fbpx
ระเบียบโลกที่เปลี่ยนแปลง ไทยต้องเผชิญหน้ากับอะไร?

ระเบียบโลกที่เปลี่ยนแปลง ไทยต้องเผชิญหน้ากับอะไร?

ปิติ ศรีแสงนาม เรื่อง

กฤตพร โทจันทร์ ภาพประกอบ

 

ระเบียบโลกใหม่ (New World Order) เป็นคำที่มักจะถูกกล่าวถึงเสมอๆ เมื่อกล่าวถึงช่วงเวลาสำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในทางการเมือง เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ยิ่งใหญ่และส่งผลกระทบรุนแรงเกินกว่าที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะสามารถรับมือและบริหารจัดการได้โดยลำพัง

ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกใหม่ได้ถาโถมเข้ากระทบประเทศไทยอีกระลอก การเปลี่ยนแปลงในมิติภูมิรัฐศาสตร์เศรษฐกิจ รวมถึงประเด็นและปัจจัยเร่งในมิติต่างๆ ทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัว ปฏิรูป เปลี่ยนแปลง เพื่อจะอยู่รอดและยกระดับให้ไทยสามารถเดินหน้าได้อย่างยั่งยืน

ผมและคณะอาจารย์รวมทั้งนักวิจัยจากหลากหลายสาขาวิชาและหลายสถาบันมีโอกาสทำงานวิจัย โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ในหัวข้อ ‘โครงการศึกษาทิศทางการเปลี่ยนแปลงสู่ระเบียบโลกใหม่’ (New World Order) จึงใคร่ขอถือโอกาสนี้นำเสนอคุณผู้อ่านว่า ประเทศไทยกำลังจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมในระเบียบโลกใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

ในการวิจัยโครงการนี้ คณะผู้วิจัยแยกการวินิจฉัยถึงระเบียบโลกที่เปลี่ยนแปลงไปใน 2 มิติ คือ มิติอาณาบริเวณศึกษา (Area Based Analysis) และ มิติประเด็น (Issue Based Analysis) โดยการได้มาซึ่งประเด็นอาณาบริเวณที่วิเคราะห์มาจากการศึกษาด้วยมุมมองสหสาขาวิชาภายใต้กรอบความคิดภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจ (Geo-Political Economy) โดยกำหนดพื้นที่หรืออาณาบริเวณที่ให้ความสนใจและจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเพื่อรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน และคาดคะเนฉากทัศน์ที่จะเปิดขึ้นในอาณาบริเวณต่างๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป (และรัสเซีย) เอเชียตะวันออก (ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) อินเดียและเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและโลกมุสลิม โลกมลายู และประชาคมอาเซียน

ส่วนมิติประเด็น (Issue Based Analysis) คณะผู้วิจัยวินิจฉัยประเด็นสำคัญโดยการนำเสนอกรอบการวิเคราะห์ที่พัฒนาต่อยอดจาก PEST Analysis โดยการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะเป็นปัจจัยนำซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกใหม่ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Disruptive Technology) การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน การบูรณาการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ สังคมสูงวัยในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ความเสี่ยงในระดับนานาชาติ Global Uncertainty บทบาทของสถาบันและองค์การระหว่างประเทศ Regulator/International Institutions การลงทุนระหว่างประเทศ New Normal ความปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ New Economy (อาทิ Platform Economy และ Sharing Economy) รวมทั้งประเด็นด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ และกติกา

จากนั้นจึงวิเคราะห์ผลที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยต้นที่กล่าวถึงในวรรคที่แล้ว โดยวิเคราะห์จาก 4 มิติมุมมองหลัก อันได้แก่

1)         มิติการเมือง ความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

2)         มิติเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

3)         มิติการพัฒนาอย่างยั่งยืน และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม

4)         มิติสังคมและวัฒนธรรม

ทั้งนี้ ผู้วิจัยต้องการใช้กรอบวิธีการคิดวิเคราะห์แบบ ‘คำถามแบบโสกราตีส’ (Socratic  Questioning) ซึ่งหมายถึง ระเบียบวิธีการตั้งคำถามสำหรับใช้ค้นหาความคิดในหลายๆ ทิศทางเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ รวมถึงการค้นหาความคิดที่ซับซ้อน เพื่อค้นหาความจริงในเรื่องต่างๆ เพื่อเปิดประเด็นความคิดและปัญหา เพื่อเปิดเผยสมมุติฐาน เพื่อวิเคราะห์แนวคิด เพื่อแยกความแตกต่างในสิ่งที่เรารู้จากสิ่งที่เราไม่รู้ และเพื่อติดตามการประยุกต์ความคิดอย่างมีตรรกะ กุญแจสำคัญสำหรับบ่งความแตกต่างของคำถามแบบโสกราตีสโดยตรงคือ คำถามแบบโสกราตีสเป็นคำถามที่เป็นระบบ มีระเบียบวิธีที่ชัดเจน มีความลึกและปกติจะพุ่งจุดศูนย์รวมไปที่แนวคิดพื้นฐาน หลักการ ทฤษฎี ประเด็นปัญหา หรือตัวปัญหา

ดังนั้น จากแนวคิด Applied PEST Analysis และ Socratic Questioning ดังนี้อธิบายข้างต้น เพื่อร่วมกันคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในระเบียบโลกใหม่ คณะผู้วิจัยได้สร้าง Matrix ในการวิเคราะห์โดยการตั้งประเด็นคำถาม เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก ระดมสมอง และสนทนาแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในมิติต่างๆ มากกว่า 100 ท่าน เพื่อการสร้างฉากทัศน์ (Scenarios) ต่างๆ ของระเบียบโลกใหม่หลังปี 2020 ผลกระทบต่อโลก ผลกระทบต่อไทยในมิติต่าง ประเทศไทยต้องวางเป้าหมายอย่างไร ใครคือพันธมิตรที่ไทยควรเสริมสร้างความสัมพันธ์ อะไรคืออุปสรรคและไทยควรดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อแก้ไขจุดอ่อน เสริมสร้างจุดแข็ง เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากระเบียบโลกใหม่ ทั้งในระยะสั้น (1-2 ปี) และระยะกลาง (3-5 ปี) โดยประเด็นสำคัญๆ ที่จะกล่าวถึงในรายละเอียดในรายงานวิจัยฉบับนี้ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงในระดับเทคโนโลยีและผลกระทบจากโควิด-19 (Disruptive Technology & COVID-19) 2) การค้าระหว่างประเทศ 3) การพัฒนาอย่างยั่งยืน และ 4) สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ

คณะผู้วิจัยได้วินิจฉัยการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกใหม่ออกเป็น 2 มิติ คือ มิติอาณาบริเวณศึกษา (Area Based Analysis) และ มิติประเด็น (Issue Based Analysis) โดยสามารถสรุปสถานการณ์ปัจจุบันและฉากทัศน์ระยะสั้น (1-2 ปี) และ ระยะกลาง (3-5 ปี) ของระเบียบโลกใหม่ ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ดังที่แสดงใน matrix ต่อไปนี้

 

สถานการณ์และฉากทัศน์ของการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกใหม่


 



บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่องค์ความรู้จาก โครงการศึกษาทิศทางการเปลี่ยนแปลงสู่ระเบียบโลกใหม่ (New World Order) โดยศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอต่อ กองวิจัยเศรษฐกิจการค้ามหภาค สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save