fbpx

ประณามประหาร 4 นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมียนมา

26 กรกฎาคม 2565 กลุ่มแรงงานพม่าในไทยนัดรวมตัวชุมนุมบริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย หลังจากกองทัพเมียนมาประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย จำนวน 4 คน รวมถึง จ่อ มิน ยู แกนนำคนสำคัญ และ เพียว เซยา ตอ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ซึ่งทั้ง 4 คนถูกตัดสินว่ากระทำความผิดฐานก่อการร้าย ซึ่งทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการประณามการกระทำนี้จากทั่วโลก

การรวมตัวในครั้งนี้มีข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ

1. กองทัพเมียนมาต้องคืนอำนาจให้ประชาชนตามวิถีทางประชาธิปไตยและยุติบทบาทการควบคุมอำนาจโดยเร็ว

2. ประชาคมอาเซียนต้องยืนหยัดและมีมาตรการอย่างเฉียบขาดชัดเจนให้กองทัพเมียนมาเคารพในฉันทมติอาเซียน 5 ข้อ เร่งรัดให้มีการยุติความรุนแรงและฟื้นฟูประชาธิปไตยคืนสู่เมียนมาโดยเร็ว

3. รัฐบาลไทยต้องแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามประชาชนที่เห็นต่างของกองทัพเมียนมา รวมถึงการใช้โทษประหารชีวิตกับประชาชนที่เห็นต่างจากกองทัพ และควรมีบทบาทร่วมกับประชาคมอาเซียนในการฟื้นฟูประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในเมียนมา

4. กลไกของสหประชาชาติและประชาคมระหว่างประเทศ ควรมีบทบาทมากขึ้นในการพยายามยุติความรุนแรงในเมียนมา และสนับสนุนการฟื้นฟูประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในเมียนมา

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save