fbpx

จะเลี้ยงลูกในสังคมที่ไม่มีกฎหมายและจริยธรรมอย่างไรดี

ทุกสังคมมีผู้ร้าย ตำรวจชั่ว นักการเมืองเลว นักกฎหมายไม่ซื่อตรง รวมทั้งมีคนผิดลอยนวลให้เห็นเป็นระยะๆ ไปเห็นที่ไหนมา? คำตอบคือเห็นในหนังฝรั่ง หนังญี่ปุ่น และหนังเกาหลี แปลกแต่จริงที่ไม่ค่อยเห็นในหนังไทย

ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะเรามีวัฒนธรรมห้ามสร้างหนังอะไรที่บอกว่าคนควรจะดีที่แท้ไม่ดี แต่ตลกร้ายคือเรามีให้เห็นในชีวิตจริงมากพอจนไม่น่าจะทำเงินหากเอาไปสร้างเป็นหนัง เพราะมันไม่ค่อยจะแปลก

สรุปว่าสังคมจะอย่างไรก็มีตัวอย่างไม่ดีให้เด็กๆ เห็นเสมอๆ แม้จะจริงที่ว่าทำดีไม่เห็นจะได้ดี หรือความพยายามอยู่ที่ไหน (ในบ้านเรา) ความสำเร็จก็จะไม่มีวันมาถึง แต่เราจะยินยอมให้เด็กเชื่อแบบนั้นตั้งแต่เกิดมิได้มิเช่นนั้นสังคมยุ่งตาย แค่นี้ก็เต็มกลืนมากพออยู่แล้ว จะอย่างไรเราก็ควรสอนให้เด็กๆ เชื่อเรื่องทำดีได้ดี ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น อย่าได้ยอมแพ้โดยง่าย 

และชีวิตสามารถสุขสันต์นิรันดร

สอนอย่างไร? สอนให้เด็กของเรามีความสามารถที่จะเห็นความทุกข์ของสรรพสิ่ง เรียกว่า เอ็มพาธี (empathy) สรรพสิ่งนี้มีทั้งคน สัตว์ พืช และโลกด้วย นี่เป็นยุคสมัยที่เราควรบอกเด็กๆ ได้แล้วว่าโลกเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง (Gaia) และมีเมตาบอลิซึมของตนเองซึ่งวันนี้กำลังป่วยอย่างหนัก

วิธีสอนไม่ยาก โรงเรียนที่ใส่ใจสามารถทำได้อีกทั้งทำได้ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล เริ่มด้วยให้เด็กๆ เรียนรู้อารมณ์ของมนุษย์ เริ่มด้วยรูปการ์ตูนที่แสดงอารมณ์ดีใจ เสียใจ สุข ทุกข์ เศร้า เจ็บปวด โกรธ อิจฉา ฯลฯ ตามด้วยรูปถ่ายคนจริงๆ จากนั้นเป็นหนังการ์ตูนสั้น ตามด้วยหนังสั้น  

ครูชวนเด็กๆ ‘แสดงความรู้สึกว่าตนเองรู้สึกอย่างไร’ ที่เห็นใบหน้าเหล่านั้น ทำได้ด้วยวาจา วาดรูป หรือแสดงละคร ให้เด็กๆ ดูท่าทางและการแสดงออกทางร่างกาย ก่อนจะให้เด็กๆ ได้บอกว่ารูปคนที่เห็นนั้นมีอารมณ์อย่างไรในที่สุด กล่าวคือเข้าใจตนเองก่อนเข้าใจคนอื่น

ทำแบบนี้กับสรรพสัตว์ด้วย ทำได้ทั้งในรูปแบบการ์ตูนหรือพาไปดูชีวิตสัตว์จริงๆ ทำได้ทั้งสวนสัตว์ปกติหรือไปดูสัตว์ที่บาดเจ็บ ถูกทำร้าย แม้กระทั่งดูปลาติดเบ็ดที่ดิ้นบนพื้น เหล่านี้มิได้บอกว่าอะไรดีหรือชั่วแต่ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ความเจ็บปวดของผู้อื่น คำสำคัญคือเด็กๆ ของเรารู้สึกอย่างไร

ในระดับชั้นที่สูงขึ้น เช่น ชั้นประถม ให้เด็กๆ ศึกษาสีหน้าของผู้คนในชีวิตรอบตัว เริ่มจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย อาชีพต่างๆ เช่น คุณครู พ่อค้าแม่ค้า บุรุษไปรษณีย์ คนแปลกหน้า พวกเขารู้สึกอย่างไร ด้วยขั้นตอนคล้ายๆ กัน ทำอย่างเดียวกับสีหน้าของคนยากจน แรงงานระดับล่าง คนป่วย เด็กๆ ในดินแดนที่มีสงคราม ผู้อพยพ ชาติพันธุ์ที่ต่างจากเรา ชนกลุ่มน้อย

และเช่นเดิมคือให้เรียนรู้จากสัตว์ แต่สามารถเพิ่มเรื่องต้นไม้ได้ด้วย คิดว่าต้นไม้มีความรู้สึกนึกคิดหรืออารมณ์หรือเปล่า เพราะอะไร?

ความสำคัญคือครูไม่ยึดติดกับคำตอบของเด็กคนเดียว การเรียนรู้อารมณ์ของคนอื่นต้องการเส้นมาตรฐานของตนเองเป็นจุดอ้างอิงเสมอ เด็กสองคนมองคนคนหนึ่งพร้อมกันสามารถบอกอารมณ์ของคนนั้นแตกต่างกันได้ ผู้ใหญ่สองคนก็เช่นกัน จิตแพทย์สองคนก็มิใช่ข้อยกเว้น ตรวจคนไข้คนเดียวกันแต่เขียนคำบรรยายอารมณ์ผู้ป่วยไม่เหมือนกัน เวลาให้เด็กๆ เรียนรู้เรื่องอารมณ์จึงควรทำเป็นกลุ่มเสมอเพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็กๆ ได้แลกเปลี่ยนสนทนากัน

กลุ่มเด็กนั้นควรหลากหลาย มาจากร้อยพ่อพันแม่ที่มีพื้นเพและภูมิหลังต่างกัน ถ้าจะจับคู่บัดดี้ให้จับขั้วตรงข้ามไว้ก่อนเสมอ เด็กเรียนเก่งคู่กับเด็กเรียนไม่เก่งจะได้รู้ว่าเรียนไม่เก่งทุกข์อย่างไร และเรียนเก่งก็มิใช่ไม่ทุกข์ เด็กในเมืองจับคู่กับชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อยไว้ก่อนเสมอ เด็กรวยจับคู่กับเด็กชายขอบหรือลูกหลานผู้อพยพ เป็นต้น จะว่าไปนี่เป็นพื้นฐานการจัดการศึกษาสมัยใหม่อยู่แล้ว คือเรียนเป็นทีมด้วยความหลากหลาย

เด็กทั่วไปวันนี้จำเป็นต้องเรียนรู้อารมณ์คนอื่น จะว่าไปเด็กทั่วไปก็ไม่ต่างจากเด็กแอสเปอร์เกอร์หรือออทิสติกสเปกตรัมดิสออเดอร์ (เช่น อูยองอู หรือ ดร.เชลดอน) คือมีความพร่องเรื่องการจับสัญญาณด้านอารมณ์ของคนอื่น มองในแง่นี้เด็กพิเศษไม่ต่างอะไรจากเด็กทั่วไป

เด็กมัธยมนอกเหนือจากต้องเรียนรู้อารมณ์และความทุกข์ของสังคม ยังควรเรียนรู้ความทุกข์สัตว์ พืช โลกและระบบนิเวศน์อีกด้วย การพานักเรียนมัธยมออกไปดูความทุกข์ของคนอื่นเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการศึกษาสมัยใหม่ เด็กมัธยมจำเป็นมากที่ต้องออกไปเห็น ‘โลกที่กำลังเจ็บป่วย’ ด้วยตาตนเอง

แล้วพ่อแม่ทำอะไร? พ่อแม่มีงานหลักคือคอยช่วยเหลือให้ลูกเข้าใจอารมณ์ตนเอง บ้านเป็นจุดออริจิน อารมณ์ของตนเองเป็นเส้นมาตรฐาน หากเด็กมีจุดออริจินและเข้าใจตนเองก่อนออกนอกบ้าน รู้เท่าทันอารมณ์ตนเองง่ายก็จะล่วงรู้อารมณ์คนอื่นง่าย

คนที่ไม่รู้ประสาอะไรเลยกับอารมณ์ของคนอื่น มักเป็นพวกที่มีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม (antisocial) หรือไม่ก็หลงตนเอง (narcissistic) หรือไม่ก็ทั้งสองอย่าง

ถัดจากเอ็มพาธี พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างในการช่วยเหลือคนอื่นให้ลูกๆ เห็นตั้งแต่แรกเกิด เด็กๆ จะได้ ‘เรียนรู้ความรู้สึกสบายใจ’ ที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นตั้งแต่แรก กล่าวคือเมื่อพ่อแม่สบายใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เรื่อยๆ เด็กๆ จะสัมผัสได้แล้วทำตามแล้วเรียนรู้

ความสบายใจที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นเป็นกลไกป้องกันตัวทางจิตเรียกว่า อัลทรูอิสซึม (altruism) ใช้บำบัดความกังวลใดๆ ได้ดีนัก จัดเป็นกลไกป้องกันตัวทางจิตที่มีสุขภาวะ (healthy mental mechanism)

อะไรที่เขียนมา พบได้ในการศึกษาของสแกนดิเนเวีย

MOST READ

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018

Social Issues

21 Nov 2018

เมื่อโรคซึมเศร้าทำให้อยากจากไป

เรื่องราวการรับมือกับความคิด ‘อยากตาย’ ผ่านประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คนเคียงข้าง และบทความจากจิตแพทย์

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

21 Nov 2018

Life & Culture

1 Feb 2019

ทรมานแสนสุขสม : เปิดโลก ‘BDSM’ รสนิยมทางเพศที่ตั้งต้นจากความยินยอมพร้อมใจ

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์ ชวนสำรวจรสนิยมทางเพศแบบ BDSM ผ่านการพูดคุยกับสองสาวเจ้าของเพจ Thailand BDSM : Let’s Play and Learn ว่าด้วยนิยาม รูปแบบ คำอธิบายของความสุขในความเจ็บปวด ไปจนถึงความเสี่ยงในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อตามหาผู้มีรสนิยมแบบเดียวกัน พร้อมเก็บบรรยากาศการแสดง ‘ชิบาริ’ โดยศิลปินชาวญี่ปุ่นมาเล่าสู่กันฟังอย่างถึงเนื้อถึงหนัง

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

1 Feb 2019

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save