fbpx
อคติที่สร้างระยะห่างระหว่างคนไทยและแรงงานข้ามชาติ

อคติที่สร้างระยะห่างระหว่างคนไทยและแรงงานข้ามชาติ

 

จากการประมาณการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ปี 2018 แรงงานข้ามชาติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีจำนวนกว่า 11.6 ล้านคน โดย 5.2 ล้านคนเป็นแรงงานหญิงซึ่งเข้ามาทำงานในภาคส่วนต่างๆ เช่น ลูกจ้างทำงานบ้าน อุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ภาคก่อสร้างและอื่นๆ

สำหรับประเทศไทย สถิติล่าสุดระบุว่ามีแรงงานข้ามชาติจำนวน 3.9 ล้านคน และส่วนใหญ่เดินทางมาจากประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม

ถึงแม้ว่าแรงงานข้ามชาติเหล่านี้จะเข้ามามีส่วนช่วยในการสร้างเศรษฐกิจและสังคมทั้งประเทศต้นทางและประเทศไทย แต่แรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะแรงงานหญิง ยังคงเผชิญกับปัญหาจากทัศนคติคนในสังคม จนเป็นเหตุให้ถูกกีดกัน เลือกปฏิบัติ รวมถึงเกิดความรุนแรง

ปัญหาเหล่านี้จะลดน้อยลง หากเราเริ่มทำความรู้จัก ‘คนแปลกหน้าที่คุ้นเคย’ เพื่อมองเห็นความจริงที่ว่า เราทุกคนคือคนเท่ากัน

 

รับชมคลิปตัวเต็มได้ที่

 

1.

 

แรงงานข้ามชาติ

 

จากการสำรวจความคิดเห็นของ ILO และ UN Women ระบุว่าคนไทยร้อยละ 40 คิดว่าแรงงานข้ามชาติทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และอีกกว่าร้อยละ 53 มองว่าประเทศไทยไม่จำเป็นต้องจ้างแรงงานข้ามชาติที่มีทักษะต่ำ (low-skilled worker) เข้ามาช่วยทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

แต่แท้จริงแล้วหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงประเทศไทย มีความจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งแรงงานเหล่านี้ช่วยเติมเต็มการขาดแคลนแรงงานในประเทศ จากการรายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และ ILO ในปี 2017 พบว่า สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP นั้นมาจากแรงงานข้ามชาติ ถึงร้อยละ 4.3 – 6.6

ภาพ: © ILO/Adri Berger

 

2.

 

แรงงานข้ามชาติ

 

คนไทยร้อยละ 77 เชื่อว่าแนวโน้มอาชญากรรมในประเทศเพิ่มขึ้นเพราะกลุ่มแรงงานข้ามชาติร้อยละ 60 เชื่อว่าแรงงานข้ามชาติไม่มีจรรยาบรรณในการทำงาน ไว้ใจไม่ได้ และอีกร้อยละ 58 คิดว่าแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำลายวิถีชีวิต วัฒนธรรมที่ดีงามของประเทศ

อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานน้อยมากที่ยืนยันได้ว่าแรงงานข้ามชาติมีแนวโน้มในการก่อเหตุอาชญากรรมมากกว่าคนในท้องที่

ภาพ: © UN Women

 

3.

 

แรงงานข้ามชาติ

 

คนไทยร้อยละ 52 เชื่อว่าแรงงานข้ามชาติไม่ควรได้รับค่าแรง สิทธิ สวัสดิการที่เท่าเทียมกับคนในประเทศ ทำให้แรงงานข้ามชาติมักถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน นอกจากนี้ แรงงานหญิงข้ามชาติยังเป็นกลุ่มที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าแรงงานชายเพราะความเชื่อเรื่องระบอบชายเป็นใหญ่ เห็นคุณค่าของงานหรือทักษะของแรงงานหญิงน้อยกว่าชาย

แต่เมื่อถามถึงแรงงานหญิงข้ามชาติโดยเฉพาะร้อยละ 60 ของคนไทยเห็นว่าหากทำงานที่เหมือนกัน ก็ควรได้รับค่าตอบแทนที่เท่ากันกับแรงงานหญิงไทย

ภาพ: © ILO/Nguyễn ViệtThanh

 

4.

 

แรงงานข้ามชาติ

 

การศึกษาที่เน้นเรื่องประวัติศาสตร์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอดีต ความเป็นชาตินิยม อาจทำให้คนส่วนหนึ่งเกิดอคติต่อแรงงานข้ามชาติ

ด้านการนำเสนอข่าวของสื่อ ที่มักเสนอข่าวอาชญากรรม ใช้คำตีตรา เช่น ผิดกฎหมาย โจร ต่างด้าว และเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็ทำให้ผู้รับสารเกิดภาพจำและความรู้สึกด้านลบต่อแรงงานข้ามชาติ ซึ่งทัศนคติแง่ลบนี้อาจก่อให้เกิดการละเมิดหรือความรุนแรงโดยเฉพาะกับแรงงานหญิงได้

การศึกษาที่ให้คุณค่ากับความหลากหลายและการนำเสนอข้อมูลที่รอบด้านของสื่อสามารถช่วยให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อแรงงานข้ามชาติ และส่งเสริมสังคมให้ไม่ตีตราและไม่เลือกปฏิบัติได้

ภาพ: © ILO/Pichit Phromkade

 

5.

 

อคติต่อแรงงานข้ามชาติ

 

อคติเรื่องเชื้อชาติ เพศ และมุมมองต่องานบางประเภทที่ไม่นับว่าเป็นงาน หรือถูกมองว่าเป็นงานที่ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น การทำงานบ้าน ทำให้ลูกจ้างทำงานบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิงได้รับค่าจ้างน้อยกว่าที่ควรจะได้รับ ทำงานเกินเวลาโดยไม่มีค่าตอบแทน  เพราะนายจ้างถือว่าการให้แรงงานอาศัยร่วมกันในบ้านถือเป็นสวัสดิการที่ดีแล้ว อีกทั้งกฎหมายคุ้มครองแรงงานในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดทำให้แรงงานกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิแรงงานบางประการได้ เช่น สิทธิประกันสังคม

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องแรงงานหญิงอาจถูกยกเลิกสัญญาจ้างเมื่อตั้งครรภ์  ไม่มีอิสระในการเดินทาง จึงไม่สามารถได้รับความช่วยเหลือเมื่อเผชิญกับการถูกละเมิดหรือความรุนแรงภายในบ้าน

ภาพ: © UN Women/Ploy Phutpheng

 

6.

 

แรงงานข้ามชาติ

 

งานศึกษาจาก ILO และ UN Women พบว่า ทัศนคติส่งผลต่อการปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ รวมถึงสิทธิ โอกาส และการป้องกันความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับแรงงานหญิง ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมากขึ้นจะทำให้ลดอคติต่อแรงงานได้

 

7.

 

สิทธิแรงงานข้ามชาติ

 

จากผลสำรวจพบว่า ในตอนนี้ คนไทยกว่าร้อยละ 71 เริ่มหันมาสนับสนุนสิทธิการลาคลอดที่เท่าเทียมสำหรับแรงงานหญิงข้ามชาติร้อยละ 83 สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อยุติความรุนแรงต่อแรงงานหญิงข้ามชาติ

ร้อยละ 85 สนับสนุนการเข้าถึงบ้านพักฉุกเฉินหากแรงงานหญิงข้ามชาติได้ถูกละเมิดหรือได้รับความรุนแรง

ร้อยละ 80 ของคนไทยสนับสนุนสภาพการทำงานที่ดีขึ้นของลูกจ้างทำงานบ้าน

และ ร้อยละ 69 สนับสนุนสิทธิแรงงานที่เท่าเทียมสำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน

 

8.

 

สิทธิแรงงาน

 

ถึงแม้ว่า ที่ผ่านมา ทัศนคติและแรงสนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่เราเชื่อว่าสังคมไทยจะดีขึ้นได้มากกว่านี้ น่าอยู่สำหรับแรงงานข้ามชาติและคนทุกคนได้มากกว่านี้

ขอเพียงเริ่มเปิดใจทำความรู้จักคนแปลกหน้าที่คุ้นเคย

 

 

 

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save