fbpx
กวาดสัญญาณทางยุทธศาสตร์ 2565 ตอนที่ 1: การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน

กวาดสัญญาณทางยุทธศาสตร์ 2565 ตอนที่ 1: การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน

เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ภาพอนาคต (strategic foresight) ขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งขั้นตอนแรกคือ ‘การกวาดสัญญาณทางยุทธศาสตร์’ (Strategic Intelligence Scanning – SIS) ซึ่งจะทำให้เราสามารถสกัดเอาเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญที่จะส่งผลต่ออนาคต (good events) ออกจากเหตุการณ์ปกติที่ดำเนินต่อไปโดยไม่มีนัยสำคัญได้ ในบทความนี้ผู้เขียนขอจำแนก good events ที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณาในการกวาดสัญญาณทางยุทธศาสตร์ออกเป็น 5 มิติ ได้แก่

1) การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของเทคโนโลยี (disruptive Technology)

2) ระบบโลจิสติกส์ที่ยังคงได้รับผลกระทบจาก COVID-19

3) ห่วงโซ่มูลค่าระดับนานาชาติ (GVCs) ที่กำลังฟื้นตัวในรูปแบบและมาตรฐานใหม่

4) วิถีชีวิตใหม่ (new normal) ที่ซับซ้อนไร้รูปแบบและไม่เหมือนเดิม

5) ปัจจัยสังคมและเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกัน (socio-economic)

ข่าวดีที่ถือเป็นโอกาสในโลกดิจิทัล คือโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะเข้ามาเปิดพรมแดนใหม่ เปิดโอกาสใหม่ และสร้างตลาดในโลกดิจิทัล ได้เกิดขึ้นมาอย่างครบถ้วนทุกองค์ประกอบ นั่นคือ ระบบกรรมสิทธิ์ การรับรองการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ ระบบการชำระเงิน และตลาด โดยทั้ง 4 องค์ประกอบเกิดขึ้นจาก 4 เทคโนโลยี นั่นคือ

1) blockchain ที่ทำให้การทำธุรกรรมบนโลกไซเบอร์ได้รับการรับรอง (certified) โดยไม่มีใครสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมิชอบ

2) ระบบการชำระเงินผ่าน cryptocurrency (เงินสกุลดิจิทัลในรูปแบบ decentralized ซึ่งไม่มีการควบคุมโดยระบบธนาคารกลางและรัฐ) และ digital currency (เงินสกุลดิจิทัลที่ออกใช้และมีการควบคุมโดยระบบธนาคารกลางและรัฐ) จะเป็นมาตรฐานใหม่ของระบบชำระเงิน

3) เทคโนโลยี non-fungible token (NFT) จะทำให้การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินดิจิทัลต่างๆ เกิดขึ้นได้

4) ตลาด (market place) ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะมาพบกันโดยไม่ต้องพบกันทางกายภาพ แต่พบกันได้ผ่านระบบ augmented reality (AR) และ virtual reality (VR) จะเกิดขึ้นได้จริงบนโลกเสมือนที่เรียกว่า Metaverse ซึ่งถือเป็นพรมแดนใหม่ ตลาดใหม่บนโลกไซเบอร์ นั่นหมายถึงโอกาสใหม่ที่จะเชื่อมโยงกับตลาดในโลกกายภาพเดิม ในรูปแบบ cyber-physical system

แต่ในขณะเดียวกันโลกเสมือนที่เป็นตลาดใหม่ โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เหล่านี้ ก็ทำให้พวกเราต้องการระบบประมวลผลที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นั่นทำให้ยุคหลังดิจิทัล (post-digital) ที่ทุกคนเฝ้ารอการมาถึงของ Quantum 2.0 ถูกพัฒนาขึ้นด้วยอัตราเร่ง และจะเข้ามาแทนที่ระบบประมวลผลแบบเดิมๆ ดังนั้นความท้าทายต่อประเทศไทยก็คือ คนไทยมีองค์ความรู้ในสาขา Quantum Information Science (QIS) มากแค่ไหน ผู้บริโภคและผู้ผลิตชาวไทยมีความพร้อมทางเทคโนโลยีเพียงใด เรามีความฉลาดรู้ทางดิจิทัล (digital literacy) และการคิดวิเคราะห์ในรูปแบบ critical thinking เพื่อให้คนไทยสามารถป้องกันตนเองจาก cyber-crime และ cyber attack และใช้ประโยชน์จากโลกไซเบอร์เต็มที่พอหรือยัง

ถ้าเราเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างดี โดยผู้นำและรัฐบาลร่วมกับภาคเอกชนที่มีวิสัยทัศน์ สร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้ ในช่วงที่เทคโนโลยี Quantum ยังอยู่ในจุดเริ่มต้นที่ทุกประเทศเริ่มต้นบนพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน โอกาสในการกำหนดตำแหน่งของประเทศไทยในเทคโนโลยีดังกล่าวก็จะคล้ายคลึงกับในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1980s ที่ไต้หวันที่เริ่มต้นลงทุนในอุตสาหกรรม semiconductor หรือในช่วงเวลาเดียวกันที่เอสโตเนียเริ่มวางวิสัยทัศน์ดิจิทัล ขณะที่สหภาพโซเวียตกำลังล่มสลายและเอสโตเนียเองยังเป็นประเทศยากจนที่มีโทรศัพท์พื้นฐานใช้ไม่เพียงพอ

เช่นเดียวกับอีกหนึ่งข้อห่วงกังวลคือ เมื่อมีเรามีโลกสองใบ ได้แก่โลกกายภาพและโลกไซเบอร์ที่เชื่อมโยงกัน นั่นหมายความว่า เราจะต้องมีอุปสงค์ต่อการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ประเทศไทยเตรียมความพร้อมในมิตินี้แล้วหรือยัง และดีแค่ไหน ถึงแม้แนวโน้มการใช้พลังงานทางเลือกจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย แต่ในการศึกษาโครงการ ภาพอนาคตในปี 2035 : ที่ดิน พลังงาน และน้ำในประเทศไทย โดย นิพนธ์ พัวพงศกร (2560) พบว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลจะยังเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศในปี 2035 โดยเชื้อเพลิงฟอสซิลหลักได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

ประเด็นสำคัญที่จะเป็นความท้าทายต่อธุรกิจไทยก็คือวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายของทั้งโลก โดยประเทศไทยก็มีข้อผูกพันเช่นเดียวกับนานาประเทศในการเดินหน้าสู่ carbon-neutral ขณะที่หลายๆ ประเทศได้เริ่มต้นใช้มาตรการทางการค้าเพื่อกีดกันหรือสร้างกำแพงกีดกันสินค้าที่มีกระบวนการผลิตที่มีส่วนในการทำลายสภาวะภูมิอากาศ รวมถึงพลังงานฟอสซิลที่เป็นต้นทางและวัตถุดิบหลักของการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิด ดังนั้น carbon footprint ที่สูงในภาคการผลิตไทย จะทำให้สินค้าและบริการไทยต้องพบกับมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มข้นและแตกต่างหลากหลายจากแต่ละประเทศมากยิ่งขึ้น

MOST READ

Economy

15 Mar 2018

การท่องเที่ยวกับเศรษฐกิจไทย

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ตั้งคำถาม ใครได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวบูม และเราจะบริหารจัดการผลประโยชน์และสร้างความยั่งยืนให้กับรายได้จากการท่องเที่ยวได้อย่างไร

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

15 Mar 2018

Economy

23 Nov 2023

ไม่มี ‘วิกฤต’ ในคัมภีร์ธุรกิจของ ‘สิงห์’ : สันติ – ภูริต ภิรมย์ภักดี

หากไม่เข้าถ้ำสิงห์ ไหนเลยจะรู้จักสิงห์ 101 คุยกับ สันติ- ภูริต ภิรมย์ภักดี ถึงภูมิปัญญาการบริหารคน องค์กร และการตลาดเบื้องหลังความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจสิงห์

กองบรรณาธิการ

23 Nov 2023

Economy

19 Mar 2018

ทางออกอยู่ที่ทุนนิยม

ในยามหัวเลี้ยวหัวต่อของบ้านเมือง ผู้คนสิ้นหวังกับปัจจุบัน หวาดหวั่นต่ออนาคต และสั่นคลอนกับอดีตของตนเอง
วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร เสนอทุนนิยมให้เป็น ‘grand strategy’ ใหม่ของประเทศไทย

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

19 Mar 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save