fbpx
Real Fake News : ข่าวลวงจริงๆ!

Real Fake News : ข่าวลวงจริงๆ!

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อทรัมป์ต้องรับมือกับนักเขียน ‘Fake News’ ตัวพ่อ

 

ดูเหมือนว่า ‘ทรัมป์’ ยังตั้งหน้าตั้งตาเปิดสงครามกับสื่ออย่างต่อเนื่องนะครับ โดยพุ่งเป้าไปที่ ‘Free media’ ทั้งหลายที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของเขา ว่าสื่อเหล่านั้นเป็นผู้ผลิต ‘Fake News’ หรือข่าวลวง

ล่าสุดแกออกมาทวีตว่า “พวกสื่อเหล่านี้ไม่ใช่ศัตรูของผม แต่เป็นศัตรูของชาวอเมริกัน!” โดยมีการเมนชั่นถึงสื่อและคอลัมนิสต์หลายคนด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ ‘Borowitz Report’ คอลัมน์เสียดสีสุดฮอตจาก The New Yorker

แอนดี้ โบโรวิตซ์ (Andy Borowitz) คือผู้เขียนคอลัมน์ดังกล่าว เขาเป็นนักข่าว-คอลัมนิสต์รุ่นเก๋า ที่โดดเด่นในการเอาประเด็นที่น่าสนใจ มาเขียนเป็นรายงานสั้นๆ แบบเสียดสี ภายใต้รูปแบบการเขียนข่าวที่น่าเชื่อถือ ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ โบโรวิตซ์ใช้วิธีพาดหัวแบบ Clickbait เพื่อดึงดูดความสนใจ ทำให้ในแต่ละโพสต์นั้นมียอดไลก์ยอดแชร์มากมาย

ตลกร้ายก็คือมีคนจำนวนไม่น้อยดันคล้อยตามไปกับพี่แกซะอย่างนั้น และหลงเชื่อว่านั่นเป็นข่าวจริงๆ เรียกว่าถ้าใครไม่รู้จักคอลัมน์นี้มาก่อน และอ่านแบบไม่ละเอียด ก็มีสิทธิ์ที่จะโดนหลอกเอาง่ายๆ

และไม่น่าเชื่อว่าคนอย่าง โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำแห่งสหรัฐอเมริกา ก็ดันหลงเชื่อไปกับเขาด้วย!

แต่นั่นก็ยังไม่พีคเท่ากับการที่มีสำนักข่าว ‘ระดับโลก’ บางหัวที่เอาข้อเขียนของโบโรวิตซ์ไปแปล และอ้างอิงเป็นข่าวอย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือสำนักข่าว Xinhua ของจีน ซึ่งเคยเอาข้อเขียนของแกไปลงเป็นข่าวหน้าหนึ่งอยู่หลายครั้ง

โบโรวิตซ์เล่าว่าตอนที่เขารู้เรื่องนี้ เขาไม่รู้ว่าจะดีใจหรือเสียใจดี แต่ที่แน่ๆ เขารู้สึกเห็นใจประชาชนชาวจีนที่ได้อ่านข่าวในเช้าวันนั้นอย่างบอกไม่ถูก…

ส่วนกรณีล่าสุดที่ทรัมป์เมนชั่นถึงเขาในทวิตเตอร์ เขาได้เขียนโต้ตอบผ่านเฟซบุ๊กของตัวเองว่า “เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ขอบคุณที่ช่วยยืนยันว่าเขาเขียนข่าวลวงจริงๆ!”

งานนี้จึงกลายเป็นตลกร้ายซ้อนตลกร้ายที่ทำเอาหลายคนฮากลิ้ง น่าคิดเหมือนกันว่าในยุคสมัยแห่งการช่วงชิงความจริงหรือที่เรียกกันว่า ‘Post-truth’ นั้น หนึ่งในวิธีการนำเสนอความจริงให้น่าเชื่อถือ อาจคือการทำให้มันดู ‘ไม่จริง’ ที่สุดนั่นเอง

 

อ่านเพิ่มเติม

-คลิปวิดีโอ Real Fake News จาก The New Yorker, 

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

9 Mar 2018

สีจิ้นผิงมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?

อาร์ม ตั้งนิรันดร วิเคราะห์เส้นทางการเมืองของสีจิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีนที่สามารถรวบอำนาจมาอยู่ในมือได้สำเร็จเด็ดขาด สีจิ้นผิงมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? และสุดท้ายเขาจะพาจีนพังกันหมดหรือไม่?

อาร์ม ตั้งนิรันดร

9 Mar 2018

World

17 Jul 2020

ร่วมรากแต่ขัดแย้ง ความบาดหมางระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย

อรอนงค์ ทิพย์พิมล เขียนถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่ทั้งสองประเทศมีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่าง จนนำไปสู่ความขัดแย้งในการช่วงชิงความเป็นเจ้าของภาษาและวัฒนธรรมมลายู

อรอนงค์ ทิพย์พิมล

17 Jul 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save