fbpx
‘Teledildonic’ เซ็กซ์ทอยอินเตอร์แอคทีฟเพื่อความสัมพันธ์ทางไกล

‘Teledildonic’ เซ็กซ์ทอยอินเตอร์แอคทีฟเพื่อความสัมพันธ์ทางไกล

[et_pb_section bb_built=”1″][et_pb_row][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text admin_label=”box” _builder_version=”3.0.106″ background_color=”#eaeaea” background_layout=”light”]

บทความชวนดูงานศิลปะจากโลกที่หนึ่ง ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้สังคมและชีวิตคนผ่านสายตานักออกแบบมัลติมีเดียจากโลกที่สามในนามกลุ่ม Eyedropper Fill

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”3.0.106″ background_layout=”light”]

 

Eyedropper Fill เรื่อง

นันทภัค คูศิริรัตน์ ภาพประกอบ

 

ข้ามประเทศ – ต่างทวีป – คนละจังหวัด

ไม่ว่าระยะไหนของความสัมพันธ์ทางไกล หรือ Long Distance Relationship ที่เคยเกิดขึ้นรอบตัว เกินกว่าครึ่งมักจบไม่สวยและรุ่มรวยไปด้วยน้ำตา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อสมาร์ทโฟนในมือ, คอมพิวเตอร์บนโต๊ะ หรือแท็บเล็ตบนตักเต็มไปด้วยช่องทางที่ช่วยทำให้เราใกล้กันได้ด้วยตัวอักษร, ชิดกันด้วยเสียง หรือเห็นหน้าราวอยู่ด้วยกันตลอดเวลา

จากปากคำของคู่รักหลายคู่ ไม่ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มสักเพียงไหน แต่สิ่งที่ขาดหายไป และดูเหมือนว่าจะจำเป็นมากสำหรับทุกคู่ คือ ‘เซ็กซ์’ กิจกรรมเชื่อมต่อความรู้สึกแสนละเอียดอ่อนที่ยังไม่เคยมีเทคโนโลยีหน้าไหนทดแทนได้

ขณะที่ประเทศเรากำลังเถียงกันเรื่องศีลธรรมของเซ็กซ์ทอย ในอีกซีกโลก คนกลุ่มหนึ่งกำลังปลุกปั้นเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟและมัลติมีเดีย ให้ช่วยทดแทนเซ็กซ์ที่ขาดหายไปของคู่รักระยะไกล ไม่ใช่เพียงพูดคุย ได้ยินเสียง หรือเห็นหน้า แต่ทำให้เราสามารถมีเซ็กซ์กันได้แม้มหาสมุทรกั้น !

 

Teledildonic

 

เราคงไม่คุ้นกับคำแปลกหูอย่าง Teledildonic แต่เมื่อแยกออกเป็นคำๆ เราจะพบกับคำว่า ‘Tele’ ที่แปลว่าระยะไกล กับ ‘Dildo’ ที่หมายถึงอวัยวะเพศจำลองหรือเซ็กซ์ทอยนั่นเอง แนวคิดของ ‘เซ็กซ์ทางไกล’ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีบันทึกว่ามันถูกคิดขึ้นในยุค 70s ตั้งแต่การสื่อสารทางไกลเริ่มเฟื่องฟู หากแต่ไม่เคยถูกทำให้เกิดขึ้นจริง จนกระทั่งแนวคิดนี้มาอยู่ในมือบริษัทสุดล้ำจากอัมสเตอร์ดัมอย่าง KIIROO

วิสัยทัศน์ของ KIIROO คือการค้นหาและขยายขอบเขตความเป็นไปได้ในเรื่องความสัมพันธ์ของคน หรือการมีคู่ของมนุษย์ยุคใหม่ จนกระทั่งในปี 2014 ‘KIIROO Couple Set’ จึงถือกำเนิดขึ้น

 

ภาพจากสารคดี The Digital Love Industry โดย VICE

 

‘KIIROO Couple Set’ มีจุดเริ่มต้นจากปัญหาความสัมพันธ์ระยะไกลอย่างที่เล่าไป สมมติฐานของผู้ผลิตคือ แม้เทคโนโลยีจะช่วยเชื่อมต่อให้เราใกล้กันมากขึ้น แต่ก็ไม่มีเทคโนโลยีไหนสามารถส่งผ่านสัมผัสที่ละเอียดอ่อนอย่างการมีเซ็กซ์ได้ ที่ผ่านมาเราอาจจะคิดว่า Sex Phone หรือ Sex Cam อาจจะช่วยทดแทนการมีเซ็กซ์ของคู่รัก แต่ทว่าสิ่งสำคัญที่ยังขาดหายไปคือ ‘การสัมผัส’ เทคโนโลยี Interactive ที่ถูกพัฒนามาทันเวลาจึงมาอุดช่องว่างที่ว่านี้เพื่อเนรมิตแนวคิด Teledildonic ให้เป็นจริง

‘KIIROO Couple Set’  มีองค์ประกอบพื้นฐานคือแอพลิเคชัน ‘Feel Connect’ ทั้งบนสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างคุณกับคนรัก ตามมาด้วย Webcam ที่ทำให้คู่รักที่อยู่คนละฟากโลกเห็นหน้ากัน โดยภายหลังได้พัฒนาให้ถ่ายทอดภาพแบบ Virtual Reality เพิ่มความสมจริงเหมือนอยู่ด้วยกันขึ้นไปอีก

และหัวใจสำคัญคือ Device คู่กายของทั้งสองฝ่าย รูปร่างไม่ต่างจากเซ็กซ์ทอยที่เราเคยเห็น (ของฝ่ายหญิงลักษณะเป็นแท่ง ส่วนของฝ่ายชายเป็นทรงกระบอกที่มีรูกลวงตรงกลาง) แต่ด้วยดีไซน์ที่โมเดิร์นกว่า และพิเศษตรงที่เจ้าอุปกรณ์นี้ได้ติดตั้งกลไกอินเตอร์แอคทีฟที่จับการเคลื่อนไหวที่ฝ่ายหนึ่งกระทำต่อ Device ของตัวเอง พร้อมทั้งส่งลักษณะการเคลื่อนไหวนั้นไปแสดงผลออกเป็นการสั่น, กระตุก, เคลื่อนไหวที่ Device ของอีกฝ่ายเพื่อกระตุ้นอวัยวะเพศแบบ Real – time

 

รู้จัก Kiiroo Couple Set

 

 

แน่นอนว่าเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นบนโลกไม่เคยหนีพ้นคำครหา และไม่วายถูกแปะป้ายเป็นตัวร้ายในช่วงแรกที่ออกมา เช่นกันกับ KIIROO Couple Set ที่ถูกตั้งแง่ว่าหากคนเสพติดมันขึ้นมา แทนที่จะช่วยให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น จะยิ่งทำให้คนไกลกันหรือเปล่า ?

Toon Timmermans, CEO ของ KIIROO บอกว่าเขารู้ดีว่าแนวคิด ‘Virtual Intimacy’ หรือเซ็กซ์จำลองไม่สามารถสร้างประสบการณ์ได้ถึงใจเหมือนเวลาคุณมีเซ็กซ์กับคนรักจริงๆ หรอก สำหรับเขา เทคโนโลยีเป็นเพียงทางเลือกที่ช่วยให้คู่รักรักษาความสดใหม่ กระชับความกระชุ่มกระชวยให้กันและกันได้มากขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจมากคือแนวคิด Virtual Intimacy ที่ค่อยๆ เกิดขึ้นทั่วโลก กำลังขยายขอบเขตนิยามของคำว่าเซ็กซ์ และเปิดโอกาสให้เกิดเซ็กซ์รูปแบบใหม่ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนบนโลก

ผลิตภัณฑ์ของ KIIROO ไม่ได้มีไว้สำหรับคนมีคู่เพียงอย่างเดียว หรือแม้แต่คนมีคู่เอง เขาก็ไม่ได้บังคับให้ต้องใช้กับคู่ตัวเองเท่านั้นซะที่ไหน (ประโยคนี้ใครมีแฟนขอให้อ่านเบาๆ ในใจพอนะครับ  / ฮ่า)  ด้วยแพล็ตฟอร์มนี้ คุณจึงสามารถมีเซ็กซ์กับใครก็ได้โดยไม่ต้องเจอหน้ากันจริงๆ ทีนี้เราก็สามารถแสวงหาประสบการณ์ทางเซ็กซ์ที่โลดโผนแค่ไหนก็ได้ ทดลองประสบการณ์กับคนใหม่ๆ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับโรคติดต่อ

นอกจากนี้ KIIROO ยังสร้าง Erotic Content ของตัวเองในชื่อ Feel VR ว่าง่ายๆ มันคือหนังโป๊แบบ Virtual Reality ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ราวกับคุณได้มีอะไรกับนักแสดงหนังโป๊จริงๆ อีกด้วย

 

รู้จัก Application Feel Connect และ Feel VR

https://www.youtube.com/watch?v=eT92IK8kZz8

 

แนวคิด Virtual Intimacy กำลังแผ่ขยาย และหากมันกลายเป็นเรื่องปกติเมื่อไหร่ คงถึงเวลาที่ชาวโลกจะต้องนิยามความหมายใหม่ให้กับคำว่า เซ็กซ์, การหึงหวง, การนอกใจ รวมถึงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของกันและกันในความสัมพันธ์ เพราะเซ็กซ์จะกลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแบบไหน ที่ใด เมื่อไหร่ก็ได้ ตราบเท่าที่สัญญาณอินเทอร์เน็ตเข้าถึง !

 

ส่วนไทยคงเป็นประเทศท้ายๆ ที่จะได้ใช้ เพราะกว่าจะฝ่าด่านของผู้ใหญ่ในประเทศที่คงออกมากรี๊ดกร๊าด และรอดพ้นการปิดหูปิดตามาได้ เราคงต้องเอาอารมณ์ทางเพศไปลงกับการนั่งสมาธิ หรือเตะฟุตบอลแบบในข้อสอบกันอีกนาน

สาธุ……

 

อ้างอิง

https://www.nextnature.net/2018/05/teledildonics-kiiroo/

https://video.vice.com/en_us/video/the-digital-love-industry/559aa3d0300e4a9d5dab4e1d

www.kiiroo.com

TED Talks ว่าด้วย Virtual Intimacy โดย Toon Timmermans

Youtube Channel ของ KIIROO

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save