fbpx

SIDE B อีกเสียงจากที่เขาบอกว่า “บูมเมอร์ชายไทยไม่เอา #สมรสเท่าเทียม”

หลังร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ทั้ง 4 ร่างผ่านการพิจารณารับหลักการวาระแรกในสภา เมื่อ 15 มิถุนายน 2565 คล้ายกับว่าเส้นทางการต่อสู้เพื่อสิทธิของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) จะเข้าใกล้เส้นชัยที่ชื่อความเท่าเทียมขึ้นไปอีกหนึ่งก้าว

แต่ท่ามกลางเสียงสนับสนุนของคนส่วนใหญ่ ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิในความสัมพันธ์และการสมรสของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ จัดทำโดยสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (Thailand Institute of Justice : TIJ) กลับพบว่ากลุ่มชายไทย วัย ‘Baby Boomer’ (อายุ 57-75 ปี) ถึงร้อยละ 63 ‘ไม่เห็นด้วย’ กับการให้สิทธิใดๆ แก่คู่รักหลากหลายทางเพศเทียบเท่าคู่รักชายหญิง คิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงเพศและวัยอื่นๆ

“ทุกวันนี้มีกี่เพศ เป็นเพศ หรือแค่ใจบอบบางไม่ปกติ”

“จะเป็นการสร้างปมให้ลูกหรือไม่”

“ตามกระแส ละคร หนังมีแต่พวกนี้ เพี้ยนกันไปหมด”

เหล่านี้คือความคิดเห็นส่วนหนึ่งจากคนกลุ่มดังกล่าวที่ปรากฏในแบบสำรวจ ซึ่งไม่เพียงแค่แสดงเหตุผลว่าทำไมพวกเขาถึงปฏิเสธกฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่ยังสะท้อนภาพอคติทางเพศที่ยังดำรงอยู่ในสังคมปัจจุบัน

101 จึงชวนคนรุ่นเดียวกันอย่าง พักตร์วิไล สหุนาฬุ นักกิจกรรมความหลากหลายทางเพศ และผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนศีขรภูมิ วัย 58 ปี และกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ ผู้ก่อตั้งและเลขาธิการสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย วัย 65 ปี มาร่วมพูดคุยประสบการณ์ในฐานะกลุ่มคนหลากหลายทางเพศผู้เติบโตมาในยุคปิตาธิปไตยเข้มข้น ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ พร้อมเป็นอีกเสียงที่ยืนยันว่า ไม่ใช่บูมเมอร์ทุกคนที่ไม่เอา #สมรสเท่าเทียม



ผลงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (TIJ) และ The101.world

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save