fbpx
Staycation : เที่ยวอยู่บ้าน!

Staycation : เที่ยวอยู่บ้าน!

คุณรู้ไหมว่าเทรนด์ท่องเที่ยวแบบไหนกำลังมาแรงที่สุด

 

ใช่แล้ว เดี๋ยวนี้เทรนด์ท่องเที่ยวแบบ ‘นิยมท้องถิ่น’ กำลังมาแรง แต่คำถามก็คือ แล้วต้องเป็นท้องถิ่นของใครกันล่ะ

คำตอบที่อาจทำให้คุณเลิกคิ้วก็คือ ‘ท้องถิ่น’ ของตัวคุณเองน่ะสิ!

เทรนด์การท่องเที่ยวแบบนี้ (ที่จริงๆ ก็ไม่ใหม่นัก) เรียกว่า Staycation มาจากคำว่า Stay บวกกับคำว่า Vacation ซึ่งฟังดูขัดแย้งกันอยู่สักหน่อย เนื่องจากเวลาเรานึกถึง Vacation เราก็มักจะนึกถึงการเดินทางไปไกลๆ อาจจะไปนอนจิบค็อกเทลอยู่ริมชายหาดที่ไหนสักแห่ง หรือไปเดินป่าเดินเขา หรือไม่ก็ขับรถเที่ยวไปบนเส้นทางสวยๆ ส่วนคำว่า Stay มีความหมายว่า ‘อยู่กับที่’ ซึ่งในที่นี่ก็คือการ ‘อยู่บ้าน’ ด้วยซ้ำไป ดังนั้น Staycation ซึ่งเหมือนการเอาคำสองคำที่มีความหมายขัดแย้งกันมารวมเข้าด้วยกัน

คำว่า Staycation เป็นคำที่นักแสดงตลกชาวแคนาดาชื่อ เบรนต์ บัตต์ (Brent Butt) เป็นคนคิดขึ้นมา เขาพูดคำนี้ในรายการโทรทัศน์ชื่อ Corner Gas ในราวปี 2005 ปรากฏว่ามันกลายเป็นคำ ‘ฮิต’ ในหมู่คนอเมริกันขึ้นมาในอีกปีสองปีให้หลัง เพราะในช่วงปี 2007 เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เรียกว่าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤตนี้กินเวลาหลายปี

ผลลัพธ์ก็คือ-คนไม่มีเงินเที่ยว!

ในอังกฤษ คำว่า Staycation ฮิตขึ้นมาในราวปี 2009 ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กัน ช่วงนั้นค่าเงินปอนด์อ่อนยวบ ทำให้คนอังกฤษไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอย พวกเขาเลยเลือกที่จะไม่ไป Vacation ที่อื่น แต่ Stay อยู่ที่บ้าน จนกลายเป็น Staycation เหมือนกัน

Staycation ก็คือการทำตัวเป็น ‘นักท่องเที่ยว’ ในละแวกบ้านของตัวเอง เช่น เป็นคนกรุงเทพฯ ก็ขอลาหยุดงานเพื่อ ‘เที่ยวกรุงเทพฯ’ นั่นเอง แต่กฎข้อแรกของ Staycation ก็คือการ ‘หยุด’ จริงๆ ด้วยการกำจัดนัดหมายทั้งหลายให้หมด ทำงานที่คั่งค้างให้เสร็จ เหมือนกับเวลาที่จะไปเที่ยวต่างประเทศกันเลยทีเดียว ถ้าเป็นไปได้ก็ปิดโทรศัพท์มือถือ หรือไม่ก็ไปซื้อซิมใหม่มาใช้ชั่วคราว เพื่อไม่ให้ต้องรับรู้กับการถูกตามตัวกลับไปทำงาน รวมไปถึงลดการใช้เน็ต การเช็คอีเมล หรือการใช้เฟซบุ๊กด้วย

Staycation ไม่ได้แปลว่าจะต้อง ‘อยู่บ้าน’ เฉยๆ แต่คือการเปิดโอกาสให้คุณได้ใช้เวลา ‘สำรวจ’ และ ‘มองดู’ ที่ที่เราอยู่ ด้วยสายตาของ ‘คนนอก’ คือเมื่อเราถอนตัวออกจากภาระหน้าที่การงานทั้งหลายทั้งปวงแล้ว เราจะเห็นกรุงเทพฯ ด้วยสายตาอีกแบบ อาจเห็นมีพิพิธภัณฑ์หรือวัดที่เราไม่เคยมีเวลาเข้าไป โดยอาจจะตั้งเป้าไว้ก่อนว่าจะเที่ยวแบบไหน เช่น เที่ยวชมศิลปวัฒนธรรม ชมธรรมชาติ ไปดูประวัติศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เราได้ข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับเมืองที่เราอยู่ในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

Staycation น้ั้นเป็นที่นิยมเพราะให้ประโยชน์หลายด้าน อย่างแรกสุดเลยคือประหยัดเงิน ไม่ต้องมีค่าเครื่องบิน ค่าโรงแรม ค่าเช่ารถ จนทำให้ Forbes เคยมีบทความเกี่ยวกับ Staycation ว่าเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาสภาพเศรษฐกิจได้ เพราะทำให้เงินไหลเวียนในประเทศ แล้วต่อให้เราใช้เงินมากกว่าภาวะปกติในชีวิตประจำวัน ยังไงก็ไม่มากเท่าไปเที่ยวต่างประเทศหรอก

 

ฤดูร้อนปีนี้ ใครยังไม่ได้ซื้อตั๋วไปเที่ยวไหนไกลๆ ลองมา Staycation กันดูเสียหน่อย จะได้ประหยัดตังค์เอาไว้ เผื่อรัฐบาลคิดจะเก็บ VAT เพิ่มขึ้นมาจริงๆ จะได้ยังพอมีเงินเหลือเอาไปช่วยรัฐได้บ้าง!

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save