fbpx
เปิดบ้านครอบครัวไทยยุคใหม่: ความหลากหลายที่ไร้กรอบจำกัด

เปิดบ้านครอบครัวไทยยุคใหม่: ความหลากหลายที่ไร้กรอบจำกัด

ณรจญา ตัญจพัฒน์กุล เรื่อง

กฤตพร โทจันทร์ ภาพ

 

0. แบบไหนจึงจะเรียกว่าครอบครัว?

 

‘พ่อ แม่ ลูก’ นี่คือภาพจำทั่วไปที่ผุดขึ้นมาโดยอัตโนมัติเมื่อเรานึกถึงภาพ ‘ครอบครัว’ หรือภาพนี้อาจจะเป็นภาพแรกๆ ที่บางคนเห็นตั้งแต่จำความได้ แต่ภาพจำนี้ ตรงกับ ‘ความเป็นจริงที่หลากหลาย’ ของครอบครัวไทยในปัจจุบันแค่ไหนกันแน่?

ถ้าลูกอยู่กับพ่อหรือแม่แค่คนใดคนหนึ่ง…

ถ้าไม่มีลูก…

ถ้าลูกมีพ่อสองคน หรือแม่สองคน…

ถ้าลูกต้องอยู่กับย่า เพราะพ่อแม่ต้องไปทำงานหาเงิน…

ถ้าบ้านใหญ่ของเราวันนี้ต้องอยู่บนโลกดิจิทัล…

ครอบครัวจะยังเป็นครอบครัวหรือไม่?

 

ข้อมูลเชิงสถิติดังต่อไปนี้ จะเผยภาพที่แท้จริงครอบครัวไทยในยุคไร้นิยาม ยุคที่ความสมบูรณ์แบบของครอบครัวไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ ‘พ่อ แม่ ลูก’ เท่านั้น

 

1. 

 

ครอบครัวไทยไซซ์เล็ก สถิติครอบครัวคนเดียว ครอบครัว 2 คน ครอบครัวขนาดใหญ่

 

ตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปี 2560 จำนวนสมาชิกในครอบครัวไทยมีแนวโน้มลดลง สะท้อนว่าครอบครัวไทยมีขนาดเล็ก โดยจำนวนครอบครัวคนเดียวและครอบครัว 2 คน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันจำนวนครอบครัวที่มี 3 คนขึ้นไปกลับมีแนวโน้มลดลง

– ครอบครัวคนเดียวเพิ่มขึ้นจาก 8.8% เป็น 20.5% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้น 2.3 เท่าตัว

– ครอบครัว 2 คนเพิ่มขึ้นจาก 15.9% เป็น 27.3% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้น 1.7 เท่าตัว

– ครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวน 3 คนขึ้นไป ลดลงจาก 75.3% เหลือ 52.2% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด หรือลดลง 23%

หมายเหตุ : ตัวเลขในงานชิ้นนี้มีการปรับจากต้นฉบับ โดยปรับข้อมูลจำนวนครอบครัวขนาดใหญ่ในปี 2560 จาก 52.3%  ให้เป็น 52.2% เพื่อให้สัดส่วนรวมกันได้ 100%

ที่มา: งานวิจัย “การอยู่อาศัยร่วมกันของสมาชิกในครัวเรือนไทย พ.ศ. 2539 – 2560 : การจำแนกรูปแบบด้วยกลุ่มวัย” โดยดร. ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์

 

2. 

 

ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวหลักของครอบครัวไทย สถิติครัวเรือง ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขยาย

 

ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ครอบครัวไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 12.3 เป็น 20.3 ล้านครัวเรือน โดยระหว่างปี 2530-2556 ครอบครัวเดี่ยว (หมายรวมถึง ครอบครัวพ่อแม่ลูก, ครอบครัวสามีภรรยาที่ไม่มีลูก, ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว) ยังคงเป็นประเภทครอบครัวหลักที่มีจำนวนมากที่สุด แต่มีสัดส่วนที่น้อยลง ในขณะเดียวกันสัดส่วนครอบครัวขยาย (หมายรวมถึง ครอบครัวสามรุ่นและครอบครัวแหว่งกลาง) และครอบครัวอยู่คนเดียวนั้นเพิ่มขึ้น โดย

– ครอบครัวเดี่ยวลดลงจาก 66.7% เหลือ 49.9% ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด

– ครอบครัวขยายเพิ่มขึ้นจาก 26.5% เป็น 35.7% ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด

– ครอบครัวอยู่คนเดียวเพิ่มขึ้นจาก 6.1% เป็น 13.9% ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ซึ่ง 75.4% ของครอบครัวคนเดียวเป็นประชากรวัยแรงงาน (15-59 ปี)

ที่มา: “รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน” โดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

3. 

 

สถิติคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว

 

จากปี 2530-2556 ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจาก 970,000 ครัวเรือน เป็น 1.37 ล้านครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นถึง 41% และในจำนวนนี้ ประมาณ 80% ของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวนั้นเป็นครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว

ที่มา: “รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน” โดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

4. 

 

บ้านพ่อแม่ไม่พร้อมหน้า ของเด็กเจนซี-อัลฟ่า (Z-Alpha) สถิติของพ่อแม่ไม่อยู่พร้อมหน้า

 

จากการสุ่มตัวอย่างครอบครัวเด็กไทยเจนซี-อัลฟ่า จำนวน 1,340 ครอบครัว พบว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของครอบครัวที่มีเด็กเจเนอเรชั่นซี-อัลฟ่า (generation Z-Alpha) ซึ่งมีอายุระหว่าง 3-14 ปี มีแนวโน้มที่ไม่ได้อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก โดย 10.6% จาก 1,340 ตัวอย่างครอบครัวเด็กเจนซี-อัลฟ่าอาศัยอยู่ในครอบครัวแหว่งกลาง และ 24.3% จาก 1,340 ตัวอย่างครอบครัวเด็กเจนซี-อัลฟ่าอาศัยอยู่ในครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว

ที่มา: งานวิจัย “เปิดบ้านเด็กซี-แอลฟา การอบรมเลี้ยงดู พัฒนาการ พฤติกรรม บรรยากาศในครอบครัว” โดย จงจิตต์ ฤทธิรงค์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์ และพิมลพรรณ นิตย์นรา

 

5.

 

บ้านที่ไร้เด็ก ครอบครัวคู่สามีภรรยาที่ไม่มีลูก

 

ตั้งแต่ปี 2530-2556 ครอบครัวคู่สามีภรรยาที่ไม่มีลูกมีจำนวนเพิ่มขึ้น 3 เท่า โดยเพิ่มขึ้นจาก 5.6% เป็น 16.2% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด

ที่มา: “รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน” โดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

6. 

 

อยู่กับปู่ย่าตายาย สถิติ

 

จากปี 2530-2556 ครอบครัวแหว่งกลาง หรือครอบครัวที่มีรุ่นปู่ย่าตายายอาศัยอยู่กับรุ่นหลานมีแนวโน้มจำนวนขึ้นเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มจาก 1% เป็น 2.1% ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมดหรือ 1 เท่าตัว โดย 90% ของครอบครัวแหว่งกลางมีหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้หญิงและ 76% ของครอบครัวแหว่งกลางอาศัยอยู่ในชนบท

ที่มา: “รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน” โดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

7. 

 

สูงวัยเปราะบาง สถิติ

 

ในปี 2560 ผู้สูงอายุ 41.5% จากประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 11.3 ล้านคน อาศัยอยู่ในครอบครัวเปราะบาง ซึ่งผู้สูงอายุต้องพึ่งพาตนเองหรือดูแลคนอื่นในครอบครัว โดยในจำนวนนี้ 50.2% เป็นครอบครัวที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับคู่สมรสตามลำพัง และ 26.1% เป็นครอบครัวที่ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังคนเดียว

ที่มา: หนังสือ “ผู้สูงอายุอยู่โดดเดี่ยว (แต่) ไม่เดียวดาย” โดย ศุทธิดา ชวนวัน

 

8.

สถิติครอบครัวสีรุ้ง ครอบครัวแห่งความหลากหลาย ครอบครัว LGBT

 

จากการสำรวจปี 2554 พบว่ามี ‘ครอบครัว LGBT’ เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลจากทัศนคติเรื่องเพศในสังคมไทยที่เปิดกว้างมากขึ้น โดยพบว่ามีครอบครัวชาย-ชายมีจำนวน 0.4% ของครัวเรือนไทย และครอบครัวหญิง-หญิงจำนวน 0.3% ของครัวเรือนไทย

อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลและศึกษาครอบครัวของคนเพศเดียวกันยังมีอยู่จำกัดมากและยังต้องรอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

ที่มา: “ประชากรและสังคม 2562: ครอบครัวไทย…สะท้อนอะไรในสังคม” โดย จงจิตต์ ฤทธิรงค์, ศุทธิดา ชวนวัน, สิรินทร์ยา พูลเกิด และสรัญญา สุจริตพงศ์

 

9.

 

ย้ายบ้านไปโลกดิจิทัล สถิติ

 

ในยุคปัจจุบัน โลกดิจิทัลกลายเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่รักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวทุกรุ่น ทั้งรุ่นปู่ย่าตายาย พ่อแม่ และลูกหลาน

แต่ละรุ่นจะมีพฤติกรรมในการใช้สื่อแตกต่างกันออกไป แต่ในบริบทครอบครัว ไลน์และเฟซบุ๊กเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารหลัก แต่การใช้งานทั้งสองแอปพลิเคชันมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน โดยในครอบครัวมักจะใช้เฟซบุ๊กเพื่อติดตามความเคลื่อนไหว ไม่ใช้ติดต่อสื่อสาร แต่จะใช่ไลน์ในการพูดคุยมากกว่า

ที่มา:  งานวิจัย “สายสัมพันธ์ครอบครัวไทยในสื่อสังคม” โดย ภูเบศร์ สมุทรจักร และ กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ

 

ผลงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ The101.world

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018

Social Issues

21 Nov 2018

เมื่อโรคซึมเศร้าทำให้อยากจากไป

เรื่องราวการรับมือกับความคิด ‘อยากตาย’ ผ่านประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คนเคียงข้าง และบทความจากจิตแพทย์

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

21 Nov 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save