fbpx
[Advertorial] อยากสร้างนวัตกรรมแค่เรียน Design Thinking ไม่พอ แต่ต้องมีพาร์ทเนอร์ที่เข้าใจธุรกิจด้วย

[Advertorial] อยากสร้างนวัตกรรมแค่เรียน Design Thinking ไม่พอ แต่ต้องมีพาร์ทเนอร์ที่เข้าใจธุรกิจด้วย

 

ในยุคที่องค์กรต่างๆ ต้องหันมาให้ความสำคัญและใส่ใจกับ “ลูกค้า” มากขึ้น แนวคิดการดำเนินธุรกิจโดยให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางจึงเริ่มเป็นที่นิยมไปทั่วโลก และในประเทศไทยเองก็เริ่มมีกระแสนี้มากขึ้นเช่นกัน จนทำให้องค์กรต่างๆ หันมาสนใจที่จะหาแนวคิดหรือกระบวนการที่จะมาช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและ Transform องค์กร

โดยหนึ่งในกระบวนการที่คนทั่วโลกให้การยอมรับและตอบโจทย์แนวคิดที่ว่ามาก็คือ Design Thinking นั่นเอง เพราะเป็นหลักสูตรที่เน้นไปที่การทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง โดยให้ผู้ใช้งานจริงเป็นศูนย์กลางของการหาข้อมูล และนำปัญหาเหล่านั้นมาสร้างสรรค์ ออกแบบ ทดสอบและพัฒนาให้ออกมาเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้ได้อย่างตรงจุด Design Thinking จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

ทำให้ปัจจุบันเกิดหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับ Design Thinking ขึ้นมามากมาย แต่จะดีกว่าไหมถ้านอกจากจะได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ ในคลาสแล้วยังได้ผู้สอนมาเป็นพาร์ทเนอร์สำหรับธุรกิจด้วย!

และหนึ่งในกูรูด้าน Design Thinking ของประเทศไทยก็คือ คุณวิลเลี่ยม มาเหล็ก Executive Academic Director แห่ง SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน และ ยังเคยเป็นผู้บริหารและที่ปรึกษาให้กับบริษัทระดับโลกมากมาย อีกทั้งยังเป็นวิทยากร และที่สำคัญคือคุณวิลเลี่ยมเคยดำรงตำแหน่ง Program Director ให้กับหลักสูตร Stanford Advanced Project Management Program ให้กับ Stanford University สถาบันที่ขึ้นชื่อว่ามีหลักสูตร Design Thinking ที่ดีที่สุดในโลก

และเรื่องราวของหลักสูตร Design Thinking ที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากที่อื่นจะเป็นอย่างไรบ้าง ตามไปอ่านเรื่องราวจากคุณวิลเลี่ยมได้ในบรรทัดต่อไป

 

เราเชื่อว่าคนส่วนใหญ่พอจะรู้จักและเห็นหลักสูตร Design Thinking กันอยู่แล้ว อยากทราบว่าหลักสูตรของทาง SEAC มีอะไรที่แตกต่างจากที่อื่น

อันดับแรกอยากถามว่าคนทั่วโลกหากคิดจะเรียน Design Thinking จะคิดถึงที่ไหนเป็นที่แรก ผมเชื่อว่าสถาบัน d. School แห่ง Stanford จะเป็นชื่อแรกเสมอ เพราะที่นี่ขึ้นชื่อว่าเป็นจุดกำเนิดของหลักสูตรนี้

และโปรแกรม Leading Innovation with DESIGN THINKING หลักสูตรพัฒนานวัตกรรมด้วยการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ได้รับลิขสิทธิ์จาก Stanford Center for Professional Development (SCPD) ที่แรกและที่เดียวในประเทศไทย

และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ เราได้ปรับปรุงหลักสูตรให้เข้ากับบริบทของการทำธุรกิจในประเทศไทย และยังปรับละเอียดลึกลงไปให้เข้ากับธุรกิจของบริษัทที่จะเข้าเรียนกับเราโดยเฉพาะอีกด้วย เพื่อให้ได้หลักสูตรที่สามารถนำ Design Thinking ไปปรับใช้เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นได้จริง

 

หลักสูตรได้รับการรับรองจาก Stanford Center for Professional Development แล้วในส่วนของผู้สอนต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

แน่นอนว่าวิทยากรทุกคนจะต้องได้รับการรับรองจาก Stanford ครับ และความพิเศษในการคัดสรรวิทยาการของเราคือ ต้องรู้ลึกถึง 3 ระดับขั้น เพราะวิทยากรที่มีประสบการณ์และรู้ลึกเนื้อหานั้นถึง 3 ขั้นจะทำให้ผู้เข้าอบรมรู้สึก ว้าว! ว่าอาจารย์ไม่ได้เป็นผู้ถ่ายถอดวิชาความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นคนที่รู้ลึกและรู้จริง สามารถสอนแบบประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของลูกค้าได้ทุกกลุ่ม โดยมีวิธีการถามคำถามที่ชวนคิด

นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้สัมผัสประสบการณ์ที่พิเศษและแปลกใหม่จากการเรียนแบบ Flipped Classroom หรือห้องเรียนกลับด้าน ซึ่งปกติเรามักเห็นอาจารย์เป็นผู้สอนฝ่ายเดียว แต่ที่นี่เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้จริงในห้องเรียน โดยอาจารย์จะคอยตั้งคำถามชวนคิดและมีกิจกรรมให้กับนักเรียนที่เข้าอบรม และมีทั้งวิทยากรภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กันไป นอกจากนี้เราไม่ได้สอนแค่ทฤษฏีเชิงวิชาการเท่านั้น แต่เทรนเนอร์แต่ละคนของเราล้วนเป็นผู้ที่มากด้วยประสบการณ์ในหลากหลายวงการ ที่พร้อมจะแชร์ทั้งความรู้และประสบการณ์ในการทำงานจริง ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่ทรงพลังมาก ที่สำคัญคือ ไม่ได้ยกมาเฉพาะตัวอย่างของต่างชาติ แต่ยังนำเคสที่เกิดขึ้นในเมืองไทยมาแชร์เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้งานได้จริง

 

หมายความว่าหลังจากได้เรียนรู้ทฤษฏีไปแล้ว ยังมีการเรียนรู้แนวทางเพื่อนำไปปฏิบัติได้จริงด้วย

ถูกต้องครับ ต้องขอเล่าแบบนี้ครับว่า Design Thinking เป็นเรื่องของมุมมอง ทัศนคติ และกระบวนการผสมผสานคู่กันไป ฉะนั้นเราจึงต้องเริ่มจากการทำ Deep Dive ที่จะให้แนวทางกับผู้บริหารระดับสูง (C-Level) ในการทำ Corporate Innovation ผ่านกระบวนการ Design Thinking เพราะหากผู้บริหารหรือองค์กรไม่เข้าใจ รับประกันได้ว่าคุณเสียเงินฟรี ลงทุนเรียนไปแบบไม่เกิดผลประโยชน์กับองค์กรอย่างแน่นอน และเมื่อคุณเข้าใจ จนสามารถสร้าง Prototype ขึ้นมาได้ อีกสิ่งที่สำคัญมากๆ คือคุณจะนำเสนออย่างไรให้ Prototype นั้น เกิดเป็นนวัตรกรรมจริงๆ ขึ้นมา เราจึงมีสิ่งที่เรียกว่า Business Case and Story Telling ด้วย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลักสูตร Design Thinking ในท้องตลาดไม่มีสอน

 

 

อยากให้ช่วยขยายความในส่วนของ Deep Dive และ Business Case and Story Telling สักหน่อย

ขอเริ่มที่ Deep Dive นะครับ ต้องบอกว่าวัฒนธรรมองค์กรในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีเรื่องของการเกรงใจกัน มีการรักษาหน้า ไม่กล้าพูดกับหัวหน้าตรงๆ ซึ่งผมมองว่าหากจะเปลี่ยนแปลงตรงนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การทำความเข้าใจในเรื่องของ Design Thinking สามารถเข้ามาช่วยตรงนี้ได้

โดยในช่วงของการ Deep Dive เราจะมีการพูดคุยกับระดับผู้บริหาร และทีมระดับผู้นำของหน่วยนวัตกรรมในองค์กรนั้น เพื่อทำความเข้าใจในหลักสูตร และกระบวนการคิดให้เข้าใจตรงกันก่อน ว่า Design Thinking เป็นเรื่องของการล้มเหลวให้เป็น เพราะฉะนั้นต้องเปิดใจที่จะรับไอเดียใหม่ๆ ทั้งจากลูกน้อง หรือหัวหน้า

คือลูกน้องต้องสามารถที่จะถกเถียงและเสนอไอเดียใหม่ๆ ได้โดยที่หัวหน้าเปิดใจรับฟัง การทำแบบนี้ภายใต้ขอบเขตแนวคิด Design Thinking ก็จะทำให้เกิดการโต้เถียง อย่างสร้างสรรค์นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมได้

เรามองว่าปัญหาใหญ่อีกหนึ่งปัญหาของบุคลากรในประเทศไทยคือเรื่องของการนำเสนอ หลายครั้งที่ทีมงานมีไอเดียที่ดีมากๆ เรียกว่าเป็นไอเดียที่อาจจะช่วยเปลี่ยนแปลงองค์กรได้เลย แต่เขาไม่รู้จะนำเสนอ หรือขายไอเดียให้ผู้บริหารอย่างไร

Business Case and Story Telling จะช่วยให้คนในองค์กรสามารถนำเสนอไอเดียที่จะสามารถชักชวนให้คนสนับสนุนคุณได้ เพราะไอเดียที่ดีหรือสุดยอดขนาดไหน แต่ถ้าไม่สามารถนำมาสู่ตลาดหรือสร้างขึ้นมาให้เป็นจริงได้ มันจะมีค่าเท่ากับศูนย์ และความสามารถของ SEAC คือการทำให้คนในองค์กรสามารถทำไอเดียให้เกิดขึ้นจริงได้

 

 

สุดท้าย SEAC มีทั้งการเตรียมองค์กรให้พร้อมด้วย Deep Dive และมีสอนเรื่องของการนำเสนอ Business Case and Story Telling แต่ในส่วนของการสร้าง “นวัตกรรม” ขึ้นมาจริงๆ SEAC มีตัวช่วยอะไรให้กับบริษัทที่เข้าอบรมบ้าง

เรามีสิ่งที่เรียกว่า Innovation Execution ครับ อธิบายง่ายๆ ว่าหลักสูตรของเราไม่ได้จบแค่การสอน และปล่อยให้บริษัทหรือองค์กรไปทำต่อเอง เมื่อถึงขั้นตอนที่ผู้บริหารเลือกไอเดียที่ดีที่สุดมาแล้ว และต้องการจะสร้างนวัตกรรมนั้นขึ้นมาจริงๆ เพื่อนำออกสู่ตลาด เราจะทำหน้าทีเป็น “พาร์ทเนอร์”

คือนอกจากจะให้คำปรึกษาแล้ว เรายังช่วยวางแผนและลงมือทำควบคู่ไปด้วยจน นวัตกรรมนั้นสามารถเกิดขึ้นและออกไปสู่ตลาดได้สำเร็จ เราเชื่อว่าองค์กรใหญ่ๆ มากมายในประเทศไทยสามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้เอง แต่การที่ SEAC นำเฟรมเวิร์คที่ผ่านการใช้งานกับบริษัทระดับโลกและประสบความสำเร็จมาช่วยวางแผนให้ มันจะช่วยให้องค์กรสามารถลดเวลาในการทำงานได้มาก และมีประสิทธิภาพมากกว่าแน่นอน

ซึ่งจุดแข็งของหลักสูตร Leading Innovation with DESIGN THINKING คือการที่เราไม่ใช่แค่ผู้สอน แต่เราเป็นพาร์ทเนอร์ที่จะช่วยให้คุณสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้จริงๆ

ต้องบอกว่าก่อนหน้านี้หากใครต้องการเรียนหลักสูตร Design Thinking ที่มาจากสถาบัน d.school ของ Stanford คงต้องบินไปไกลถึงสหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันสถาบัน SEAC ได้มีโปรแกรม Leading Innovation with DESIGN THINKING หลักสูตรพัฒนานวัตกรรมด้วยการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ได้รับลิขสิทธิ์จากStanford Center for Professional Development (SCPD) เป็นที่แรกและที่เดียวในประเทศไทย

เรียกว่าเป็นโอกาสที่ดีขององค์กรในประเทศไทยที่จะสามารถส่งทีม Innovation ของตัวเองไปเรียนรู้ Design Thinking จากหลักสูตรที่ได้รับมาตรฐานระดับโลกที่องค์กรทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้าง Disruptive Innovation

โอกาสพิเศษสุดสำหรับองค์กรที่กำลังมองหาแนวทางในการสร้างนวัตกรรม  แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร
คุณวิลเลี่ยม มาเหล็ก Executive Academic Director แห่ง SEAC พร้อมจัด Exclusive Design Thinking Deep Dive เพื่อบรรยายและร่วมเสวนากับองค์กรที่สนใจ โดยสามารถลงทะเบียนหรืออ่านรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/seacdt3 หรือติดต่อคุณปุณณมา โทร. 096-065-1647

 


SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน

MOST READ

Economy

15 Mar 2018

การท่องเที่ยวกับเศรษฐกิจไทย

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ตั้งคำถาม ใครได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวบูม และเราจะบริหารจัดการผลประโยชน์และสร้างความยั่งยืนให้กับรายได้จากการท่องเที่ยวได้อย่างไร

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

15 Mar 2018

Economy

23 Nov 2023

ไม่มี ‘วิกฤต’ ในคัมภีร์ธุรกิจของ ‘สิงห์’ : สันติ – ภูริต ภิรมย์ภักดี

หากไม่เข้าถ้ำสิงห์ ไหนเลยจะรู้จักสิงห์ 101 คุยกับ สันติ- ภูริต ภิรมย์ภักดี ถึงภูมิปัญญาการบริหารคน องค์กร และการตลาดเบื้องหลังความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจสิงห์

กองบรรณาธิการ

23 Nov 2023

Economy

19 Mar 2018

ทางออกอยู่ที่ทุนนิยม

ในยามหัวเลี้ยวหัวต่อของบ้านเมือง ผู้คนสิ้นหวังกับปัจจุบัน หวาดหวั่นต่ออนาคต และสั่นคลอนกับอดีตของตนเอง
วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร เสนอทุนนิยมให้เป็น ‘grand strategy’ ใหม่ของประเทศไทย

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

19 Mar 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save