกฤษดำรงตนอย่างไรให้เป็น ‘คุณค่าหนึ่งของประเทศ’ ทำให้อังกฤษดูมีมนต์ขลังมากกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป แต่ขณะเดียวกันกลับตอบโจทย์ช่วยให้ธุรกิจทั้งประเทศคึกคักและเงินทองสะพัดอย่างร่วมสมัย

 

เปิดใจ ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาพรรคเพื่อไทย ในวันที่ถูกบีบจากอำนาจเก่า – ถูกท้าทายจากคนรุ่นใหม่

 

โดย ธิติ มีแต้ม

เมื่อเดือนก่อน นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงพรรคเพื่อไทย ลงในมติชนรายวัน ถามว่า “พรรคเพื่อไทยคิดจะเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหรือไม่” และทิ้งท้ายว่า “พรรคเพื่อไทยพร้อมหรือยัง”

วันนี้ ธิติ มีแต้ม กองบรรณาธิการ 101 ชวน ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย มาตอบคำถามสำคัญหลายข้อ

สำหรับพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งมากที่สุดมาตั้งแต่สมัยทักษิณ ชินวัตร สร้างพรรคไทยรักไทย สู่พรรคพลังประชาชน จนถึงยุคยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก

อะไรคือสิ่งที่พรรคการเมืองใหญ่พรรคนี้กำลังครุ่นคิดและเผชิญหน้า ตั้งแต่แรงบีบอัดของอำนาจเก่า การแข่งขันกับพรรคประชาธิปัตย์ บทเรียนจากกรณีนิรโทษกรรม และความท้าทายจากพรรคการเมืองรุ่นใหม่

 

“แบล็ค แพนเธอร์” ชัยชนะของแอฟริกันอเมริกันในอเมริกา

 

โดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

หนังเรื่อง “แบล็ค แพนเธอร์” ทำให้ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ชวนมองภาพสะท้อนของประวัติศาสตร์อเมริกา ที่พูดถึงการต่อสู้ระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ โดยเทียบกันได้ขนาดฉากต่อฉาก ทั้งในอดีตกับปัจจุบันได้อย่างสนุกสนานและแหลมคมอย่างยิ่ง

 

แผนการใหญ่ A.I. 2030: จีนต้องการอะไร?

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

จีนประกาศแผนการใหญ่เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำโลกด้าน A.I. ให้ได้ภายใน ค.ศ. 2030 เรื่องนี้จีนเอาเป็นเอาตายหรือแค่ฝันสวยๆ ไว้ก่อน? และจีนต้องการอะไรกันแน่จาก A.I.?

อาร์ม ตั้งนิรันดร ชวนคิดว่า A.I. อาจจะเป็นกุญแจควบคุมสังคมของรัฐบาลจีน ในด้านหนึ่ง ก็มีโอกาสจะช่วยให้คนทั่วไปอยู่ดีกินดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็สามารถโน้มน้าวพฤติกรรมและแนวคิดตามที่รัฐบาลต้องการ พร้อมทั้งจัดการกับศัตรูและความเห็นต่าง น่าสนใจว่าจีนจะหยิบเอาข้อมูลมหาศาลไปใช้งานอย่างไร และส่งผลกระเพื่อมต่อโลกอย่างไร

 

“ผมจะเป็นประธานศาลฎีกา”

 

โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล

“ผมจะเป็นประธานศาลฎีกา”

ระหว่างที่เรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อต้นทศวรรษ 2530 มีนักศึกษารุ่นพี่คนหนึ่งได้ประกาศไว้กับเพื่อนฝูงจนเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่า เขาตั้งใจว่าจะเป็นประธานศาลฎีกาในอนาคต

แรกๆ ที่ได้รับฟังเรื่องเล่าดังกล่าว ผมก็รู้สึกแปลกใจเป็นอย่างมาก แม้จะเป็นที่รับรู้กันว่านักศึกษารุ่นพี่คนนี้ได้ทุ่มเทกับการเรียนเป็นอย่างมาก แต่ลำพังการเรียนหนังสือเก่งเพียงอย่างเดียวจะทำให้สามารถมุ่งหน้าไปสู่ตำแหน่งสูงสุดในสายอาชีพของตนได้โดยง่ายดายกระนั้นหรือ

ลองนึกง่ายๆ ว่า ถ้ามีนักเรียนนายตำรวจคนไหนบอกว่าจะเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในอนาคต ผู้ฟังก็คงได้แต่เห็นใจในความไร้เดียงสาของผู้พูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นที่รับรู้กันว่าหากต้องการบรรลุถึงตำแหน่งสูงสุดในวงการของตน ย่อมต้องอาศัยทั้งความรู้ความสามารถ เส้นสาย โชคชะตาหรืออื่นๆ เข้ามาเป็นองค์ประกอบไม่น้อย

แต่ต่อมาในภายหลัง ผมจึงได้ตระหนักว่าความเข้าใจของตนเองนั้นอาจใช้ได้กับเพียงแวดวงของระบบราชการอื่นๆ แต่ไม่ใช่กับในแวดวงของฝ่ายตุลาการ

…………

สมชาย ปรีชาศิลปกุล สำรวจระบบการให้คุณให้โทษ “แบบปิด” ในแวดวงตุลาการ และความสมดุลระหว่าง “ความเป็นอิสระของตุลาการ” กับ “ความเชื่อมโยงหรือการกำกับจากประชาชนหรือสังคม”

 

เมื่อโรคอยู่ในลมหายใจคนไทย : เอกซเรย์ความคิด นพ.ทรงกลด เอี่ยมจตุรภัทร

 

โดย ชลธร วงศ์รัศมี

อยู่ดีๆ เป็นภูมิแพ้ได้ยังไง หมอไม่ตอบ
อยู่ดีๆ ไข้หวัดไม่หาย ไม่รู้ทำไม
อยู่ดีๆ เป็นไซนัส ฉันพลาดตรงไหน
เพราะอะไรคนไทยจึงเป็น ‘โรคทางเดินหายใจ’ กันมากขึ้น

ไขข้อข้องใจโดยศัลยแพทย์ด้านไซนัสมือวางอันดับต้นๆ ของไทย
รศ.นพ.ทรงกลด เอี่ยมจตุรภัทร จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในวันที่โรคทางเดินหายใจกลายเป็นโรคที่ ‘ใครๆ ก็เป็นได้’ อย่างง่ายดาย จนน่าตั้งคำถามถึงที่มาของความง่ายดายนี้

 

ยุทธศาสตร์ชาติ หรือยุทธการขายฝัน? ข้อสังเกตบางประการต่อ ‘ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี’

 

โดย สฤณี อาชวานันทกุล

สฤณี อาชวานันทกุล วิเคราะห์ภายใต้ร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ใครจะ ‘มั่นคง’ ภาคเศรษฐกิจไหนจะ ‘มั่งคั่ง’ และสังคมไทยจะ ‘ยั่งยืน’ ได้จริงหรือไม่

…………..

“น่าสังเกตว่าไม่มีเนื้อหาใดๆ ในยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ที่พูดถึงการแก้ปัญหาและพัฒนากองทัพ โดยเฉพาะการยกระดับ ‘ความโปร่งใส’ (transparency) เช่น ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง, การยกระดับ ‘ประสิทธิภาพ’ ในการใช้ทรัพยากร (resource efficiency) เช่น จำนวนนายพล หรือการยกระดับกลไก “ความรับผิด” (accountability) เป็นต้น”

“ในเมื่อแผนความสามารถในการแข่งขันเน้นนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรม (industrial policy) อย่างเฉพาะเจาะจง (แต่ก็หลากหลายกว่าที่ควรจะเป็นไปมาก) มากกว่าการวางกลไกพัฒนาสนามแข่งขัน และลดทอนความล้มเหลวของรัฐ ผู้เขียนจึงไม่เห็นว่ายุทธศาสตร์ในแผนนี้จะสอดรับสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายด้าน “ลดความเหลื่อมล้ำ” ดังระบุในยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และเท่าเทียมกันทางสังคม”

“เนื้อหายุทธศาสตร์นี้ส่วนใหญ่พูดถึงการสนับสนุนส่งเสริมในด้านต่างๆ อย่างกว้างๆ โดยใช้กลไกเชิงบวกหรือ ‘โลกสวย’ อาทิ “ส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน” หรือ “มุ่งเป้าสู่การลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและภาคเอกชน” โดยแทบไม่พูดถึงกลไกเชิงบังคับ เช่น การยกเลิกการสนับสนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล การนำร่องใช้ภาษีคาร์บอน การตั้งเป้าเลิกสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต่อการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจและสังคมตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน”

 

จับได้ให้โล่ ด้วยขบวนประท้วง ‘โฮโลแกรม’

 

โดย Eyedropper Fill

คอลัมน์ #ThirdEyeView จาก Eyedropper Fill

เราอาจเคยได้ยินข่าวการใช้ ‘โฮโลแกรม’ สร้างภาพเคลื่อนไหวเสมือนจริงของไมเคิล แจ็กสัน เพื่อนำเขามาโลดแล่นบนเวทีคอนเสิร์ตหลังล่วงลับ

แต่โฮโลแกรมไม่ได้ถูกนำไปใช้แค่ความบันเทิงเท่านั้น ในสเปนซึ่งมีกฎหมายห้ามแสดงออกในพื้นที่สาธารณะ (คุ้นๆ ไหม?)

กลุ่มนักเคลื่อนไหวได้ร่วมมือกับเอเจนซีโฆษณา สถานีโทรทัศน์ และนักออกแบบผู้เชี่ยวชาญสื่ออินเตอร์แอคทีฟ จัดแคมเปญประท้วงชื่อ ‘Holograms for Freedom’ ขึ้นในกรุงมาดริด เมื่อการชุมนุมจริงๆ บนท้องถนนเป็นเรื่องผิดกฎหมาย การประท้วงครั้งนี้จึงเกิดขึ้นด้วยการฉายภาพโฮโลแกรม! ที่มาทั้งภาพสามมิติ ทั้งเสียงระทึกเร้าใจ และที่สำคัญไม่สามารถจับใครได้

ที่ใดมีการใช้อำนาจ ที่นั่นย่อมมีการต่อต้านขัดขืน และเมื่ออำนาจกดทับทุกทาง ความคิดสร้างสรรค์จึงระเบิด

 

คุยกับ นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ เชื่อมเทคโนโลยีกับการแพทย์ ทำบ้านให้เป็นโรงพยาบาลด้วย Health at Home

 

โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

คุยกับ นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ ว่าด้วยธุรกิจสตาร์ทอัพ Health at Home ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่บ้าน ที่ต้องการสร้างแพล็ตฟอร์มเชื่อมระหว่าง ‘ผู้ดูแล’ กับ ‘ผู้ป่วยที่บ้าน’ ในโลกยุคเทคโนโลยี เราอาจไม่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล แต่สามารถเปลี่ยนบ้านให้เป็นโรงพยาบาลได้ คุยยาวถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และปัญหาเรื่องสุขภาพและการแพทย์ในไทยและทั่วโลก เพื่อให้เห็นภาพอนาคตว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาสร้างแรงกระเพื่อมอะไรในวงการสุขภาพได้บ้าง

“ความทรงจำในการดูแลคุณพ่อคุณแม่ เป็นสิ่งสุดท้ายที่เหลืออยู่สำหรับลูกๆ ทุกคน และจะติดอยู่กับเราตลอดชีวิตหลังพ่อแม่จากไป” เขาเน้นย้ำสิ่งนี้อยู่หลายครั้งตลอดการสัมภาษณ์ เขาและทีมพยายามแก้ปัญหาเล็กๆ นี้ และค่อยๆ ไต่ไปในพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น

จากหมอหนุ่มที่เข้าไปเป็นหมอชุมชนที่พัทลุง โลดแล่นไปศึกษาแพทย์เฉพาะทางที่นิวยอร์ก แล้วกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลเอกชน ตอนนี้เขาเลือกจะเป็นสตาร์ทอัพเต็มตัว อยากสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมด้วยการทำธุรกิจ

 

“ด้วยลักษณะของ health care ณ ปัจจุบัน เป็น provider centric คือไม่ได้โฟกัสที่ผู้ป่วยหรือลูกค้า มันถูกดีไซน์เพื่อเอาใจหมอ หนึ่ง เพราะเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด สอง เป็น centralized ทุกอย่างต้องมาอยู่ที่โรงพยาบาล สาม เป็นเรื่องของ closed data ข้อมูลไม่ถูกเอามาใช้ ทุกคนพยายามหวง เลยทำอะไรไม่ได้ และสี่ เป็นเรื่องของ treatment คือเป็นการซ่อมบำรุงมากกว่าป้องกัน ศาสตร์การแพทย์ที่ทำการรักษาได้รับการยอมรับมากกว่าศาสตร์การป้องกัน ด้วยความที่เท่กว่า ค่าตอบแทนสูงกว่า คนก็เทมาตรงนี้เยอะ ศาสตร์ด้านนี้จึงได้รับความนิยม แต่เราก็รู้อยู่แล้วว่าถ้าป้องกันไม่ดี ซ่อมยังไงก็ไม่หมด”

“บ้านเป็นจุดหมายที่สำคัญกับ health care ในอนาคต บ้านต้องเป็นโรงพยาบาลได้ แล้วค่าใช้จ่ายก็น่าจะถูกกว่า คุณภาพชีวิตก็ดีกว่า แต่ถึงเวลารึยัง…”

 

การ “ปฏิวัติ” ผ่านคูหาเลือกตั้งที่มาเลเซีย

 

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

ประจักษ์ ก้องกีรติ วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งมาเลเซีย ในปรากฏการณ์ “มาเลย์สึนามิ” ว่าขึ้นกับปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ฝ่ายรัฐบาลนำโดยพรรคอัมโน ที่ครองอำนาจมานานถึง 61 ปีต้องพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้

“รัฐบาลของนาจิบยังคงหาเสียงด้วยแนวทางแบบเดิม โดยบอกให้ประชาชนเลือกรัฐบาลเพื่อความต่อเนื่องในการบริหาร เน้นการลดแลกแจกแถม และยังใช้แนวทางการหาเสียงแบบเดิมๆ ที่ไม่ค่อยสร้างสรรค์ คือ ปลุกกระแสการแบ่งแยกทางเชื้อชาติระหว่างคนมาเลเซียเชื้อสายจีนกับคนมาเลเซียเชื้อสายมาเลย์ โดยไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรม”

“รัฐบาลยังหลบเลี่ยงการตอบคำถามชี้แจงประชาชนถึงกรณีคอร์รัปชันอื้อฉาวที่โด่งดังไปทั่วโลกของนายกฯนาจิบ ที่พัวพันกับการถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินจากองทุน 1MDB ของรัฐบาลเข้ากระเป๋าตัวเองสูงถึง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 22,400 ล้านบาท ไม่เพียงแต่ยืนกรานปฏิเสธ รัฐบาลยังขัดขวางการสอบสวนในเรื่องนี้ด้วย”

 

รู้ทุกข์ รู้ธรรม รักถิ่น: คุยกับ จริย์วัฒน์ สันตะบุตร เรื่องอาจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรือ ‘คุณลุง’

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

อ่านบทสัมภาษณ์ ดร.จริย์วัฒน์ สันตะบุตร บุคคลซึ่งอาจารย์ปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ รักเหมือนลูกคนสุดท้อง

เขาเป็นคนมีอารมณ์ขัน และเป็นคนหนึ่งที่กล้าแหย่ให้อาจารย์ปรีดีหัวเราะอย่างมีความสุขได้ ในช่วงที่เป็นนักศึกษาในอังกฤษ เขามีโอกาสใกล้ชิดกับอาจารย์ปรีดีในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านที่ประเทศฝรั่งเศส ได้เดินทางไปขอความรู้จากท่านหลายครั้ง ได้สนทนา ได้เรียนรู้ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากท่านมามิใช่น้อย และได้เดินทางไปร่วมงานฌาปนกิจศพท่านที่สุสาน Père Lachaise ชานกรุงปารีสด้วย

ถึงชายผู้นี้จะมีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น และผูกพันกับอาจารย์ปรีดีอย่างมาก แต่ไม่บ่อยนักที่เขาจะเปิดเผยเรื่องราวระหว่างเขากับชายผู้ที่เขาเคารพรัก

 

จาก Admissions สู่ TCAS: ข้อสังเกตบางประการ

 

โดย พลอย ธรรมาภิรานนท์

พลอย ธรรมาภิรานนท์ ตั้งข้อสังเกต 4 ประการ ทำไมระบบรับนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ หรือ TCAS ไม่ตอบโจทย์นักเรียนและมหาวิทยาลัยไทย

 

อย่างไรจึงจะเรียกว่า “ตาย”

 

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ

“ความตาย” เกิดขึ้นเมื่อหัวใจหยุดเต้น-หมดลมหายใจ หรือเมื่อสมองตาย กันแน่

วรากรณ์ สามโกเศศ ชวนสำรวจวิวาทะว่าด้วยนิยามของ “ความตาย” ในโลกของคนเป็น

 

ภาษีลาเต้กับแก้วกระดาษเจ้าปัญหา

 

โดย กรณิศ ตันอังสนากุล

แก้วและหลอด คือปัญหาใหญ่ที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ชิ้นเล็กๆ เพียง Starbucks เจ้าเดียวได้สร้างขยะจากแก้วกระดาษและพลาสติกทั่วโลกคิดเป็น 6 พันล้านแก้วต่อปี!

เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร? กรณิศ ตันอังสนากุล ชวนสำรวจความเป็นไปได้ ทั้งจากแนวคิด ‘Latte levy’ หรือการเก็บภาษีจากการใช้แก้วแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

และเจาะลึกความเชื่อที่ว่าแก้วกระดาษดีต่อโลกมากกว่าเพราะย่อยสลายได้? ว่าจริงหรือมั่วชัวร์หรือไม่

เพียงออร์เดอร์กาแฟแต่ละครั้งแล้วเตรียมแก้วหรือกระติกไป ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็มีส่วนช่วยลดหรือเพิ่มขยะให้โลกได้

แต่การควบคุมตนเองให้ยืดอกพกแก้วอาจจะยากเกินไป ‘แก้วและหลอด’ จึงเป็นวาระโลกที่ทุกฝ่ายต้องดีไซน์วิธีแก้ปัญหานี้!

 

หลักประกันสุขภาพที่รัก (9) : ผิดประเภทหรือผิดวิธี

 

โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

“หลักประกันสุขภาพที่รัก” ตอนใหม่ โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ชวนคิดชวนคุยเรื่องข้อกล่าวหาใช้เงินผิดประเภทของ สปสช. ผ่านเรื่องเล่าขำขันชวนน้ำตาตก

อะไรคือสิ่งสำคัญที่ขาดหายไปจากระบบติดตามในบทความชิ้นนี้

 

บอลซ่า แฟมิเลีย: แก้ความเหลื่อมล้ำสไตล์บราซิล

 

โดย วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร ถอดบทเรียนนโยบาย ‘บอลซ่าแฟมิเลีย’ นโยบายลดความเหลื่อมล้ำที่ได้รับการชื่นชมในระดับโลก

…………………………………………………..

“ถ้าจะมีอะไรสักอย่างที่เข้าใกล้การเป็น “ยามหัศจรรย์” ของการพัฒนามากที่สุด ก็คงเป็นโครงการบอลซ่า แฟมิเลีย นี่เอง”

หากไม่นับกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียที่ร่ำรวยและมีแนวทางรัฐสวัสดิการแล้ว ในทศวรรษที่ผ่านมา บราซิลกลายเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพราะประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายเพื่อลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำจนได้รับการยกย่องจากนานาชาติ

แกนกลางความสำเร็จของบราซิลอยู่ที่โครงการ บอลซ่า แฟมิเลีย (Bolsa Familia) หรือที่แปลว่า เบี้ยเลี้ยงครอบครัว

มีบทเรียนที่น่าสนใจอย่างน้อย 4 ข้อจากโครงการนี้ คือ การให้เงินช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไข การออกแบบโครงการด้วยอุดมการณ์และความรัดกุม การตัดตอนรัฐราชการ และความเชื่อมั่นที่มีต่อประชาชน โดยเฉพาะผู้เป็นแม่ในครอบครัว

 

หลักประกันสุขภาพที่รัก (10) : ไตวายบ้านวาย

 

โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

คอลัมน์ “หลักประกันสุขภาพที่รัก” ของ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ตอนใหม่ “ไตวายบ้านวาย” … เมื่อระบบหลักประกันสุขภาพช่วยหนึ่งชีวิตและหนึ่งครอบครัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

……….

“ปีสุดท้ายแล้วค่ะ” คุณนภาวรรณเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน

เธอป่วยด้วยโรคเอสแอลอี (SLE) ตามด้วยไตวายตั้งแต่ครั้งเรียนปี 1 เธอเรียนแพทย์แผนจีน ตอนที่มาพบผมครั้งแรกเป็นคุณพ่อพามา เธอซึมเศร้ามาก ท้อใจ ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไรอีก ไม่อยากเรียนและไม่อยากมีชีวิตอยู่

เธอฆ่าตัวตายแล้วสองครั้ง ครั้งแรกกินยาเกินขนาด ล้างท้องแล้วก็กลับบ้าน ไม่ได้พบนักจิตวิทยา เธอกระโดดตึกในครั้งที่สอง ไม่ตายแต่แขนหัก ใส่เฝือกอยู่นาน วันที่พ่อพาเธอมาเธอยังไม่ถอดเฝือก

โรคซึมเศร้าคือโรคซึมเศร้าวันยังค่ำไม่ว่าจะเกิดจากอะไร เป็นเอง จากพันธุกรรม จากเอสแอลอี หรือจากไตวาย ความหมายคือผู้ป่วยมิใช่คุณนภาวรรณคนเดิม เธอเป็นผู้ป่วย การที่เธออยากตายแล้วลงมือมิได้แปลว่าไม่เข้มแข็ง แต่เพราะสารเซโรโทนิน (serotonin) ที่อยู่ในช่องว่างระหว่างจุดเชื่อมต่อประสาทขาดหายไปมาก

ต่อให้เป็นบรู๊ซ เวย์นก็ต้องฆ่าตัวตาย

 

วิญญาณขบถของลูกผู้ชายชื่อ เฟื้อ หริพิทักษ์

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

:: วิญญาณขบถของลูกผู้ชายชื่อ “เฟื้อ หริพิทักษ์” โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ::

กระแสละครทีวี ‘บุพเพสันนิวาส’ ดูเหมือนจะทำให้คนจำนวนมากหันมาสนใจเรื่องราวในอดีตของไทยมากขึ้น

จะเป็นแค่ลมเพลมพัด หรือจริงจังเพียงใด คงต้องติดตามกันต่อไป

แต่มีผู้ชายคนหนึ่ง อุทิศทั้งชีวิตเพื่อฟื้นฟูศิลปะไทย ที่แทบจะสูญหายไปตามกาลเวลาให้กลับมาใหม่

เฟื้อ หริพิทักษ์ ตายไปแล้วเมื่อ 25 ปีก่อน

หลายคนอาจรู้จักอาจารย์เฟื้อในฐานะครูบาอาจารย์ที่มีผลงานด้านศิลปะไทยมากมายจนได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติในปี 2528

คนในวงการศิลปะอาจรู้จักอาจารย์เฟื้อในฐานะผู้บุกเบิกงานศิลปะแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ยุคแรกๆ ของเมืองไทย ทั้งยังเป็นเจ้าของรางวัลเหรียญทองจากงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติถึง 3 ครั้งด้วยกัน

คนในวงการอนุรักษ์อาจรู้จักอาจารย์เฟื้อในฐานะผู้บุกเบิกงานอนุรักษ์จิตรกรรมภาพฝาผนังไทยอย่างจริงจัง จนได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการชุมชน ปี 2526

แต่เหนืออื่นใด ท่านคือผู้ทำงานศิลปะที่มีชีวิตเยี่ยงศิลปินอย่างแท้จริง

ช่วงชีวิตกว่า 80 ปีของอาจารย์เฟื้อ ยิ่งใหญ่ในสายตาของคนรู้จัก ชีวิตที่ผ่านโลกมาโชกโชน เหมือนเรือล่องในทะเลผ่านมรสุมความทุกข์ยากมาตลอดชีวิต มีทุกข์มีสุข หลากหลายอารมณ์คละเคล้าราวกับตัวละครที่โลดแล่นในนิยายเล่มโต เป็นชีวิตที่มีรสชาติ มีสีสันราวกับภาพอิมเพรสชั่นนิสม์ที่ปาดป้ายสีอันหนักแน่นรุนแรงลงบนผืนผ้าใบ

เป็นคนธรรมดาที่มีวิญญาณขบถ ที่น้อยคนในสังคมไทยยุคก่อนและยุคนี้จะแสดงความกล้าออกมาเฉกเช่นท่าน เป็นวิญญาณขบถที่ต่อมามีคุณูปการแก่สังคมไทยอย่างมหาศาล

ผู้เขียนโชคดีที่มีโอกาสพูดคุยกับท่านก่อนจะเสียชีวิตไม่นาน ในห้องแถวเก่าๆ แถวซอยโรงเลี้ยงเด็ก มีเพียงโต๊ะเก่าๆ กองกระดาษวาดภาพ ตู้เอกสารคร่ำครึ และเตียงนอนเล็กๆ สีขาวสะอาดตา

“ผมเห็นภาพอดีตชัดเจน สิ่งที่ผมจะเล่าคือ การปลงอนิจจัง” เฟื้อ หริพิทักษ์ เริ่มต้นบทสนทนา

 

4 ปี คสช. : การจัดดุลอำนาจใหม่ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมที่อ่อนแอ

โดย ปกป้อง จันวิทย์ และ สมคิด พุทธศรี

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และสมชาย ปรีชาศิลปกุล วิพากษ์ “4 ปี คสช.” ว่าด้วยปมเงื่อนการเมืองไทย แผนที่ดุลอำนาจใหม่ และเส้นทางยาวไกลของการเมืองภาคพลเมือง

……….……………….

22 พฤษภาคม 2561 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะอยู่ในอำนาจครบ 4 ปีเต็ม หากเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง 4 ปีก็เป็นเวลาที่ ‘พอดี’ สำหรับให้ประชาชนจะตัดสินเลือกผู้บริหารประเทศกันใหม่ แต่สำหรับคณะรัฐประหาร ซึ่งเข้าครองอำนาจรัฐด้วยวิธีการไม่ปกติ 4 ปีดูจะเป็นเวลาที่ยาวนานเกิน ‘พอดี’

ที่ว่ายาวนานเกิน ‘พอดี’ มิใช่เพราะรัฐประหารโดยกองทัพได้กลายเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 ไปแล้วเท่านั้น แต่กระทั่งในมาตรฐานของการเมืองไทย คสช. ก็ขึ้นแท่นกลายเป็นคณะรัฐประหารที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ไปแล้ว

การอยู่ยาวของ คสช. ยิ่งน่าสนใจมากขึ้น เมื่อพิจารณาว่า คณะรัฐประหารชุดนี้กุมอำนาจในห้วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ในสังคมไทย ซึ่งเส้นอำนาจใหม่ยังขีดไม่ชัด การจัดสรรอำนาจในหมู่ชนชั้นนำยังไม่สู้จะลงตัว ในขณะที่ไม่มีความชัดเจนว่า ประชาชนอยู่ตรงไหนในสมการอำนาจ

คำถามสำคัญมีอยู่ว่า เราจะประเมินระบอบ คสช. อย่างไร มองเห็นอะไร และไม่เห็นอะไร ภายใต้ภาวะฝุ่นตลบทางการเมืองที่ยาวนานผิดปกติเช่นนี้

ในวาระ “4 ปี คสช. – เดินหน้าประเทศใคร” 101 สนทนากับ ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สองแกนนำ “มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน” กลุ่มนักวิชาการที่พยายามทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย ความเป็นธรรมทางสังคม และปกป้องผลประโยชน์สาธารณะมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

ทั้งคู่มองเห็นอะไรในปมเงื่อนการเมืองไทย แผนที่ดุลอำนาจใหม่ และเส้นทางยาวไกลของการเมืองภาคพลเมือง นับจากบรรทัดนี้คือคำตอบ

 

101 Spotlights

ซีรีส์ 4 ปี คสช. เดินหน้าประเทศใคร

 

4 ปี คสช. : การจัดดุลอำนาจใหม่ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมที่อ่อนแอ

 

โดย ปกป้อง จันวิทย์ และ สมคิด พุทธศรี

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และสมชาย ปรีชาศิลปกุล วิพากษ์ “4 ปี คสช.” ว่าด้วยปมเงื่อนการเมืองไทย แผนที่ดุลอำนาจใหม่ และเส้นทางยาวไกลของการเมืองภาคพลเมือง

 

สปิริตสื่อไทยใต้ท็อปบูท บทเรียนจาก “ฐปณีย์-อิศรา-ประชาไท”

 

โดย ธิติ มีแต้ม

ถอดความคิดของ “ฐปณีย์” “สำนักข่าวอิศรา” “ประชาไท” เพื่อทบทวนบทบาทสื่อมวลชนไทยภายใต้การควบคุมของ คสช. เมื่อเพดานเสรีภาพประชาชนถูกกดต่ำลง สปิริตสื่อจะฉายฉานอย่างไร

 

ปืนกับมือเปล่า

 

โดย ธิติ มีแต้ม

สังคมไทยผ่านพฤษภาคม 2557 เข้าสู่พฤษภาคม 2561 ครบ 4 ปีพอดี ถ้าเป็นคนก็เปลี่ยนผ่านจากทารกไปสู่เด็กอนุบาล แต่สังคมไทยมีขวบวัยและวุฒิภาวะเท่าไหร่ ใครจะให้คำตอบได้ เมื่อท้องฟ้าแห่งการแสดงความเห็นยังขุ่นมัวและไม่ได้เปิดกว้างให้นกทุกตัวที่กำลังบินอยู่

101 Spotlight ชวนย้อนรำลึกภาพการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของไทย ว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนวันยึดอำนาจ และ 4 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยอยู่อย่างเงียบสงบอย่างที่ คสช. ต้องการ หรืออยู่อย่างเงียบสนั่นแบบที่ประชาชนส่วนหนึ่งลุกขึ้นยืนและกู่ตะโกนออกมา

Photo essay “ปืนกับมือเปล่า” คือบันทึกประวัติศาสตร์และประจักษ์พยานที่บ่งบอกว่า พลเมืองไทยที่ไม่ต้องการความสุขแบบฉบับ คสช. อยู่กันอย่างไร ไม่ใช่ว่าไม่ต้องการความสุข แต่คำถามคือความสุขที่มีปืนกำกับอยู่และเป็นข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้ จะเรียกว่าความสุขได้อย่างไร

 

In the Name of the Mother เปลวเพลิงในดวงตาพะเยาว์ อัคฮาด

 

โดย ธิติ มีแต้ม

“หนูไม่ได้อยากไปชุมนุมแต่หนูอยากไปช่วยคน หนูจะเข้าไปที่เต็นท์พยาบาล แล้วบอกเขาว่าอาสามาช่วย”

“แค่เรื่องรูกระสุนที่ฝ่ายความมั่นคงโกหกเรื่องเดียว แม่ของกมนเกดยอมรับว่ามันได้เปลี่ยนตัวตนไปทั้งชีวิต เพราะการตายของลูกกำลังถูกอำพราง”

บทสนทนาระหว่างพะเยาว์ อัคฮาด และกมนเกด อัคฮาด แม่ผู้ยืนหยัดเรียกร้องความยุติธรรมหลังความตายของลูกสาวที่เคยยืนหยัดทำหน้าที่อาสาพยาบาลในแดนสังหารจนจากไปก่อนวัยอันควร

ธิติ มีแต้ม เขียนถึงบทสนทนานี้ในความเงียบงันของสังคมไทยที่การพูดเรื่องคนตายจากเจ้าหน้าที่รัฐกลายเป็นของแสลงหูของผู้มีอำนาจ

เหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 มีคนตายถึง 99 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน อาจเปลี่ยนชีวิตประชาชนไปเป็นหมื่นเป็นแสนครอบครัว แต่ข้อเท็จจริง ณ วันนี้คือยังไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งผู้ปฏิบัติการถึงผู้สั่งการสักคนเดียวที่ถูกดำเนินคดี

สังคมไทยผ่านเหตุการณ์นี้มา 8 ปีแล้ว คลับคล้ายจะย่ำรอยประวัติศาสตร์การสลายการชุมนุมตั้งแต่ 14 ตุลาฯ 16, 6 ตุลาฯ 19 ถึงพฤษภาฯ 35 หรือไม่ ไม่มีใครตอบได้

ยิ่งเมื่อผ่านรัฐประหาร 57 มาครบ 4 ปี จะไปถามหากระบวนการยุติธรรมจากที่ไหน เมื่อแม้แต่แม่ของเหยื่อผู้เสียชีวิตยังถูกลิสต์ให้เป็นกลุ่มผู้เห็นต่างและกลุ่มเป้าหมายจากฝ่ายความมั่นคง

“เธอเชื่อว่าในปี 2553 ถ้ามีคนนามสกุลชินวัตรถูกยิงสักคน การนิรโทษกรรมอย่างสุดโต่งจะไม่มีทางเกิดขึ้น”

“ฝ่าย กปปส. ที่เสียชีวิต เขาเชื่อว่าพวกเสื้อแดงต้องการล้มเจ้า เป็นความคิดที่ฝังหัวเขามาตลอด เราบอกพี่ใจเย็นๆ ลูกหนูถูกยิงตายแล้วยังถูกหาว่าเป็นพวกล้มเจ้าด้วย สุดท้ายเขายอมรับว่าผังล้มเจ้าไม่มีจริง พี่เขาก็บอก อ้าว ทำไมมาใส่ร้ายกัน ประชาชนเป็นแค่เหยื่อทางการเมือง”

“อนุสาวรีย์ที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางการเมืองในประเทศนี้ไม่ได้มีไว้ให้คนจำเป็นบทเรียนว่าไม่ควรเกิดขึ้นอีก แต่เป็นอนุสาวรีย์ที่เอาไว้ให้ผู้มีอำนาจเลียนแบบว่าสามารถฆ่าประชาชนได้โดยไม่มีความผิด”

 

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : สัญญาประชาคมใหม่ของสังคมไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน

โดย ปกป้อง จันวิทย์ และ สมคิด พุทธศรี

ซีรีส์ล่าสุดของ 101 ในวาระครบรอบ 4 ปี รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

ปกป้อง จันวิทย์ และ สมคิด พุทธศรี ชวน “นิธิ เอียวศรีวงศ์” สนทนาว่าด้วยอนาคตการเมืองไทย ประชาธิปไตย และสัญญาประชาคมใหม่ของสังคมไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน

……….

บางถ้อยความจาก “นิธิ เอียวศรีวงศ์”

“ผมไม่ได้เซอร์ไพรส์ที่ตัว คสช. แต่เซอร์ไพรส์ที่สังคมไทยมากกว่า ตอนแรกผมไร้เดียงสาถึงขนาดที่คิดว่า คสช. จะอยู่ได้ไม่ถึงหกเดือนด้วยซ้ำ ไม่นึกว่าสังคมจะยอมรับระบอบเผด็จการที่ล้าสมัยไปแล้วได้ถึงขนาดนี้ แต่หลังจากผ่านไปหนึ่งปี ก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า สังคมไทยทุกวันนี้ไม่เหมือนสมัยปี 2535 ไม่เหมือนเมื่อครั้งผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แล้ว”

“กลุ่มทุนประชารัฐมองเห็นแล้วว่า ถ้าประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปมากกว่านี้ มันจะแทรกไม่ได้ มันแทรกยากขึ้น หรือแพงขึ้น

นี่จึงเป็นครั้งแรกที่กลุ่มทุน โดยเฉพาะทุนขนาดใหญ่ สมัครใจอยู่กับฝ่ายอนุรักษนิยมเต็มตัว ไม่ใช่กลุ่มยังไงก็ได้ อย่างแต่ก่อน”

“สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงอย่างสังคมไทยเป็นสังคมที่หาฉันทมติได้ยาก ประชาธิปไตยดีตรงนี้ คุณอาจจะไม่ต้องมีฉันทมติขนาดนั้นก็ได้ สิ่งที่เสนอจะถูกตัดถูกทอนถูกลดจนกระทั่งฝ่ายต่างๆ พอจะยอมรับได้ ไม่มีทางที่จะใช้อำนาจแบบมาตรา 44 ตลอดไปได้ ถ้าสังคมซับซ้อนขนาดนี้ มันไม่มีทางอื่น นอกจากต้องเป็นประชาธิปไตย หลอกๆ ก็ยังดี”

“ผมก็อยากฟังเสียงประชาชน เสียงสวรรค์นี่แหละ แต่เสียงสวรรค์มักเปล่งเสียงไม่ค่อยเป็น เลยต้องมีกระบอกเสียงที่ช่วยเปล่งแทนให้ ซึ่งแน่นอน เสียงมันเพี้ยน เพราะเป็นมนุษย์ กระบอกเสียงที่ว่าคือ ‘พรรคการเมือง’ …

ผมหวังว่าพรรคการเมืองใหม่ๆ จะรู้จักเป็นกระบอกเสียงที่ฉลาดขึ้น สำหรับพรรคเพื่อไทย ถ้ามีคนอื่นทำให้มันอยู่ต่อไปได้ ก็ต้องหาวิธีอื่นในการเปล่งเสียง ไม่ใช่แต่เพียงชุมนุมมวลชนอย่างเดียว สำหรับพรรคอนาคตใหม่ คุณเข้าไปเป็นฝ่ายค้านสามคนก็ได้ ถ้าคุณทำเป็นก็สามารถทำให้เสียงดังกว่าปกติได้ เพราะความสามารถในการเปล่งเสียงไม่ได้ขึ้นกับปริมาณ ส.ส. เท่านั้น”

 

รายการ 101 One-on-One

101 One-On-One Ep30 “อ่านเกาหลี ผ่าน K-pop” กับ จักรกริช สังขมณี

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “อ่านเกาหลี ผ่าน K-pop” กับ จักรกริช สังขมณี

ชวนสำรวจบาดแผลทางประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงของสังคมเกาหลีร่วมสมัย และความเป็นไปได้ในการรวมชาติในอนาคต ผ่านหนังและซีรีส์เกาหลี

ใน 101 One-on-One EP30

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2561 เวลาสองทุ่มตรง ทาง The101.world

ธร ปีติดล ดำเนินรายการ

 

101 One-On-One Ep29 “คนป่วนในโลกป่วน” กับ สุทธิชัย หยุ่น

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: คุยกับ “คนป่วนในโลกป่วน” – Suthichai Yoon ผู้ดำเนินรายการ “โลกป่วน” (Disrupted World) ทาง Thai PBS | อดีตบรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น

จิบ “กาแฟดำ” มองอนาคตวงการสื่อและสังคมไทย ผ่านประสบการณ์ 50 ปีเต็มในแวดวงสื่อสารมวลชน

ใน 101 One-on-One EP29

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2561 เวลาสองทุ่มตรง ทาง The101.world

ปกป้อง จันวิทย์ ดำเนินรายการ

 

101 One-on-One ep28 “People on the MOVE” กับ ประยงค์ ดอกลำไย

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “People on the MOVE” กับ ประยงค์ ดอกลำไย ที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move)

เปิดปมปัญหาและชวนสนทนาถึงข้อเรียกร้องของ P-Move ทำไมชาวบ้านต้องออกเดิน!

ใน 101 One-on-One EP28

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2561 เวลาสองทุ่มตรง ทาง The101.world

กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ดำเนินรายการ

 

101 One-on-One ep27 “ปฏิรูป กสทช. ปฏิรูปสื่อ” กับ สุภิญญา กลางณรงค์

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “ปฏิรูป กสทช. ปฏิรูปสื่อ” โดย สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ทบทวนประสบการณ์ 6 ปีใน กสทช. อะไรคือโจทย์การปฏิรูปสื่อในปัจจุบัน และอะไรคือประเด็นที่สังคมควรจับจับตาภายใต้ กสทช. ชุดใหม่

ใน 101 One-on-One EP27

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2561 เวลาสองทุ่มตรง ทาง The101.world

ดำเนินรายการโดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save