fbpx
เรื่องเล่าเท่าที่พบ ‘ขุนสมาหารหิตะคดี’

เรื่องเล่าเท่าที่พบ ‘ขุนสมาหารหิตะคดี’

[et_pb_section fb_built=”1″ admin_label=”section” _builder_version=”3.22″][et_pb_row admin_label=”row” _builder_version=”3.25″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.25″ custom_padding=”|||” custom_padding__hover=”|||”][et_pb_text admin_label=”Text” _builder_version=”3.27.4″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat” use_border_color=”off” border_color=”#ffffff” border_style=”solid”]

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ เรื่อง

 

ในระหว่างการค้นเอกสารจากห้องสมุดส่วนบุคคลของผู้วายชนม์ เพื่อเก็บข้อมูลทำงานวิจัยเรื่องหนึ่งด้านไทยศึกษา ข้าพเจ้าพบแฟ้มขนาดใหญ่เข้าชุดหนึ่งในตู้เก็บเอกสารที่คงไม่มีใครเปิดออกดูนานแล้ว เอกสารในแฟ้มที่เปิดไปเจอเข้า เป็นต้นฉบับที่เรียบเรียงขึ้นมาจากการถอดบทสัมภาษณ์บุคคลมากหน้าหลายตา ล้วนแต่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญทั้งเปิดเผยและปิดลับในหน้าประวัติศาสตร์ไทยในช่วงเวลาจากทศวรรษ 2470 จนถึงต้นทศวรรษ 2500

แต่ใครเป็นคนสัมภาษณ์บุคคลเหล่านี้ เพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ใด นอกจากข้ออนุมานบางอย่างซึ่งยังไม่มีอะไรยืนยันแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่พบเบาะแสมากพอที่จะบอกแน่ชัดได้

นอกเหนือจากบทเรียบเรียงจากการสัมภาษณ์บุคคลในหน้าประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีเอกสารอื่นๆ ที่น่าสนใจรวมอยู่ในแฟ้มชุดเดียวกันนี้อีก เอกสารส่วนหนึ่งตั้งหัวข้อบนหน้าปกแฟ้มไว้สั้นๆ ว่า Prosopography  มีวงเล็บด้วยลายมือเขียนด้วยดินสออ่านได้ความว่า ลักษณะบุคคลวรรณนา/พรรณนา

เมื่อเปิดออกดูพบว่าเป็นบันทึกที่เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบแสดงภูมิหลังละเอียดบ้าง โดยสังเขปบ้าง ของนักการเมืองรุ่นหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้งที่เป็นสมาชิกคณะราษฎรและไม่ได้เป็น หน้าท้ายๆ ของเอกสารมีแผนภูมิแสดงกลุ่มการเมืองและความสัมพันธ์ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มของบุคคลต่างๆ ในหน้าเอกสารที่แสดงแผนภูมิความสัมพันธ์นี้มีระบุเวลาด้วยลายมือเขียนไว้ด้วยว่า ธันวาคม 2494

ข้าพเจ้ายังพบแฟ้มอีกชุดหนึ่งรวบรวมสำเนาประวัติในหนังสืองานศพหรือคำไว้อาลัยที่เขียนระลึกถึงบุคคลที่วายชนม์ ที่พูดว่าสำเนานี้ จริงๆ ส่วนใหญ่ดูออกว่าเป็นการตัดออกมาจากหนังสือต้นฉบับ แต่บางแผ่นก็เป็นสำเนาจากต้นฉบับพิมพ์ดีด

ในแฟ้มส่วนที่เป็นประวัติและคำไว้อาลัยต่างๆ นี้ จัดไว้อย่างเป็นระบบเช่นกัน แม้ข้อมูลกำกับเอกสารย่อยแต่ละเรื่องจะไม่ละเอียดนัก แต่ก็ทำให้เราพอจะคาดคะเนความสนใจของตัวผู้เก็บข้อมูลเหล่านี้ ว่าเลือกเก็บข้อมูลของแต่ละบุคคล ด้วยความมุ่งหมายใช้ประโยชน์ในเรื่องใด

ดังจะขอยกตัวอย่างจากเอกสารเกี่ยวกับขุนสมาหารหิตะคดี บันทึกกำกับปะหน้าข้อมูลประวัติและคำไว้อาลัยถึงท่านมีเขียนไว้สั้นๆ  ว่า
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”box” _builder_version=”3.27.4″ background_color=”#eaeaea” background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid”] 

ขุนสมาหารหิตะคดี

(โป-ระ สมาหาร, โป๊ โประคุปต์)

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 1 จังหวัดพระนคร จากการเลือกตั้งคราวแรก (เลือกตั้งโดยอ้อม)

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม

ความรู้ชำนาญพิเศษ กฎหมาย

ข้อให้สังเกต คุณสมบัติที่ดีสำหรับการทำราชการ

 
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”Text” _builder_version=”3.27.4″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat” use_border_color=”off” border_color=”#ffffff” border_style=”solid”]เมื่อพลิกเข้าไปดูต่อจากใบปะหน้านี้ พบสำเนาระบุว่าเป็นคำไว้อาลัยของหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เนื้อความตอนต้นขาดหายไป แต่ข้อความที่มีทำให้เห็นว่าผู้จัดทำข้อมูลเลือกเก็บเนื้อความเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ‘ข้อให้สังเกต คุณสมบัติที่ดีสำหรับการทำราชการ’ เพื่อนำเสนอท่านที่เป็นผู้อ่านรายงาน ที่แฟ้มเหล่านี้รวบรวมสำเนาไว้

นี่นับเป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้ยินหรือจริงๆ คือพบชื่อของขุนสมาหารหิตะคดี ด้วยความสนใจ ‘คนดี’ ที่พระองค์วรรณฯ ยกย่อง และที่ผู้จัดทำรายงานเลือกมาเป็นตัวอย่างแสดง ‘คุณสมบัติที่ดีสำหรับการทำราชการ’ ข้าพเจ้าจึงพยายามค้นประวัติของขุนสมาหารฯ จากแหล่งอื่นๆ ผ่านจักรกลค้นหากูเกิล แต่ก็ไม่พบข้อมูลใดอีกนอกจากผลงานพจนานุกรมกฎหมายที่ท่านเป็นผู้จัดทำและตีพิมพ์ออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเล็กน้อย หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกยังมีในห้องสมุดหนังสือหายากบางแห่ง สำนักพิมพ์วิญญูชนนำมาพิมพ์ใหม่อีกครั้ง แต่สอบถามแล้วได้ความว่าจำหน่ายหมดไปแล้วเช่นกัน

หน้าปกหนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกบอกเจตจำนงของผู้รวบรวมไว้ชัดว่าเป็นการรวบรวมคำศัพท์ทางกฎหมาย ‘ตั้งแต่โบราณกาลถึงปัจจุบันกาล สำหรับความสะดวกในผู้ใคร่ศึกษาและผู้ต้องการทราบ’

 

 

ถ้าเรามองย้อนกลับไปเพียง 100 ปีก่อนหน้าที่ขุนสมาหารฯ จะจัดพิมพ์พจนานุกรมกฎหมายของท่านออกมาจำหน่ายแก่ประชาชนผู้สนใจในวงกว้าง ความพยายามเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายโดยเอกชนหรือคนธรรมดาเป็นไปด้วยความยากลำบาก ขนาดนายโหมด อมาตยกุลที่อยู่ในตระกูลขุนนางคิดนำกฎหมายตราสามดวงมาให้หมอบรัดเลตีพิมพ์เพราะเห็นว่า ‘คนที่เป็นความไม่รู้กฎหมายแล้วลำบากนัก’ ครั้นรัชกาลที่ 3 ทรงทราบเข้าก็กริ้ว มีรับสั่งให้ริบหนังสือที่ตีพิมพ์ออกมานั้นเสียไม่ให้วางจำหน่ายอีกต่อไป [1]

การตีพิมพ์หนังสือด้านกฎหมายในยุคแรกตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาจึงอยู่ในสายตาและในกำกับของทางราชการ เช่น ราชกิจจานุเบกษาและประกาศในรัชกาลที่ 4 กฎหมายตราสามดวงที่หมอบรัดเลนำมาพิมพ์อีกครั้งโดยได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [2] กฎหมายราชบุรีในรัชกาลที่ 5 ที่กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงนำกฎหมายตราสามดวงมาจัดบทใหม่และเพิ่มเติมคำอธิบายสำหรับผู้พิพากษาและทนายความ และ กฎหมายลักษณะอาชญาหลวงและอาชญาราษฎร์ ที่ราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์ในรัชกาลที่ 7 เป็นต้น

ส่วนการตีพิมพ์โดยเอกชนนั้น หลังจากที่นายโหมดและหมอบรัดเลตั้งต้นไว้ ในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 มีโรงพิมพ์เอกชนและนักกฎหมายรวบรวมตัวบทกฎหมายออกพิมพ์เผยแพร่เป็นระยะ เช่น การออกหนังสือวารสาร ธรรมศาสตร์วินิจฉัย และการรวบรวมประกาศและกฎหมายต่างๆ ของขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) การจัดพิมพ์กฎหมายจากราชกิจจานุเบกษาของหลวงดำรงค์ธรรมสาร (มี ธรรมาชีวะ) ผู้พิพากษาศาลพระราชอาญาและเจ้าของโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ [3]

ผลงานของขุนสมาหารหิตะคดีเล่มนี้จึงนับได้ว่าเป็นหมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ความคิดและสังคมในช่วงเวลารอยต่อของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมัยใหม่ของสยาม ที่การใช้กฎหมายเป็นเครื่องจัดความสัมพันธ์ทางสังคมแทนที่บรรทัดฐานแบบอื่นปรากฏเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับที่ความรู้ด้านกฎหมาย การเรียนรู้ และผู้มีความรู้ที่จะมาพัฒนางานทางด้านนิติบัญญัติและใช้งานตัวบทกฎหมายก็เป็นที่ต้องการมากขึ้น

การรวบรวมนิยามศัพท์ทางกฎหมายของขุนสมาหารฯ เพื่อประโยชน์ในทางการศึกษา การอ้างอิง และในทางประวัติความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยจึงเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางปัญญาความรู้ในสังคมไทยในเวลาที่เป็นรอยต่อนี้อย่างดียิ่ง

สำนวนภาษาของขุนสมาหารฯ ในการให้นิยามความหมายแก่คำต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความคิดเก่าใหม่ทางกฎหมายของไทยและที่นำเข้ามาจากกฎหมายของตะวันตก ก็เรียบร้อยชัดเจน วิธีอ้างอิงเชื่อมโยงระหว่างคำที่เกี่ยวข้องกันก็สะท้อนให้เห็นการรักษามาตรฐานอันสูงของท่านในการทำพจนานุกรมในลักษณะนี้ ดังจะขอยกนิยามคำว่า กฎหมาย มาแสดงเป็นตัวอย่าง ดังนี้

 

 

 

 

 

 

ในคำนำหนังสือ ขุนสมาหารฯ บอกแก่ผู้อ่านถึงที่มาของพจนานุกรมกฎหมายเล่มนี้ว่า เริ่มแรกนั้นท่านค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียง เพราะต้องการใช้ประโยชน์ของตัวเองในฐานะที่เป็นผู้ศึกษากฎหมายก่อน เมื่อรวบรวมได้มากเข้า ก็ได้คิดว่าพจนานุกรมกฎหมายที่ยังไม่มีใครเคยจัดทำมาก่อนในภาษาไทยน่าจะเป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆ ด้วย ท่านจึง ‘ลองพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น’

ถ้าผลงานการรวบรวมคำศัพท์ทางกฎหมายของท่านไม่มีเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ก็คงจะยากทีเดียวที่ข้าพเจ้าจะจินตนาการถึงคุณสมบัติของขุนสมาหารฯ ที่พระองค์วรรณฯ ทรงยกย่องไว้อย่างสูงเด่นในเอกสารคำไว้อาลัยที่ข้าพเจ้าไปพบเข้าโดยไม่ได้ตั้งใจในห้องสมุดส่วนบุคคลแห่งนั้น ทายาทของผู้เป็นเจ้าของห้องสมุดไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพเอกสารส่วนบุคคลใดๆ อีกทั้งไม่ให้ข้าพเจ้าเปิดเผยนามและพิกัดตำแหน่งของท่านผู้เป็นเจ้าของ แต่อนุญาตให้ข้าพเจ้าคัดลอกเนื้อความที่มีอยู่ในแฟ้มที่รวบรวมประวัติและคำไว้อาลัยในส่วนของพระองค์วรรณฯ ที่เขียน ถึง ‘ฯพณฯ โป-ระ สมาหาร’ มาเผยแพร่ได้

ข้าพเจ้าจึงขอคัดสำเนามาให้ท่านได้พิจารณาว่า คนรุ่น 2475-2495 มองและมี ‘ข้อให้สังเกต คุณสมบัติที่ดีสำหรับการทำราชการ’ อย่างไร:
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”box” _builder_version=”3.27.4″ background_color=”#eaeaea” background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid”] 

“คุณสมบัติในประการแรกได้แก่บุคลิกภาพอันกอปรด้วยน้ำใจกว้างขวาง และเผื่อแผ่อารี มีความรักชาติ รักราษฎร และรักประชาธิปไตยเป็นเครื่องจรรโลงใจเนืองนิจ จึงเป็นที่ไว้วางใจของชนทุกชั้น และได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร

ในสภาผู้แทนราษฎร พณฯ โป-ระ สมาหาร ได้แสดงคุณสมบัติให้ปรากฏว่า เป็นนักอภิปรายชั้นเยี่ยม เฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่ได้เป็นรัฐมนตรีแล้ว วิธีอภิปรายของท่านแสดงว่าท่านได้มีปฏิภาณโดยแท้ คือไม่ใช่แต่ฉับไวในการโต้ตอบด้วยถ้อยคำ แต่ไหวพริบในการจับประเด็นและหัวข้อที่สำคัญ ตลอดจนหยั่งรู้การเคลื่อนไหวและแนวน้าวแห่งจิตใจของผู้ฟัง และแล้วก็ดำเนินคารมไปตามระเบียบวิธีการพิจารณาของกฎหมาย ซึ่งเป็นวิชาอาชีพของท่าน

ในฐานที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พณฯ โป-ระ สมาหาร ได้ดำเนินการโดยอาศัยคุณสมบัติอันเป็นลักษณะจำเป็นสำหรับรัฐมนตรี คือการรู้แจ้งเห็นจริงว่าคนกับงานแยกกันไม่ออก ในการวินิจฉัยปัญหาให้ลุล่วงไปเป็นผลสำเร็จ จะคำนึงเฉพาะแต่ข้อเท็จจริงกับหัวข้อสำคัญของเรื่องเท่านั้นไม่ได้ แต่จะต้องคำนึงถึงจิตใจและกำลังน้ำใจของบุคคลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วย งานจึงจะลุล่วงไปเป็นผลสำเร็จ

พณฯ โป-ระ สมาหารได้ผ่านชีวิตมามาก และได้ใช้บทเรียนจากชีวิตประกอบด้วยวิชาความรู้ที่ได้เล่าเรียนมา เป็นเครื่องพิจารณาวินิจฉัยปัญหาต่างๆ จึงเสนอความเห็นล้วนแต่เป็นประโยชน์ ในการที่จะแก้ปัญหาให้ตกไปในทางที่อำนวยผลสำเร็จโดยบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น เป็นการประนีประนอมยอมกันด้วยความสามัคคี

คุณสมบัติในการรู้จักคน และรู้ใจคนนี้ เป็นคุณสมบัติวิเศษสำหรับรัฐมนตรี … ยิ่งกว่านั้นท่านยังมีคุณสมบัติยอดเยี่ยมของรัฐมนตรีอีกอย่างหนึ่ง คือการรู้เท่าถึงการณ์ ซึ่งได้แก่ การเห็นกระจ่าง และการเห็นทางไกล ในบรรดาปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน พณฯ โป-ระ สมาหาร มีสายตาแทงทะลุเงื่อนงำอันเป็นกุญแจแก้ปัญหาได้อย่างน่ายกย่องสรรเสริญ นี่คือการเห็นกระจ่างในเหตุการณ์หรือในสถานการณ์ที่เป็นจริง

แต่ข้อที่ข้าพเจ้านิยมนับถืออย่างที่สุดในคุณสมบัติของท่าน ก็คือการเห็นทางไกล ซึ่งท่านได้แสดงแก่ข้าพเจ้าในการสนทนากันเป็นครั้งคราว ข้าพเจ้าจึงมั่นใจว่า คุณสมบัติอันประเสริฐแห่งการเห็นทางไกลนี้ ท่านจะได้แสดงให้ปรากฏแก่สาธารณชน ในเมื่อท่านได้รับตำแหน่งซึ่งมีความรับผิดชอบสูงยิ่งขึ้นอีก” (เน้นข้อความตามต้นฉบับพิมพ์ดีดในแฟ้ม)

 
[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”Text” _builder_version=”3.27.4″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat” use_border_color=”off” border_color=”#ffffff” border_style=”solid”]จากคำยกย่องของพระองค์วรรณฯ ข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้านึกแปลกใจทีเดียวที่ไม่อาจหาประวัติเกี่ยวกับขุนสมาหารหิตะคดีเพิ่มเติมได้อีกจากแหล่งข้อมูลเปิดอย่างเช่นวิกิพีเดีย หรือจากหนังสือที่ระลึกงานปลงศพของท่านที่ควรจะมีอยู่ในห้องสมุดแห่งใดแห่งหนึ่ง

แต่พิจารณาอีกที การที่เราทั้งหมดจะถูกเวลาลืมก็ไม่ใช่ของแปลกประหลาดอะไร และสิ่งที่เหลืออยู่เกี่ยวกับขุนสมาหารหิตะคดีก็นับว่ามีคุณค่าน่าพอใจอยู่มิใช่น้อย เพราะแม้จะไม่ใช่ความทรงจำถึงตัวบุคคล แต่ยังมีผลงานสะท้อนปัญญาความรู้ของยุคสมัย และคุณสมบัติของบุคคลที่มีเขาเป็นแบบอย่างเหลือฝากไว้ให้จำ.

 

อ้างอิง

[1] กำธร เลี้ยงสัจธรรม, “กรณีริบหนังสือกฎหมาย ในรัชกาลที่ 3” ศิลปวัฒนธรรม (ปีที่ 26 ฉบับที่ 2, ธันวาคม 2547)

[2] เพิ่งอ้าง

[3] โปรดดูตัวอย่างได้ที่นี่
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Thai Politics

3 May 2023

แดง เหลือง ส้ม ฟ้า ชมพู: ว่าด้วยสีในงานออกแบบของพรรคการเมืองไทย  

คอลัมน์ ‘สารกันเบื่อ’ เดือนนี้ เอกศาสตร์ สรรพช่าง เขียนถึง การหยิบ ‘สี’ เข้ามาใช้สื่อสาร (หรืออาจจะไม่สื่อสาร?) ของพรรคการเมืองต่างๆ ในสนามการเมือง

เอกศาสตร์ สรรพช่าง

3 May 2023

Politics

23 Feb 2023

จากสู้บนถนน สู่คนในสภา: 4 ปีชีวิตนักการเมืองของอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล

101 ชวนอมรัตน์สนทนาว่าด้วยข้อเรียกร้องจากนอกสภาฯ ถึงการถกเถียงในสภาฯ โจทย์การเมืองของก้าวไกลในการเลือกตั้ง บทเรียนในการทำงานการเมืองกว่า 4 ปี คอขวดของการพัฒนาสังคมไทย และบทบาทในอนาคตของเธอในการเมืองไทย

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

23 Feb 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save