fbpx
จับได้ให้โล่ ด้วยขบวนประท้วง ‘โฮโลแกรม’

จับได้ให้โล่ ด้วยขบวนประท้วง ‘โฮโลแกรม’

[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.22″][et_pb_row _builder_version=”3.25″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.25″ custom_padding=”|||” custom_padding__hover=”|||”][et_pb_text admin_label=”box” _builder_version=”3.27.4″ background_color=”#eaeaea”]

บทความชวนดูงานศิลปะจากโลกที่หนึ่ง ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้สังคมและชีวิตคนผ่านสายตานักออกแบบมัลติมีเดียจากโลกที่สามในนามกลุ่ม Eyedropper Fill

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”3.27.4″]

Eyedropper Fill เรื่อง

การประท้วงในไทย
ภาพ ​: (ซ้ายบน) OKnation, (ขวาบน) Pracob Cooparat, (ซ้ายล่าง) Matichon Online, (ขวาล่าง) Thai Post

ตั้งแต่พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ภายใต้รัฐบาลคสช.ถูกประกาศใช้เมื่อปี 2558 นับเป็นเวลากว่าสามปีที่ภาพบรรยากาศของการเรียกร้อง สนับสนุน หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนปิดถนน หรือเล็กเพียงรวมกลุ่มชูสามนิ้วก็แทบไม่มีให้เห็น

เมื่อเสียงและการแสดงออกในพื้นที่สาธารณะเป็นเรื่องต้องห้าม พื้นที่เสมือนในโลกออนไลน์อย่าง facebook จึงถูกใช้เป็นพื้นที่ปลดปล่อย ความคิดเห็นเรื่องการเมืองดังอึกทึกนิวส์ฟีดด้วยพลังความเก็บกดของประชาชนผู้ไร้พื้นที่แสดงออก

Third – Eye View ตอนที่ 3 จะพาไปดูเหตุการณ์คล้ายกัน ในปีเดียวกันที่ประเทศสเปน ประชาชนนักเคลื่อนไหวสุด innovative คิดวิธีการประท้วงผ่านโลกออนไลน์ และใช้เทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง Hologram !

Holograms for Freedom

 

เหตุการณ์เริ่มต้นจากประชาชนสเปนหลายล้านออกมาเดินประท้วงบนถนนจากความไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลในปี 2015 รัฐบาลสเปนจึงตอบโต้ด้วยกฏหมายฉบับใหม่ว่าด้วยการจัดระเบียบการประท้วงภายในราชอาณาจักร ในชื่อเล่นที่เรียกกันว่า ‘gag law’ ซึ่งละม้ายคล้ายคลึงกับพระราชบัญญัติการชุมนุมในประเทศไทยที่ออกปีเดียวกันเป๊ะอย่างกับฝาแฝด กฏหมายเต็มไปด้วยข้อห้ามสารพัด ตั้งแต่ห้ามจัดประท้วงโดยไม่แจ้งรัฐบาลล่วงหน้า, ห้ามขัดคำสั่งเจ้าหน้าที่ ไปจนถึงจำกัดการทำงานของสื่อมวลชน อย่างห้ามไม่ให้บันทึกภาพการทำงานของตำรวจ

การประท้วงในต่างประเทศ ตำรวจ ผู้ชุมนุม
ภาพจาก Guardian

ในสถานการณ์สุดสิ้นหวังที่ชาวไทยเข้าใจหัวอกดีเช่นนี้ ยังมีกลุ่มนักเคลื่อนไหวสมองใสนาม Hologramas por la Libertad ร่วมมือกับเอเจนซี่โฆษณา, สถานีโทรทัศน์ และนักออกแบบผู้เชี่ยวชาญสื่ออินเตอร์แอคทีฟ จัดแคมเปญประท้วงที่ชื่อ ‘Holograms for Freedom’ ขึ้นในกรุงมาดริด เมื่อการชุมนุมบนท้องถนนจริงๆ เป็นเรื่องผิดกฏหมาย การประท้วงครั้งนี้จึงเกิดขึ้นด้วยภาพฉายแบบ Hologram

YouTube video

การประท้วงสุดล้ำนี้ไม่ต้องเดินออกจากบ้านให้เสี่ยงถูกจับ แค่คุณเปิดเว็ปไซต์ www.hologramasporlalibertad.org เขียนข้อความ, ประโยค, สโลแกนอะไรก็ได้ที่คุณอยากพูด เว็บไซต์จะ capture ใบหน้าของคุณ หรือจะแนบเสียงของคุณไปด้วยก็ได้ ทั้งวิดีโอและความคิดเห็นของคุณจะถูกนำไปฉายด้วยโปรเจ็กเตอร์ลงบนม่านผ้าแบบโปร่งใสบริเวณหน้ารัฐสภาสเปน

Holograms for Freedom

‘Holograms for Freedom’ เป็นวิธีการแสดงออกทางการเมืองแสนสร้างสรรค์ภายใต้กรอบจำกัดของกฏหมาย เป็นการประท้วงที่ gag law ไม่สามารถจับหรือเอาผิดใครได้ นอกจากนั้นแสงที่ฉายภาพประชาชนเดินขบวนตะโกนถ้อยคำกึกก้อง ยังสะท้อนให้เห็นสภาวะของประชาชนสเปนที่คล้ายคลึงกับผี ไร้เสียง – ไร้ตัวตน ไม่สามารถแสดงออกหรือเรียกร้องอะไรได้ในโลกความจริงอีกด้วย

Holograms for Freedom

การประท้วงไร้พรมแดนด้วยแพล็ตฟอร์มออนไลน์ของ ‘Holograms for Freedom’ ให้แรงบันดาลใจว่าการเรียกร้องสิทธิหรือแสดงออกความคิดเห็นทางการเมืองไม่ได้ถูกจำกัดอยู่บนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอีกต่อไป ส่งผลหลายพันคนทั่วโลกอัดวิดีโอเล่าถึงสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศตัวเอง เกิดการระดมทุนสนับสนุนให้แคมเปญนี้อยู่ต่อ รวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลกได้นำเทคนิคการประท้วงเดียวกันนี้ไปใช้ในบ้านตัวเอง เช่นในเกาหลี เรียกการประท้วงนี้กันว่า ‘Ghost Protest’

Holograms for Freedom

นี่เป็นกรณีศึกษาชั้นดีว่านักออกแบบก็มีส่วนกับกิจกรรมทางการเมืองอย่างการประท้วงได้เหมือนกัน แถมยังทำออกมาได้น่าประทับใจ อดคิดไม่ได้ว่าถ้านักออกแบบไทยร่วมมือกับนักเคลื่อนไหว ภายใต้การเมืองแบบไทยๆ อะไรจะเกิดขึ้น ?

อ้างอิง

https://www.theguardian.com/world/2015/mar/12/spain-security-law-protesters-freedom-expression

https://www.independent.co.uk/news/world/europe/spains-hologram-protest-thousands-join-virtual-march-in-madrid-against-new-gag-law-10170650.html

https://www.engadget.com/2015/04/13/hologram-protests-in-spain/
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

22 Feb 2022

คราฟต์เบียร์และความเหลื่อมล้ำ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงอุตสาหกรรมเบียร์ไทย ที่ผู้ประกอบการคราฟต์เบียร์รายเล็กไม่อาจเติบโตได้ เพราะติดล็อกข้อกฎหมาย และกลุ่มทุนที่ผูกขาด ทั้งที่มีศักยภาพ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

22 Feb 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save