fbpx

PRESSCAST EP.27 : ‘ความเป็นธรรมสำคัญกว่าความเป็นกลาง’ สนิทสุดา เอกชัย

“ถ้าเรายังเป็นสื่ออยู่ในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ ไม่ยุติธรรม ไม่เท่าเทียม สื่อมีหน้าที่ที่ต้องเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนที่โดนทำร้าย คนที่โดนกดขี่ คนที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เพราะความเป็นธรรมสำคัญกว่า” 

ตลอด 30 ปีของการทำงานสื่อมวลชน ‘สนิทสุดา เอกชัย’ อดีตบรรณาธิการบทความ และบรรณาธิการเซ็คชั่น Outlook แห่ง Bangkok Post ผลิตเนื้อหาสารคดีที่สื่อสารประเด็นสิทธิมนุษยชนออกมาให้คนอ่านได้ทำความเข้าใจสังคมไทยได้อย่างแหลมคม และเปิดมุมมองใหม่ๆ ในสังคม ตั้งแต่ช่วงปี 2530 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงงานพม่า วิถีชีวิตชนบทในอีสานและภาคใต้ สิทธิสตรี ไปจนถึงประเด็นในพุทธศาสนา และต่อมายังได้รวมเล่มเป็นหนังสืออย่าง VOICES FROM THE ESAN (2531), เยียวยาแผ่นดิน (2549) ด้วย

ในยุคที่หลายคนมองเห็นการทะลุเพดานของสื่อและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ส่งผลมาถึงการทำงานสื่อ รายการ Presscast จึงชวนอดีตบรรณาธิการ Bangkok Post มาเล่าประสบการณ์ทำงานในแวดวงสื่อมวลชนตลอด 3 ทศวรรษ และมองความเปลี่ยนแปลงของวงการสื่อไทยในยุคที่ใครๆ ก็บอกว่าธุรกิจสื่ออยู่ในช่วงขาลง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความก้าวหน้าใหม่ๆ เกิดขึ้นในวงการ

MOST READ

Media

5 Aug 2020

101 One-On-One Ep.167 : Inconvenient Truths การเมืองไทย กับ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

คุยกับพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ว่าด้วยวิกฤตสุขภาพ สู่วิกฤตเศรษฐกิจ ถึงวิกฤตการเมืองและรัฐธรรมนูญ

‘ทิม’ อ่านวิกฤตเศรษฐกิจการเมืองรอบนี้อย่างไร และอะไรคือข้อเสนอของเขาและพรรคก้าวไกลต่อสังคม

101 One-on-One

5 Aug 2020

Media

21 Dec 2018

พี่ๆ ข่มขืนหนูซ้ำทำไม?

คุณว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงไม่กล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม? คุณเคยตั้งคำถามหรือมีอคติกับผู้ที่เป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศหรือเปล่า? ทำไม การถามเหยื่อว่า “ทำไมแต่งตัวแบบนั้น ถึงเป็นคำถามท่ี่ไม่ควรถาม?” การตั้งคำถามแบบไหน ที่ช่วยฟื้นฟูจิตใจเหยื่อ?

กองบรรณาธิการ

21 Dec 2018

Media

6 Mar 2018

ทำไมคนไทยขี้โกง ?

คุณว่า…คุณเป็นคนดีอย่างที่คิดจริงหรือ?
คุณเลือกที่จะขโมยของเพื่อช่วยแม่ที่กำลังป่วยอยู่หรือไม่ ?
คุณจะเลือกจ่ายเงินช่วยลูกให้พ้นความผิดหรือเปล่า ?
ความดีกับคนดีแตกต่างกันยังไง ?
ทำไมคนไทยมีสถิติบริจาคเงินสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก แต่กลับไม่ชอบเป็นอาสาสมัคร ?
ทำไมสถิติการจ่ายค่าแป๊ะเจี๊ยะในประเทศไทยสูงขึ้น 16 เท่า ?
เก็บคำตอบของคุณไว้ในใจ และอย่าเพิ่งบอกใคร ถ้าคุณยังไม่ได้ดูคลิปนี้
ร่วมไขปริศนา “ทำไมคนไทยขี้โกง ?” ผ่านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมด้วยการทดลอง

กองบรรณาธิการ

6 Mar 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save