fbpx
ศิลปะแห่งการช่วงชิงความทรงจำ (ทางการเมือง) กับ ธนาวิ โชติประดิษฐ

ศิลปะแห่งการช่วงชิงความทรงจำ (ทางการเมือง) กับ ธนาวิ โชติประดิษฐ

101 one-on-one Ep.78 ‘ศิลปะแห่งการช่วงช่งความทรงจำ’ (ทางการเมือง)

จากหมุดคณะราษฎร ถึงหมุดหน้าใส

จากพระบรมรูปทรงม้า ถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

เมื่อศิลปะถูกนำมาใช้ในการช่วงชิง-รื้อสร้าง ความทรงจำทางการเมือง

ชมรายการย้อนหลังได้ที่ : https://www.facebook.com/the101.world/videos/398405317688437/

 

 

หมุดคณะราษฎรเป็นหมุดหมายทางเวลาถึงบุคคลและเหตุการณ์ที่ชัดเจน ขณะที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไม่ชัดเจนขนาดนั้น ชื่อไม่ได้บอกถึงเหตุการณ์หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ทำให้เรารำลึกถึงเหตุการณ์อะไร แต่บอกถึงอุดมการณ์ลอยๆ

ต่อให้บอกว่าสร้างในสมัยคณะราษฎรเป็นรัฐบาล แต่ชื่อไม่ได้บอกถึงเหตุการณ์เฉพาะ เปิดให้เกิดการตีความที่หลากหลาย กระทั่งกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ใช้เป็นที่ชุมนุม เป็นการเคลมว่าตัวเองก็ทำเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นประชาธิปไตยในความหมายของตัวเองที่อาจไม่ผูกติดกับคณะราษฎรก็ได้

 

 

ช่วงปีหลังๆ ก่อนหมุดคณะราษฎรหายไปอย่างลึกลับ จะมีเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบไปเฝ้าหมุด บางปีคนที่จะเข้าไปจัดกิจกรรมรำลึก จะต้องโชว์บัตรประชาชน มีการเอาเทปมาปิดกั้นบริเวณนั้น ทำให้พื้นที่นั้นกลายเป็นพื้นที่อ่อนไหว

ยิ่งหมุดถูกถอดไปอย่างลึกลับ ยิ่งอธิบายให้เห็นว่า ถ้ามันไม่สำคัญคุณก็ปล่อยมันไปอย่างนั้นสิ แต่เพราะมันสำคัญจึงต้องทำให้หายไป

 

 

หมุดคณะราษฎรเป็นตัวแทนรำลึกเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 แต่เมื่อถูกแทนด้วยหมุดหน้าใส มีข้อความบางส่วนในหมุดที่ไม่ใช่ของใหม่ แต่อ้างอิงไปได้ไกลกว่ายุคคณะราษฎร สะท้อนนัยยะตรงกันข้ามกับคณะราษฎร

ในทางศิลปะเรียกว่าเป็นการทำลายรูปเคารพ ทำลายเชิงสัญลักษณ์ (Iconoclasm) และมักถูกแทนที่ด้วยสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกันคือการสร้างรูปเคารพ (Idolatry) หมายถึงการสร้างสิ่งชอบธรรมใหม่ให้เป็นที่เคารพ

 

 

พูดอย่างไม่โลกสวย มองว่าประชาชนทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้ เรากำลังสู้กับอำนาจที่มากกว่าอำนาจของประชาชน

เราเห็นใครบางคนลุกขึ้นมาเรียกร้องให้สืบสวนเรื่องหมุดแล้วเจอผลกระทบ ประชาชนทำอะไรได้ระดับหนึ่ง ต้องช่วยกันขยับเส้นนี้ แต่ต้องตระหนักว่าอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลามาก

มากกว่านั้นคือการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย ซึ่งอาจไม่เกิดขึ้นในชั่วชีวิตเรา

 

 

ถ้าศิลปินวาดรูปดอกไม้ได้ดีที่สุด ก็ไม่มีใครไปบังคับให้เขาเขียนเรื่องการเมืองได้ คนวงการศิลปะอาจเรียกร้องว่า ทำไมศิลปินไม่สนใจปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นรอบตัวเลย เขาอาจสนใจก็ได้ แต่ไม่ได้ทำงานที่เกี่ยวกับสิ่งนั้น เขาอาจไปชุมนุมทุกครั้งโดยที่คุณไม่รู้ก็ได้

 

 

รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างพระบรมรูปทรงม้าขึ้นมาเป็นอนุสาวรีย์สมัยใหม่อันแรกของสยาม ก่อนหน้านั้นเราไม่มีไอเดียสร้างรูปเหมือนของคนที่มีชีวิตอยู่

ทั้งนี้ การสร้างพระบรมรูปทรงม้า นอกจากจะทำให้ประชาชนรู้ว่าพระมหากษัตริย์หน้าตาเป็นอย่างไรแล้ว อนุสาวรีย์นี้ยังเป็นตัวแทนของอุดมการณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่รวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางที่สถาบันกษัตริย์ด้วย

ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การที่คณะราษฎรเลือกไปอ่านประกาศกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และฝังหมุดคณะราษฎรไว้ตรงนั้น ไม่ใช่เพียงเพราะมันเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่คือการตอกย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นตรงนี้ นี่คือการท้าทายกันในเชิงอุดมการณ์ แต่ไม่เกิดการทำลาย พระบรมรูปทรงม้ายังอยู่ที่เดิม

ล่วงมาถึงปัจจุบัน เมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกรัฐประหาร หมุดคณะราษฎรเป็นคล้ายรอยด่างของพื้นที่นั้น เป็นสิ่งแปลกปลอมท่ามกลางพื้นที่อุดมการณ์ทางการเมืองอีกแบบหนึ่ง

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save