fbpx
หลักประกันสุขภาพที่รัก (5) : ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ

หลักประกันสุขภาพที่รัก (5) : ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ

[et_pb_section admin_label=”section”][et_pb_row admin_label=”row”][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_color=”#ffffff” border_style=”solid”]

นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์ เรื่อง

 

ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ

เจ้าแม่นางแก้ว

สำหรับคนที่ขับรถใช้เส้นทางเชียงราย-เชียงใหม่แต่โบราณจะคุ้นเคยกับดอยนางแก้วเป็นอย่างดี คือชื่อเรียกยอดดอยที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ

ชวนให้นึกถึงครั้งที่เรียนวิชาภูมิศาสตร์ชั้นประถมศึกษา หนังสือแผนที่เวลานั้นจะวาดรูปหนอนยึกยือต่างภูเขา ภูเขาสองลูกที่ตนเองสนใจเพราะชื่อเพราะดี คือถนนธงชัยและผีปันน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีปันน้ำ ฟังดูน่าค้นหา

ว่าที่จริงแล้วชื่อของภูเขาทั้งสองลูกนี้คือหนึ่งในสาเหตุที่ตนเองเลือกมาเป็นแพทย์ฝึกหัดที่จังหวัดเชียงราย นอกเหนือจากเหตุผลที่ว่ามาที่นี่ได้โดยไม่ต้องจับฉลาก จิ้มแล้วมาได้เลย

บนดอยนางแก้ว  มีศาลเจ้าแม่นางแก้ว

เวลาขับรถผ่าน รถจะบีบแตรเสียงดังทุกคัน ปี 1983 ที่ตนเองมาเป็นแพทย์ฝึกหัดนั้น ดอยนางแก้วยังสูงมาก ถนนชันและแคบ เป็นป่ารกทั้งสองข้างทาง ไม่มีบ้านเรือนปรากฏริมถนน บรรยากาศวังเวง และหากผ่านมาหน้าหนาวหรือหน้าฝนจะยิ่งวังเวงเป็นพิเศษ เมื่อได้ขับรถผ่านดอยนางแก้วด้วยตนเองก็บีบแตรเช่นกัน

วันนี้ ปี 2018 ไม่มีใครบีบแตรอีกแล้ว

เส้นทางเชียงราย-เชียงใหม่

ก่อนที่จะมีรถของตัวเอง จะไปเชียงใหม่คือนั่งรถเมล์ไป ไม่มีแอร์ นั่งนานมากกว่า 3 ชั่วโมง เวลานั้นยังมีข่าวการดักปล้นกลางทางเป็นระยะๆ พยาบาลที่เคยประสบเหตุเล่าให้ฟังว่าผู้ร้ายล้มไม้ขวางถนน แล้วถือปืนขึ้นมาปลดทรัพย์คนบนรถ จากนั้นก็จากไป

สนุกที่สุดคือเรื่องเล่าเกี่ยวกับภาพถ่ายบริเวณศาลเจ้าแม่นางแก้ว พยาบาลอีกคนหนึ่งพยายามอย่างยิ่งที่จะนำภาพถ่ายนี้ให้ผมดู คนที่ดูแล้วบอกว่าเป็นภาพเด็กหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งที่มีเงาหนึ่งเดินตามหลัง เป็นแพทย์ฝึกหัดชีวิตก็เครียดมากพอแล้ว หากต้องเดินตามตึกผู้ป่วยกลางดึกคนเดียวโดยมีภาพถ่ายใบนั้นติดตาท่าจะไม่ดีเป็นแน่แท้

ดอยนางแก้วเป็นส่วนหนึ่งของผีปันน้ำ น้ำแม่กวงไหลลงเชียงใหม่ น้ำแม่ลาวไหลลงเชียงราย บนยอดดอยสายน้ำทั้งสองมีขนาดไม่ใหญ่ ประมาณลำธารเล็กๆ หน้าแล้งแทบมองไม่เห็นน้ำ หน้าฝนน้ำไหลเชี่ยวกรากโครมคราม สายน้ำเล็กน้อยนี่แหละพอไปถึงข้างล่างท่วมอำเภอเวียงป่าเป้าและอำเภอแม่สรวยจนถึงตัวเมืองเชียงรายมาแล้ว

ดอยนางแก้วขึ้นชื่อเรื่องรถคว่ำหงายท้อง เพราะทางลงที่ลาดชันและคดเคี้ยว ว่ากันว่าการแตะเบรกในหน้าฝนมีโอกาสหงายท้องสูงมาก ถึงวันนี้ปี 2018 รถก็ยังหงายท้องกันเรื่อยๆ แม้ว่าความลาดชันจะปรับแล้วและผิวถนนกว้างขวางมากมายแล้วก็ตาม นักขับรถปล่อยความเร็วมากกว่าเดิมตามสมรรถนะรถที่ซื้อ และผิวถนนที่ดีขึ้น

หรือว่าเพราะไม่บีบแตร

ปี 2003 อันเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ประกาศสงครามยาเสพติด มีคราวหนึ่งที่ส่วนกลางเรียกประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ทุกสัปดาห์ เพื่อ “แสดง” ความเอาจริงเอาจังตอบสนองนโยบายรัฐบาล ครั้งนี้ยาเสพติดต้องเหี้ยนไปจากประเทศไทยเป็นแน่แท้ เวลานั้นผู้เขียนขับรถเชียงราย-เชียงใหม่ไปกลับทุกสัปดาห์ ออกจากบ้านเช้ามืดกลับถึงบ้านค่ำมืด อีกทั้งเป็นฤดูฝน จะพบเห็นรถยนต์หงายท้องบนดอยนางแก้วทุกเที่ยวไม่มีพลาด ในใจอดคิดมิได้เสมอว่าเจ้าแม่นางแก้วจะดุอะไรปานนั้น

ว่าแล้วก็บีบแตร

เส้นทางเชียงราย-เชียงใหม่

ปี 2003 นั้นเองที่ใครบางคนเสนอชื่อผู้เขียนไปเป็นคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิทางจิตเวช

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ให้มีคณะกรรมการ 2 คณะคือคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน เฉพาะคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานนี้มีสมาชิก 35 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในฐานะตัวแทนจากองค์กรวิชาชีพต่างๆ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ ต่างๆ นานา เฉพาะแพทย์นั้นมีประมาณหนึ่งในสาม

ตัวแทนภาคประชาชนเป็นเสียงส่วนน้อย

วันแรกที่เปิดประชุม อาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ 2 ท่านได้เข้ามาหาเป็นการส่วนตัวเพื่อขอให้โหวตคะแนนเลือกประธานคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ท่านให้เหตุผลว่าพวกเราคือตัวแทนองค์กรและสมาคมแพทย์ ต้องร่วมมือกันป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากตัวแทนเอ็นจีโอ

ท่านยื่นไมตรี ผู้เขียนปฏิเสธไมตรีนั้นไป

นับจากนี้ไปเป็นเวลาสี่ปี ฝ่ายวิชาชีพและภาคประชาชนจะทำสงครามกันอย่างไม่ลดราวาศอกทุกๆ เดือนในที่ประชุมนี้

การประชุม สปสช.

ผู้เขียนเคยคาดหวังว่าคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานเชิงระบบ นั่นคือพัฒนากลไกระดับประเทศและ/หรือระดับท้องถิ่นเพื่อให้เกิดมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดและเท่าเทียม คอยดูแลมาตรฐานขั้นต่ำที่สุดของโรงพยาบาลแต่ละแห่งว่าควรทำอะไรได้หรือไม่ได้ ไปจนถึงพัฒนาระบบส่งต่อ

ดังที่ทราบกันว่าบ้านเรามีปัญหากับระบบส่งต่อมาก ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลถูกปฏิเสธจากโรงพยาบาลแต่ละแห่งด้วยเหตุผลว่าไม่มีเตียง แล้วส่งต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไส้ติ่งแตก เหตุการณ์นี้เกิดเป็นประจำเวลานั้น ไม่ทราบว่าเวลานี้ยังเป็นอยู่หรือไม่

แต่ตลอดระยะเวลาสี่ปีที่นั่งประชุม ฝ่ายวิชาชีพและภาคประชาชนดูเหมือนทำเรื่องหลักเพียงเรื่องเดียวคือการพิจารณาคดีเพื่อบังคับใช้มาตรา 41 นั่นคือการจ่ายเงินช่วยเหลือขั้นต้นในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล และด้วยความที่ฝ่ายวิชาชีพเกรงว่าการจ่ายครั้งนี้จะนำไปสู่การฟ้องร้องไม่สิ้นสุด แม้กระทั่งประชาชนอาจจะนำเงินที่ได้นี้ไปตั้งทนายเพื่อการฟ้องร้องต่อไป การอภิปรายในแต่ละคดีจึงวนเวียนไปมากับการกล่าวหา การแก้ต่าง จบลงด้วยคำว่า “เหตุสุดวิสัย” แล้วโหวตทุกครั้งไป จำนวนของฝ่ายวิชาชีพที่มากกว่าทำให้ชนะการโหวตได้ทุกครั้ง

กรณีคลาสสิกคือเรื่องการผ่าตัดยกเอามดลูกและรังไข่ทั้งสองข้างออกทั้งหมดโดยไม่บอกกล่าวและมิได้ให้ผู้ป่วยลงนามยินยอมไว้ก่อน กรณีแบบนี้มีเกิดขึ้นบ้างนานๆ ครั้ง และว่าที่จริงแล้วทุกวันนี้ก็ยังเกิดอยู่เรื่อยๆ ในประเทศด้อยพัฒนาหรือโรงพยาบาลที่ไม่ผ่านการพัฒนาคุณภาพ

ว่าที่จริงกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นด้วยความหวังดีของแพทย์ที่เห็นสัญญาณอันตรายหรือเนื้อร้ายหรืออาจจะร้าย แล้วยกอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีออกทั้งระบบ แต่กรณีเช่นนี้เกิดจากความใจเร็วของแพทย์ด้วยที่ไม่บอกกล่าวผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า หรือไม่มีเวลาบอก หรือลืมบอก ไม่หยุดการผ่าตัดเพื่อบอกกล่าวญาติหรือสามีก่อน ไปจนถึงไม่รอฟังผลชิ้นเนื้อซึ่งโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีศักยภาพที่จะตรวจให้ได้เร็วหรือช้าต่างๆ กัน ความหวังดีกลับกลายเป็นโทษต่อตนเอง

จิตวิทยาว่าด้วยการเจริญพันธุ์นั้นซับซ้อน สตรีวัยสาวคนหนึ่งที่ยังไม่เคยมีบุตรสามารถสร้างกลไกทางจิตมากมายขึ้นมาป้องกันความเสียหายแก่จิตใจของตนเองที่ตื่นจากการดมยาสลบด้วยความรู้ที่ว่าตนเองจะมีบุตรไม่ได้อีกเลย และบางครั้งกลไกป้องกันตัวนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความก้าวร้าวต่อผู้กระทำ

จิตวิทยาของผู้เป็นสามีก็ซับซ้อน และบางครั้งนำครอบครัวนี้ไปสู่อนาคตที่ไม่มีทางออก

ผู้เขียนเป็นแพทย์ ถ้าผู้ป่วยไม่ไว้ใจแพทย์ พูดตรงๆ เราก็ทำงานต่อลำบาก เราต้องการให้ผู้ป่วยและญาติไว้ใจเรา เราจึงจะทำงานได้ดี แต่ครั้นไว้ใจแล้ว กลายเป็นหน้าที่ที่เราต้องรักษาความไว้วางใจนั้นได้ด้วย

ผู้ที่กระทำการด้วยความเร็วเกินเหตุจนกระทั่งอาจจะสร้างความเสียหายทางร่างกายหรือชีวิตแก่คนผู้อื่นจึงมักถูกเสกให้รถคว่ำหงายท้องเสียก่อน ดังที่ผู้เขียนพบเห็นบนดอยนางแก้วเสมอๆ

[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”box” background_layout=”light” text_orientation=”left” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” disabled=”off”]

“ประเด็นที่น่าสนใจคือ การระบุว่าฤๅษีวาสุเทพเป็นลูกของ “ปู่แสะย่าแสะ” ปู่แสะย่าแสะคือใคร สังคมดั้งเดิมพื้นบ้านมักกล่าวถึง ชาวลัวะตีกลองร้องเรียก “นางแก้ว” ออกมา มีการสังเวยนางแก้วลงหลุม หักคอเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เป็นนัยะของคำสาปแช่ง เรื่องราวการสาปแช่งมีอยู่เดิมก่อนการเข้ามาของพุทธ-พราหมณ์แล้ว อย่างน้อยก็ยังมีเรื่องเล่าตกค้างเกี่ยวกับการที่ลูกตีแม่แล้วแผ่นดินยุบในสมัยฤๅษีวาสุเทพทุกพื้นที่

…ในอุษาคเนย์จะมีตำนานเรื่องนางแก้วเสมอ กระจายอยู่ทั่วทั้งในเชียงตุง เวียงจันทน์ พุกาม ล้านนา ไม่ว่าจะใช้ชื่อผู้หญิงตัวละครหลักชื่อใดก็ตาม แต่โดยรวมแล้วต้องมีธีมเรื่องที่คล้ายๆ กัน นั่นคือกำหนดให้ผู้หญิงอกหัก ถูกทิ้ง ในที่สุดก็ฆ่าตัวตาย ก่อนตายได้สาปแช่งผู้ชาย ผ่านการลงโทษสังคมบันดาลให้ฝนแล้ง ไม่มีความอุดมสมบูรณ์

เพ็ญสุภา สุขคตะ. 2561. “ล้านนาศึกษา” ใน “ไทศึกษา” ครั้งที่ 13 (19) เจ้าแม่แห่งล้านนา จาก “นางแก้ว” ถึง “จามเทวี”. มติชนสุดสัปดาห์ 38(1957). 16-22 กุมภาพันธ์ 2561.

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save