fbpx

เด็กไทยในฐานะสินค้า

กว่าสินค้าชิ้นหนึ่งจะถูกบรรจุลงหีบห่อและจัดแสดงบนชั้นวางสินค้าได้

สินค้าชิ้นนั้นต้องผ่านการเดินทางมากมาย ไม่ว่าจะถูกผลิต แปรรูป คัดเลือก ประกอบสร้าง ไปจนถึงถูกประเมินค่า เพื่อให้ในท้ายที่สุด สินค้าชิ้นนั้นจะสามารถแข่งขันในตลาดได้

ในสายพานการผลิตที่มุ่งสรรค์สร้างแต่สินค้าชั้นเลิศ เต็มไปด้วยการควบคุมและตรวจสอบมาตรฐานอย่างเข้มข้น

ปลายทางของสายพานเส้นนี้คงหนีไม่พ้นสินค้าชั้นดี ที่ใครๆ ต่างต้องการ

เว้นเสียแต่ว่าสิ่งที่อยู่บนสายพานไม่ใช่สินค้า แต่เป็นเด็กที่มีชีวิตจิตใจ

พวกเขาจะเป็นอย่างไร เมื่อต้องตกอยู่ภายใต้ระบบการผลิตที่สร้างคนราวกับสินค้า

เด็กเอ๋ยเด็กดี…

ต้องมีราคาอะไรที่พวกเขาต้องจ่าย หรือทำหล่นหายไประหว่างการวิ่งบนสายพานการผลิตเช่นนี้

#พิมพ์นิยม

เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน… เพราะนิยามของเด็กที่ดีคือเติบโตตามกรอบที่ผู้ใหญ่วางไว้

#ผลิตซ้ำ

ในขณะที่เด็กทุกคนเกิดมาแตกต่างกัน การศึกษากลับสร้างหลักสูตร กฎระเบียบ และการสอบที่เป็นมาตรฐานแบบเดียวกัน

เด็กไทยกว่า 13 ล้านคนต้องท่องจำและทำตามค่านิยม 12 ประการ

#แพ้คัดออก

เพราะมีเพียงผู้ชนะเท่านั้นที่เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพกว่า เด็กไทยจึงได้แต่ตั้งหน้าตั้งตาแข่งขันสุดกำลัง

ตั้งแต่ ป.1-ม.6 เด็กไทย 1 คนต้องผ่านสนามสอบอย่างน้อย 397 ครั้ง (ข้อมูลจาก ศธ. 360 องศา)

#ส่วนเกิน

เมื่อหน้าที่เดียวของเด็กคือการเรียน ประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลายนอกตำราจึงถูกมองว่าไร้ค่าและควรตัดทิ้งไป

ใน 1 ปี เด็กไทยใช้เวลาไปกับการเรียนแล้ว 1,200 ชั่วโมง (ข้อมูลจาก ThaiPublica

#ค่าของคน

ค่าของคนอยู่ที่ผลคะแนน

เกรดยังเป็นตัวชี้ชะตาการเข้ามหาวิทยาลัย และถูกใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาในการเข้าทำงานของบริษัทหลายแห่ง

#ขาย(ความ)ฝัน

ในสังคมที่สปอตไลต์ไม่ได้ส่องถึงทุกอาชีพ และสังคมไม่มีตาข่ายความปลอดภัยรองรับทุกคน ความไม่มั่นคงในชีวิตอาจเป็นราคาที่ต้องจ่ายหากอยากทำอาชีพที่ใฝ่ฝัน

สังคมกำลังทำให้ความฝันของเด็กเป็นเรื่องเพ้อฝัน?

ทั้งการอยู่ภายใต้ระบบที่สร้างคนราวกับเป็นสินค้า  

ทั้งการสวมเครื่องแบบสีขาวที่ไม่อนุญาตให้เลอะเปรอะเปื้อน หรือแม้แต่การสวมรองเท้าที่ไซซ์ใหญ่เกินขนาดเท้าของเด็กคนหนึ่ง

ทำให้ตัวเราแทบจะหลงลืมไปแล้วว่า ความเป็นเด็กที่เป็นอิสระและแตกต่างนั้นเป็นอย่างไร

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Education

20 Jul 2023

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในวิกฤต (?)

ข่าวการปรับหลักสูตรของอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชวนให้คิดถึงอนาคตของการเรียนการสอนสายมนุษยศาสตร์ เมื่อตลาดแรงงานเรียกร้องทักษะสำหรับการทำงานจริง จนมีการลดความสำคัญวิชาพื้นฐานอันเป็นการฝึกฝนการวิเคราะห์วิพากษ์เพื่อทำความเข้าใจโลกอันซับซ้อน

เสียงเล็กๆ จากประชาคมอักษร

20 Jul 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save