fbpx
รวมผลงานชุด "การอภิวัฒน์สยาม 2475" โดย 101

รวมผลงานชุด “การอภิวัฒน์สยาม 2475” โดย 101

ในวาระ 85 ปี ประชาธิปไตยสยาม  101 นำเสนอชุดผลงานว่าด้วย “การอภิวัฒน์สยาม 2475” ในมิติทางการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง และนี่คือผลงานทั้งหมดที่ร่วมสร้างสรรค์ให้ “ประวัติศาสตร์ 2475” กลับมามีชีวิตชีวาในสังคมไทยร่วมสมัยอีกครั้ง

มาเรียนรู้อดีตเพื่อรับมือกับอนาคตข้างหน้าไปด้วยกัน ผ่านการอ่านผลงานทั้ง 19 ชิ้น ในซีรีส์ ๒๔๗๕ โดย 101

 

สลายมายาคติ 2475

การปฏิวัติ 2475 ที่โรงเรียนไม่ได้สอน

 

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

ในสังคมที่ประวัติศาสตร์กลายเป็นเครื่องมือของการควบคุมกล่อมเกลาความคิดคนมากกว่าเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้เพื่อให้เท่าทันอดีตของสังคมตนเอง

ประจักษ์ ก้องกีรติ สำรวจตรวจสอบมายาคติ 4 ประการในสังคมไทยเกี่ยวกับการปฏิวัติ 2475 :

1. 2475 เป็นการชิงสุกก่อนห่าม

2. 2475 เป็นการปฏิวัติของนักเรียนนอกจำนวนน้อย

3. 2475 เป็นการกระหายอำนาจและยึดอำนาจไว้กับกลุ่มตนเองเพียงลำพัง

4. 2475 เป็นเพียงการรัฐประหาร ไม่ใช่การปฏิวัติที่แท้จริง

อะไรคือประวัติศาสตร์ 2475 ฉบับโรงเรียนไทยไม่ได้สอน สำหรับการต่อสู้ถกเถียงกับมายาคติทั้ง 4 ประการข้างต้น และหนังสือน่าอ่านเกี่ยวกับ 2475 มีเล่มใดบ้าง ติดตามได้ใน “การปฏิวัติ 2475 ที่โรงเรียนไม่ได้สอน” โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

 

 

85 ปี การอภิวัฒน์ 2475 : ทัศนะทางประวัติศาสตร์กฎหมาย

 

โดย ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล

ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล มอง 85 ปี การอภิวัฒน์ 2475 ผ่านทัศนะทางประวัติศาสตร์กฎหมาย

……….

“ไม่เพียงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เท่านั้นที่พึงจดจำ เพราะหากกล่าวในแง่กฎหมายแล้ว วันที่ 27 มิถุนายน 2475 มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อนักกฎหมายและต่อความเข้าใจในระบบกฎหมายไทยสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรากฏตัวขึ้นของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกในประวัติศาสตร์กฎหมายของไทย รวมถึงระบอบการเมืองปกครองแบบใหม่ที่กำหนดขึ้นไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกนี้ด้วย

“นี่คือปฐมบทแห่ง “ชีวิตรัฐแบบใหม่” ในระบอบการเมืองที่อุบัติขึ้นโดยผลของบทบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญไปพร้อมกันนั่นเอง

…..

“ความทรงจำที่มีต่อการอภิวัฒน์ 2475 จึงควรหมายถึงวันที่ 24 มิถุนายน และวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่า หากไม่มี 24 มิถุนาฯ (เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น) ก็ย่อมไม่มี 27 มิถุนาฯ (ระบบกฎหมายที่ก่อตั้งบนฐานของเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น) และแม้จะมี 24 มิถุนาฯ แต่ถ้าไม่มี 27 มิถุนาฯ ก็ย่อมไม่มีความหมายใดๆ เช่นกัน …”

– ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล –

……….

เค้าโครงการเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์ ในสายธารความคิดเศรษฐศาสตร์

 

โดย สฤณี อาชวานันทกุล

ในวาระ 85 ปี การอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน 2475  สฤณี อาชวานันทกุล ชวนเรากลับไปอ่าน “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ของปรีดี พนมยงค์ อีกครั้ง เพื่อสืบหาข้อคิดจากเค้าโครงการเศรษฐกิจในสายธารความคิดเศรษฐศาสตร์

สฤณีพยายามเสนอคำตอบเบื้องต้นต่อคำถามที่ว่า เราจะบรรลุเป้าหมาย “ความสุขสมบูรณ์” ของราษฎรดังเจตนารมณ์ของอาจารย์ปรีดีภายใต้เศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างไร

2475 ในหน้าประวัติศาสตร์

 

24 มิถุนายน 2475 ยุทธการพลิกแผ่นดินสยาม

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

“24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”

คือ ถ้อยคำจารึกบนหมุดคณะราษฎร ที่ระลึกถึงจุดอ่าน “ประกาศคณะราษฎร” ฉบับแรก โดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า

การปฏิวัติในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 สำเร็จลงได้ก็เพราะมีการวางแผนอย่างรอบคอบ ระดับ “วางแผน 7 ปี ยึดอำนาจภายใน 3 ชั่วโมง” ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นคณะราษฎรแทบจะไม่มีกำลังในมือ ผู้ร่วมก่อการมีเพียงร้อยกว่าคน แต่สามารถยึดอำนาจได้สำเร็จโดยไม่มีการนองเลือด

เกิดอะไรขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2475

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เปิดบันทึกประวัติศาสตร์ปากคำ เล่านาทีพลิกแผ่นดินสยาม ตั้งแต่เวลาย่ำรุ่ง วันที่ 24 มิถุนายน 2475 จนถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 พร้อมทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า “ชั่วคราว”

 

บางบันทึกของ ‘ปรีดี’ ต่อกรณีอภิวัฒน์สยาม 2475

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

“…บางคนเคยมาถามข้าพเจ้าถึงการที่ระบบประชาธิปไตยของไทยต้องล้มลุกคลุกคลานในระยะหลังๆ นี้ โดยเอาเรื่องมาพัวพันกับคณะราษฎรนั้น ข้าพเจ้าก็ได้ชี้แจงว่าแม้ภายในคณะราษฎรจะได้มีการขัดแย้งกันในบางขณะ แต่ในที่สุดคณะราษฎรเป็นส่วนรวม ก็ได้ร่วมมือกับสมาชิกสภาผู้แทนที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นมานั้น สถาปนาระบบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ตามรัฐธรรมนูญฉบับ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙

“ส่วนระบบที่เกิดขึ้นจากรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ นั้น เป็นอีกระบบหนึ่งต่างหากจากระบบประชาธิปไตยของคณะราษฎร … ดังนั้นหน้าที่ของคณะราษฎรที่จะต้องรับผิดชอบต่อราษฎร ตามวัตถุประสงค์ของคณะราษฎร จึงถูกคณะรัฐประหารระงับลงทั้งในทางนิตินัยและในทางพฤตินัยตั้งแต่ครั้งกระนั้นเป็นต้นมา

“ต่อจากนั้นมา ความรับผิดชอบในการดำเนินกิจการบ้านเมืองจึงตกอยู่แก่คณะรัฐประหารนั้น และรัฐบาลต่อๆ มาอันสืบเนื่องจากผลของคณะรัฐประหาร…”

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล ย้อนอ่านบันทึกของ ปรีดี พนมยงค์ ต่อกรณีอภิวัฒน์สยาม 2475 ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่นำไปสู่การตัดสินใจยึดอำนาจ รวมถึงคำชี้แจงเกี่ยวกับข้อครหาต่างๆ อาทิ การชิงสุกก่อนห่าม, ความขัดแย้งกับรัชกาลที่ 7, การแตกคอกันเองในหมู่คณะราษฎร ฯลฯ

 

สุดา พนมยงค์ : ความทรงจำเกี่ยวกับการอภิวัฒน์สยาม 2475

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

สุดา พนมยงค์ ประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ บุตรคนที่ 3 ของปรีดี พนมยงค์ คุยเรื่อง “คุณพ่อ”, ชีวิตครอบครัว และการอภิวัฒน์ 2475 กับ กษิดิศ อนันทนาธร

……….

กษิดิศ : การที่คุณพ่อต้องลี้ภัย เพราะ “การเมืองเป็นพิษ” ไปอยู่ในประเทศจีนและฝรั่งเศสเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษก่อนจากโลกนี้ไปนั้น คุณสุดามองอย่างไรกับพุทธภาษิตที่คุณพ่อยึดถือที่ว่า “อโถ สุจิณฺณสฺส ผลํ น นสฺสติ – ผลของการที่ก่อสร้างไว้ดีแล้วย่อมไม่สูญหาย

สุดา : ผลที่ก่อสร้างไว้ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่เป็นนามธรรม เป็นคุณค่าที่อยู่ในใจเรา เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะไม่สูญหายไปไหน อย่างงานที่คุณพ่อภูมิใจว่าได้รับใช้ชาติและราษฎรไทยทั้งการอภิวัฒน์ 2475 และการเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทย ก็เป็นสิ่งที่อยู่กับท่าน คนรุ่นหลังซึ่งได้ศึกษาหาความจริงก็จะพบเองว่าคุณพ่อได้ทำอะไรไว้บ้าง

……….

 

85 ปี จดหมายถึง “พูนศุข น้องรัก”

 

โดย ทีมงานเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์

เปิดเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ อ่านจดหมายของ ‘ปรีดี’ ถึง ‘พูนศุข น้องรัก’ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2475 เพื่อขอโทษที่ต้อง ‘พูดปด’ ต่อครอบครัว ด้วยจำเป็นต้องปกปิดปฏิบัติการลับ 24 มิถุนายน 2475!

 

ปรีดี พนมยงค์ กับธนาคารชาติ

 

โดย พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม

รู้หรือไม่ว่า ปรีดี พนมยงค์ คือผู้ที่ริเริ่มให้มีการวางรากฐานธนาคารชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม

กำเนิดธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจไม่น้อย ก่อนการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เกิด ‘สภาพปฐมแห่งธนาคารกลาง’ หรือที่เรียกว่า ‘สำนักงานธนาคารชาติไทย’ ขึ้นแล้ว ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความพิเศษของประวัติศาสตร์ธนาคารกลางที่ไม่เหมือนใครในโลก

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม จะพาคุณไปสำรวจกันว่า ‘สำนักงานธนาคารชาติไทย’ ที่ปรีดี พนมยงค์ ผลักดันจนออกเป็นพระราชบัญญัติให้มีการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2482 มีที่มาอย่างไร ต้องเผชิญปัญหาอะไรบ้าง และเป็นรากฐานสำคัญในการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยในอีกสามปีต่อมาอย่างไร

 

ปรีดี พนมยงค์ กับภาพยนตร์แสนเฉิ่มเชยของเขา

 

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

รู้ไหมว่า ปรีดี พนมยงค์ เคยเป็นผู้เขียนบทและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์!

ภาพยนตร์ไทยขาวดำ ถ่ายทำในระบบ 35 มม. และพูดภาษาอังกฤษตั้งแต่ต้นจนจบ เรื่องนั้น คือ “พระเจ้าช้างเผือก” (The King of the White Elephant) ผลงานการเมืองเชิงวัฒนธรรมที่สะท้อนแนวคิดด้านสันติภาพของปรีดีได้อย่างดีที่สุด

เทพพิทักษ์ มณีพงษ์ ชมภาพยนตร์ที่สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในวันนี้ แล้วเขียนบอกเล่าความคิดของเขา จากมุมมองคน Gen Y

 

คน 2475

 

117 ปี ปรีดี พนมยงค์ รัตนบุรุษสยาม

 

โดย ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล

วันที่ 11 พฤษภาคมของทุกปี คือ วันรำลึก “ปรีดี พนมยงค์” รัฐบุรุษอาวุโส อดีตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าขบวนการเสรีไทย ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และหัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน

101 ขอร่วมรำลึกถึงนายปรีดี พนมยงค์ ผู้ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เศรษฐกิจที่เป็นธรรม และเสรีภาพทางการศึกษา ด้วยงานเขียน “117 ปี ปรีดี พนมยงค์ รัตนบุรุษสยาม” ของ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ใช้ชีวิตทางวิชาการเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของปรีดีและคณะราษฎร

 

ใครคือคนดีคนนั้น … ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

ในวาระครบรอบ 10 ปีแห่งการจากไปของสามัญชนสยามคนหนึ่ง 101 ชวน ‘กษิดิศ อนันทนาธร’ เขียนรำลึกถึงคนผู้นั้น

สตรีผู้อยู่เบื้องหลังชีวิตของมหาบุรุษ ‘ปรีดี พนมยงค์’ ทั้งในยามสำเร็จและล้มเหลว

สตรีผู้ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น

สตรีผู้เขียนประวัติศาสตร์ด้วยชีวิตของเธอ

“พูนศุข พนมยงค์”

 

100 ปีแห่งชีวิต ฉลบชลัยย์ พลางกูร : ครูผู้มีชีวิตเพื่อผู้อื่น

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

6 เมษายน 2560 ฉลบชลัยย์ พลางกูร จากโลกนี้ไปในวัย 100 ปีเศษ

ในวันประชุมเพลิง 17 เมษายน 2560 กษิดิศ อนันทนาธร เขียนเล่าเรื่อง 100 ปีแห่งชีวิตของครูใหญ่แห่งโรงเรียนดรุโณทยาน

ปูชนียบุคคลผู้ควรค่าแก่การก้มหัวให้

ครูผู้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความจริง ความดี ความงามขึ้นในลูกศิษย์มายาวนานกว่า 60 ปี

ภรรยาผู้เสียสละสามี จำกัด พลางกูร เสรีไทยคนสำคัญ ไปในภารกิจ “เพื่อชาติ เพื่อ humanity”

สตรีผู้กล้าเผชิญหน้ากับอำนาจอธรรม ผู้อุปการะลูกหลานของผู้ที่ถูกการเมืองเป็นพิษเล่นงาน ตั้งแต่ลูกของ 4 รัฐมนตรีอีสาน ลูกของผู้ต้องหาคดีสวรรคต เรื่อยมาจนเป็น “คุณป้า” ของนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

101 ขอร่วมรำลึกถึงชีวิตและงานของ “ครูผู้มีชีวิตเพื่อผู้อื่น” ด้วยความเคารพอย่างที่สุด

 

ซิม วีระไวทยะ : ชีวิตเพื่ออุดมคติแห่งคณะราษฎร

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

“ซิม วีระไวทยะ” เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ผู้ใช้ชีวิตโลดแล่นตามอุดมคติแห่งคณะราษฎร ทั้งในฐานะนักการเมือง นักการศึกษา นักกฎหมาย นักหนังสือพิมพ์ และนักธุรกิจ

“ซิม วีระไวทยะ” ได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากปรีดี พนมยงค์ จนถูกหยอกว่าเป็นหนึ่งในสองอัครสาวกของเขา – ซิมเป็นพระสารีบุตร สงวน ตุลารักษ์ เป็นพระโมคคัลลานะ

“ซิม วีระไวทยะ” เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกหลังการอภิวัฒน์ 2475 ผู้ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคในสังคม เรียกร้องให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ทั้งหมด ให้เป็น “นาย” เสมอกัน

“ซิม วีระไวทยะ” เป็นนักหนังสือพิมพ์ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ “สฺจจํ” เพื่อตอบโต้ผู้กล่าวหาและโจมตีคณะราษฎรอย่างไม่เป็นธรรม ชื่อของหนังสือพิมพ์มาจากพุทธภาษิต “สจฺจํ เว อมตา วาจา – ความสัจแลเป็นวาจาไม่ตาย”

“ซิม วีระไวทยะ” เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือ “ดวงใจ” (2481) หนังสือเด็กในดวงใจของใครหลายคน เป็นหนังสือเด็กที่ใช้ชื่อบุคคลในคณะราษฎรมาเป็นตัวละครตามบุคลิกจริงของแต่ละคน เช่น ตัวเอกซึ่งเป็นนักเรียนนิสัยดีและเรียนเก่ง ชื่อ “ประดิษฐ์ รักธรรม” จากชื่อของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือครูใหญ่ชื่อ “พจน์” จากพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎร

ชีวิตของ “ซิม วีระไวทยะ” เต็มไปด้วยความน่าทึ่งอีกสารพัดอย่าง เราอยากชวนคุณผู้อ่านค้นหาชีวิตของคนที่เราไม่ควรลืม รวมถึงปริศนาชื่อ “ดวงใจ” มาจากไหน จากงานเขียนของ กษิดิศ อนันทนาธร ในซีรีส์ “2475” ของ 101

 

กุหลาบ สายประดิษฐ์ ยังมีชีวิตอยู่?

 

โดย เวียง-วชิระ บัวสนธ์

“ผู้ใดเกิดมาเป็นสุภาพบุรุษ ผู้นั้นเกิดมาสำหรับคนอื่น”

ถ้อยประกาศนี้ไม่ใช่สักแต่พูดเพื่อเอาเท่ หากแต่เป็นประหนึ่งพันธสัญญาแห่งชีวิตในทางสังคมของ ‘ลูกผู้ชาย’ ชื่อ ‘กุหลาบ สายประดิษฐ์’ ตราบจนชีพวายโดยแท้

กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ‘ศรีบูรพา’ เป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการ หัวเรือใหญ่ของ ‘คณะสุภาพบุรุษ’ ผู้ยึดมั่นหลักประชาธิปไตยเป็นโคมไฟส่องทางสังคม และขับเคี่ยวกับระบอบอำนาจนิยมอย่างโดดเด่นเห็นชัด นำร่องมาก่อนเกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ด้วยซ้ำ

เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการ ‘สามัญชน’ ชวนผู้อ่านร่วมรำลึกถึง ‘สามัญชน’ คนสำคัญร่วมยุคสมัย ‘2475’

 

เรื่องเล่าเท่าที่พบ ‘ขุนสมาหารหิตะคดี’

 

โดย ศุภมิตร ปิติพัฒน์

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ เปิดกรุเอกสารเก่าเล่าเรื่อง “ขุนสมาหารหิตะคดี” หรือ “โป-ระ สมาหาร” นักการเมืองยุคหลังการอภิวัฒน์ 2475 ที่แทบจะไม่มีใครรู้จัก

ทำไมชีวิตของขุนสมาหารฯ ถึงน่าสนใจ?

เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 1 จังหวัดพระนคร จากการเลือกตั้งครั้งแรก

เขาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม

เขาเป็นผู้แต่งและจัดพิมพ์ “พจนานุกรมกฎหมาย” หมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ความคิดและสังคมในช่วงรอยต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมัยใหม่ของสยาม

เขาได้รับยกย่องจากหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ว่าเป็นแบบอย่างของผู้มี “คุณสมบัติที่ดีของการทำราชการ” อีกด้วย

คนรุ่นปี พ.ศ. 2475-2495 มองเรื่อง ‘คุณสมบัติที่ดีสำหรับการทำราชการ’ อย่างไร อ่านคำไว้อาลัยของพระองค์วรรณฯ ถึง ฯพณฯ โป-ระ สมาหาร ได้พร้อมกันนี้

 

จาก 2475 ถึง 2560

หากว่ามีหมุดฯ เคียงข้าง

 

โดย ธิติ มีแต้ม

มันออกจะดูนามธรรมหน่อยๆ เพื่อนก็มี หมาแมวก็มีอยู่เคียงข้าง ทำไมต้องถามว่า “หากว่ามีหมุดฯ เคียงข้าง” มีไปทำไม มีแล้วเกะกะรกหูรกตาไหม

กล่าวอย่างรวบรัดที่สุด ถึงตอนนี้ตั้งแต่การอภิวัฒน์ 2475 ก็ครบ 85 ปีแล้ว แต่ลองใคร่ครวญกันสักหน่อยว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นสัมพันธ์อย่างไรกับชีวิตเราๆ ยิ่งพิจารณาจากภาวะที่บ้านเมืองมีทหารต้องการคืนความสุขปกครองอยู่ ยิ่งพิจารณาจากหมุดคณะราษฎรที่หายไป กลายมาเป็นหมุดสุขสันต์หน้าใสแทน ยิ่งน่าคิดเชื่อมสัมพันธ์ด้วย

ธิติ มีแต้ม รีวิวคนธรรมดาสามัญที่พยายามเชื่อมตัวเองกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นว่าคุณภาพชีวิตปัจจุบันเป็นอย่างไร ตามด้วยลองเปรียบหลัก 6 ประการแบบฉบับหมุดสุขสันต์หน้าใสว่าแตกต่างจากฉบับคณะราษฎรอย่างไร

 

ศิลปะร่วมสมัย การเมืองไทย และหมุดเจ้าปัญหา กับ ธนาวิ โชติประดิษฐ

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

“ศิลปะเป็นการเมืองมาโดยตลอด ไม่ว่าตัวเนื้อหาของมันจะพูดเรื่องการเมืองหรือไม่ก็ตาม” ธนาวิ โชติประดิษฐ ตอบคำถามนี้ในฐานะของคนที่คลุกคลีกับทั้งสองแวดวง

ในแวดวงวิชาการ เธอเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เชี่ยวชาญเรื่องศิลปะร่วมสมัย สนใจประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและเทศ โดยเฉพาะแง่มุมทางการเมือง

ในแวดวงศิลปะ เธอเป็นนักวิจารณ์อิสระ ออกตัวชัดเจนว่าอยู่ฝั่งประชาธิปไตย ไม่เอารัฐประหาร

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล กองบรรณาธิการ 101 ชวน ธนาวิ โชติประดิษฐ มานั่งคุยเรื่องศิลปะร่วมสมัยกับการเมืองไทย พร้อมวิเคราะห์-วิพากษ์เรื่องหมุดเจ้าปัญหา จากหมุดคณะราษฎร ถึงหมุดหน้าใส

 

หลักหมุดคณะราษฎร: ประเทศไทยภายใต้ระบอบปกครองประชาธิปไตย

 

โดย อายุษ ประทีป ณ ถลาง

“จนบัดนี้เป็นเวลาเกือบเดือนหนึ่งแล้ว ที่หลักหมุดประชาธิปไตย เสาหมุดรัฐธรรมนูญ หรือ หมุดคณะราษฎร สุดแท้แต่จะเรียกขานขนานนาม ซึ่งประดิษฐานปักตรึงอยู่กลางลานพระบรมรูปทรงม้ามาช้านานกว่า 80 ปี ได้อันตรธานสูญหายไปอย่างพิสดารพันลึก ทิ้งเป็นปริศนาให้ชาวบ้านราษฎรงวยงงสงสัย ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยพูดไม่ออกบอกไม่ถูก พะอืดพะอมกันถ้วนหน้า

“ยิ่งคิดก็ยิ่งพิศวง

“ขณะที่โลกก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 วิทยาศาสตร์ท้าทายพระเจ้าครั้งแล้วครั้งเล่า ปัญญาลบล้างคติความเชื่อมากมายที่อยู่บนพื้นฐานของศรัทธาแต่โดยลำพัง มนุษย์กำลังไปดาวอังคาร แต่บ้านนี้เมืองนี้กลับยังเต็มไปด้วยเรื่องราวอันเหลือเชื่อเหนือเหตุผล

“อยู่กันด้วยอภินิหารของกฎหมายโดยไม่แยแสสนใจอารยธรรมและความเป็นไปของโลก!”

อ่านต่อบทความของ อายุษ ประทีป ณ ถลาง เรื่อง “หลักหมุดคณะราษฎร: ประเทศไทยภายใต้ระบอบปกครองประชาธิปไตย” ได้ที่นี่!

 

การเกิดครั้งที่ 3 ของคณะราษฎร?

โดย ธนาพล อิ๋วสกุล

ธนาพล อิ๋วสกุล เขียนถึงการกลับมาเกิดใหม่ของอุดมการณ์คณะราษฎร หลังจากที่ความทรงจำเรื่องคณะราษฎรกับการอภิวัฒน์สยาม 2475 ถูกทำให้ลบเลือนหายไปจากสังคมไทย ตั้งแต่ครั้งรัฐประหาร 2490

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Thai Politics

3 May 2023

แดง เหลือง ส้ม ฟ้า ชมพู: ว่าด้วยสีในงานออกแบบของพรรคการเมืองไทย  

คอลัมน์ ‘สารกันเบื่อ’ เดือนนี้ เอกศาสตร์ สรรพช่าง เขียนถึง การหยิบ ‘สี’ เข้ามาใช้สื่อสาร (หรืออาจจะไม่สื่อสาร?) ของพรรคการเมืองต่างๆ ในสนามการเมือง

เอกศาสตร์ สรรพช่าง

3 May 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save