fbpx

20 ผลงานชวนอ่านของ The101.world (มีนาคม-เมษายน 2560)

ตลอด 2 เดือนแรกของ The101.world มีผลงานให้คุณอ่านและชมร่วมสองร้อยชิ้น และนี่คือผลงานบางส่วนที่เราไม่อยากให้คุณพลาด

นี่คือ 20 ผลงานคัดสรรที่ 101 ขอชวนคุณอ่านไปด้วยกัน

20 ผลงานชวนอ่าน The101.world

 

บทบรรณาธิการแรก The101.world

Life : Editor’s Note โดย โตมร ศุขปรีชา

Life คือ ชีวิต และชีวิตนั้นมีหลากแง่มุม ชีวิตของเราแต่ละคนกระเทือนกระแทกซึ่งกันอยู่ในขอบเขตของสิ่งที่เรียกว่า ‘สังคม’ จึงหมายรวมถึงการกระทบกระทั่งกันในทางความคิด เพื่อให้การกระแทกกระเทือนนั้นกระทุ้งเส้นขอบฟ้าของเราแต่ละคนจนขยายออกในที่สุด…

 

Thoughts : Editor’s Note โดย ปกป้อง จันวิทย์

วันนี้ ทีม “วันโอวัน” เริ่มต้นลงมือทำอีกความฝันหนึ่งให้เป็นจริงทีละนิด นั่นคือ การก่อร่างสร้างสื่อความรู้สร้างสรรค์ (creative knowledge media) ที่ชวนสังคมตั้งคำถามที่ ‘ใช่’ ในเรื่องสำคัญต่อชีวิต และเปิดพื้นที่ชวนคิดเรื่องโลกและสังคมไทยในมิติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม

 

Ideas : Editor’s Note โดย สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์

คุณอาจรู้สึกว่าชีวิตช่วงนี้ช่างเหมือนการเดินผ่านเข้าไปในห้องมืด บางช่วงของการทำงาน คุณก็อาจรู้สึกเช่นนั้น บางช่วงของการเรียน บางช่วงของความสัมพันธ์ หรือบางช่วงของประเทศชาติบ้านเมือง อาจทำให้คุณรู้สึกว่า-ฉันกำลังเดินผ่านห้องมืดๆ ที่ทอดตัวยาวเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด ในห้วงนั้นเอง กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่คุณจะได้เห็น ‘แสง’ ชัดเจนที่สุด

 

เมื่อศิลปะบอกเล่าปัญหาสังคม 

โดย สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์

ถึงเวลาใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสังคมที่ดีกว่าเดิม

จะเป็นอย่างไร ถ้านักสร้างสรรค์รวมตัวกันเพื่อบอกเล่าปัญหาสังคม

จะเป็นอย่างไร ถ้าสารคดีเรื่องคนยากจนไม่ถูกเล่าอย่างเคร่งเครียด

พบกับสารคดี “ณ” – บ้านของเขา เรื่องของเราทุกคน ที่รวมนักสร้างสรรค์หลายแขนงร่วมกันสร้างสะพานแห่งความเข้าใจระหว่างคนในเมืองเดียวกัน ประเทศเดียวกัน … ทุกบ่ายโมงครึ่ง วันอาทิตย์ ทาง The101.world และช่อง NOW 26 เริ่ม 23 เมษายน 2560

ติดตามสารคดี “ณ” ได้ ที่นี่ 

 

กลับไปอ่าน “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” : มีอดีต แต่ไม่มีอนาคต

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

ประจักษ์ ก้องกีรติ ย้อนอ่าน “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ผ่านผลงาน “ลิขิต ธีรเวคิน” ก่อนชวนคิดต่อว่า ระบอบการเมืองไทยยุคหลังรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 คือการทวนเข็มนาฬิกากลับสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบในอดีต หรือถอยหลังไปไกลกว่านั้น!

ส. ศิวรักษ์ 84

โดย กษิดิศ อนันทนาธร 

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส. ศิวรักษ์ มีอายุครบ 84 ปี ในวันที่ 27 มีนาคม 2560

กษิดิศ อนันทนาธร ศิษย์รักรุ่นหลังผู้ใกล้ชิด เขียนถึงชีวิตและงานของ ส. ศิวรักษ์ ในแง่มุมที่หลายคนอาจจะไม่เคยได้สัมผัส พร้อมตั้งคำถามยั่วเย้าว่า “สุลักษณ์เป็นชายชรา ผู้เป็นปัญญาชนสยามคนสุดท้ายของบ้านเมืองนี้ ซึ่งยังมีคุณค่าต่อปัจจุบันและอนาคต หรือว่าเป็นชายชราผู้ล้าหลัง หมดคุณค่าต่อสังคมไทยไปแล้ว”

เชิญผู้อ่านตัดสินเอาเองผ่าน “ส. ศิวรักษ์ 84” – 84 ปี 84 เรื่องของสุลักษณ์ ศิวรักษ์

 

ไทยแลนด์ 4.0 บอกอะไร

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

“คนไทยเก่งแต่จัดงานจัดอีเว้นท์ ส่วนคอนเท้นท์ช่างหัวมัน”

ในยุคที่ “ไทยแลนด์ 4.0” กลายเป็นกระแสสังคมที่ได้รับความนิยมสูงสุด พูดกันและอ้างอิงกันทุกวงการ โดยเฉพาะราชการไทย ช่วงนี้หน่วยงานใดจะเขียนโครงการอะไร ต้องมีติ่งหรือพ่วงคำว่าไทยแลนด์ 4.0 รับรองว่าโครงการผ่าน

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสส่วนงานข่าว พีพีทีวี อดีตบรรณาธิการนิตยสารสารคดี คอลัมนิสต์ประจำ 101 ชวนมองปรากฏการณ์สังคมผ่าน “ไทยแลนด์ 4.0”

 

เคล็ดวิชารักษาอำนาจของรัฐบาลเผด็จการ

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

เผด็จการในโลกยุคโซเชียลมีเคล็ดวิชารักษาอำนาจอย่างไร? รัฐบาลอาจไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาไล่เซ็นเซอร์คนคิดต่าง แต่มีวิธีปั่นหัวคุณด้วยวิธีที่คาดไม่ถึง

อาร์ม ตั้งนิรันดร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจอ่าน-เขียน-เรียนเรื่องจีน เปิดงานวิจัยว่าด้วยวิธีรักษาอำนาจของรัฐบาลจีน แล้วแอบนำเทคนิคทางการเมืองของรัฐบาลเผด็จการมาเล่าสู่ให้รู้ทัน!

 

รำลึกถึงไอน์สไตน์ หลังการจากไปครบ 62 ปี

โดย โตมร ศุขปรีชา

ใครๆ ก็รู้จักไอน์สไตน์ แต่ถ้าถามว่า-คุณรู้จักผู้ชายคนนี้ดีเพียงไหน คุณจะตอบว่าอย่างไร

ถ้าเขาไม่ได้ไว้ผมยุ่งรุงรัง หน้าตาหัวหูดูเป็นศาสตราจารย์สติเฟื่องจนกลายเป็นไอคอนทางวิทยาศาสตร์ที่ใครๆ ก็หยิบเขาไปใช้ผ่านกระบวนการทางการตลาดและการเป็นภาพตัวแทนของวิทยาศาสตร์อยู่ตลอดเวลา-คุณคิดว่าเราจะรู้จักเขาเหมือนที่เรารู้จักเขาอยู่ตอนนี้ไหม-และที่คิดว่าเรารู้จักเขา เรารู้จักเขามากเพียงใด

ที่จริง นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกหลายคน อย่างนีลส์ บอห์ร หรือแม็กซ์ แพลงค์ ซึ่งค้นพบสิ่งสำคัญไม่ด้อยไปกว่าไอน์สไตน์ ก็มีรูปลักษณ์เหมือนไอน์สไตน์ แต่อะไรทำให้ไอน์สไตน์ยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น

วิธีอ่าน 101

โดย ศุภมิตร ปิติพัฒน์

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดคอลัมน์ ‘อ่านโลก แบบ 101’ ทุกวันศุกร์ที่ 2 ของเดือน

“ครูสอนอ่านของผมท่านสอนวิธีอ่านงานวิชาการในสาขาที่ผมเรียนว่า ดนตรีไทยเขามี 3 ชั้น การอ่านเอาเรื่องเพื่อหาและสร้างความรู้ในสาขาของเราก็ต้องฝึกอ่าน 3 ชั้นเป็นพื้นฐานเหมือนกัน …

… ครูของผมใช้ทางอ่าน 3 ชั้นอ่านอะไรๆ ออกมาได้ล้ำลึกพิสดาร แต่พื้นฐานตั้งต้นในการอ่าน 3 ชั้นนี้ความจริงแล้วเรียบง่ายมากครับ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะพลิกแพลงกระบวนท่าไปใช้ได้ถึงขั้นไหน”

วิธีอ่าน 3 ชั้น มีเคล็ดวิชาอย่างไร เชิญฝึก ‘วิธีอ่านโลกแบบเอาเรื่อง’ กับ ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ได้เลยครับ

10 วรรณกรรม Coming of Age

โดย กองบรรณาธิการ The101.world

ใครๆ ก็เคยได้ยินคำว่า Coming of Age แต่ถ้าไม่ได้ผ่านพบหรือรู้สึกด้วยตัวเอง คุณอาจไม่มีวันเข้าใจได้เลยว่า การมาถึงของวันวัยมันคืออะไร มีการเปลี่ยนแปลงอะไรในตัวเกิดขึ้นบ้าง และถึงจะพบประสบด้วยตัวเองในบางด้าน ก็ใช่จะเข้าใจได้ถึงความรู้สึกด้านอื่นๆ

101 ชวนคุณมา Coming of Age ไปกับตัวละครในวรรณกรรม 10 เล่มต่อไปนี้ ทั้งหมดเป็นวรรณกรรมต่างชาติ ที่มีการแปลเป็นไทยแล้วทั้งสิ้น

จะอ่านจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ (หรืออื่นๆ) หรือตามหาฉบับแปลไทยมาอ่านก็ดีทั้งนั้น

อ่านเพิ่มเติม: 10 วรรณกรรม Coming of Age (แบบไทย) 

 

อ่านใหม่ ‘แผ่นดินของเรา’ : ว้าเหว่ ว่างเปล่า เสื่อมถอย

โดย คำ ผกา

นีไม่ใช่งานวิจารณ์หนังสือ แต่เป็นแค่ ‘การกลับไปเยี่ยมบ้าน’ (Revisit) งานวรรณกรรมสมัยใหม่ที่เก่าแล้ว ของนักเขียนที่อื้อฉาวที่สุดคนหนึ่ง ผู้มีนามปากกว่า – คำ ผกา

คำ ผกา บอกว่า ไม่ได้ revisit จะให้เป็น ‘กระทู้ดอกทอง’ เพราะจะไม่โฟกัสไปที่ความเป็นหญิง หรือความเป็นชาย แต่แค่อยาก revisit โดยไม่มีเฟรมความคิดอะไรเลย แล้วไปเสี่ยงเอาข้างหน้าว่าจะเห็นอะไรจากการ revisit นี้

คุณอยากเห็น ‘การเสี่ยง’ ของเธอหรือเปล่าล่ะ!

 

ชีวิตและความคิดของ “หล่ะ มยิ้น” เทคโนแครตร่วมชะตากรรมป๋วย : ภาพสะท้อนของพม่าสมัยใหม่ยุคหลังสงคราม

โดย ลลิตา หาญวงษ์

นักเศรษฐศาสตร์ ผู้ร่ำเรียนปริญญาเอกจาก LSE ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ลูกศิษย์ของรอบบินส์กับฮาเย็ค เทคโนแครตคนสำคัญของประเทศ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยชั้นนำ คนตรงในประเทศคด และปัญญาชนคนสำคัญผู้เลือกที่จะ ‘ตายนอกบ้าน’

เราไม่ได้เล่าเรื่อง ป๋วย อึ๊งภากรณ์ แต่ ลลิตา หาญวงษ์ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะชวนคุณไปรู้จัก “หล่ะ มยิ้น” นักเศรษฐศาสตร์ระดับตำนานของพม่า เทคโนแครตผู้มีชะตากรรมซ้อนทับกับ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในหลายแง่มุม

“หล่ะ มยิ้น” เป็นใคร และมีคุณูปการต่อการศึกษาเศรษฐศาสตร์ของโลกและพม่าอย่างไร และชีวิตของเขาสะท้อนให้เราเห็นภาพพม่าสมัยใหม่ยุคหลังสงครามอย่างไร ติดตามได้ในสารคดีพิเศษชิ้นนี้

 

ประชานิยมในยุโรป:

อเสรีนิยม VS เสรีนิยม(ใหม่)ที่ไร้ประชาธิปไตย

โดย จิตติภัทร พูนขำ

จิตติภัทร พูนขำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์กระแสประชานิยมในยุโรป ประชานิยมเป็นปีศาจร้ายตัวใหม่ หรือมันช่วยเปิดประเด็นให้เรามองเห็นอะไรชัดขึ้น

ประชานิยมเป็นคำตอบของวิกฤตเสรีนิยมใหม่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ อะไรคือคำตอบที่ควรจะเป็น

อ่านต่อ เรื่อง ‘กระแสขวาประชานิยมในโลกร่วมสมัย’ ได้ในบทความ โลกเอียงขวา ประชานิยม และอนาคตประชาธิปไตย และ ต้าน ‘ผู้นำอย่างทรัมป์’ ด้วยนวัตกรรมประชาธิปไตย โดย จันจิรา สมบัติพูนศิริ 

 

โลกที่ไม่มีไฟนอลเวอร์ชั่น : เมื่อประวัติศาสตร์ยังไม่จบ

โดย สมคิด พุทธศรี

‘สมคิด พุทธศรี’ สรุปประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่มาให้เราอ่านในห้านาที จากโลกาภิวัตน์ที่ถูกสั่นคลอน / ความผิดพลาดของลิเบอรัล / กระทั่งถึงความขวาที่ ‘แค่เริ่มต้น’ เท่านั้น

อ่านที่มาที่ไปและสรุปของสรุปเพื่อให้คุณเห็น ‘ภาพใหญ่’ ของโลกในวาบเดียว

 

ประวัติศาสตร์ความสุข 5 ยุค : จากยุคหินถึงยุคนี้!

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

คุณว่า ‘ความสุข’ เป็นเรื่องสากลหรือเปล่า ความสุขคือสภาวะที่สถิตย์นิ่ง เข้าถึงได้แล้วก็สุขีสุโข หรือความสุขเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ตามแต่มนุษย์ในแต่ละยุคจะ ‘ให้ความหมาย’ กับมันกันแน่

ลองไปดูกันว่าความสุขในแต่ละยุคในประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นอย่างไร

 

บล็อกเอ๋ยบล็อกเชน จงมาจองเวรกับคอร์รัปชัน!

โดย ภัทชา ด้วงกลัด

เทคโนโลยีแห่งศตวรรษซึ่งกำลังเป็นที่พูดถึงและกำลังจะเข้ามาเปลี่ยนโลกในตอนนี้คงหนีไม่พ้น “บล็อกเชน” (Blockchain) มันเป็นเครื่องมือสร้างที่จะสร้างความมั่งคั่งใหม่ และกระจายโอกาสไปยังทุกคนได้อย่างเท่าเทียมกว่าเดิม แต่ไม่ใช่แค่โอกาสทางธุรกิจเท่านั้น เชื่อไหมว่า บล็อกเชนใช้ช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้ด้วย!

Library = New Glam เมื่อทุกโรงแรมหรูต้องมีห้องสมุด!

โดย เอกศาสตร์ สรรพช่าง

เชื่อหรือไม่ว่า คนเดี๋ยวนี้ไม่ได้ต้องการความหรูหราอย่างเดียว แต่รสนิยมต้องมาคู่กับความรู้ด้วย เอกศาสตร์ สรรพช่าง คอลัมนิสต์สายไลฟ์สไตล์แห่ง 101 ผู้คลุกคลีกับงานเขียนแนวไลฟ์สไตล์มาหลายสิบปี จะพาคุณไปดูเทรนด์ใหม่ ว่าด้วยเทรนด์ห้องสมุดในโรงแรมสุดหรู จากหลวงพระบางถึงนิวยอร์กกัน

เสียใจด้วย คุณยังเกย์ไม่พอ

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

ช่วงนี้เป็นปีทองของชาวเควียร์ทั้งบนจอเงินและจอทีวี

Moonlight เพิ่งได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมบนเวทีออสการ์ไปหมาดๆ (และน่าจะเป็นการรับรางวัลที่ทุกคนจะจำไปตลอดกาล) The Face Thailand ซีซั่นใหม่เปิดรับสาวทรานส์เจนเดอร์มาดราม่าแข่งกับผู้หญิงจริงๆ (ที่ดูคุณเต้จะเน้นแล้วเน้นอีกจนเอียนแล้ว) ไปจนถึงซีรีส์รักวัยรุ่นแนววายๆ (ซึ่งก็มีมานานแล้วแหละนะ) เรื่องใหม่ที่เขียนไว้ในประกาศแคสติ้งนักแสดงว่าเปิดรับเพศทางเลือกให้มาแคสต์บทด้วย

ฟังดูดีใช่ไหมครับที่ในที่สุด บ้านเราก็เปิดกว้างกับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ฮูเร้!

อันที่จริง ‘the right to be coming out of the closet’ ก็เป็นของปัจเจกบุคคลนะครับ ไม่มีใครสมควรจะไปจ่อไมค์ถามดาราคนไหนว่าคุณเป็นเกย์หรือเปล่าด้วยซ้ำ (กงการอะไรของพวกคุณครับเหล่านักข่าวบันเทิง หืม?) แต่สิ่งที่น่าตั้งคำถามต่อไปก็คือ ทำไมราคาที่ต้องจ่ายสำหรับการเปิดเผยเพศวิถีของตัวเองของเหล่าดารานักแสดง มันถึงสูงจนพวกเขายอมที่จะไม่ปลดปล่อยตัวเองออกมา

จริงอยู่ว่าการแสดงคือการสวมบทบาท ไม่ใช่ว่าบทเพศทางเลือกต้องจำกัดไว้แค่เพศทางเลือกเท่านั้นที่จะเล่นได้ แต่เราต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งที่ว่าคำว่า ‘ท้าทาย’ เวลารับบทที่ไม่ตรงกับเพศตัวเอง ยังถูกจำกัดไว้ให้แค่ชายจริงหญิงแท้เท่านั้น

เราไม่เห็นนักแสดงเควียร์บอกกับสื่อว่า ‘บทนี้ท้าทายมาก’ เวลาได้รับให้เล่นบท straight!

 

ฉันเกิดและโตท่ามกลางวิกฤต ‘ต้มยำกุ้ง’

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล เล่าประสบการณ์ชมนิทรรศการ “ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน” ที่มิวเซียมสยามจัดทำขึ้นในวาระครบรอบ 20 ปี วิกฤตต้มยำกุ้ง – วิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดของสังคมเศรษฐกิจไทยนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

แฟลชแบ็คกลับไปเมื่อปี 2540 พันธวัฒน์มีอายุได้เพียง 6 ปีเท่านั้น “ต้มยำกุ้งวิทยา” ทำให้เขามองเห็นภาพความทรงจำอะไรในชีวิตของตัวเองและชีวิตของสังคมไทยบ้าง เหมือนหรือต่างกับประสบการณ์ของคุณผู้อ่านอย่างไร อ่านแล้วมาคุยกันครับ!

 

ปรับ-ค่า-ปรับ

โดย อิสร์กุล อุณหเกตุ

ประมวลกฎหมายอาญาของไทยบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2499 ตั้งแต่สมัยพี่แดง ไบเล่ย์ และพี่ปุ๊ ระเบิดขวด ยังครองเมือง โดยแทบจะไม่มีการแก้ไขบทลงโทษตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปเลย

ท่านทราบหรือไม่ว่า มูลค่าที่แท้จริงของค่าปรับจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป จาก 2,000 บาทเมื่อปี 2499 จะเหลือเพียง 200 บาทในปัจจุบันเท่านั้น!

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? แล้วเราจะทำอย่างไรให้โทษปรับยังทรงพลังได้คล้ายเดิมเมื่อเวลาผ่านไป?

อิสร์กุล อุณหเกตุ นักวิจัยด้านนิติเศรษฐศาสตร์ (ศาสตร์ที่เอากฎหมายและเศรษฐศาสตร์มาแต่งงานกัน!) มีข้อเสนอเรื่อง “ปรับ-ค่า-ปรับ” ให้ชวนคิดกันต่อในรายงานพิเศษชิ้นนี้

 

100 ปีแห่งชีวิต ฉลบชลัยย์ พลางกูร :

ครูผู้มีชีวิตเพื่อผู้อื่น

โดย กษิดิศ อนันทนาธร 

6 เมษายน 2560 ฉลบชลัยย์ พลางกูร จากโลกนี้ไปในวัย 100 ปีเศษ

กษิดิศ อนันทนาธร เล่าเรื่อง 100 ปีแห่งชีวิตของครูใหญ่แห่งโรงเรียนดรุโณทยาน ปูชนียบุคคลผู้ควรค่าแก่การก้มหัวให้ ผู้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความจริง ความดี ความงามขึ้นในลูกศิษย์มายาวนานกว่า 60 ปี ภรรยาผู้เสียสละสามี จำกัด พลางกูร ไปในภารกิจ “เพื่อชาติ เพื่อ humanity” สตรีผู้กล้าเผชิญหน้ากับอำนาจอธรรม ผู้อุปการะลูกหลานของผู้ที่ถูกการเมืองเป็นพิษเล่นงานตั้งแต่ลูกของ 4 รัฐมนตรีอีสาน ลูกของผู้ต้องหาคดีสวรรคต เรื่อยมาจนเป็น “คุณป้า” ของนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

…………………..

อ่านต่อ “10 ผลงานยอดอ่านสูงสุดของ The101.world (มีนาคม-เมษายน 2560)” ได้ ที่นี่

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save