fbpx
อินเดียในกระแสโลก กับ สุรัตน์ โหราชัยกุล

อินเดียในกระแสโลก กับ สุรัตน์ โหราชัยกุล

เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2019 นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียได้ดำเนินนโยบาย ‘ช็อกโลก’ ด้วยการประกาศยกเลิกสถานะพิเศษให้กับรัฐจัมมูและแคชเมียร์ ที่เคยได้รับนับตั้งแต่ปี 1950

การเคลื่อนไหวของอินเดียครั้งนี้ส่งผลสะเทือนต่อสันติภาพและเสถียรภาพในเอเชียใต้อย่างรุนแรง เพราะส่งให้ข้อพิพาทของอินเดีย ปากีสถาน และจีน ร้อนแรงขึ้นโดยทันที

บ้างว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในของอินเดีย แต่ก็มีนักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยมองว่า อินเดียไม่อยากเป็นเพียงมหาอำนาจของเอเชียใต้

เราควรเข้าใจอินเดียอย่างไร และอะไรคือนัยอันแหลมคมของอินเดียต่อภูมิภาคและโลก

ต่อไปนี้คือเนื้อหาบางส่วนจากการพูดคุยกันในรายการ 101 One-on-One Ep.87 ‘อ่านอินเดียในกระแสโลก’ กับ ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

:: โมดี vs ราหุล มวยคนละชั้น ? ::

สุรัตน์ โหราชัยกุล

สโลแกนที่นเรนทรา โมดี ใช้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดคือ ‘ฉันเป็นยามเฝ้าแผ่นดิน’ ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครใช้ประเด็นความมั่นคงชัดเจนขนาดนี้ ส่วนใหญ่จะเล่นประเด็นเศรษฐกิจ ซึ่งผมคิดว่าโดนใจหลายคน ผมคุยกับแท็กซี่ในอินเดีย เขาบอกว่าต่อให้อดอยาก หรือต้องกินหญ้า ก็จะเลือกโมดี นี่สะท้อนว่าเขาสามารถเอาเรื่องความมั่นคงของประเทศมาเป็นประเด็นสำคัญได้

ขณะเดียวกัน ฝั่งราหุล คานธี พอเริ่มเปิดปาก พยายามออกมาโต้ ก็จะถูกมองทันทีว่าชังชาติ อาจเพราะเขาไม่ทันประเมินว่าเรื่องนี้มันแรง พอสื่อเอามาเล่นต่อ คุณพังเลย นี่สะท้อนเลยว่าราหุลไร้เดียงสา ไม่ทันเกม โมดีเก๋ากว่าเยอะ

ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีใครใช้ประเด็นความมั่นคงชัดเจนขนาดนี้ ส่วนใหญ่จะเล่นประเด็นเศรษฐกิจ ซึ่งผมคิดว่าโดนใจหลายคน ที่รู้สึกว่าต้องมีใครสักคนเข้ามาจัดการสิ่งเหล่านี้ พอเชื่อมมาถึงประเด็นแคชเมียร์ เรื่องการยกเลิกมาตรา 370 มันมีการคุยกันมานานแล้วว่า คุณต้องได้ผู้นำแบบไหน ถึงจะทำให้มันเกิดขึ้นจริงได้ ประกอบกับความขัดแย้งที่คุกรุ่นมาเรื่อยๆ
พอประเด็นนี้ถูกชูขึ้นมา มันเลยได้ผล

สิ่งที่ผมงงมากคือ ราหุล คานธี แห่งพรรคคองเกรส นี่เล่นไม่เป็นเลย เสียมวยเลย

:: แคชเมียร์ กับปัญหาสามเส้า ::

สุรัตน์ โหราชัยกุล


ส่วนบนของแคชเมียร์เป็นพื้นที่ระหว่างจีน อินเดีย และปากีสถาน ในส่วนของจีนกับปากีสถาน ตอนนี้มันเป็น Belt and road ไปแล้ว ทีนี้ในมุมมองของอินเดีย ก็รู้สึกว่าในเมื่อมันยังเป็นพื้นที่ขัดแย้งอยู่ แล้วคุณ (จีนกับปากีสถาน) เข้าไป ทำไมฉันถึงจะยกเลิกมาตรา 370 บ้างไม่ได้ล่ะ มันพื้นที่ของฉัน ฉันก็ต้องจัดการสิ ขนาดคุณยังตกลงกันเรื่อง Belt and road ได้เลย

ข้อต่อมา เวลาอินเดียมองเรื่องนี้ เขามองว่ามันคือเรื่องภายในของเขา ฉะนั้นเขาจะจัดการอะไรตรงพื้นที่นี้ก็ได้เหมือนกัน

ถามว่าสถานการณ์ในแคชเมียร์ จะเป็นอย่างไรต่อไป ผมมองว่าปัจจุบันนี้ จากเดิมที่สหรัฐฯ เคยเป็นผู้สนับสนุนทางกองกำลังและอาวุธให้ปากีสถาน ตอนนี้สหรัฐฯ เริ่มถอยไปแล้ว คนที่เข้ามาแทนทั้งหมดคือจีน เราเห็นได้ชัดว่าตอนนี้จีนกับปากีสถานไปด้วยกัน นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่อินเดียรู้สึกโกรธ

ถามว่าขั้นตอนต่อไปคืออะไร สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือ อิมราน ข่าน นายกของปากีสถาน ได้เอาเรื่องนี้ไปฟ้องแล้ว ซึ่งก็คงขึ้นไปสู่ศาล สู่ UN ต่อไป ขณะเดียวกัน ทางอินเดียก็จะยืนกรานว่าฉันไม่สน นี่คือเรื่องภายใน

:: ความขัดแย้งแคชเมียร์ เป็นเรื่องไกลตัว ? ::

สุรัตน์ โหราชัยกุล

ไม่มีเรื่องไหนที่ไกลตัว ทุกวันนี้เราต่างเป็นพลเมืองโลก ถ้ามองมาจากดาวอังคาร เราก็อยู่ในคุกใบเดียวกันนั่นแหละ ตอนมีเรื่องสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ บางคนก็บอกไกลตัว แต่สักพักมันก็เด้งมาโดนเรา หรือเวลาบางประเทศมีปัญหา เครื่องบินลงไม่ได้ ต้องบินอ้อม มันก็กระทบกันหมด ยังไม่นับเรื่องการส่งออก-นำเข้าต่างๆ

ผมคิดว่าที่ไหนก็ตามที่มีความขัดแย้ง เป็นเรื่องน่าเศร้า โดยเฉพาะคนที่เขาได้รับผลกระทบโดยตรง ที่สำคัญคือเหตุการณ์เหล่านี้มีกรณีศึกษาให้เราเสมอ ความขัดแย้งมันเกิดขึ้นได้ยังไง ที่ไหน

แล้วเวลาเราเรียนรู้จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ สุดท้ายมันก็กลายมาเป็นตัวตนของเราในประเทศเราด้วย ว่าเราไม่อยากเป็นแบบนี้ ไม่อยากเป็นแบบนี้ ซึ่งทำให้เราต้องหาวิถีทางที่เราจะปฏิบัติต่อผู้อื่นในประเทศเราด้วย เพื่อที่เราจะอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติ

ฉะนั้น ไม่ว่าเหตุการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้น มันมีนัยยะ มีสิ่งให้เราได้เรียนรู้ได้ตลอด

:: ไทยควรนับอินเดียเข้ามาอยู่ในสมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือยัง ::

สุรัตน์ โหราชัยกุล


สิ่งที่ประเทศไทยควรทำ และต้องทำให้ดีที่สุดเลยก็คือ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่มีมิตรหรือที่ศัตรูถาวร ฉะนั้นไม่ว่ายังไง เราต้องอยู่รอด เราไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับใคร อยู่ตรงไหนกับใครแล้วพัฒนาได้ ก็ไปตรงนั้น ประเทศไทยไม่ได้เป็นศัตรูกับใคร

ถ้าพูดถึงตอนนี้ ในเมื่อความมั่งคั่งมันย้ายมาอยู่ในละแวกนี้ อยู่กับจีน อยู่กับอินเดีย เราควรรักษาความสัมพันธ์ไว้ โดยเฉพาะในเรื่องการค้า จุดเด่นของไทยคือเราไม่ได้มีปัญหากับใคร

:: รัฐบาลอินเดีย มีส่วนส่งเสริมซีรีส์อินเดียยังไง ::

สุรัตน์ โหราชัยกุล

รัฐบาลอินเดียแทบไม่ได้ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นเอกชน มีเรื่องตลกที่คนชอบพูดกันว่า การที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดียก้าวหน้ามาก เป็นเพราะรัฐบาลไม่เข้าไปยุ่ง แต่ถามว่าจริงๆ แล้วรัฐบาลเข้าไปยุ่งบ้างมั้ย ก็มีบ้าง เช่น เรื่องเซ็นเซอร์

ผมมองว่าสาเหตุหนึ่งที่ซีรีส์อินเดียได้รับความนิยมในบ้านเรามาก เป็นเพราะเรามีความรู้เรื่องเทพปกรณัม หรือขนบธรรมเนียมประเพณีของฮินดูหลายๆ อย่าง ขณะเดียวกันเราก็เป็นประเทศพุทธที่ไม่ได้สุดโต่ง ค่อนข้างเปิดรับความเชื่ออื่นๆ ไหว้พระออกจากวัดมาก็แขวนจตุคาม เป็นต้น ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องที่สวยงามนะ

สังเกตโลกทุกวันนี้มันเป็นโลกที่ hybrid หลายอย่างมีความผสมผสานกันอยู่ ซึ่งย่อมดีกว่าอะไรที่สุดโต่งอยู่แล้ว

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save