fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world (สิงหาคม 2560)

ผลงานแนะนำของ The101.world

ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทีมงาน 101 ผลิตคลิปพิเศษ TEP Talk งานทอล์กขั้นเทพ เปิดเคล็ดลับความรวยของมหาเศรษฐีหมื่นล้าน – ประเสริฐ อัจฉริยะโกงสกุล ซึ่ง ‘เสี่ยเสริฐ’ นักธุรโกงคนดังออกมาเปิดเผยกลวิธีพิชิตความสำเร็จ และ ‘ขอบคุณ’ ทุกคนที่ทำให้เขามีวันนี้

นี่เป็น TEP Talk ที่ทุกคนควรได้ฟังก่อนตาย เชิญพิสูจน์ด้วยตัวคุณเอง

นอกจากนั้น 101 ยังเริ่มรายการออนไลน์รายการแรกของเรา นั่นคือ 101 One-on-One รายการที่ชวนคอลัมนิสต์และแขกรับเชิญพิเศษหลากหลายวงการมาตอบคำถามผู้อ่านและผู้ชม 101 กันสดๆ อย่างเต็มอิ่ม

ประเดิมตอนแรกในหัวข้อ “อ่านการเมืองไทย” กับ ประจักษ์ ก้องกีรติ และตอนที่สองในหัวข้อ “อ่านเศรษฐกิจการเมืองจีน” กับ อาร์ม ตั้งนิรันดร

ติดตาม 101 One-on-One รายการคุยความรู้แบบถามชัดๆ ตอบตรงๆ กันสดๆ ได้เป็นประจำ (ส่วนใหญ่จะเป็นวันจันทร์) เวลาสองทุ่มตรง ทางเพจ The101.world โดยกำหนดออกอากาศในแต่ละสัปดาห์ติดตามได้ทางสื่อของ 101

ชมผลงานแนะนำทั้งสามคลิปแล้ว เชิญอ่าน 20 ผลงานยอดนิยมประจำเดือนสิงหาคมของ The101.world ต่อได้เลยครับ

TEP Talk ประเสริฐ อัจฉริยะโกงสกุล เผยเคล็ดลับทางรวย “ขอบคุณทุกคนที่ทำให้ผมมีวันนี้”

 

โดย ทีมงาน The101.world

อยากรวยต้องฟัง!

ลืมทุก ‘โค้ชชีวิต’ ไปให้หมด แล้วมาฟัง ‘ตัวจริง’ กันดีกว่า! ครั้งแรกของการเผยกลวิธีเพื่อเป็นเศรษฐี จากปากนักธุรกิจหมื่นล้าน ‘เสี่ยเสริฐ ประเสริฐ อัจฉริยะโกงสกุล” ของจริงไม่อิง passive income ไม่ต้องเล่นหุ้นมั่วๆ ลบล้างความเชื่อผิดๆ ว่า ความสำเร็จเกิดจากความมุมานะ ชี้เข็มทิศธุรกิจพิชิตความสำเร็จ

ที่นี่ที่แรกและที่เดียว ที่ ‘เคล็ดลับความรวย’ จะถูกเปิดเผยหมดเปลือก กับสี่กลวิธีที่ถ้าใครทำตามได้รวยแน่นอน!

เคล็ดลับ 4 ข้อ 1. คบรัฐมนตรีเป็นเพื่อน 2. เลี้ยงข้าราชการไว้ใช้งาน 3. ผูกขาดธุรกิจ ใครทำสินค้ามาฝากขายแล้วขายดีก็ทำเลียนแบบมาขายเอง 4. กล่อมผู้บริโภคให้ไม่สนใจว่าธุรกิจไหนชั่วร้าย

อยากรวยจริงโปรดดูให้จบคลิป แล้วจงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แชร์ ‘เคล็ดลับความรวย’ ให้มิตรสหายที่คุณรัก

นี่คือ TEP Talk “งานทอล์กขั้นเทพ” ที่สุดแห่งแรงบันดาลใจ ที่สุดแห่งนวัตกรรมทางความคิด ที่สุดแห่งยุคเทคโนโลยี

หากคุณมีเวลาฟัง TEP Talk แค่คลิปเดียว โปรดฟังคลิปนี้ เพราะมันจะเปลี่ยนชีวิตคุณให้เป็นคนที่คุณยังจำตัวเองไม่ได้ รักใครโปรดให้เขาฟัง

นี่คือหนึ่งใน TEP Talk ที่ทุกคนควรได้ฟังก่อนตาย พิสูจน์ด้วยตัวคุณเอง

“มันสุดยอดจริงๆ”
-บิน เกด

“คิดไม่ถึงว่าจะมหัศจรรย์ขนาดนี้”
-มาร์ค ซักซะถลอกปอกเปิก

“ผมต้องทบทวนสิ่งที่ทำมาทั้งหมดใหม่”
-วอร์เรน บุฟเฟ่ต์

“ผมไม่แปลกใจเลยถ้าวันหนึ่งเขาจะรวยกว่าผม”
-อีลอน มั้ง

 

101 One-on-One | ep01 “อ่านการเมืองไทย” กับ ประจักษ์ ก้องกีรติ

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “อ่านการเมืองไทย” กับ “ประจักษ์ ก้องกีรติ” คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คอลัมนิสต์ 101

ในรายการ 101 One-on-One | ep01

วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2560 สองทุ่มตรง ทาง The101.world

ชวนคุย โดย ปกป้อง จันวิทย์ บรรณาธิการ 101

อ่านถอดเทปบทสนทนาคำต่อคำได้ ที่นี่

 

101 One-on-One | ep02 “อ่านเศรษฐกิจการเมืองจีน” กับ อาร์ม ตั้งนิรันดร

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “อ่านเศรษฐกิจการเมืองจีน” กับ “อาร์ม ตั้งนิรันดร” คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และคอลัมนิสต์ 101

ใน 101 One-on-One | ep02

จันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2560 สองทุ่มตรง ทาง The101.world

ชวนคุย โดย ปกป้อง จันวิทย์ บรรณาธิการ 101

20 ผลงานใหม่ยอดนิยมที่มีผู้อ่านสูงสุดของ The101.world ในช่วงเดือนสิงหาคม 2560

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ตอบข้อสงสัยว่า แม้หลายฝ่ายปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจสูงขึ้น แต่ทำไมผู้คนจำนวนมากถึงยังไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยดีขึ้นตามไปด้วย

“แข็งนอก-อ่อนใน” | “แข็งบน-อ่อนล่าง” | “ดีขึ้น-แต่เคยดีกว่านี้” คือสามคำตอบของพิพัฒน์

 

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

“คุณรู้ไหมว่าตอนนี้คอร์รัปชันแม่งบานเลย นี่เป็นยุคที่คอร์รัปชันเบ่งบานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่ผมเกิดมา มันคอร์รัปชันทุกเม็ด ทุกหย่อมหญ้า เข้าไปถึงระบบราชการแบบละเอียดมาก ตั้งแต่เจ้าหน้าที่เขต ตำรวจ ทหาร ผู้นำ ทุกระดับ คอร์รัปชันกันแบบสนั่นหวั่นไหว…

“อย่างถนนเลียบแม่น้ำ 14 กิโลเมตรนี่ก็คอร์รัปชัน คุณดูไม่ออกจริงๆ เหรอ ผมว่าทุกคนก็ดูออก แต่คุณอนุญาตให้มันเกิดขึ้น การที่คุณไม่พูดเท่ากับคุณอนุญาต”

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล คุยกับ ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกรุ่นใหญ่ ว่าด้วยการพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และโครงการใหม่ล่าสุดของเขา ‘Warehouse30’

 

มองทะลุม่านมายาคติ “หญิงไทยกับสามีฝรั่ง” : เมื่อสิ่งที่เห็น อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น

 

โดย วันดี สันติวุฒิเมธี

วันดี สันติวุฒิเมธี สนทนากับ ดร.พัชรินทร์ ลาภานันท์ ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ดร.พัทยา เรือนแก้ว นักวิจัยอิสระ จากประเทศเยอรมนี สองนักวิจัยผู้สำรวจโลกของผู้หญิงไทยที่มีสามีฝรั่งมายาวนานกว่า 20 ปี เพื่อค้นหาความจริงหลังม่านมายาคติเกี่ยวกับ “หญิงไทยและสามีฝรั่ง”

……….

“โอกาสที่ผู้หญิงในหมู่บ้านจะเลื่อนชั้นทางสังคมมีน้อยมาก การแต่งงานกับฝรั่งมีโอกาสเลื่อนชั้นทางสังคมเยอะกว่า ยกตัวอย่างคนที่เป็นแม่หม้าย การแต่งงานใหม่กับชายไทยไม่ใช่เรื่องง่าย หรือหญิงขายบริการทางเพศ ถามหน่อยว่า มีผู้ชายไทยคนไหนที่จะรับคนเหล่านี้เป็นภรรยาอย่างเต็มใจ แต่ฝรั่งเค้าไม่แคร์ว่าอดีตเป็นอย่างไร”

– พัทยา เรือนแก้ว –

“คำพูดที่ว่า “ผู้หญิงแต่งงานกับผู้ชายต่างชาติเพื่อเงิน” เป็นชุดคำพูดเกิดจากสังคมของชายเป็นใหญ่ เพราะเหมือนคุณผลักบาปไปให้ผู้หญิง แต่สังคมไม่เคยมองความไม่รับผิดชอบของผู้ชาย ทำไมเค้าอยากได้เงิน ก็เพราะผู้ชายไทยไม่รับผิดชอบลูกที่อยู่กับเมียเก่าไง ถ้าคุณรับผิดชอบลูก เค้าก็คงไม่ต้องขวนขวายไปหาเงินที่อื่น”

– พัชรินทร์ ลาภานันท์ –

 

เคยสงสัยไหมครับว่า แวดวงเศรษฐศาสตร์การเมืองมองประเทศไทยอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ อะไรเป็นจุดแข็งที่พาเราก้าวจากประเทศยากจนมาสู่ประเทศรายได้ปานกลาง แล้วอะไรเป็นจุดตายที่ทำให้ไทยไม่ไปไกลกว่านี้
วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร เล่าถึงวิธีการตีความเส้นทางเศรษฐกิจการเมืองไทย 4 แนวทาง ได้แก่ แบบเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แบบสถาบัน แบบมาร์กซิสต์ และแบบปัจจัยคุกคาม
แต่ละแนวมองเห็นจุดแข็งจุดอ่อน ให้คำอธิบายต่อการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่างกันไปอย่างไร ติดตามได้ในบทความชิ้นนี้

 

ประจักษ์ ก้องกีรติ เก็บตกความคิดจากงานประชุมวิชาการนานาชาติ “ไทยศึกษา” ที่เชียงใหม่ เมื่อเหล่านักวิชาการช่วยกันต่อจิ๊กซอว์การเมืองไทยในปัจจุบันว่า
“เหตุใดประเทศไทยจึงกลายเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่ยังคงปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมของกองทัพ?”

 

โดย สฤณี อาชวานันทกุล

สฤณี อาชวานันทกุล ชวนอ่าน The Origin of Wealth ของ Eric Beinhocker หนังสือที่นำเสนอ “เศรษฐศาสตร์เชิงซับซ้อน” ที่สังเคราะห์จากองค์ความรู้หลายศาสตร์ มาใช้แทนที่ “เศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม” ที่ล้มเหลวในการอธิบายโลกแห่งความจริง

……….

“…ไบน์ฮ็อกเกอร์สังเคราะห์งานวิจัยหลากหลายแขนง ตั้งแต่ชีววิทยาวิวัฒนาการ มานุษยวิทยา ทฤษฎีเกม จิตวิทยา ทฤษฎีข้อมูล ฟิสิกส์ และประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ มาอธิบายว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักสำนักนีโอคลาสสิก ซึ่งเขาเรียกว่า “เศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม” หรือ Traditional Economics (เขาย่อว่า TE) ล้มเหลวในการอธิบายโลกแห่งความจริงอย่างไร และ “เศรษฐศาสตร์เชิงซับซ้อน” หรือ Complexity Economics (CE) ซึ่งผนวกข้อค้นพบจากวิชาต่างๆ เหล่านี้ ทำงานได้ดีกว่าเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมอย่างไร และมันจะช่วยให้เราคิดใหม่เกี่ยวกับบทบาทของรัฐ เอกชน ตลอดจนมองเห็นความ “พ้นสมัย” ของการปะทะทางความคิดระหว่างฝ่าย “ซ้าย” และฝ่าย “ขวา” ของไม้บรรทัดอุดมการณ์ได้อย่างไรบ้าง …”

……….

 

พรุ่งนี้ก็วันศุกร์แล้ว ใครยังไม่รู้ว่าหลังเลิกงานจะไปแฮงก์เอาท์ที่ไหน แต่อีกใจก็ไม่อยากจะไปเจอคนเยอะๆ ลองมาตามรอย 3 บาร์ลึกลับสุดคูลในกรุงเทพฯ กัน จะเป็นที่ไหน บรรยากาศเป็นอย่างไร ต้องอ่าน!

 

ความงามที่แตกต่าง: ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่

 

โดย นิวัติ กองเพียร

หลายคนคงคิดถึงคะนึงหาตัวอักษรของ ‘นิวัติ กองเพียร’ ที่จะพาผู้อ่านอย่างเราสอดส่ายสายตาเพ่งพิจารณาความงามของแผ่นผิวผุดผ่อง ขนอ่อนระเนนวาว เสน่ห์แห่งโค้งเว้าอันรัญจวนใจของสาวไทยด้วยตัวหนังสืออันชวนระทดระทวย

วันเวลาหนึ่ง ‘นิวัติ’ เคยกล่าวชมเชย ‘ต่าย เพ็ญพักตร์’ เมื่อเวลาผ่าน ‘พลอย เฌอมาลย์’ กลายเป็นขวัญใจ ฉงนสงสัยเหมือนกันบ้างไหมว่า ในวันเวลานี้ ‘เกจินู้ด’ ชื่นชมหญิงไทยคนใดบ้าง

ความสงสัยนี้กำลังจะหมดไปกับคอลัมน์ใหม่ล่าสุดในเว็บ The101.world พาร์ท IDEA ที่ได้รับเกียรติจาก ‘นิวัติ กองเพียร’ มาร่ายรำอักษรให้เคลิบเคลิ้มเยิ้มหัวใจ อ่านแล้วระทวยไหวแทบทุกบรรทัด

ขอเชิญยล ‘ขนอุย’ ของ ‘ใหม่ ดาวิกา’ ในสายตา ‘นิวัติ กองเพียร’ ไปพร้อมกัน ‘101’ ภูมิใจนำเสนอ

 

จีนกับเศรษฐกิจ QR Code

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

ยุคนี้คนจีนไม่ต้องพกกระเป๋าสตางค์ ขอแค่มีสมาร์ทโฟนติดตัว ก็ซื้อหาสินค้าและบริการได้สบายๆ ผ่านการสแกน QR Code จนมูลค่าการใช้จ่ายด้วยสมาร์ทโฟนคิดเป็นเงินกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP จีนเลยทีเดียว

โดยเฉลี่ย คนจีนจะสแกน QR Code 10 – 15 ครั้ง ต่อวัน อาจกล่าวได้ว่าคนจีนที่มีสมาร์ทโฟน (มีอยู่ราว 550 ล้านคน) คุ้นเคยกับโลกรอบตัวที่เต็มไปด้วย QR Code

QR Code คืออะไร ส่งผลต่อการสร้างเศรษฐกิจใหม่ ธุรกิจใหม่ และวัฒนธรรมใหม่อย่างไร – อาร์ม ตั้งนิรันดร เล่าเรื่องจีนกับเศรษฐกิจ QR Code ให้อ่านกัน

 

โดย พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม

ความไม่แน่นอนด้านภูมิศาสตร์การเมืองโลก กลายเป็น “ความเสี่ยง” ที่ทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม เปิดงานศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า ตลาดการเงินเริ่มหันเหความสนใจออกจากนโยบายการเงิน มาสู่ปัจจัยด้านการเมือง และการปะทุเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมืองส่งผลกระทบทางลบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภาคเศรษฐกิจจริงและผลตอบแทนในตลาดการเงิน

 

จากธัมมชโย ถึงยิ่งลักษณ์ ละครของชนชั้นนำ

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

สถานการณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มีความคล้ายคลึงกันอย่างไร วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนเล่าพล็อตละครของชนชั้นนำสองเรื่องสองตัวเอก

……….

“การหนีออกนอกประเทศของทั้งสองคงเป็นการดีลครั้งสำคัญของชนชั้นนำทั้งสองฝ่าย ดีลครั้งนี้ win-win ผู้มีอำนาจก็ได้ความมั่นคงขึ้นมา อีกฝ่ายก็ได้อิสรภาพ

ตอนนี้ก็ดูปาหี่ ดูข่าวทหารตำรวจไปเที่ยวค้นบ้านคนนั้นคนนี้ที่คาดว่ายิ่งลักษณ์อาจจะเคยมา พอเป็นพิธี เหมือนตอนค้นหาธัมมชโย ไปพลางๆ ก่อน

ส่วนประชาชนอย่างเราก็ทำมาหากินกันต่อไป รอดูละครตอนต่อไปของผู้มีอำนาจและชนชั้นนำ

แต่หากเมื่อไรที่ประชาชนคนธรรมดาคิดจะขัดแย้งหรือทะเลาะกับผู้มีอำนาจหรือชนชั้นนำ อนาคตที่เห็นอยู่ตรงหน้า คือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง คุก และการบาดเจ็บล้มตาย”

……….

 

เปลี่ยนแปลงอนาคตประเทศไทยด้วยการปฏิรูปภาษี

 

โดย ธร ปีติดล

เราจะเปลี่ยนแปลงอนาคตประเทศไทยด้วยการปฏิรูปภาษี เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริมการกระจายอำนาจ และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้อย่างไร

ธร ปีติดล ในฐานะผู้ประสานงานชุมชนนโยบายด้านการปฏิรูปภาษีมีข้อเสนอมาชวนสังคมถกเถียงต่อ

 

โดย พลอย ธรรมาภิรานนท์

“นายทุนในประเทศกำลังพัฒนาเป็นผู้สนับสนุนประชาธิปไตยแบบมีเงื่อนไข เพราะพวกเขาเป็นผู้ปกป้องผลประโยชน์ของตนเองแบบถาวร” (Eva Bellin, 2000)

พลอย ธรรมาภิรานนท์ ชวนคิดเรื่องนายทุนไทยกับจุดยืนต่อระบอบประชาธิปไตย ทำไมนายทุนไทยที่เคยสนับสนุนประชาธิปไตยในช่วงหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 กลับหันหลังให้ประชาธิปไตย มาสนับสนุนรัฐบาลทหารและขบวนการต่อต้านประชาธิปไตยในทศวรรษหลัง

 

“ในโลกที่โกลาหลมากขึ้นเรื่อยๆ อเล็ก รอสส์ เป็นเพียงไม่กี่คนที่สามารถมองเห็นรูปแบบของความโกลาหลนั้นและสามารถแนะแนวทางไปสู่อนาคตได้!” – เอริก ชมิดต์ ผู้ก่อตั้งและอดีตผู้บริหาร Google กล่าวถึง อเล็ก รอสส์

……………..

มารู้จัก “4 อุตสาหกรรมบนเส้นทางสู่อนาคต” ไปพร้อมกัน

อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมพันธุกรรม, อุตสาหกรรมบิ๊กเดต้า และอุตสาหกรรมความปลอดภัยไซเบอร์ กับหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านนวัตกรรมของสหรัฐฯ

มาพลิกธุรกิจและสังคมให้ทันโลกอนาคต ไปพร้อมกับอเล็ก รอสส์ (Alec Ross) บุคคลที่คนจำนวนมากในโลกรอฟัง เมื่อเขาพูดเรื่อง “โลกอนาคต”

ในงาน “Shift Happens: พลิกธุรกิจให้ทันวันพรุ่งนี้” วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 นี้

ลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่งได้ที่ www.shifthappens.in.th
รับจำนวนจำกัด ใครมาก่อนมีสิทธิ์ก่อน

และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.dtac.co.th/pressroom/news/shifthappens.html

สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ 063-417-6584 หรือ [email protected]

 

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ชวนอ่านห้วงเวลาแบบคิสซินเจอร์ (Kissingerian Moment) ห้วงเวลาที่เกิด The Conservative Dilemma – เมื่อสังคมการเมืองเกิดพลังก่อตัวขึ้นมาท้าทายและเรียกร้องการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมจากระบอบเดิม แต่แนวทางการรักษาเสถียรภาพแบบเดิมไม่ทำงาน หรือทำงานไม่ได้ดีเหมือนเดิมอีกต่อไป อีกทั้งความพยายามที่จะรักษาระบอบเดิมไว้ให้มั่นคงกลับยิ่งสร้างข้อจำกัดที่ระบอบนั้นจะสามารถรับมือกับข้อท้าทายใหม่ๆ ได้

เมื่อฝ่ายอนุรักษนิยมแทบไม่มีทางเลือกในการกลับคืนสู่เวลาของเสถียรภาพและความสงบเรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม

แล้วทางออกอยู่ตรงไหน?

……….

“…แม้ความคิดเมตเตอนิชอาจจะถูกที่ยืนยันว่าใครก็ตามที่ทิ้งอดีตที่เคยมีจะไม่สามารถเป็นเจ้าของอนาคตได้ แต่ก็ต้องกล่าวเพิ่มด้วยว่าใครก็ตามที่พยายามจะเก็บอดีตที่เคยมีไว้ด้วยการหวังจะตามเจอมันในอนาคตด้วย จะลงเอยด้วยความล้มเหลวแน่นอน

คิสซินเจอร์จบบทความของเขาว่า ภารกิจของอนุรักษนิยมไม่ใช่การเอาชนะ แต่เป็นการรักษาสภาวะที่จะกันไม่ให้เกิดกระแสปฏิวัติขึ้นมาได้แต่แรก แต่เมื่ออนุรักษนิยมไม่อาจห้ามกระแสการปฏิวัติไม่ให้เกิดขึ้นมาได้แล้ว พวกเขาก็ไม่สามารถเอาชนะฝ่ายปฏิวัติได้ด้วยวิธีการแบบอนุรักษนิยม และเมื่อระเบียบได้แตกออกเป็นเสี่ยงแล้ว จะฟื้นฟูกลับมาได้ ก็ต้องให้สังคมผ่านพบเจอกับความปั่นป่วนโกลาหลก่อนเท่านั้น

หรือถ้าคิสซินเจอร์รู้สำนวนไทย เขาคงพูดในภาษาของเราว่า …”

 

ครั้งหนึ่งเราเคยพบกัน…ออง ซาน ซู จี “ฉันหรือเธอที่เปลี่ยนไป ?”

 

โดย วันดี สันติวุฒิเมธี

วันดี สันติวุฒิเมธี เล่าประสบการณ์ตรงในการสัมภาษณ์ออง ซาน ซู จี เมื่อเดือนธันวาคม 2553 สมัยเป็นบรรณาธิการนิตยสารสาละวินโพสต์ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนในกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ซู จี เปลี่ยนไป” หลังขึ้นสู่อำนาจ

……….

“ออง ซาน ซู จี บอกว่า เธอเป็น “นักการเมืองที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” ดังนั้น ถ้าจะมองดูเธอ ก็ต้องใช้ “แว่นสายตา” ที่มอง “นักการเมือง” ใช่หรือไม่

และหากลองอ่านวิธีการตอบคำถามของเธอดีๆ ก็จะพบว่า เธอคือ “นักการเมืองตัวจริง” ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตอบคำถามหลีกเลี่ยงการ “ยอมรับ” หรือ “ปฏิเสธ” แบบตรงไปตรงมา วิธี “อ้างอิง” ความคิดเห็นคนอื่นมาตอบคำถามแทนการแสดงจุดยืนของตนเอง (เห็นได้จากวิธีการตอบคำตอบเรื่องการแยกตัวเป็นประเทศของกลุ่มชาติพันธุ์) รวมไปถึงวิธีการตั้งคำถามย้อนกลับผู้สื่อข่าวจนตั้งรับไม่ทันเหมือนที่ผู้เขียนเจอมาแล้วกับตนเอง

สุดท้ายนี้ ในฐานะที่ครั้งหนึ่งเราเคยพบกัน ผู้เขียนขอสรุปแบบ “ฟันธง” จาก “แว่นสายตา” ของตนเองว่า “ซู จี ไม่ได้เปลี่ยนไป” เพราะเธอยังคงเป็นผู้หญิงที่ฉลาด เข้มแข็ง และก้าวเดินบนเส้นทางประชาธิปไตยตามปณิธานที่เธอบอกไว้เช่นเดิม

เพียงแต่ “ฉันต่างหากที่เปลี่ยนไป” เพราะเมื่อเห็นเธอได้รับอิสรภาพมากยิ่งขึ้น ฉันจึงมีความคาดหวังในตัวเธอมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน”

– วันดี สันติวุฒิเมธี –

……….

 

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

ความรู้สึกหลงรักใครซักคนมีที่มาเพียงเสียงหัวใจที่บอกอย่างเดียวจริงหรือเปล่า… มาดูกันดีกว่าว่าปัจจัยภายนอกหัวใจที่กำหนดความรู้สึก ‘หลงรัก’ ของมนุษย์จะมีอะไรบ้าง!?

 

มอง “ประชาไท” ในรัฐทหาร ท่ามกลางแผ่นดินไหวในภูมิทัศน์สื่อ ผ่านสายตา “ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข”

 

โดย จารุกิตติ์ ธีรตาพงศ์

“หัวใจหลักของ ‘ประชาไท’ คือเรื่องมนุษย์เท่ากัน ไม่ขึ้นอยู่กับสีผิว เชื้อชาติ ศาสนา หรือความคิดทางการเมือง” – ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหาร ‘ประชาไท’ ตอบคำถามเราอย่างหนักแน่นมั่นคง

6 กันยายน 2547 ‘ประชาไท’ ก็ถือกำเนิดขึ้นในฐานะหนังสือพิมพ์อิสระบนเว็บไซต์

จากวันนั้นถึงวันนี้ ‘ประชาไท’ มีอายุเกือบ 13 ปีเต็ม ผ่านสมรภูมิวิกฤตการเมืองมาหลายยุคหลายสมัย ผ่านการคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อนับครั้งไม่ถ้วน มิพักต้องพูดถึงการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ของภูมิทัศน์สื่อในปัจจุบัน

‘ประชาไท’ ในวันนี้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหญ่ด้านการเมืองและสื่อสารมวลชนอย่างไร

101 ชวน ‘ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข’ มาสนทนาเรื่อง ‘ประชาไท’ ในรัฐทหาร และความสั่นไหวในภูมิทัศน์สื่อใหม่

……….

(1)

“สิ่งที่สื่อใหม่ควรเรียนรู้ คือการสร้างแหล่งข่าวใหม่ๆ นอกจากหน้าที่สังเคราะห์ รวบรวม และเรียบเรียงแล้ว คุณต้องสร้างแหล่งข่าวที่มีโอกาสเข้าถึงอำนาจน้อยกว่า และรายงานข่าวขั้นปฐมภูมิสู่แพล็ตฟอร์มออนไลน์เพื่อแข่งกับสื่อกระแสหลัก”

(2)

“จริยธรรมไม่ใช่เรื่องที่คุณไปเขียนให้คนอื่นทำตาม จริยธรรมคือเรื่องที่คุณเลือกว่าจะทำอะไร ไม่ทำอะไร เพราะอะไร กระทบกับใคร จริยธรรมคือหลักปฏิบัติของตัวเอง แต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่มันต้องต่อรองกันได้”

(3)

“ถ้าคุณตัวเล็ก คุณต้องกล้า ถ้าไม่มีทุนมหาศาลเหมือนสื่อใหญ่ คุณยิ่งต้องกล้าหาญที่จะพูดความจริง มันจะทำให้คุณมีความน่าเชื่อถือ ผู้อ่านมากขึ้น เป็นความยั่งยืนในระยะยาว”

(4)

“สื่อใหม่เป็นแพล็ตฟอร์มที่ทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน แพล็ตฟอร์มเป็นประชาธิปไตยแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าวัฒนธรรมการใช้แพล็ตฟอร์มนี้เป็นประชาธิปไตยไปด้วยโดยอัตโนมัติ”

(5)

“พลังเหล่านี้จะออกมาเมื่อไร ไม่รู้ แต่มันออกมาแน่ เมื่อมีภววิสัยและเงื่อนไขที่ร้อยรัดให้ปัจเจกบุคคลรุ่นหนุ่มสาวรวมพลังกัน วันที่พวกเขาพร้อมจะละสายตาแล้วเดินออกมาบนท้องถนน วันนั้นต้องมี”

……….

 

หากเดินผ่านไปมาริมถนนสุขุมวิทช่วงแยกอโศก คุณอาจเคยเห็นร้านอาหารหน้าตาธรรมดา แต่ทุกวันเวลาสองทุ่มตรง ประตูสู่วัฒนธรรม ‘เกาหลีเหนือ’ จะเปิดออกพร้อมต้อนรับด้วยโชว์จาก ‘หญิงลี’

นี่คือเรื่องราวของร้านอาหารจากประเทศแห่งความลับ กับความพยายามเปิดตัวเองสู่โลกภายนอก แม้คนในชาติ (อาจ) ไม่มีโอกาสได้ทานอาหารบนโต๊ะเหล่านี้เลยก็ตาม

 

สมคิด พุทธศรี ชวนอ่านหนังสือ “แผ่นดินจึงดาล: การเปลี่ยนผ่านในสภาพบังคับ” ว่าด้วยอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการเมืองไทย จัดทำโดย ‘ประชาไท’

ความน่าสนใจของหนังสืออยู่ที่การพยายามตอบคำถาม “เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร” และ “เราจะไปทางไหนต่อ” ผ่านมุมมองของนักคิดนักวิชาการ 9 คน ได้แก่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ สุรชาติ บำรุงสุข ธงชัย วินิจจะกูล พวงทอง ภวัครพันธุ์ อภิชาต สถิตนิรามัย ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กุลลดา เกษบุญชู มี้ด และเกษียร เตชะพีระ

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือได้ที่ https://www.prachataistore.net/book

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save