fbpx
#TCDC2017 : เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในวัน Thailand 4.0

#TCDC2017 : เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในวัน Thailand 4.0

[et_pb_section admin_label=”section”][et_pb_row admin_label=”row”][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_color=”#ffffff” border_style=”solid”]

เดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็ต้องมาพร้อม ‘ความคิดสร้างสรรค์’

ไม่ต้องแปลกใจไป เพราะในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา คำว่า Creative Economy กำลังเป็นเทรนด์ในการพัฒนาเศรษฐกิจที่หลายประเทศทั่วโลกพยายามพัฒนาตัวเองไปให้ถึง เมื่อวิธีหารายได้เข้าประเทศแบบเดิมๆ ด้วยระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตทีละมากๆ แข่งขันกันด้วยการลดต้นทุนแรงงานและราคาให้ต่ำที่สุดกำลังมาถึงทางตัน โมเดลเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นเหมือนการก้าวสู่ยุคใหม่ของเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21

 

ทำไมต้องเศรษฐกิจสร้างสรรค์

มีหลากหลายนิยามที่ให้ความหมายว่า ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ คืออะไร ว่ากันง่ายๆ มันคือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจากมูลค่าทาง ‘ความคิด’ ของมนุษย์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทรัพย์สินทางปัญญา ศิลปะวัฒนธรรมที่มีอยู่เป็นต้นทุนในการสร้างบริการ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้า เพื่อเป็นกลไกในการกระจายรายได้ สร้างงาน

เมื่อความแตกต่างถูกสร้างขึ้น (เทียบกับการแข่งแค่ต้นทุนแรงงานในยุคก่อน) ความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ระบบเศรษฐกิจของประเทศก็พัฒนาไปด้วยเป็นเงาตามตัว

ถ้าจะยืนยันกันด้วยตัวเลข การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของโลกกำลังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากปี 2539 ตัวเลขการส่งออกสินค้าและบริการจากความคิดสร้างสรรค์อยู่ที่ 234.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เกือบสิบปีผ่านไป ตัวเลขขยับเพิ่มมาเป็น 445.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2548 โดย 82% เป็นสินค้าที่มาจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

ด้านประเทศกำลังพัฒนา (มานาน) อย่างไทยเราก็เริ่มเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์มาตั้งแต่ปี 2547 หลังจากรัฐบาลในยุคนั้นมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน ประกอบกับพัฒนาให้เข้าถึงแหล่งความรู้และความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กัน จนคำว่า ‘ความคิดสร้างสรรค์’ เริ่มปรากฎขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เมื่อปี 2550 จนถึงฉบับที่ 12 ที่เพิ่งออกมาในปีนี้

Thailand 4.0 ที่พูดถึงกัน นอกจากการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน อีกขาหนึ่งคือเครื่องมือที่ชื่อว่า ‘ความคิดสร้างสรรค์’ นี่เอง

แม้จะค่อยๆ ก้าวไปทีละน้อย แต่จากปี 2549 ในช่วงตั้งไข่ มูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยอยู่ที่ 10.83% ของตัวเลข GDP แต่มาถึงปี 2557 ตัวเลขก็เพิ่มขึ้นเป็น 13.18% ของ GDP (ถ้าวัดเป็นตัวเงินเพียวๆ เทียบกัน ก็พุ่งสูงขึ้นถึงสองเท่าเลยนะ!)

 

#TCDC2017

 

เกริ่นมายืดยาว เพราะเรากำลังจะเล่าถึงความสำคัญของหน่วยงานเล็กๆ ที่มีชื่อว่า ‘ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ’ หรือ TCDC ซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นจริง ในฐานะที่เป็นมากกว่าที่นั่งทำงาน หรือสถานที่สุดฮิปที่มีไว้ถ่ายรูปและเช็คอินของชาวเก๋ในอินสตาแกรม

ล่าสุด TCDC ย้ายฐานที่มั่นจากดิเอ็มโพเรี่ยม มาอยู่ที่อาคารไปรษณีย์กลางบริเวณย่านเจริญกรุง และเพิ่งเปิดให้คนทั่วไปได้เข้าไปเดินชมนิทรรศการ ใช้งานพื้นที่ภายในตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา TCDC โฉมใหม่ที่กินพื้นที่ทั้งด้านหน้าและหลังกว่า 9,000 ตารางเมตรของอาคารเก่าแก่อายุกว่า 77 ปี ออกแบบตามอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบ Neoclassicism แห่งนี้ กำลังทำหน้าที่มากกว่าที่เคยเป็น

 

 

จากแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบ จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ในประเทศ มาเป็นการเปลี่ยน ‘ความคิดสร้างสรรค์’ จากที่ฟังดูเป็นคำของคนอาร์ตๆ ให้เข้าถึงคนทั่วไปมากขึ้น ผ่านการสร้างสรรค์ให้ย่านเจริญกรุงเป็น ‘ย่านสร้างสรรค์’ หรือ Creative District แห่งใหม่ ที่ทุกคนในย่านนี้จะได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไปด้วยกัน

 

ที่ใหม่ ข้างในมากกว่าใหม่

 

พื้นที่ภายในของ TCDC ที่อาคารไปรษณีย์กลางยังคงแบ่งเป็นสัดส่วนคล้ายเดิม หลักๆ คือห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียนที่เข้าชมได้ฟรี ตอนนี้มีนิทรรศการ Creativity Onwards: สำรวจงานสร้างสรรค์ไทยเพื่อไปต่อ จัดแสดงอยู่ เล่าเรื่องราวของอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ตู้บุญเติม กระบะแครี่บอย ยันรายการปริศนาฟ้าแลบ ที่แต่ละอย่างสะท้อนแนวคิดการสร้างสรรค์งานยุคใหม่ที่สะท้อนความ ‘ไทยๆ’ แต่ขายได้ไกลถึงระดับโลก และยังเล่าไทม์ไลน์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ให้เราได้เก็บไปคิดว่าแล้วต่อไปหลังจากนี้ ความสร้างสรรค์แบบไทยจะไปต่ออย่างไรได้บ้าง

นอกจากนั้นยังมีโซนรวบรวมวัสดุแบบต่างๆ ให้คนที่สนใจทำธุรกิจสร้างสรรค์ลองมาเลือกดู เพิ่มเติมคือโครงการ TCDC Material Mapping ที่รวมวัสดุที่หาได้จากย่านการค้าของกรุงเทพ ไล่ตั้งแต่สำเพ็งไปจนถึงบ้านหม้อ ให้ได้ดูว่าร้านไหนมีอะไรบ้าง เลือกได้แล้วก็ลองไปทำให้เป็นจริงได้ที่ส่วน Maker Lab ที่ FabCafe คอมมูนิตี้ของเหล่าเมกเกอร์สมาร่วมให้คำแนะนำ ทดลองออกแบบ ปรินต์ชิ้นส่วนด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ (และอีกหลายเครื่องมือที่ดูล้ำมากๆ)

 

 

 

 

 

 

หรือถ้าจะมาหาแรงบันดาลใจ โซนห้องสมุดและที่นั่งอ่านของ TCDC แห่งใหม่ก็ยังอัดแน่นไปด้วยหนังสือดีไซน์หายากจากต่างประเทศให้ได้มานั่งอ่าน นั่งทำงาน เดินขึ้นไปอีกชั้นก็ยังมีบริการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจสร้างสรรค์ ตอบโจทย์ทั้งคนที่กำลังหาไอเดียทำงาน ไปจนถึงคนที่อยากสร้างธุรกิจสร้างสรรค์ของตัวเองให้เกิดขึ้นจริงได้ด้วย

 

 

 

เจริญกรุง: ย่านความคิดสร้างสรรค์จากความร่วมมือของทุกคน

 

 

อีกหนึ่งภารกิจนอกจากการย้ายออฟฟิศของ TCDC คือการทำให้ความคิดสร้างสรรค์เป็น ‘เครื่องมือแก้ปัญหา’ และ ‘เครื่องมือเพิ่มมูลค่า’ ให้กับคน และเศรษฐกิจในพื้นที่ย่านเจริญกรุง ด้วยเป้าหมายให้ย่านนี้กลายเป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษเพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนมากขึ้น

แต่ใช่ว่าการเข้ามาด้วยคำว่า ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ จะเป็นข้ออ้างในการพัฒนาโดยหลงลืมชุมชนที่อยู่มาอย่างเก่าแก่ การพัฒนาพื้นที่นี้จึงเป็นการสร้าง ‘คุณค่าใหม่’ ร่วมกันระหว่าง TCDC (ในฐานะองค์กรของรัฐ) ผู้ประกอบการธุรกิจ และผู้คนในชุมชน

หนึ่งในโครงการที่นำร่องไปก่อนเปิดตัว TCDC โฉมใหม่คือ Co-Create Charoenkrung โครงการออกแบบพื้นที่สร้างสรรค์ระหว่างคนนอกและคนในผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม วางแผนการใช้และพัฒนาพื้นที่ย่านเก่าให้เกิดสิ่งใหม่ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่งอมือแก้ปัญหา จนได้ออกมาเป็นโครงการเล็กๆ นำร่องก่อนทำให้เจริญกรุงเป็นย่านสร้างสรรค์เต็มตัว เช่นโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ ปรับปรุงอาคารร้างให้กลายเป็นแหล่งพบปะสร้างงานศิลปะสร้างสรรค์ หรือพื้นที่สีเขียวที่ผ่านการออกแบบร่วมกันเพื่อสร้างพื้นที่ทำกิจกรรมให้คนในชุมชน

ในงานเปิดตัวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา กิจกรรม Redefining the District: สรรค์สร้าง… เจริญกรุง คือหนึ่งในกิจกรรมเปิดตัวที่ดึงเอาผู้คนจากหลากหลายแหล่งเข้ามาทำให้ย่านเจริญกรุงตึกครั้งอีกครั้ง ร้านอาหารที่เปิดขายในงานส่วนหนึ่งมีมาจากร้านฝั่งตรงข้ามอาคารไปรษณีย์กลางและร้านอื่นๆ ใกล้เคียง นอกจากจะเป็นการแนะนำตัว TCDC โฉมใหม่ นี่ยังเป็นก้าวแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยแรงกระตุ้นจากความคิดสร้างสรรค์ไปในตัว

 

ในอนาคตอันใกล้ เราน่าจะได้เห็นภาพของย่านเจริญกรุงเปลี่ยนไป จากที่เป็นเพียงถนนเส้นเล็กๆ เต็มไปด้วยอาคารร้างทรงสวยให้มาเดินถ่ายรูปเล่น กลายเป็นพื้นที่แสดงงาน โรงภาพยนตร์เล็กๆ ห้องสมุด แกลเลอรี่ ร้านขายของศิลปะ หรือออฟฟิศเล็กๆ ของคนรุ่นใหม่ ดึงดูดให้คนเข้ามาทำความรู้จักย่านเก่าแก่แห่งนี้มากขึ้น จากความพยายามของทุกส่วนในสังคม ที่จะสร้างให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เริ่มต้นขึ้นในย่านเล็กๆ แห่งนี้

เพราะความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่แค่เรื่องของเก๋ๆ ศิลปะที่คนยากจะเข้าใจ หรือโมเดลเศรษฐกิจสุดล้ำแห่งศตวรรษที่ 21 เท่านั้น

แต่มันยังเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาจากมันสมองของทุกคน ที่ช่วยให้ชีวิตผู้คนในชุมชน และทุกคนในสังคมดีขึ้นไปพร้อมๆ กัน

 

[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”box” background_layout=”light” text_orientation=”left” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px”]

ย่านสร้างสรรค์บนโลกนี้มีที่ไหนบ้าง?

ก่อนที่เจริญกรุงจะกลายเป็นย่านสร้างสรรค์แบบเต็มตัวในอนาคตอันใกล้ ลองไปดูกันว่ามีที่ไหนในเมืองใหญ่ของโลกที่เปลี่ยนตัวเองให้ความคิดสร้างสรรค์มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจในย่านกันบ้าง

 

ชอร์ดิทช์, ลอนดอน

จากอดีตย่านที่พักอาศัยของเหล่าศิลปินไส้แห้ง (ด้วยราคาค่าบ้านที่ถูกพอจะซื้อหาหรือเช่าได้) รวมไปถึงกวีชื่อดัง เอดการ์ แอลลัน โพ ชอร์ดิทช์ได้กลายสภาพเป็นพื้นที่รวบรวมบาร์และแกลเลอรี่ศิลปะ โรงละคร ออฟฟิศบรรดาธุรกิจสร้างสรรค์ และที่เป็นเอกลักษณ์ของย่านนี้คือศิลปะกราฟิตีตามกำแพงในตรอกซอยเล็กๆ มากที่สุดที่หนึ่งในลอนดอนให้เดินค้นหา

 

เฉาหยาง, ปักกิ่ง

บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเฉาหยางมีย่านสร้างสรรค์ที่ชื่อว่า 798 Art District ซุกซ่อนอยู่ หลังจากโรงงานเก่าถูกทิ้งร้างไปในช่วงทศวรรษ 90s ค่าเช่าก็ถูกแสนถูกซะจนกลายเป็นฐานที่มั่นของเหล่าศิลปินและกลุ่มศิลปะร่วมสมัยให้เข้ามาสร้างงานและรวมกลุ่มกัน กลายเป็นสตูดิโองานดีไซน์ แกลเลอรี่ ที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะ ความฮอตสุดๆ ทำให้ตอนนี้บริษัทดีไซน์เจ้าใหญ่ๆ ก็เริ่มมาเปิดออฟฟิศอยู่ที่นี่กันแล้ว แต่แกลเลอรี่หลายแห่งก็ไม่ลืมความเป็นชุมชน เพราะพวกเขาเปิดให้ศิลปินมาแสดงงานแบบฟรีๆ อานิสงส์นี้ทำให้ผู้มาเยือนอย่างเราได้เข้าชมฟรีด้วยล่ะ

 

เชิงหว่าน, ฮ่องกง

เชิงหว่านกลายร่างเป็นย่านสร้างสรรค์ ผสมผสานกับธุรกิจเดิมของย่านที่ค้าขายสินค้าของจีนโบราณ ทั้งสมุนไพรไปจนถึงอาหารทะเลตากแห้ง แหล่งรวมธุรกิจสร้างสรรค์จากศิลปินรุ่นใหม่ที่กำลังน่าจับตาคือ PMQ ที่เปลี่ยนแฟลตตำรวจเก่าทั้งตึกให้แต่ละห้องกลายเป็นร้านค้าขายของศิลปะและแฟชั่นที่คุ้มค่ากับการเดินขึ้นมาบนถนนชัน 45 องศา หรือจะเดินไปอีกนิดที่ถนนต่ายเพ่งชาน (Tai Peng Shan St.) ก็มีงานสตรีทอาร์ทสวยๆ ไว้ให้ชม แถมยังมีร้านอาหารและคาเฟ่เล็กๆ ให้พักขาที่ถนน โผวเฮงฟ้ง (Po Hing Fong St.) อีกต่างหาก

 

[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_color=”#ffffff” border_style=”solid”]

 

อ่านเพิ่มเติม

เอกสารประกอบการสัมมนา Creative Thailand : สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตอน ทางรอด… ทางเลือก (Facing The Challenges) 

อีบุ๊ก เรื่อง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ อนาคตเศรษฐกิจโลก… เศรษฐกิจไทย จาก TCDC Outlook 

อีบุ๊ก เรื่อง Thailand Creative Mapping ฐานข้อมูลอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จาก TCDC Outlook 

บทความ เรื่อง Revalue Charoenkrung คุณค่าใหม่ เจริญกรุง จาก นิตยสารคิด Creative Thailand  วันที่ 1 เมษายน 2560

บทความ เรื่อง Creative District Foundation กลุ่มคนสร้างเมือง เพื่อเมืองสร้างอนาคต จาก นิตยสารคิด Creative Thailand วันที่ 1 เมษายน 2560

บทความ เรื่อง A Cities Beating Hub: Creative Districts of the World ของ Igor Ovsyannykov จากเว็บไซต์ inspirationfeed, May 15, 2012

บทความ เรื่อง The World’s Most Creative Neighborhoods ของ Avinash Rajagopal จาก Metropolis Mag

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save