fbpx

แช่แข็งทักษะศตวรรษที่ 21  

การศึกษาที่มอบความรู้จำนวนมากไม่มีประโยชน์ การศึกษาสมัยใหม่ควรมอบทักษะศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะเรียนรู้ ทักษะชีวิต และทักษะไอที

วิชาความรู้มิได้มีประโยชน์มากนักเพราะเราไม่รู้เลยว่าเด็กๆ กำลังจะเติบโตไปพบอะไร ทำงานอะไร ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ที่สำคัญกว่าวิชาความรู้จึงเป็นเรื่องหลักการทั่วไปและเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ การเงิน สิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกับความแตกต่าง

เด็กคนหนึ่งถูกละเมิดทางร่างกายและเพศในที่สาธารณะ

เด็กคนหนึ่งถูกทำร้ายถึงชีวิตเพราะแสดงออกทางความคิดที่แตกต่างในที่สาธารณะ

ในสังคมศิวิไลซ์ ชีวิตเด็กควรได้รับการคุ้มครองโดยไม่มีเงื่อนไขก่อน เรื่องอื่นไว้คุยกันทีหลัง

เรื่องความเฉยชาของสังคมโดยรวมต่อการละเมิดเด็กและสตรีทางร่างกาย ทั้งในโรงเรียน ในบ้าน ในโรงงานหรือออฟฟิศสมัยใหม่ เป็นเรื่องหลักการทั่วไปและเรื่องพื้นฐานด้านสุขภาพ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศควรรู้ว่าการละเมิดเด็กทั้งทางร่างกายและเพศเป็นเรื่องกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจของเด็กโดยตรง ส่งผลต่ออนาคตของเด็ก และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมด้วยในบางกรณี เป็นเรื่องยอมรับมิได้ และเป็นเรื่องที่ต้องแทรกแซงด้วยอำนาจทางกฎหมาย

เรื่องเด็กแสดงความคิดเห็นต่าง แม้ว่าเป็นจะบนท้องถนน ชีวิตเด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองและป้องกันเสมอ โดยไม่เกี่ยวว่าเขาแสดงความคิดเห็นอะไรหรือใช้วิธีไหน เรื่องที่ตรงประเด็นคือเขาถูกทำร้ายถึงแก่ชีวิต กฎหมายจึงควรแทรกแซงและปฏิบัติการ เรื่องนี้อยู่ในหมวดหลักการทั่วไปและเรื่องพื้นฐานเรื่องการอยู่ร่วมกับความแตกต่าง เพราะเราไม่อาจจะปิดกั้นความเห็นต่างได้เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาวิธีอยู่ด้วยกันโดยไม่ฆ่ากันให้ได้

จะไม่มีใครปลอดภัยถ้าทุกคนไม่ปลอดภัย

ในอดีตที่ผ่านมามีการละเมิดเด็กในที่สาธารณะหลายครั้ง ทุกครั้งเป็นข่าววูบหนึ่งแล้วหายไป ไม่เกิดอะไรกับการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายและการบริหาร อีกทั้งมีการทำร้ายเยาวชนเพราะคิดเห็นต่างในที่สาธารณะหลายครั้ง มีการจับกุมดำเนินคดีอยู่เรื่อยๆ โดยที่กระบวนการทางกฎหมายดำเนินไปอย่างเชื่องช้า

การแสดงความคิดเห็นต่างเป็นทักษะเรียนรู้ที่สำคัญต่อจากการคิดวิพากษ์ กล่าวคือ

1. คิดวิพากษ์

2. แสดงความคิดเห็น

3. แสวงหาความร่วมมือ

และ 4. สร้างนวัตกรรม

ทุกท่านก็ทราบดีว่าเราจะพัฒนาประเทศด้วยระบบราชการที่แข็งตัวเช่นวันนี้มิได้ เราจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดาที่เราอยากได้การเปลี่ยนแปลงที่ละมุนละม่อม ค่อยพูดค่อยจา อดทนรอคอย แต่ในความเป็นจริงเราห้ามคนรุ่นใหม่มิได้ มิใช่เพราะเขาเลือดร้อนแต่เป็นเพราะสมองของพวกเขาเกิดและเติบโตมาในโลกที่มีไวไฟ อินเทอร์เน็ตไร้สาย และข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลเวียนไปมาระหว่างประเทศอย่างรวดเร็วและสกัดกั้นได้ยาก

พวกเขาเห็นญี่ปุ่นและเกาหลี เห็นเยอรมนีและสแกนดิเนเวีย เขาเห็นความเจริญของสังคมอื่น ความมั่นคงของชีวิต และความหวังของอนาคตที่ดีกว่า ในขณะที่คนรุ่นก่อนหน้านี้ไม่เคยเห็น พวกเขาบินโลว์คอสต์ไปเห็นรถไฟที่อื่นด้วยตา บ้านเมืองสวยงาม สิ่งแวดล้อมเป็นมิตร สังคมประชาธิปไตย และสวัสดิการของรัฐที่ดี พวกเขาเห็นการจ่ายภาษีที่มากขึ้นแต่เป็นธรรมด้วย ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้เราปิดกั้นเขามิได้ จะฆ่าหมดประเทศก็มิได้ด้วย เพราะเกิดใหม่ทุกวัน

ความขัดแย้งวันนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากเรายังไม่มีทักษะศตวรรษที่ 21 รอบด้านและเพียงพอ ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากเรายังเอ็กเซอร์ไซส์ประชาธิปไตยกันไม่มากพอและไม่นานพอ มีเรื่องแทรกแซงให้เราสะดุดอยู่เรื่อยๆ บางครั้งการพัฒนาสังคมประชาธิปไตยก็เหมือนการพัฒนาเด็กเล็ก เราจำเป็นต้องปล่อยให้เด็กๆ ล้มลุกคลุกคลานโดยไม่แทรกแซง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นมากต้องคืนอำนาจการจัดการตนเองให้แก่ท้องถิ่นเพื่อจะได้เอ็กเซอร์ไซส์วิธีบริหารงานเพื่อบริการประชาชนในพื้นที่ของตัวเอง

นอกจากแช่แข็งประชาธิปไตย เรายังแช่แข็งการศึกษา 

เสียงโอดครวญจากพ่อแม่สมัยใหม่จำนวนมากถึงการศึกษาที่ไร้ประสิทธิภาพวันนี้ ไม่ดีพอสำหรับการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีความหมายว่าไม่ดีพอสำหรับการรับมือดิสรัปชันด้วย มากกว่านี้คือเสียงโอดครวญจากการเรียนออนไลน์ที่ไร้ประสิทธิภาพ จนถึงวันนี้ยังไม่เห็นความพยายามที่จะกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้ส่วนท้องถิ่นหรือโรงเรียน

เรียนจบปริญญาตรีวันนี้ พรุ่งนี้ก็ถูกดิสรัปต์ได้แล้ว

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Education

20 Jul 2023

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในวิกฤต (?)

ข่าวการปรับหลักสูตรของอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชวนให้คิดถึงอนาคตของการเรียนการสอนสายมนุษยศาสตร์ เมื่อตลาดแรงงานเรียกร้องทักษะสำหรับการทำงานจริง จนมีการลดความสำคัญวิชาพื้นฐานอันเป็นการฝึกฝนการวิเคราะห์วิพากษ์เพื่อทำความเข้าใจโลกอันซับซ้อน

เสียงเล็กๆ จากประชาคมอักษร

20 Jul 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save