fbpx

ผลงานแห่งปี 2560 : ชวนอ่านโดยทีมงานและคอลัมนิสต์ 101

#101TeamRecommends

เทพพิทักษ์ มณีพงษ์ | กองบรรณาธิการ

คืนความเป็นธรรมให้กับการค้าข้างทาง

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

เทพพิทักษ์ มณีพงษ์ : ชิ้นนี้เลือกมาเพราะความอินส่วนตัว เรารู้สึกว่าปัญหาร้านหาบเร่แผงลอยกับเมืองกรุงเทพฯ เป็นอะไรที่อิหลักอิเหลื่ออยู่มากพอประมาณ เพราะคนที่ด่าว่าทำไมยังมี ทำไมยังปล่อยให้รกทางเท้า บางทีก็ยังแวะซื้อกิน สิ่งที่จะบอกคือเมืองของเรามันขาดการค้าแบบนี้ไม่ได้ เพราะมันกลายเป็นส่วนหนึ่งกับชีวิตของคนเมืองไปแล้ว ดังนั้นสิ่งที่เราควรคุยกัน คือทำความเข้าใจกับปัญหาที่เป็นอยู่ว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วดูว่ามีจุดไหนที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธีได้บ้าง ซึ่งงานชิ้นนี้ก็เป็นอินโทรที่ดี

 

เราจะอยู่ร่วมกันกับการค้าข้างทางได้อย่างไร: บทเรียนจากนานาประเทศถึงไทย

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

เทพพิทักษ์ มณีพงษ์ : ต่อจากด้านบน ที่จริงแล้วบนโลกนี้มีหลายที่มากเลยที่เป็นเมืองที่ ‘เจริญแล้ว’ ในสายตาคนนอก แต่เค้าก็อยู่ร่วมกับการค้าแบบข้างทางได้ งานชิ้นนี้ทำให้เราเข้าใจว่าการแก้ปัญหาบางอย่าง ไม่จำเป็นต้องถอนรากถอนโคนเพื่อคนกลุ่มเดียวเสมอไป เพราะปัญหาเมืองไม่ใช้ zero-sum game ที่ต้องมีผู้แพ้ผู้ชนะ แต่เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ ลองดูตัวอย่างจากพวกเขาแล้วเอามาปรับใช้ก็ได้ ไม่ใช่ล้างบางไปซะหมด

 

สื่อสารความรู้อย่างเข้าใจ กับครูลูกกอล์ฟ – คณาธิป สุนทรรักษ์

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

เทพพิทักษ์ มณีพงษ์ : ถึงจะเป็นงานตัวเอง แต่เราเองก็ไปนั่งฟังครูลูกกอล์ฟ (แล้วก็ฟัง #พุธทอล์คพุธโทร ประจำ) ในงาน OKMD Knowledge Festival แบบสดๆ พลังๆ ในตอนนั้นที่ฟังของครูลูกกอล์ฟคือส่งมาถึงเราจังๆ มาก และสารที่เขาต้องการจะสื่อ ก็คือแพสชั่นในการส่งต่อความรู้ในฐานะของ ‘ครู’ ยุคใหม่ ที่เปิดทางเลือกให้กับเด็กๆ ให้ได้เจอทางของตัวเอง ทั้งคลิปหรือบทความชิ้นนี้ไม่ได้จำเป็นว่าต้องเป็นครู แต่เราเชื่อว่าเรื่องพื้นฐานของการสื่อสารกัน ยังไงก็เป็นเรื่องจำเป็น และเราน่าจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างชีวิตความเป็นครูของเขา

 

วศิน ปฐมหยก | กราฟิกดีไซเนอร์

นิทานฝันร้าย The Handmaid’s Tale

โดย นรา

วศิน ปฐมหยก : อยากได้คนแนะนำซีรีส์มาตั้งนานแล้ว ยิ่งคุณนรามาเขียน ยิ่งรู้สึกว่านี่คือ A must!

 

สารคดี ณ ตอน ย้ายรัง

โดย Eyedropper Fill และ ทีมงาน The101.world

วศิน ปฐมหยก : ดีใจมากที่ Eyedropper Fill ได้มาทำสิ่งนี้ และผลลัพธ์ของมันก็ดีมาก

 

พ่อของเธอ เพื่อนของเขา : จนกว่าเราจะพบกันใหม่ (ในสถานการณ์ปกติ)

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

วศิน ปฐมหยก : อ่านแล้วรู้สึกเศร้า

 

วิโรจน์ สุขพิศาล | เว็บมาสเตอร์

อ่านคำถามอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ​ ถึงฝ่ายอนุรักษนิยม เรื่องระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

โดย ศุภมิตร ปิติพัฒน์

วิโรจน์ สุขพิศาล : เป็นบทความขนาดยาว ที่อ่านแล้วลืมเวลาไปเลย ลุ่มลึก คม

 

ความรักเดือนกันยายน

โดย ธิติ มีแต้ม

วิโรจน์ สุขพิศาล : เรื่องราวความรัก romantic tragedy ที่อ่านแล้วเหมือนนิยาย แต่สุดท้ายมันคือเรื่องจริงที่น่าเศร้า

 

รวมผลงานครบชุด สารคดี “ณ” – บ้านของเขา เรื่องเราทุกคน

โดย ทีมงาน The101.world

วิโรจน์ สุขพิศาล : สารคดีที่บันทึกเรื่องราว ‘ประวัติศาสตร์คนจน’ ที่ทำให้เห็นอีกหลายชีวิต หลายการต่อสู้ ที่อยู่ร่วมกับพวกเรา

 

อดิศร เด่นสุธรรม | ครีเอทีฟ

Agony Uncle* Hema

โดย ภาณุ บุรุษรัตนพันธุ์

#คนเก่ง2017

อดิศร เด่นสุธรรม : ยอมรับว่าอ่านชื่อลุงเฮม่าเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกนึกสัปดนอยู่เหมือนกัน ลุงจะมาตอบปัญหา 18+ หรอ? เปิด camfrog หรือเปล่า? แต่สรุปที่คิดมากทั้งหมดไม่ใช่เลย ลุงเฮม่าเหมือนเป็นอับดุลเอ้ย! ถามอะไรตอบได้ เวอร์ชั่น 4G ถ้ามีโอกาสอยากถามลุงเฮม่าว่า “ใหม่ ดาวิกาขับรถเก่งหรอครับ เพราะชอบเห็นสติ๊กเกอร์แปะหลังรถว่าเป็นมือใหม่?”

 

ชีวิตดีขึ้นทุกด้าน ด้วยการทานอึหลายๆ ครั้ง!

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

#คนงกขี้2017

อดิศร เด่นสุธรรม : อ่านแล้วทำให้เป็นคนงกขี้ ขี้งก กับขี้ตัวเองขึ้นมาทันที เพราะเพิ่งรู้ว่าขี้สามารถช่วยรักษาโรคได้ แถมพิสูจน์จริงจากผู้ใช้ว่าเวิร์ก … กร๊ากก (หาอ่านวิธีเอาได้ในบทความ) และที่ลังเลหนักก่อนกดชักโครก เสียดายขี้ตัวเอง เพราะเขาบอกว่าการบริจาคขี้ให้โรงพยาบาลได้เงินแบบขี้ๆ 1,400 บาทต่อครั้ง!!! สบายตัวแถมได้ตังค์ไปกินล็อบสเตอร์ แล้วกลับมาขี้ใหม่เพื่อได้ตังค์ไปกินล็อบสเตอร์อีกรอบ โคตรคุ้มที่จะขี้!!!

 

สมรภูมิบนท้องถนน

โดย ทีมงาน The101.world

#คนกล้า2017

อดิศร เด่นสุธรรม : เลือกงานชิ้นนี้เพื่ออุทิศแด่เหล่าผู้กล้า … ที่กล้าออกจากบ้านมาใช้ชีวิตบนท้องถนนในเมืองไทยที่อันตรายไม่ต่างอะไรกับการไปออกรบ! เราขับรถออกจากบ้านร่วมกับผู้ร่วมเส้นทางที่ไม่มีใบขับขี่ ขับกลับบ้านร่วมกับผู้ขับขี่มึนเมาอยู่เต็มถนน!!

คงจะดีถ้าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหันมาใส่ใจให้ถนนเมืองไทยปลอดภัยกว่านี้ … ขอให้ปีหน้าไม่ต้องกล้าแบบปีนี้ ขอให้ทุกคนเดินทางโดยสวัสดิภาพ

 

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล | กองบรรณาธิการ

Full service : ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อเสรีภาพภายใต้กระบอกปืน

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล : ‘Full service’ คือชื่อโปรเจ็กต์ของศิลปินชาวสวิส ที่เปิดให้คนมา ‘จ้าง’ ให้เขาทำอะไรก็ได้ ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ อย่างการเต้น ร้องเพลง ไปจนถึงการมีเซ็กซ์ (แต่เขาจะทำหรือไม่ก็อีกเรื่อง ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินและความพึงพอใจ)

ในวาระที่เขามาเปิดการแสดงในเมืองไทย เทพพิทักษ์ตัดสินใจไป ‘ลองของ’ ด้วยการจ้างให้เขาช่วยตอบคำถาม 10 ข้อของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยจำนวนเงิน 1,000 บาท

เป็นบทความที่สนุกและชวนให้ติดตามตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้น ไปจนถึงวิธีการเรียบเรียง มิหนำซ้ำยังสะท้อนสถานการณ์ของการเมืองไทยได้แหลมคมสุดๆ

 

ทำไมคนชั้นกลางไทยถึงหันหลังให้ประชาธิปไตย

โดย สมคิด พุทธศรี

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล : เป็นบทสัมภาษณ์ที่เปิดเปลือยรากฐานความคิดของชนชั้นกลาง โดยเฉพาะชนชั้นกลางระดับบน ที่เป็นตัวละครสำคัญที่ออกมาสนับสนุนอำนาจเผด็จการในวิกฤตการเมืองตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา พร้อมทำความเข้าใจ ‘ชนชั้นกลาง’ ในความหมายใหม่ ทั้งมิติการเมือง (ที่ไม่จำเป็นต้องไปด้วยกันกับประชาธิปไตย) และมิติเศรษฐกิจ (กลางระดับล่าง และกลางระดับบน ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน)

 

หากว่ามีหมุดฯ เคียงข้าง

โดย ธิติ มีแต้ม

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล : งานของธิติ มีแต้ม โดดเด่นในการบันทึกชีวิต ความคิด และการต่อสู้ของผู้คนที่ถูกกระทำจากอำนาจรัฐ บอกเล่าเสียงเล็กๆ ที่ถูกทำให้เงียบและหายไปอย่างอยุติธรรม

ในช่วงที่หมุดคณะราษฎรหายไป งานชิ้นนี้คล้ายจะบอกกับเราว่า ไม่ใช่เพียงแต่หมุดเท่านั้นที่หายไป แต่อาจรวมถึงหลักการประชาธิปไตยที่ถูกรื้อถอนด้วยเช่นกัน กระนั้นแล้ว ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่พยายามรักษามันไว้—แม้ต้องแลกมาด้วยความไม่ปลอดภัยในชีวิตก็ตาม

 

ญาดา เตชะวิวัฒนากาล | กองบรรณาธิการ

City of Ghosts : ความจริงเป็นสิ่งไม่ ‘ตาย’?

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

ญาดา เตชะวิวัฒนากาล : ชอบอ่านงานของเทพพิทักษ์ เพราะว่าเทพพิทักษ์มักจะพาไปหาเรื่องราวที่แปลกใหม่ชวนตื่นตาเสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งาน ‘รีวิว’ ที่มักจะชวนทุกคนไปเจออะไรแปลกใหม่ตลอดเวลา แถมวิธีคิด วิธีเขียน ภาษาแซ่บที่เป็นกันเอง อ่านแล้วก็สบายและสนุกไปพร้อมกัน

 

101 Minutes at Starbucks ครั้งที่ 2: Coming Of Age

โดย ทีมงาน The101.world

ญาดา เตชะวิวัฒนากาล : ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน มาทำความเข้าใจกับความรู้สึกของตัวเองและคนรอบตัวไปพร้อมกัน การพูดคุยสนุกๆ ฟังเพลิน ประสบการณ์จากแขกรับเชิญทั้งสามคนทำให้ชวนติดตามได้ไม่รู้เบื่อ

 

นาซีศึกษา : อ่านอดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน กับ ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 

โดย อันโตนีโอ โฉมชา

ญาดา เตชะวิวัฒนากาล : ทำให้เราได้รู้จักประวัติศาสตร์นาซีของเยอรมันเพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้เชื่อว่าประวัติศาสตร์สามารถเอามาเรียนรู้ปัจจุบันได้เสมอ

สมคิด พุทธศรี | กองบรรณาธิการ

Full service : ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อเสรีภาพภายใต้กระบอกปืน

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

สมคิด พุทธศรี : “ฉลาด คม สนุก”

 

อ่านคำถามอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ​ ถึงฝ่ายอนุรักษนิยม เรื่องระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

โดย ศุภมิตร ปิติพัฒน์

สมคิด พุทธศรี : บทความชิ้นนี้เลือกดีเบตกับคำถามของ “อ.ยิ้ม” ในงานเสวนาเรื่อง “สถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย” เมื่อ 7 ปีก่อน ซึ่งเป็นงานเสวนาที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลให้ความเห็นว่าเป็นการอภิปรายที่ “มีความหมายสำคัญต่อการพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยไม่น้อย”

หลายปีที่ผ่านมา ผมบ่นกับหลายคน ในหลายครั้ง ว่าปัญหาวิกฤตการเมืองไทยที่ลุกลามบานปลายมาขนาดนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญญาชนฝ่ายอนุรักษ์นิยม “ไม่ยอมทำงาน” จนปล่อยให้วาทกรรมสาธารณะของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่มีต่อการศึกษาประเด็นสถาบันกษัตริย์ถูกลดรูปเหลือเพียงแค่ “เอาเจ้า – ไม่เอาเจ้า”

งานของอาจารย์ศุภมิตรชิ้นนี้ปลุกความหวังและชวนให้ตื่นเต้นเล็กๆ ว่า การถกเถียงกันในประเด็นที่อ่อนไหวอย่างลุ่มลึก มีความเป็นวิชาการ และมีอารยะยังมีความเป็นไปได้ แม้จะอยู่ภายใต้ข้อจำกัดที่ทำให้การถกเถียงเป็นไปได้ไม่เต็มที่ แต่ก็อยากชวนให้คนที่สนใจการเมืองไทยร่วมสมัย ‘อ่าน’ และอภิปรายประเด็นนี้กับอาจารย์ศุภมิตร (เท่าที่พอทำได้) ดูสักที

 

เยี่ยมยามถามข่าว ‘ไผ่ ดาวดิน’

โดย เวียง-วชิระ บัวสนธ์

สมคิด พุทธศรี : ‘พี่เวียง’ ไม่เพียงแต่เล่า ชะตากรรมของคนหนุ่มที่กล้ายืนยันในความเชื่อของตนเองและยืนท้าทายต่อระบอบที่อยุติธรรมอย่างกินใจเท่านั้น แต่ระหว่างทางยังเปลือยให้เห็นความหยาบช้าและสามานย์ของระบอบที่ว่า โดยไม่มีคำหยาบหลุดมาแม้แต่คำเดียว

 

ภัทชา ด้วงกลัด | กองบรรณาธิการ

Full service : ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อเสรีภาพภายใต้กระบอกปืน

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

ภัทชา ด้วงกลัด : ‘คม สนุก แสบ’ ทั้งเนื้อหาและวิธีการนำเสนอ บทสัมภาษณ์ที่ชวนคุณตั้งคำถามกับ ‘การอยู่เป็น’ และคุณค่าของมัน ในสังคมการเมืองไทย

 

คลิป : ทำไมคนเราถึงโกง? กับ ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์

โดย ทีมงาน The101.world

ภัทชา ด้วงกลัด : ทอล์กแห่งปี! 30 นาทีกว่าๆ ที่เอาคุณอยู่หมัด

ทอล์กนี้จะเปิดวิธิคิด เปลี่ยนมุมมอง และตบหน้าคุณในเวลาเดียวกัน ในการหาคำตอบและทำความเข้าใจว่า ‘ทำไมคนเราถึงโกง?’ บอกได้คำเดียวว่าต้องดู!

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

ภัทชา ด้วงกลัด : Ive discovered theres no happiness in this life.” บทสรุปสั้นๆ ที่กระแทกใจของชีวิต ‘ท่านชิ้น ผู้อาภัพ’ (ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน)

 

วชิรวิทย์ คงคาลัย | กองบรรณาธิการ

เมื่อบ้าน วัด โรงเรียน หล่อหลอมความโกง ถอดรหัสพฤติโกงกับธานี ชัยวัฒน์

โดย ทีมงาน The101.world

วชิรวิทย์ คงคาลัย : เหตุที่เลือกงานชิ้นนี้เพราะช่วยขยายความเข้าใจของ ‘คอร์รัปชัน’ ในมุมมองใหม่

 

เคล็ดวิชารักษาอำนาจของรัฐบาลเผด็จการ

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

วชิรวิทย์ คงคาลัย : เหตุผลที่ชอบ ถึงแม้ว่าจะเป็นเปรียบเทียบกรณีของจีน แต่มันก็ช่วยขยายความเข้าใจสิ่งที่รัฐไทยกำลังทำอยู่ในปัจจุบันได้ดีขึ้น และทำให้เรารู้เท่าทันรัฐไทยมากขึ้นด้วย

 

‘การแพทย์ที่เชื่อไม่ได้’ หยุดเชื่อ เริ่มถาม เรื่องการรักษา กับ ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์

โดย ภัทชา ด้วงกลัด

วชิรวิทย์ คงคาลัย : ชอบอันนี้มาก อ่านรวดเดียวจบ ส่วนหนึ่งเพราะใกล้ตัว เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญในไม่ช้า การมีความรู้เรื่องนี้นอกจากจะทำให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าแล้ว ยังช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีโดยไม่ต้องเสียรู้อีกด้วย

 

วิลาวัณย์  บุญเกื้อกุลวงษ์ | ผู้จัดการ 101

เยี่ยมยามถามข่าว ‘ไผ่ ดาวดิน’

โดย เวียง-วชิระ บัวสนธ์

วิลาวัณย์  บุญเกื้อกุลวงษ์ : หลายคนอาจชื่นชมพี่ตูนเป็นบุคคลแห่งปี แต่สำหรับเรา ‘ไผ่’ คือบุคคลแห่งปี

 

พ่อของเธอ เพื่อนของเขา : จนกว่าเราจะพบกันใหม่ (ในสถานการณ์ปกติ)

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

วิลาวัณย์  บุญเกื้อกุลวงษ์ : วันหนึ่งเราอาจต้องเดินทางไกล หรือไร้อิสรภาพ เพียงแค่เราคิดต่างกับผู้มีอำนาจในประเทศ

 

การเดินทางของตุ๊กตาวิเศษ : บทสะท้อนความรุนแรงทางเพศต่อเด็กในสังคมไทย

โดย วันดี สันติวุฒิเมธี

วิลาวัณย์  บุญเกื้อกุลวงษ์ : สังคมควรให้ความสำคัญกับการเคารพกันและกัน ไม่ใช่เคารพแบบกราบไหว้บูชา แต่เคารพว่า “ทุกคนเท่ากัน”

 

คิริเมขล์ บุญรมย์ | ฝ่ายโปรดักชัน


9 เรื่องที่ควรรู้ก่อนคลอด

โดย ทีมงาน The101.world

คิริเมขล์ บุญรมย์ : Art work มีความน่ารักสวยงาม ทำให้ดูแล้วรู้สึกเพลินตา ข้อความประกอบก็สั้น กระชับได้ใจความ สามารถเข้าใจได้ง่าย

สารคดี ณ : บ้านของเขา เรื่องของเราทุกคน

โดย ทีมงาน The101.world

คิริเมขล์ บุญรมย์ : เป็นสารคดีที่อาจจะมีเนื้อหาค่อนข้างหนักในบางตอน แต่ส่วนใหญ่ทำออกมาได้น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อสังคม โดยเฉพาะตอนของกลุ่ม Eyedropper Fill ที่ซาบซึ้งกินใจ เหมาะมากกับการเป็นสารคดีที่ควรรับชมจนจบ

รายการ 101 One-On-One

โดย ทีมงาน The101.world

คิริเมขล์ บุญรมย์ : เป็นรายการออนไลน์ที่เนื้อหาหนักแน่น ดุเดือด แต่กลับสนุกมาก ผู้ชมสามารถตอบโต้ได้แบบ realtime แขกรับเชิญทุกคนก็น่าสนใจ ถ้าดูสดไม่ทันก็ดูย้อนหลังได้

 

#101ColumnistsRecommend

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

คืนถิ่นซัวเถา บ้านเก่าบรรพบุรุษ

นรกหลังเกาะสวรรค์ มัลดีฟส์

โดย ธีรภัทร เจริญสุข

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร : ชอบงานเขียนของธีรภัทร เจริญสุข ที่ชวนเราออกเดินทางพร้อมกระเป๋าที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่าและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เรียกว่าไปเที่ยวแบบไม่ทิ้งเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการเมือง ที่อยู่รายรอบเส้นทาง ที่ชอบเป็นพิเศษก็มี “คืนถิ่นซัวเถา บ้านเก่า” และ “นรกหลังเกาะสวรรค์ มัลดีฟส์”

 

ปลากระป๋องกับอาณานิคม

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร : บทความของ วชิรวิทย์ คงคาลัย มักชี้ชวนให้เรามองมุมลึกมุมกว้างของสรรพสิ่งรอบตัว เหมือนที่ “ปลากระป๋องกับอาณานิคม” ทำให้เรามองเห็นนโปเลียนและข้าหลวงในซอสมะเขือเทศเลยทีเดียว

 

10 วรรณกรรม Coming of Age (แบบไทย)

โดย ทีมงาน The101.world

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร : ตั้งโจทย์ได้น่าสนใจ จนทำให้เราต้องออกไปค้นหาวรรณกรรมหลายชิ้นทั้งที่เคยมองผ่านไปและที่เพิ่งรู้จัก ชอบหลายเล่มที่ผูกโยงมิติทางสังคมกับชะตากรรมปัจเจกเข้าด้วยกัน

 

อาร์ม ตั้งนิรันดร

ประเทศ “กำลังพัฒนา” ต้องพัฒนาไปถึงเมื่อไหร่

 

โดย วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

อาร์ม ตั้งนิรันดร : อาจารย์วีระยุทธเสนอว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นแก่นของการพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับสังคมไทยที่เป็นสังคมเกษตรและเศรษฐกิจที่พึ่งพิงภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว อ่านบทความอาจารย์แล้ว ชวนขบคิดต่อว่า เรายังมีโอกาสที่จะบุกเบิกแนวการพัฒนาใหม่ได้ไหม? และการพัฒนาอุตสาหกรรมในบริบทโลกปัจจุบันยังเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน?

 

อ่านคำถามอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ​ ถึงฝ่ายอนุรักษนิยม เรื่องระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

โดย ศุภมิตร ปิติพัฒน์

อาร์ม ตั้งนิรันดร : สำหรับคนที่รู้สึกว่า เราขาดงานเขียนของฝ่ายอนุรักษนิยมที่เฉียบคม ผมแนะนำงานชิ้นนี้ของ อ.ศุภมิตร

 

เปิดเบื้องลึกการเมืองรัสเซีย ตีแผ่วิถีแห่งอำนาจของปูติน

โดย จิตติภัทร พูนขำ

อาร์ม ตั้งนิรันดร : อ.จิตติภัทร ให้ความรู้เกี่ยวกับการเมืองรัสเซียได้อย่างลึกซึ้งถึงแก่น อ่านแล้วก็ชวนให้ลองนำกรอบการวิเคราะห์ของอาจารย์มาใช้มองทั้งการเมืองจีน (ซึ่งผมสนใจ) และการเมืองไทยเองด้วย

 

ธีรภัทร เจริญสุข

ดาบในมือผู้นำ

โดย ปกป้อง จันวิทย์

ธีรภัทร เจริญสุข : ชื่นชมจอร์จวอชิงตันอย่างเป็นส่วนตัว อ.ปกป้องให้ภาพวอชิงตันในฐานะผู้นำที่สละอำนาจผ่านประติมากรรมอย่างเห็นภาพ

 

การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: รายจ่ายซ่อนเร้นของรัฐ

โดย อธิภัทร มุทิตาเจริญ

ธีรภัทร เจริญสุข : รู้เบื้องหลังการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ในทางลบ ที่กระทบต่อเงินหลวง

 

เคล็ดวิชารักษาอำนาจของรัฐบาลเผด็จการ

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

ธีรภัทร เจริญสุข : ตีแผ่แนวคิดรัฐเผด็จการที่ใช้ครอบงำคนเพื่อรู้ทันและปรับตัวต่อสู้ให้ได้

 

ศุภมิตร ปิติพัฒน์

สหภาพยุโรปแบบไหน? มุมมอง 4 แบบ

โดย จิตติภัทร พูนขำ

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ : ชอบบทความ EU 4 มุมมองที่เปิดประเด็นปัญหาของสภาวะเป็นอยู่คือที่ต้องจัดการกับ สิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เราใฝ่ฝันอยากจะเป็น สิ่งที่เราแสดงแก่คนอื่นว่าเราเป็น สิ่งที่คนอื่นคาดหวังให้เราเป็น และสิ่งที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น ใครจัดการทั้งหมดให้ลงตัว แสดงสลับหน้าสลับด้านที่เป็น เพื่อตอบความคาดหวังของคนต่างกลุ่มได้อย่างสอดคล้องให้นับถือเขาได้ว่าเป็นผู้จัดเจนทางการเมือง

 

Citizens of the world or citizens of nowhere?

โดย Peter Ungphakorn

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ : ถ้า EU ของอาจารย์จิตติภัทรฯ มี 4 หน้าเหมือนกับพรหมสำหรับตอบโจทย์ความคาดหวังต่างๆ กันของคนในยุโรป อาจารย์พีเทอร์ฯ ก็ให้คำอธิบายแก่ข้อสังเกตของสุนทรภู่ที่ว่า “ทุกวันนี้มีมนุษย์อยุธยา เป็นร้อยหน้าพันหน้ายิ่งกว่าพรหม” ว่าเป็นเพราะคนเราในปัจจุบันมี multiple identities และ divided loyalties

 

สารี อ๋องสมหวัง : ผู้บริโภคกับ ‘ความไม่รู้’ เรื่องปัญหาบริการสุขภาพและสาธารณสุข

โดย ภัทชา ด้วงกลัด

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ : ข้าพเจ้าจะใช้ชื่อพี่สารี อ๋องสมหวังเป็นเครื่องทดสอบความรู้รอบตัวและความตื่นตัวของนิสิตในชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องสังคมและประเด็นปัญหาสาธารณะ ก่อนจะเริ่มสอนเกี่ยวกับ collective action problems เสมอ แต่ขออนุญาตที่จะไม่เฉลยในที่นี้ว่ามีนิสิตกี่เปอร์เซ็นต์ที่รู้จักพี่สารีฯ และงานขับเคลื่อนของมูลนิธิฯ ในด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค

 

จิตติภัทร พูนขำ

เรื่องซ้ายๆ ขวาๆ

โดย พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

จิตติภัทร พูนขำ : ในวันที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จักว่าอะไรคือ “ซ้าย” กับ “ขวา” บทความของนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของไทยอย่าง ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ให้ภาพที่มาที่ไปของระนาบอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจการเมืองทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และเปรียบเทียบ และชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการถกเถียงกันในเชิงอุดมการณ์ในสังคมประชาธิปไตย

 

อ่านห้วงเวลาแบบคิสซินเจอร์

โดย ศุภมิตร ปิติพัฒน์

จิตติภัทร พูนขำ : โจทย์สำคัญของอาจารย์ศุภมิตรคือ ห้วงเวลาและทางแพร่งของฝ่ายอนุรักษนิยมที่กำลังเผชิญสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ แต่หาทางออกที่หวนกลับไปสู่การรักษาเสถียรภาพได้ยากยิ่ง ในทางแพร่งแบบนี้ อาจารย์ศุภมิตรพาเราไปสนทนากับ Henry Kissinger นักคิดผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ได้อย่างลุ่มลึกและชวนคบคิด ท่านที่ต้องการคู่สนทนาทางวิชาการ โดยเฉพาะจากอีกฟากหนึ่งของระนาบความคิด งานอาจารย์ศุภมิตรคือคู่สนทนาที่คมคายแต่น่ารักที่สุดงานหนึ่ง

 

ประเทศไทยมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร: การตีความ 4 แบบ

โดย วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

จิตติภัทร พูนขำ : Typology เป็นการอ่านประเภทหนึ่งที่ช่วยจัดจำแนกประเภทชุดคำอธิบายหรืองานวิชาการ อาจารย์วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร นอกจากนำเสนอ typology การตีความเศรษฐกิจการเมืองไทย 4 แบบได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว ยังวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของกับดักรายได้ปานกลาง รวมทั้งนำเสนอทางออกที่ผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่สนใจทั่วไปควรอ่านและนำไปพิจารณาอย่างจริงจัง

 

เอกศาสตร์ สรรพช่าง

ตายแล้ว (จะ) ไปไหน? : 5 วิธีจบชีวิตแบบกรีนๆ ที่ดีต่อโลก

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

เอกศาสตร์ สรรพช่าง : ชอบบทความนี้เพราะกำลังทำโปรเจ็กต์เรื่องการจัดการเรื่องความแก่ชราและความตาย มันตอกย้ำเราว่าอนาคตเศรษฐศาสตร์เรื่องความตายจะเปลี่ยนไปอีกมาก สมรภูมินี้จะกลายเป็นพื้นที่ใหม่ๆ ของนักธุรกิจที่ต้องการหาความแตกต่างให้กับคนเราในช่วงสุดท้ายของคนเรา

 

‘สายส่ง’ มีไว้ทำไม ? : คุยกับ มิ่งมานัส ศิวรักษ์ แห่งสายส่ง ‘เคล็ดไทย’

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

เอกศาสตร์ สรรพช่าง : เคยคิดอยากสัมภาษณ์อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการทำนิตยสารเก็บไว้เหมือนกันครับ เพราะอีกไม่นานหลายอาชีพก็จะหายไปและไม่มีใครรู้จักมันดีมากพอ ประวัติศาสตร์ส่วนนี้ไม่มีใครทำเก็บไว้เป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งจริงๆ ชีวิตที่ทำอาชีพเล็กๆ เหล่านี้ มีส่วนไม่น้อยในการขับเคลื่อนธุรกิจ

 

การ์ตูนง่ายๆ แต่ลึกซึ้ง

โดย GPEN

เอกศาสตร์ สรรพช่าง : เป็นคนวาดรูปเกือบทุกวันอยู่แล้ว เจอเนื้อหาอะไรแบบนี้ก็จะโดนใจเป็นพิเศษ อยากให้มีไอเดียแบบนี้ หรือคนที่ทำงานในแนวทางนี้มีที่ทางและเติบโตได้อีก เวลาดูก็จะนึกถึงคนที่ทำอาชีพนี้มานานๆ อย่างอาเปี๊ยก โปสเตอร์ หรืออย่างชัย ราชวัตร ซึ่งถ้าเป็นเมืองนอก นักวาดภาพการ์ตูนเก่งๆ แบบนี้น่าจะมีโอกาสได้อยู่กินสบายจากผลงานที่ตัวเองทำมาแล้วทั้งชีวิตมากกว่านี้ (ก็เหมือนนักเขียนในแขนงอื่นๆ ในบ้านเมืองนี้เช่นกัน)

 

Agony Uncle* Hema

โดย ภาณุ บุรุษรัตนพันธุ์

เอกศาสตร์ สรรพช่าง : รักลุง ไม่มีอะไรมาก กวนดี

 

แซนวิชชีสบนเครื่อง KLM บอกอะไรกับเรา

โดย กรณิศ ตันอังสนากุล

เอกศาสตร์ สรรพช่าง : อันนี้ก็ชอบ อ่านแล้วนึกถึงสายการบิน smooth as silk ที่มีแต่คำทักทาย มีแต่แพ็คเกจจิ้งแต่ไม่มีคอนเทนต์อะไรเลยในเครื่องบินที่เสริมสร้างวัฒนธรรมของชาติตนให้ผู้โดยสารได้ภูมิใจ เห็นแต่ระบบอุปถัมภ์เต็มลำ (555)

 

ประจักษ์ ก้องกีรติ

เยี่ยมยามถามข่าว ‘ไผ่ ดาวดิน’

โดย เวียง-วชิระ บัวสนธ์

“ชีวิตของพ่อ : ท่านชิ้น ผู้อาภัพ” – ม.ร.ว.สายสวัสดี สวัสดิวัตน

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

อันวาร์ ปาตานี แม่น้ำจระเข้

โดย ธิติ มีแต้ม

ประจักษ์ ก้องกีรติ : ผลงานทั้ง 3 ชิ้นเป็นงานเขียนที่ทรงพลัง เปิดมุมมอง และที่สำคัญ มันต่างทำหน้าที่ที่บทความและสารคดีที่ดีควรจะทำ คือบันทึกเรื่องราวที่สำคัญแต่ไม่ค่อยถูกรับรู้ในสังคม ดีใจที่มีคนบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ไม่ให้ถูกลบเลือนหายไปในสังคมปัจจุบันของเราที่ท่วมท้นไปด้วยข้อมูลข่าวสาร

 

พลอย ธรรมาภิรานนท์

“จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” : จากความหวังถึงความจริงแห่งยุคสมัย

โดย วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

พลอย ธรรมาภิรานนท์ : เป็นบทความสั้นๆ อ่านง่าย ที่เสนอภาพชีวิตได้ในเมืองไทยได้ชัดเจน อ่านจบแล้วรู้สึกถึงความ dark แนว black comedy

 

การปฏิวัติ 2475 ที่โรงเรียนไม่ได้สอน

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

พลอย ธรรมาภิรานนท์ : พูดถึงมายาคติเกี่ยวกับการปฏิวัติ 2475 ได้อย่างชัดเจน อยากให้คนได้อ่านเยอะๆ จะได้แก้ไขความเข้าใจผิด มีแนะนำหนังสือน่าอ่านด้วย

 

สิงคโปร์โมเดล : กำแพง 4 ด้านที่เผด็จการข้ามไม่พ้น

โดย วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

พลอย ธรรมาภิรานนท์ : เป็นหนึ่งในบทความที่ชอบที่สุดเพราะเป็นหัวข้อที่อยากเขียน บทความของ อ.วีระยุทธชี้ให้เห็นว่าเศรษฐศาสตร์และการเมืองเชื่อมโยงกันเสมอ และเป็นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะมองข้ามไม่ได้ ที่สำคัญคือบทความอธิบายไว้ชัดเจนว่า ทำไมนักวิชาการและผู้ออกนโยบายของไทยจึงควรเลิกพูดถึงสิงคโปร์ในฐานะ “ตัวอย่าง” ของการพัฒนาประเทศเสียที

 

ธิติ มีแต้ม

‘การแพทย์ที่เชื่อไม่ได้’ หยุดเชื่อ เริ่มถาม เรื่องการรักษา กับ ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์

โดย ภัทชา ด้วงกลัด

ธิติ มีแต้ม : คำพูดเชยๆ ที่ว่า “ไม่มีใครไม่เคยป่วย” แต่ฟังยังไงมันก็จริ๊งจริง คำถามคือมูลค่าเท่าไหร่แล้วที่เราเสียไปจากการป่วยด้วยความไม่รู้และยอมเชื่อคนที่คิดว่าเขารู้

 

รวมผลงานชุด “การอภิวัฒน์สยาม 2475”

โดย หลายนักเขียน

ธิติ มีแต้ม : ซีรีส์ 2475 ทั้ง 19 เรื่องนี้ ควรอ่านซ้ำอย่างน้อยปีละครั้ง ยิ่งบ้านเมืองแบบนี้ ยิ่งควรอ่านเอาไว้เตือนตัวว่าเราๆ ท่านๆ อยู่ พ.ศ.ไหนกันแน่

 

5 วิธีใช้ชีวิตแบบผู้นำเผด็จการที่คุณเองก็ลองทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน!

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

ธิติ มีแต้ม : สนุก เซ็กซี่ กวนทีน และเป็นกระจกได้โดยไม่ต้องลองทำ

 

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม

การปฏิวัติ 2475 ที่โรงเรียนไม่ได้สอน

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม : เป็นบทความที่ผู้เขียนหยิบยกเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่สุดของการเมืองไทย ชวนสำรวจถึงมายาคติ และแนะนำหนังสือที่จะทำให้ผู้สนใจสามารถต่อยอดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้อย่างรอบด้านมากขึ้น

 

Economics Rules : เมื่อเศรษฐศาสตร์รุ่มรวยกว่าภาพจำของสังคม

โดย สฤณี อาชวานันทกุล

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม : หนังสือ Economics Rules ของ Dani Rodrik ควรจะเป็น ‘must read’ ของนิสิตนักศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ เพราะจะทำให้เห็นว่าเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ คือเป็นวิทยาศาสตร์ในบริบทของการพัฒนาแบบจำลองซึ่งที่มีความหลากหลาย และเป็นศิลปะในการนำประยุกต์แบบจำลองต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม จึงรู้สึกดีใจมากที่หนังสือเล่มนี้กำลังถูกแปลเป็นภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์ openworlds

 

101 ปี – 101 เรื่อง – ป๋วย 101

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม : เป็นบทความที่บอกเล่าเกร็ดชีวิตและความคิด 101 เรื่อง เกี่ยวกับ ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ ได้อย่างสมบูรณ์

กษิดิศ อนันทนาธร

โดย ศุภมิตร ปิติพัฒน์

กษิดิศ อนันทนาธร : บทความนี้ อ.ศุภมิตร เล่าเรื่องขุนสมาหารหิตะคดีได้อย่างน่าสนใจ เพราะเป็นการชุบชีวิตคนที่ไม่เป็นที่รู้จักแล้ว ให้กลับมามีชีวิตชีวาอย่างมีตัวอย่างผลงานของเขาให้เราได้เห็นและเรียนรู้

 

กษิดิศ อนันทนาธร : ธิติ มีแต้ม ทำให้เห็นชีวิตเบื้องหลังของวีรบุรุษสามัญชนคนที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม อย่าง นวมทอง ไพรวัลย์ ให้เห็นถึงครอบครัว ชีวิต และสิ่งที่เขาสละไปเพื่ออุดมการณ์

 

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ

กษิดิศ อนันทนาธร : ชอบที่ อ.วรากรณ์ ย่อยความรู้ต่างๆ มาให้อ่านอย่างง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ดูไม่น่ามีพิษภัยอย่างน้ำตาล แต่เป็นอันตรายอย่างเงียบๆ ใกล้ตัวเรา อย่างควรแก่การตระหนักรู้

 

อิสร์กุล อุณหเกตุ

“ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” : ตรวจสุขภาพอย่างไรไม่ให้ทำร้ายคนที่คุณรัก

โดย ณัฐกานต์ อมาตยกุล

อิสร์กุล อุณหเกตุ : ใครๆ ก็อยากมีสุขภาพที่ดี  การตรวจสุขภาพจึงเป็นเหมือนแผนที่ที่นำทางไปสู่เป้าหมายดังกล่าว บทความของณัฐกานต์ช่วยให้ใช้ ‘แผนที่’ ได้อย่างถูกวิธี ไม่หลงทางไปกับแพ็คเกจตรวจสุขภาพของโรงพยาบาล

 

Journalism of Data : โลกออนไลน์ต้อนรับแต่บทความที่สร้างจากข้อมูล?

โดย โตมร ศุขปรีชา

อิสร์กุล อุณหเกตุ : บทความของโตมรที่พูดถึง ‘ข้อมูล’ ในบทความ อ่านจบแล้วอยากชวนให้คนอื่นๆ ได้อ่านด้วย แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องเสิร์ชหาข้อมูลมาประกอบการแนะนำหรือเปล่า

 

ตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้น แต่ทำไมคนทั่วไปไม่ค่อยรู้สึก?

โดย พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

อิสร์กุล อุณหเกตุ : งานหนักของนักเศรษฐศาสตร์คือการตอบคำถามผู้คนทั่วไปว่า ทำไมตัวเลขทางการมักสวนทางกับความรู้สึก บทความของพิพัฒน์ช่วยให้ตอบคำถามของคุณลุงโชเฟอร์แท็กซี่ได้ชัดเจนและครบถ้วนอย่างยิ่ง

 

เพชร มโนปวิตร

“ปรากฏการณ์ตูน” บอกอะไร

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

เพชร มโนปวิตร : การออกวิ่งของตูน บอดี้แสลม เป็นปรากฏการณ์และพลังงานก้อนสำคัญที่กระแทกเข้าสู่สังคมไทย เป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จที่ว่า “ตูน ของจริง วิ่งสองพันโล เพื่อคนอื่น” บทความนี้สะท้อนแง่มุมต่างๆ ได้ดี และตอกย้ำว่าการตั้งคำถามนั้นทำได้ แต่อยู่ที่ท่าทีและลีลาการนำเสนอ

 

เพชร มโนปวิตร : อธิบาย Nudge Theory เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมของ Richard Thaler ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีล่าสุดได้อย่างสนุกและแจ่มชัด ชอบคำปิดท้ายที่ว่า “เมื่อมนุษย์นั้นไม่ฉลาดมากอย่างที่เราคิดและเข้าใจกัน และมักตัดสินใจผิดพลาดเพราะชอบใช้เพียงสัญชาตญาณอยู่เสมอ แล้วทำไมเราจะไม่พิจารณาประยุกต์ใช้แนวคิด nudge กันในการกำหนดนโยบายสาธารณะให้มากยิ่งขึ้นเล่า”
เพชร มโนปวิตร : เราเห็นความพยายามในการรณรงค์งดใช้หลอดเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในประเทศไทยในช่วงปีที่ผ่านมา ทำไมเรื่องเล็กๆ อย่างหลอดพลาสติกจึงกลายเป็นปรากฏการณ์รณรงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในระดับโลก บทความนี้เล่าที่มาที่ไปได้อย่างครบถ้วน และตอกย้ำว่านวัตกรรมในยุคหนึ่ง อาจกลายเป็น “ขยะ” ในยุคต่อมา

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save