fbpx
อ่าน ‘โรคระบาด’ ผ่านแว่นตามานุษยวิทยา กับ นิติ ภวัครพันธุ์

อ่าน ‘โรคระบาด’ ผ่านแว่นตามานุษยวิทยา กับ นิติ ภวัครพันธุ์

กองบรรณาธิการ เรียบเรียง

 

ความวิตกกังวลต่อกรณีการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน กำลังลุกลามไปพร้อมๆ กับการระบาดของเชื้อไวรัส แต่คำถามคือเมื่อโรคระบาดกับมนุษย์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมายาวนาน ประวัติศาสตร์สอนให้มนุษย์รับมือกับโรคภัยอย่างไร

101 สนทนากับ นิติ ภวัครพันธุ์ ถึงโรคระบาดด้วยแว่นตามานุษยวิทยาว่าให้ความหมายของโรคระบาดว่าอย่างไร โรคระบาดเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองอย่างไร อะไรคือความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและความท้าทายใหม่ๆ ของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ติดตามทั้งหมดได้จากรายการ 101 one-on-one ep.103 อ่าน “โรคระบาด” ผ่านแว่นตามานุษยวิทยา

 

:: โรคระบาดไม่ใช่ของใหม่ ::

 

:: โรคระบาดไม่ใช่ของใหม่ :: นิติ

 

ผมคิดว่าโรคระบาดก็คือความตาย ไม่มากก็น้อยมันมีคนตาย แล้วมันก็อยู่กับชีวิตเรามานานแล้ว คำว่า ‘ระบาด’ (epidemic) เป็นคำเก่ามีมาเป็น 3,000 ปีแล้ว แต่ความหมายเปลี่ยนไปตามยุคสมัย คนแต่ละยุคมองโรคระบาดไม่เหมือนกัน

ผมคิดว่าความเข้าใจเรื่องโรคระบาดของเราเริ่มในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นความเข้าใจที่ขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์ เรามีเทคโนโลยีมากขึ้น เรามีกล้องจุลทรรศน์ที่ทำให้เราเห็นเชื้อโรคต่างๆ ได้ ทำให้มนุษย์เชื่อว่าเหตุที่คนเราเจ็บป่วยก็เพราะว่ามีเชื้อโรค มีไวรัสและแบคทีเรีย สิ่งพวกนี้มันต้องการชีวิตด้วยการกินชีวิตเรา

สิ่งที่น่าสนใจ คือ ถ้าเรามองไปตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ มีโรคระบาดเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งกาฬโรค, อหิวาตกโรค, วัณโรค มีตัวอย่างเยอะมากที่โรคระบาดได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปหลายล้านคน

ประเด็นที่ผมอยากบอกคือโรคระบาดไม่ใช่ของใหม่ สิ่งที่ใหม่คือเชื้อโรค ไวรัสตัวใหม่ๆ ที่โผล่ขึ้นมา ผมไม่ใช่หมอ แต่ผมคิดว่าความรู้ทางชีววิทยาขนาดเล็กของคนเราตอนนี้ สามารถจัดการกับเชื้อโรคเก่าๆ ได้ เดี๋ยวนี้มีใครเป็นโรคอหิวาต์อีกบ้าง ผมแทบไม่เคยได้ยินแล้ว เหลือแต่ไวรัสใหม่ๆ อย่างโคโรนาไวรัสที่กำลังหาวิธีกันอยู่ แต่อย่างเช่นไวรัสเอดส์ ทุกวันนี้ก็จัดการได้แล้ว จำนวนผู้ป่วยทั่วโลกลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะฉะนั้นความรู้ของเราเปลี่ยนไปและจัดการได้ แต่ไม่ได้แปลว่าเชื้อโรคหรือผู้ร้ายตัวใหม่จะไม่ออกมา

สำหรับคนที่สนใจเรื่องนี้ ผมอยากแนะนำให้ไปอ่านบทความเรื่อง มานุษยวิทยากับโรคระบาด : โคโรน่าไวรัส โรคอุบัติใหม่กับงานวิจัยทางมานุษยวิทยา ของ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

 

:: พฤติกรรมคนสมัยใหม่ ::

 

:: พฤติกรรมคนสมัยใหม่ ::

 

มีคนเตือนมากว่า climate change มีผลต่อการทำให้เกิดเชื้อโรคใหม่ๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลกับการเกิดเชื้อโรคหรือเปล่า บางคนเชื่อว่าน่าจะมี รวมไปถึงฝุ่นละอองต่างๆ และการใช้สารเคมีต่างๆ การสูญเสียพื้นที่ป่า มันย่อมมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมแน่นอน

ในประเทศตะวันตกโดยเฉพาะองค์การอนามัยโลก เขาให้ความสำคัญมากกับการที่คนไปเกี่ยวข้องกับสัตว์มากขึ้น แน่นอนว่ามนุษย์กับสัตว์อยู่คู่กันมาตลอดและก็มีการแลกเปลี่ยนเชื้อโรคกันไปกันมา แต่ในกรณีล่าสุดที่จีนมีการค้าสัตว์ป่าในตลาด ทำให้มีการคิดว่าอาจเป็นแหล่งกำเนิดไวรัสระบาด เพราะคนไปบริโภคสัตว์ป่า เชื้อโรคที่อยู่ในสัตว์พวกนี้ ถ้าคนไม่ไปยุ่งกับมัน มันก็จะอยู่ของมันแบบนั้น นี่คือสิ่งที่หลายคนกังวลเพราะเราไปทำลายป่ามากขึ้น จึงเกิดเชื้อโรคที่แพร่จากสัตว์มาสู่คน แล้วกลายพันธุ์จากคนสู่คน

ในแง่หนึ่งมันเป็นผลจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนไป ผมคิดว่าร้อยปีที่แล้วคงไม่มีคนไปเที่ยวป่าแบบในสมัยนี้ เพราะคนยังเชื่อว่าป่าเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าหรือภูติผีอะไรก็แล้วแต่ แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนอยากไปเที่ยวป่า อยากไปกางเต็นท์นอน อยากไปดูนก บางคนบอกว่าสมัยนี้ป่าสะอาด คุณรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์แต่ละตัวไม่มีเชื้อโรค

ผมคิดว่าควรต้องมีการขีดเส้นหรืออย่างน้อยก็ทำอะไรบางอย่างที่เป็นการป้องกันว่า ถ้าคุณเข้าไปในป่า คุณต้องเตรียมตัวอย่างไร สำหรับผมไม่เห็นว่าจะมีเหตุผลอะไรที่คนเราจะต้องไปยุ่งกับสัตว์ป่ามากขนาดนั้น

การยุ่งกับสัตว์ป่า ในแง่หนึ่งเพราะเราอยู่ในซีกโลกตะวันออก อาจรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา คนจีนอาจรู้สึกว่าการกินสัตว์ป่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่อีกซีกโลกที่อเมริกาเหนือหรือแคนาดา การกินสัตว์ป่าแทบจะหมดไปแล้ว โดยเฉพาะพวก hunter หรือพวกล่าสัตว์มีจำนวนลดลงจริงๆ ทำไมถึงลดลง มีสมมติฐานว่าคนรุ่นใหม่ไม่แฮปปี้ในการล่าสัตว์เหมือนคนรุ่นเก่า และคนรุ่นใหม่ก็มีความเป็นนักอนุรักษ์มากขึ้น

 

:: ความเหลื่อมล้ำในวิกฤต ::

 

:: ความเหลื่อมล้ำในวิกฤต ::

 

โรคระบาดมีนัยแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาเกิดโรคระบาด คนจนจะเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขได้ไหม ผมว่ายาก เอาแค่ซื้อหน้ากากใส่ก็แพงมากแล้ว ยังไม่นับว่าเวลาเจ็บป่วยจะเข้าโรงพยาบาลได้อย่างไร ของไทยดีหน่อยที่มีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ถ้าไม่มีก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร

อย่างกรณีฝุ่น PM 2.5 คนมีเงินสามารถซื้อหน้ากากหรือเครื่องกรองอากาศเพิ่มได้ กระทั่งว่าเวลามีโรคระบาด คุณสามารถอยู่ในบ้านโดยไม่ต้องออกไปไหนได้ เวลาอยากกินอะไรก็สั่งทางออนไลน์ให้มาส่งที่บ้านได้

แต่คนจนยังต้องแหกขี้ตาตื่นออกไปทำงาน หน้ากากก็ไม่มีใส่ นอนก็น้อย ทำงานก็หนัก ภูมิต้านทานก็แย่ มันมีสารพัดปัจจัยที่จะทำให้คนจนเสี่ยงติดเชื้อไวรัสมากกว่าคนมีเงิน

เพราะฉะนั้นค่อนข้างชัดเจนว่า สถานการณ์โรคระบาดทำให้เห็นความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมกันของสังคมมากตามไปด้วย และจะยิ่งถ่างมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนรวยจะทำทุกวิถีทางในการเข้าถึงความปลอดภัยที่ดีกว่า สถานการณ์โรคระบาดไม่ได้สะท้อนเฉพาะแค่เรื่องทางการแพทย์เท่านั้น

 

:: การระบาดของการเหยียด ::

 

:: ความเหลื่อมล้ำในวิกฤต ::

 

ในโลกตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา คนที่ไม่ใช่คนเอเชียจะรู้สึกว่าไม่อยากข้องเกี่ยวกับคนจีน เวลาเห็นคนจีนเดินมาก็จะมองด้วยสายตาทำนองหวาดกลัวหรือเหยียดว่าจะนำเชื้อโรคติดตัวมาหรือเปล่า นี่คือสิ่งที่ทำให้หลายๆ คนรู้สึกว่าเหมือนเป็นการเหยียดผิวรูปแบบใหม่ แทนที่จะไปดูถูกเรื่องสีผิวก็ไปดูถูกว่าเป็นตัวเชื้อโรคแทน แต่คนจีนที่ใช้ชีวิตอยู่ในตะวันตกตั้งแต่แรกก็มีเยอะอยู่แล้ว เช่นที่ไชน่าทาวน์ของสหรัฐฯ นี่เป็นสิ่งที่นักมานุษยวิทยาแบบผมควรเข้าไปทำความเข้าใจ

ประเด็นนี้ ผมคิดว่ามันมีหัวเชื้ออยู่แล้ว ในศตวรรษที่ 19 คนจีนไปอยู่ในสังคมตะวันตกเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นในอเมริกาเหนือ, นิวซีแลนด์, อังกฤษ คนจีนจะถูกดูถูกเป็นธรรมดาว่าเป็นพวกสกปรก หรือเป็นพวกกินของประหลาด พอคนจีนเริ่มสูบฝิ่นก็ถูกมองว่าเป็นพวกติดยา ทั้งๆ ที่อังกฤษเป็นคนเอาฝิ่นเข้ามา

เพราะฉะนั้นผมเห็นว่ามุมมองเรื่องการเหยียดไม่ได้ต่างกัน ถูกมองว่าน่ารังเกียจเหมือนกัน สาเหตุที่ทำให้เกลียดไม่เหมือนกัน จากเมื่อก่อนที่คนจีนถูกมองเป็นพวกคนจน ติดยา พอสมัยนี้คนจีนรวยแล้ว ก็ยังถูกมองว่าเป็นตัวเชื้อโรค

 

:: ความรับผิดชอบของรัฐ ::

 

:: ความเหลื่อมล้ำในวิกฤต ::

 

ถ้าเป็นสมัยรัฐโบราณ พอคุณป่วย เขาก็จะเอาคุณไปไว้อีกที่หนึ่ง แล้วคุณก็ตายไปง่ายๆ แต่สมัยนี้ผมคิดว่าเมื่อเรามีความรู้เรื่องชีววิทยาขนาดเล็ก ทำให้เรามีความพยายามในการจัดการกับโรคระบาดได้ดีขึ้น มุมมองของรัฐหรือผู้มีอำนาจต่อประชาชนก็เปลี่ยนไป เพราะประชาชนเป็นทรัพยากรที่มีค่า

รัฐหรือองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ให้ความรู้และข้อมูลกับประชาชน เพื่อประชาชนจะได้ดูแลตัวเองได้ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการที่รัฐบาลบอกว่าประชาชนต้องดูแลตัวเองคือการปัดภาระรับผิดชอบ แล้วผมจะเสียภาษีให้คุณทำไม

รัฐควรมีความพร้อมในการเตรียมบุคลากร เครื่องไม้เครื่องมือและงบประมาณ ดูอย่างสิงคโปร์ เขามีการแจกหน้ากากให้กับประชาชน แต่ของไทยไม่มี แล้วบอกว่าเราเอาอยู่ๆ หรือบอกว่าเขาป่วยเขาไม่มาหรอก คุณพูดหลอกตัวเองแบบนี้ได้อย่างไร

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save