fbpx

เทคโนโลยีใหม่จาก Adobe: ‘สิ่งที่เห็น’ อาจไม่ใช่ ‘สิ่งที่เป็น’ อีกต่อไป

เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้เล่าถึงเทคโนโลยีอันหนึ่งชื่อว่า Deepfake ที่เป็นการสลับหน้าของคนในวิดีโอด้วยใบหน้าของบุคคลอื่น ยกตัวอย่างเช่นมีวิดีโอของอดีตประธานาธบดี โดนัล ทรัมป์อันหนึ่ง ที่มีคนใช้เทคโนโลยี Deepfake เอาใบหน้าของคนอื่นมาซ้อนทับลงไป ซึ่งมีความเหมือนจริงค่อนข้างมาก แน่นอนว่ามันถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหนังโป๊ที่เอาใบหน้าของบุคคลมีชื่อเสียงไปทับซ้อนกับวิดีโอโป๊ต่างๆ จนทำให้เกิดความเสียหายไม่น้อย

แต่อย่างที่รู้กันว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ยังคงพัฒนาต่อไปไม่มีหยุด ตราบใดที่ไม่มีการออกกฎหมายมาบังคับ ตอนนี้ความก้าวหน้าของมันก็คือ ถ้ามีใครบางคนถ่ายรูปของคุณไป อาจจะเป็นรูปยืนตรงธรรมดาๆ เทคโนโลยี AI สามารถนำเอาภาพจากที่อื่นที่มีท่าทางต่างๆ เช่นกระโดดเหมือนการ์ตูนมาริโอมาผสมเข้ากับรูปของคุณได้ รูปของคุณจากที่ยืนตรงปกติ ก็จะกลายเป็นหน้าตาของคุณ เสื้อผ้าที่คุณใส่ แต่กลายเป็นรูปที่กระโดดเหมือนมาริโอแทน ยกตัวอย่างในรูปนี้เป็นต้น

ที่มาภาพ miro.medium.com

นี่คือเทคโนโลยีที่วิศวกรจาก Adobe กำลังพัฒนาอยู่ในตอนนี้ โดยการฝึกสมองกลที่ชื่อว่า Adobe Sensei ให้เรียนรู้วิธีการปรับแต่งรูปหลังจากถ่ายมาเรียบร้อยแล้ว ทั้งแบบที่เป็นภาพนิ่งและวิดีโอ ข่าวของการพัฒนาเทคโนโลยีปรับแต่งภาพนี้มาจากงาน Adobe Max เมื่อไม่นานมานี้ โดยในงานก็มีการแถลงว่าต่อไปเราจะมี Photoshop / Illustrator บนเว็บกันแล้วด้วย แต่นั่นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะสิ่งที่น่าสนใจคือโปรเจ็กต์ ‘Strike a Pose’ กับ โปรเจ็กต์ ‘Morpheus’ ต่างหากที่น่าจะมีโอกาสสร้างผลกระทบทางสังคมออนไลน์อย่างมาก

โปรเจ็กต์ ‘Strike a Pose’
โปรเจ็กต์ ‘Morpheus’

ทั้งสองโปรเจ็กต์ยังอยู่ในช่วงของการทดลอง แต่ถ้าดูจากเดโมแล้วมันเป็นเทคโนโลยีปรับแต่งรูปภาพที่น่าเหลือเชื่อเลย Morpheus เป็นโปรเจ็กต์ในการปรับแต่งวิดีโอโดยใช้ฟิลเตอร์ สมมติว่าในวิดีโอหนึ่ง ผมทำหน้าบึ้งตลอดเวลา ถ้าจะทำให้ผมยิ้มทั้งคลิปต้องมานั่งแก้ทีละเฟรม ซึ่งการทำแบบนั้นในวิดีโอเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและใช้เวลามาก แต่เทคโนโลยีของ Morpheus สามารถเอาฟิลเตอร์มาทับซ้อนไปได้ทุกเฟรม แล้วปรับให้ผมยิ้มทั้งวิดีโอเลยก็ได้ หรือถ้าอยากเติมหนวดเติมเคราเข้าไปด้วยก็ได้เช่นกัน

ส่วนโปรเจ็กต์ Strike a Pose ดูเป็นอะไรที่น่าเป็นห่วงมากกว่า อย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่าเราสามารถถ่ายรูปแบบยืนตรงธรรมดา แล้วเอามาผสมกับอีกรูปที่ใครก็ได้โพสต์ท่าแบบที่เราต้องการ ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือรูปภาพของเราโพสต์ท่าตามรูปที่เอามาผสมด้วย เอาละ ผมอยากให้ลองนึกภาพตามนิดหนึ่งนะครับ รูปแรกคุณยืนเฉยๆ ส่วนรูปที่สองเป็นรูปที่ใครสักคนโพสต์ท่ากำลังทำเรื่องไม่ดี ผิดกฎหมาย เอาง่ายๆ เช่นขโมยของในห้างสรรพสินค้า แล้วเอามารวมกัน รูปที่ได้ออกมาก็คืออยู่ๆ คุณก็กลายเป็นคนขโมยของในห้างสรรพสินค้าขึ้นมาได้เลยทันที

มีคนเอาเรื่องนี้ไปโพสต์ลงทวิตเตอร์ เสียงแตกออกเป็นสองฝั่งทันที่ บางคนเรียกมันว่า ‘เวทมนตร์’ บางคนบอกเลยว่า ‘นี่มันน่ากังวลสุดๆ เลย’

อย่างที่บอกว่าตอนนี้เทคโนโลยียังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาและไม่มีทางรู้ว่าจะออกมาจริงๆ เมื่อไหร่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เราอย่าลืมว่านี่คือ Adobe พวกเขาเป็นผู้นำเทคโนโลยีปรับแต่งรูปภาพตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา และพวกเขาเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อตั้ง Content Authenticity Initiative (CAI) เพื่อรับมือกับเรื่องความถูกต้องของเนื้อหา เช่น การดัดแปลงวิดีโอ, Deepfake, ข่าวปลอม ฯลฯ

โดยหน้าที่หลักของ ​Adobe คือร่างข้อกำหนดและมาตรฐานในการแก้ไขปัญหานี้ รวมไปถึงแชร์ให้รู้ด้วยว่ามันมาจากที่ไหน เครื่องมือจะช่วยให้เห็นว่าภาพหนึ่งถูกปรับเปลี่ยนมาอย่างไรบ้าง ระบุแหล่งที่มาชัดเจนว่ามาจากใคร เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าเทคโนโลยีอย่าง Strike a Pose จะดูน่ากังวล แต่พวกเขาก็น่าจะมีวิธีการติดรหัสบางอย่างเข้าไปด้วยในรูป เพื่อให้คนทั่วไปเห็นเมื่อใช้โปรแกรม ว่าภาพนี้ถูกดัดแปลงมาหรือเป็นภาพจริงกันแน่

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เมื่อมีการแพร่กระจายของรูปภาพบนอินเทอร์เน็ต ความเสียหายอาจเกิดขึ้นก่อนแล้วกว่าที่ความจริงจะมาเปิดเผยภายหลังว่าเป็นภาพปลอม เพราะฉะนั้นก็ยังถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่ากังวลอยู่ดี มีหลายบทความจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องอันตรายของ ​Deepfake แต่ก็ไม่มีใครหยุดไม่ให้การพัฒนาดำเนินต่อไปได้ ในกรณีนี้ก็คงไม่ต่างกัน

อนาคตที่กำลังจะมาถึง ‘สิ่งที่เห็น’ อาจจะไม่ใช่ ‘สิ่งที่เป็น’ อีกต่อไป ถ้าไม่ได้มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยตาหรืออยู่ในเหตุการณ์จริงๆ


อ้างอิง

The Future of Images Is ‘Trust Nothing’ | by Lance Ulanoff | Oct, 2021 | OneZero

Adobe MAX 2021 technology sneak peeks don’t disappoint | Adobe

https://debugger.medium.com/adobe-photoshop-tears-down-one-last-barrier-a13a4e8bc805

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save