fbpx
จีนกับเศรษฐกิจ QR Code

จีนกับเศรษฐกิจ QR Code

อาร์ม  ตั้งนิรันดร เรื่อง

 

คนจีนในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องถือกระเป๋าสตางค์กันแล้วครับ ขอแค่มีสมาร์ทโฟนติดตัวสักเครื่อง เวลาจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการนอกบ้าน ก็ให้ร้านค้าสแกน QR Code จากสมาร์ทโฟน เพื่อชำระเงินค่าสินค้าและบริการ

เมื่อปีที่แล้ว ชาวจีนใช้จ่ายเงินด้วยสมาร์ทโฟนคิดเป็นเงิน 38 ล้านล้านหยวน (5.5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) คิดเป็นจำนวนเงินกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศจีนเลยทีเดียว มูลค่าการใช้จ่ายผ่าน Mobile Payment ในจีน สูงกว่าในสหรัฐอเมริกา 50 เท่า

โดยเฉลี่ย คนจีนจะสแกน QR Code 10 – 15 ครั้ง ต่อวัน อาจกล่าวได้ว่าคนจีนที่มีสมาร์ทโฟน (มีอยู่ราว 550 ล้านคน) คุ้นเคยกับโลกรอบตัวที่เต็มไปด้วย QR Code

ประวัติของ QR Code

 

QR Code เริ่มใช้ครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นเทคโนโลยี Barcode 2 มิติ เป็นภาพจุดดำกระจัดกระจายบนกรอบสี่เหลี่ยมสีขาว  QR คือตัวย่อของคำว่า Quick Response เพราะ QR Code จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าและอ่านข้อมูลได้เร็วกว่า Barcode ปกติถึง 10 เท่า

แต่เดิม QR Code ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ในญี่ปุ่น เพื่อเก็บและประมวลข้อมูลภายในคลังสินค้าด้วยการสแกน QR Code ที่ตัวสินค้า ต่อมาในช่วง ค.ศ. 2000 สมาร์ทโฟนในญี่ปุ่นเริ่มมีฟังก์ชันสามารถอ่าน QR Code ได้ ธุรกิจในญี่ปุ่นหลายแห่งจึงเริ่มมีการใช้ QR Code เพื่อโฆษณาและให้ข้อมูลสินค้า

ในเมืองจีน ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจ Mobile Payment ทั้ง Alipay ของอาลีบาบา และ Wechat Pay ของเครือ Tencent ล้วนนำเทคโนโลยี QR Code มาใช้ โดยคนจีนเมื่อเปิดบัญชี Alipay หรือ Wechat Pay (ผูกเข้ากับบัญชีธนาคาร) ก็จะได้ QR Code ของตัวเอง เมื่อจับจ่ายใช้สอยสินค้าตามร้านค้า ก็เพียงแต่เปิด QR Code ในมือถือของตนให้เจ้าหน้าที่แคชเชียร์สแกน ก็จะสามารถชำระเงินได้ทันที

ส่วนถ้าเป็นร้านค้าแผงลอยเล็กๆ ข้างทางที่ไม่ได้ติดตั้งเครื่องสแกน QR Code ตัวเจ้าของร้านก็จะยื่น QR Code ของบัญชี Alipay หรือ Wechat Pay ของตนให้ลูกค้า เมื่อลูกค้าหยิบมือถือขึ้นมาสแกน QR Code ดังกล่าว ก็สามารถสั่งจ่ายเงินเข้าบัญชีของเจ้าของร้านได้ทันที

 

เมื่อ QR Code สร้างวัฒนธรรมใหม่

 

ลองดูตัวอย่างที่น่าสนใจเหล่านี้ดูครับ

  • ร้านอาหารให้พนักงานแขวนป้าย QR Code ของแต่ละคน ลูกค้าสามารถสแกน QR Code ของพนักงาน เพื่อให้ทิปได้
  • เจ้าสาวแขวนป้าย QR Code ของตน เพื่อให้แขกที่มาร่วมงานสแกนและให้เงินเป็นของขวัญแก่เธอโดยตรง (สุดท้ายเลยทะเลาะกับแม่สามีที่คาดหวังว่าจะเป็นผู้รับซองของขวัญในงานแต่งงาน)
  • ขอทานพิการในจีนแขวนป้าย QR Code  ผู้ที่ต้องการให้เงินช่วยเหลือเขา สามารถสแกน QR Code จ่ายเงินได้ทันที
  • QR Code ยังช่วยให้เกิดธุรกิจใหม่หลากหลายรูปแบบในจีน เช่น ธุรกิจเช่าจักรยาน เมื่อสแกน QR Code ที่ติดอยู่ที่จักรยานและชำระเงิน ก็จะได้รหัสเพื่อปลดล็อคจักรยานคันนั้นโดยอัตโนมัติ
  • แม้แต่การแจกแต๊ะเอียในช่วงตรุษจีน ปัจจุบันคนจีนก็ใช้วิธีสแกน QR Code ส่งเป็นแต๊ะเอียอิเล็กทรอนิกส์แทน ในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา มีการส่งแต๊ะเอียอิเล็กทรอนิกส์รวม 46,000 ล้านซอง พอใกล้ๆ ตรุษจีน ชาวจีนจะแชร์ QR Code ของตนในโซเชียลมีเดีย พร้อมลุ้นว่าปีนี้จะได้แต๊ะเอียอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ใหญ่ใจดีกี่ซอง

เป็นคำถามที่น่าคิดนะครับว่า QR Code ทำให้คนจีนสมัยใหม่มีความเข้าใจคุณค่าของ “เงิน” และมีพฤติกรรมการใช้เงินแตกต่างจากเดิมหรือไม่? หลายคนมองว่า คนจีนยุคใหม่จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพราะการจ่ายเงินสุดแสนจะง่ายแค่ปลายนิ้ว จะจ่ายเงินจำนวนสูงๆ ก็คลิกเดียวจบ ไม่ต้องมานั่งนับธนบัตร (พร้อมพยายามข่มใจระงับกิเลส) เช่นในอดีต

สำหรับคนจีนสมัยใหม่ เงินไม่ได้มีไว้เพียงจับจ่ายใช้สอย แต่ยังมีไว้ใช้สร้างสัมพันธ์กับคนรอบตัวด้วย ใครเคยให้ความช่วยเหลือหรือทำอะไรถูกใจ ก็สามารถตอบแทนหรือตบรางวัลได้ทันที

หลายคนยังตั้งข้อสังเกตว่า คนจีนสมัยใหม่สามารถแชร์ค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายในกลุ่มเพื่อนด้วยกันได้ง่ายขึ้น ไม่มีแล้วที่จะมีพ่อบุญทุ่มเลี้ยงเขาไปทั่ว เพราะการโอนเงิน (และทวงเงิน) สะดวกรวดเร็ว เพียงแค่ยื่น QR Code ของตนให้อีกฝ่ายสแกนเพื่อส่งเงินให้ก็จบ

เมื่อไม่ได้ใช้จ่ายด้วยเงินสด ทำให้สามารถตรวจสอบบัญชีของตนเองได้ว่า ใช้เงินไปเมื่อไรอย่างไรบ้าง ส่วนในระดับร้านค้าหรือธุรกิจ (รวมทั้งตัว Alipay และ Wechat Pay เอง) ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Big Data ประมวลข้อมูลผู้บริโภคมหาศาล และทำการวิเคราะห์ว่าผู้บริโภคกลุ่มใด ชอบสินค้าหรือบริการแบบใด มีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยอย่างไร

 

QR Code และ New Retail ในจีน

 

ในจีน นักธุรกิจใหญ่ๆ หลายคนมักพูดถึงแนวคิด “New Retail” โดยมองว่า การค้าปลีกยุคใหม่จะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างโลกออนไลน์และร้านค้าออฟไลน์อย่างสมบูรณ์

E-Commerce ในโลกออนไลน์ไม่สามารถแทนที่ร้านค้าออฟไลน์ได้ เพราะคนยังต้องการเดินเล่นตามห้างสรรพสินค้า ต้องการดูสินค้าจริง ต้องการสัมผัสและทดลองสินค้า แต่ในขณะเดียวกันหลายคนก็ชอบความสะดวกสบายของการสั่งซื้อสินค้าในโลกออนไลน์ ถ้าการสั่งซื้อทำได้ง่าย จ่ายเงินสะดวก และจัดส่งรวดเร็ว

นอกจากการใช้ QR Code ในการรับชำระเงินแล้ว ธุรกิจต่างๆ ในจีนยังใช้ QR Code เพื่อเชื่อมร้านค้าเข้ากับหน้าเว็บ ดังนั้น ตามร้านค้าต่างๆ จะมี QR Code ให้สแกน เพื่อให้ add ติดตามร้านค้าใน Wechat หรืออาจให้สแกน QR Code เพื่อนำสู่หน้าเว็บสั่งสินค้าออนไลน์ ลูกค้าอาจมาดูสินค้าตัวจริงที่ร้าน แต่สามารถเดินออกจากร้านตัวเปล่าไม่ต้องแบกของพะรุงพะรัง แล้วค่อยกดสั่งออนไลน์ให้ไปส่งถึงบ้าน

อนาคตของ QR Code ในประเทศอื่นๆ

 

QR Code เป็นที่นิยมอย่างสูง และมีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนจีนตั้งแต่เช้าจรดค่ำดังที่กล่าวมา เช่นเดียวกัน QR Code ก็ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แม้อาจไม่ถึงกับในระดับเดียวกับจีน

แต่ QR Code ไม่เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาหรือในยุโรป เพราะคนที่นั่นยังนิยมใช้จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ผู้บริโภคจำนวนมากมีบัตรเครดิต แตกต่างจากในจีนและในหลายประเทศในเอเชีย ซึ่งมีเพียงคนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นที่มีบัตรเครดิต นอกจากนั้น App ที่เป็นที่นิยมของสหรัฐอเมริกา เช่น Facebook Whatsapp หรือ ระบบการจ่ายเงินของ Apple Pay ก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับ QR Code ดังเช่นตัว AliPay หรือ Wechat ของจีน

มีข่าวว่า EMVCo ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มผู้ให้บริการระบบชำระเงินยักษ์ใหญ่ของโลก ประกอบด้วย MasterCard, Visa Inc. และ China Union Pay Co. ได้ร่วมกันวางมาตรฐานสากลในการชำระเงินด้วย QR Code สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งน่าจะส่งผลให้มีการส่งเสริมระบบการชำระเงินด้วย QR Code ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นในประเทศต่างๆ

โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน ตอนนี้วงการฟินเทคของไทยก็กำลังพัฒนา และอาจก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วเมื่อถึงจุดหนึ่ง

ไม่แน่ ไทยเองก็อาจกลายเป็นเศรษฐกิจ QR Code ในอนาคตอันใกล้

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save