fbpx

20 อันดับผลงานยอดนิยม ประจำปี 2560

ผลงานของ The101.world ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในปี 2560

ได้แก่ …..

 

“ผ่าท้องคลอดไม่ใช่คำตอบสุดท้าย” ไขปมความไม่รู้และความเข้าใจผิดของเหล่าพ่อแม่มือใหม่ กับ ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์

 

โดย ภัทชา ด้วงกลัด

คุณรู้หรือไม่ว่า

“กระบวนการคลอดไม่ใช่แค่เรื่องการเกิด แต่เป็นเรื่องของชีวิต เกี่ยวข้องกับสุขภาพของทั้งแม่และเด็ก และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของลูกที่คุณรักในอนาคตด้วย”

“ในภาวะปกติที่ไม่มีข้อบ่งชี้ การผ่าท้องคลอดถือว่ามีอันตรายทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อทั้งแม่และลูกสูงกว่าการคลอดปกติผ่านช่องคลอด”

“ในช่องคลอดแม่มีแบคทีเรียที่ดีอยู่ คอยควบคุมไม่ให้แบคทีเรียไม่ดีเข้ามาแทรกแซง เด็กที่คลอดผ่านช่องคลอดจะได้สัมผัสกับแบคทีเรียนี้ เกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน มีงานศึกษาพบว่าเด็กที่คลอดตามปกติมีโอกาสเป็นภูมิแพ้น้อยกว่าเด็กที่คลอดโดยการผ่าท้องคลอดถึง 3 เท่า”

“อัตราผ่าท้องคลอดในประเทศไทยสูงเกิน 30% นับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก เดี๋ยวนี้มีการผ่าท้องคลอดกันมาก ถึงขนาดมีคลินิกเฉพาะสำหรับฝากท้องคลอดแบบผ่าคลอดเลยอย่างเดียว บางโรงพยาบาลในไทยตอนนี้อัตราการผ่าท้องคลอดสูงถึง 60-70%”

“โดยทั่วไปหมอได้เงินมากกว่าเวลาผ่าท้องคลอด เพราะถือว่าเป็นหัตถการที่ทำยากกว่าคลอดปกติ ในมุมของผู้ให้บริการ รายได้ที่มากกว่าก็เป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้หมออยากผ่าคลอด โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน”

“เราสูญเสียทรัพยากรเพิ่มขึ้นจากการผ่าท้องคลอด แต่กลับได้ผลลัพธ์ที่แย่ลงกว่าเดิม”

ถ้าคุณอยากรู้เรื่องการผ่าท้องคลอดมากขึ้นกว่านี้อีก ห้ามพลาดบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ และส่งต่อให้คนที่คุณรักอ่าน

………

ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า พ่อแม่มือใหม่จำนวนมากในโลกและในไทยจึงเลือกการผ่าท้องคลอดเป็นคำตอบสุดท้าย ด้วยเหตุผล ไม่เจ็บ-ปลอดภัย-สะดวก-แน่นอน

แต่คุณมั่นใจแล้วจริงหรือ?

ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย อดีตคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะมาลบล้างมายาคติเรื่องการผ่าท้องคลอดในสังคมไทย ผ่านการสนทนากับภัทชา ด้วงกลัด กองบรรณาธิการ The101.world

แล้วคุณอาจจะพบว่ามีดหมอไม่ใช่คำตอบสุดท้ายจริงๆ

 

จุดจบของมหาวิทยาลัย? MOOC กับความท้าทายใหม่ในโลกการศึกษา

 

โดย อิสริยะ สัตกุลพิบูลย์

ในยุค MOOC หรือ Massive Open Online Course มาแรงแซงทุกโค้ง โลกธุรกิจการศึกษาต้องปรับตัวอย่างไร นักเรียนออนไลน์เป็นใคร วิชาอะไรดี วิชาอะไรโดน แล้วมหาวิทยาลัยใกล้ตายหรือยัง!

อิสริยะ สัตกุลพิบูลย์ อาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับตามองสถานการณ์และชวนคิดเรื่องความท้าทายใหม่ในโลกการเรียนรู้

 

‘การแพทย์ที่เชื่อไม่ได้’ หยุดเชื่อ เริ่มถาม เรื่องการรักษา กับ ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์

 

โดย ภัทชา ด้วงกลัด

101 คุยกับ ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program หรือ HITAP) เกี่ยวกับสารพัดมายาคติในระบบสุขภาพของไทย จากการรู้ไม่เท่าทัน “ธรรมชาติของความรู้” ทางการแพทย์

“ยาใหม่ดีกว่ายาเก่า” “ทำมากดีกว่าทำน้อย” “ทำก่อนดีกว่าทำหลัง” เป็นความเข้าใจผิดสำคัญเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในสังคมไทยอย่างไร

หมอจะฝ่า “อคติ” หลายเรื่อง เช่น อคติจากการศึกษาและเลือกใช้งานวิจัย อคติจากการตลาด อคติจากความเชื่อมั่นในตัวเอง ได้อย่างไร

และทางออกของหมอและคนไข้ในการรับมือกับมายาคติและอคติคืออะไร

หาคำตอบได้ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้

 

เมื่อบ้าน วัด โรงเรียน หล่อหลอมความโกง : ถอดรหัสพฤติโกงกับธานี ชัยวัฒน์

 

โดย ทีมงาน The101.world

ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เปิดมุมมองใหม่เรื่องพฤติกรรมการโกง “ทำไมคนเราถึงโกง?” และทางออกของปัญหาอยู่ที่ไหน บ้าน-วัด-โรงเรียน คือคำตอบ หรือเป็นแหล่งหล่อหลอมพฤติโกงกันแน่

ชมคลิปย้อนหลังได้ ที่นี่


เมื่อ E-Commerce กลายเป็นอดีต และ O2O คืออนาคต

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

อาร์ม ตั้งนิรันดร เล่าอนาคตของวงการค้าปลีกที่กำลังมาแรงทั้งในจีนและสหรัฐอเมริกา นั่นคือ O2O (Online to Offline) โมเดลธุรกิจที่ไม่ใช่ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้ารูปแบบเดิม แต่ก็ไม่ใช่ E-Commerce ในโลกออนไลน์เท่านั้น แล้วมันคืออะไรกันแน่?

 

ไทยกำลังเจอ Dutch disease?

 

โดย พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย สงสัย เศรษฐกิจไทยกำลังติดโรค Dutch disease แบบอ่อนๆ หรือไม่

โรคเศรษฐกิจที่เคยเกิดกับเนเธอร์แลนด์ในช่วงทศวรรษ 1960 เมื่อครั้งค้นพบก๊าซธรรมชาติมหาศาลในทะเลเหนือทิ้งบทเรียนอะไรให้กับเรา

และสำหรับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน อะไรคือ “พาหะนำโรค” อะไรคือ “ข่าวดี” ที่อาจกลายเป็น “ข่าวร้าย” จนต้องระมัดระวังให้จงดี

 

การปฏิวัติ 2475 ที่โรงเรียนไม่ได้สอน

 

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

ในสังคมที่ประวัติศาสตร์กลายเป็นเครื่องมือของการควบคุมกล่อมเกลาความคิดคนมากกว่าเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้เพื่อให้เท่าทันอดีตของสังคมตนเอง

ประจักษ์ ก้องกีรติ สำรวจตรวจสอบมายาคติ 4 ประการในสังคมไทยเกี่ยวกับการปฏิวัติ 2475 :

1. 2475 เป็นการชิงสุกก่อนห่าม

2. 2475 เป็นการปฏิวัติของนักเรียนนอกจำนวนน้อย

3. 2475 เป็นการกระหายอำนาจและยึดอำนาจไว้กับกลุ่มตนเองเพียงลำพัง

4. 2475 เป็นเพียงการรัฐประหาร ไม่ใช่การปฏิวัติที่แท้จริง

อะไรคือประวัติศาสตร์ 2475 ฉบับโรงเรียนไทยไม่ได้สอน สำหรับการต่อสู้ถกเถียงกับมายาคติทั้ง 4 ประการข้างต้น และหนังสือน่าอ่านเกี่ยวกับ 2475 มีเล่มใดบ้าง ติดตามได้ใน “การปฏิวัติ 2475 ที่โรงเรียนไม่ได้สอน” โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

……….

“24 มิถุนายน 2475 ก็เหมือนการปฏิวัติในสังคมอื่นๆ มีทั้งด้านที่สำเร็จและล้มเหลว มีจุดแข็งและจุดอ่อน มีความก้าวหน้าและมีข้อบกพร่อง เพราะมันเป็นการปฏิวัติของมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อที่เป็นปุถุชน มิใช่อรหันต์ ความขัดแย้งและการช่วงชิงอำนาจในภายหลังก็เป็นเรื่องปกติเฉกเช่นการปฏิวัติครั้งอื่นที่เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์โลก

“ปัญหาอยู่ที่ว่า จนถึงวันนี้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ “พลิกแผ่นดิน” ครั้งนี้อย่างรอบด้านแล้วหรือยัง การถกเถียงและการประเมินฐานะความสำคัญของเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเรื่องสำคัญและควรทำ แต่เงื่อนไขสำคัญคือสังคมต้องมีเสรีภาพให้ประชาชนได้เถียงและตั้งคำถามเรื่องประวัติศาสตร์ โดยไม่ต้องหวาดกลัวอำนาจลงทัณฑ์ทางกฎหมายหรือการปิดกั้นจากรัฐ

“ทั้งนี้การตั้งคำถามกับมายาคติที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของกระบวนการเรียนรู้อดีตเพื่อเข้าใจพัฒนาการของสังคมอย่างถ่องแท้ มิใช่เข้าใจอดีตเฉพาะในแบบที่ชนชั้นนำอยากควบคุมให้เราเข้าใจ”

– ประจักษ์ ก้องกีรติ –

 

‘อาหารไทยไม่มีคำว่าผิด’ : เปิดตำราอาหารไทยแบบไม่แช่แข็งไปกับ ม.ล. ขวัญทิพย์ เทวกุล

 

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ตามติดการแข่งขันสุดดุเดือดในรายการ MasterChef Thailand – มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย เป็นประจำ ภาพ (และเสียง) ของกรรมการหญิงเดี่ยวสายแข็งอย่าง ม.ล. ขวัญทิพย์ เทวกุล หรือที่หลายคนเรียกเธอว่า ‘หม่อมป้อม’ หรือ ‘เชฟป้อม’ คงทำให้คุณสะดุดตา

แต่ภายใต้ความโหดและจริงจังในรายการ หลายคนอาจไม่รู้ว่าเธอคือหนึ่งในผู้ที่เชี่ยวชาญด้านอาหารไทยคนหนึ่งของประเทศ ที่สำคัญคือความเป็น ‘ครู’ ที่พร้อมถ่ายทอดความรู้ด้านอาหารแบบไม่ต้อง ‘แช่แข็ง’ ตามกาลเวลา

ทานข้าวให้อิ่มท้อง แล้วมาอ่านบทสัมภาษณ์ชวนหิวที่จะทำคุณอิ่มไปด้วยความรู้ทางอาหารไปพร้อมๆ กัน!

 

ทำไมสหรัฐฯ จึงไม่มีรถไฟความเร็วสูง

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

คุ้มหรือไม่คุ้ม-ไม่รู้ แต่ประเทศไทยกำลังจะมีรถไฟความเร็วสูง เช่นเดียวกับประเทศร่ำรวยเกือบทุกประเทศในโลก

แต่เคยสงสัยไหมว่า ทำไมประเทศสุดรวยอย่างสหรัฐอเมริกากลับไม่มีรถไฟความเร็วสูงเลยแม้แต่สายเดียว?

อาร์ม ตั้งนิรันดร มีคำตอบ

 

ถกเรื่องความเหลื่อมล้ำในรั้วโรงเรียน กับ อรรถพล อนันตวรสกุล

 

โดย วันดี สันติวุฒิเมธี

วันดี สันติวุฒิเมธี ชวน อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิพากษ์การศึกษาไทย จากความเหลื่อมล้ำในรั้วโรงเรียน จนถึงทางออกของการปฏิรูประบบการศึกษา

……….

(1)

“ขณะนี้ความเหลื่อมล้ำได้บุกเข้ามาในโรงเรียนของรัฐมากขึ้นเรื่อยๆ โรงเรียนกลายเป็นผู้ผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำและความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมให้เด็กเห็น ทั้งที่การศึกษาเป็นเรื่องสวัสดิการขั้นพื้นฐาน แต่ช่องว่างของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนกำลังถ่างกว้างมากขึ้น”

(2)

“พ่อแม่ส่วนใหญ่เมื่อส่งลูกเข้าโรงเรียนก็คิดว่าตนเองหมดบทบาทแล้ว เวลาระดมทรัพยากรก็เอาเงินใส่ซองให้โรงเรียนก็จบ สิ่งสำคัญคือ เราต้องพยายามสนับสนุน ให้พ่อแม่เข้ามาเป็นเจ้าของการศึกษามากกว่าเป็นผู้จ่ายเพื่อการศึกษา”

(3)

“เด็กเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างเหลื่อมล้ำ ยอมเป็นคนอยู่ข้างล่าง ตระหนักในสิทธิพิเศษของคนอยู่ข้างบน นี่คือสิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการมีโปรแกรมพิเศษเหล่านี้อยู่ในโรงเรียน”

(4)

“เด็กเก่งจะเติบโตมาด้วยสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันสูงมากขึ้นเรื่อยๆ … เด็กเหล่านี้ต้องแข่งกันถีบตัวเองขึ้นไปให้ได้ เพราะพ่อแม่ปลูกฝังค่านิยมแบบปากกัดตีนถีบให้ คือ กัดคนข้างบนลง แล้วถีบคนข้างล่างลงไป”

(5)

“ในสังคมไทย เด็กเริ่มไปโรงเรียนวันแรกด้วยความอยากเรียนรู้มาก สุดท้ายเรียนจบจากมหาวิทยาลัยด้วย degree with no passion ไม่มีแม้กระทั่ง passion ต่อตัวเอง ดังนั้น passion ต่อสังคมไม่ต้องพูดถึง”

 

ซีเรีย 101: จากสงครามกลางเมือง สู่สงครามตัวแทน

 

โดย พลอย ธรรมาภิรานนท์

ใครอยากรู้ที่มาที่ไปของสงครามซีเรียต้องอ่าน!

คนส่วนใหญ่รู้ว่าเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรีย แต่อะไรคือสาเหตุของสงคราม ที่ทำให้เมืองที่หลายพื้นที่เป็นมรดกโลกถูกทำลายเหลือเพียงซากปรักหักพัง? และทำไมศูนย์กลางของสงครามต้องเป็นเมืองอเลปโป?

นอกจากนั้น สงครามที่ยืดเยื้อยาวนานก้าวไปไกลกว่าการสู้รบกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มกบฏ แต่พัฒนากลายเป็นสงครามตัวแทนของหลายฝ่าย … ใครเป็นใครในฝ่ายไหนกันบ้าง?

พลอย ธรรมาภิรานนท์ จะพาไปหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ และเปิดประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับสงครามในซีเรียที่โลกกำลังให้ความสนใจ

 

จีน vs สหรัฐฯ : ใครครองอนาคต?

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

โลกยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ยังคงหมุนรอบสหรัฐฯ หรือกำลังจะหันมาหมุนรอบจีน? อาร์ม ตั้งนิรันดร สำรวจสองมุมมองที่แตกต่าง จากสองนักวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศชั้นนำของโลก …

Joseph Nye ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ

Ian Bremmer คอลัมนิสต์และนักวิเคราะห์การต่างประเทศชื่อดัง

มาดูกันว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีน ใครถือไพ่เด็ดอะไรไว้บ้าง

 

“ปรากฏการณ์ตูน” บอกอะไร

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ วิเคราะห์ “ปรากฏการณ์ตูน” บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทย

 

“การเติบโตเป็นเรื่องเจ็บปวด” – วีรพร นิติประภา

 

โดย ทีมงาน The101.world

“คนรุ่นฮิปสเตอร์นี่เป็นเจเนอเรชั่นที่คลุมเครือมาก ซึ่งวีรพรชอบมาก คุณไม่ต้องเป็นหญิงแท้ชายแท้ คุณไม่ต้องทำงานเป็นหลักเป็นแหล่ง คุณทำงานได้ทุกที่เพราะคุณอยู่บน cloud อยู่บนมือถือ คุณไม่ต้องแต่งงานก็ได้ เพราะคุณมี tinder (หัวเราะ)”

วีรพร นิติประภา เจ้าของงานเขียนรางวัลซีไรต์ ‘ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต’ และ ‘พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ’ จะแชร์เรื่องราวความเจ็บปวดจากการเปลี่ยนผ่านของเธอ และมีมุมมองกับการเปลี่ยนผ่านของสังคม ใน 101 minutes at Starbucks ครั้งที่ 2 : Coming of Age ไว้อย่างไร

ตามไปอ่านกันได้เลย!

 

มาแล้ว! Long List ‘ความน่าจะอ่าน’ (1)

มาแล้ว! Long List ‘ความน่าจะอ่าน’ (2)

 

โดย ทีมงาน The101.world

มาแล้ว! Long List ‘#ความน่าจะอ่าน

ผลการคัดเลือกหนังสือ ‘น่าอ่าน’ ประจำปี 2559 โดยกรรมการ 5 คน คือ สฤณี อาชวานันทกุล, นิวัต พุทธประสาท, ทราย เจริญปุระ, ทีปกร วุฒิพิทยามงคล และ โตมร ศุขปรีชา ในโปรเจ็กต์ ‘ความน่าจะอ่าน’ รอบแรกออกมาแล้ว!

หนังสือที่ผ่านเข้ามาในรอบแรก เป็นหนังสือที่กรรมการทั้ง 5 คน ต่างคนต่างเลือกเข้ามาตามความชอบของตัวเอง บางเล่มมีคนเลือกซ้ำกัน บางเล่มก็ไม่ซ้ำกันเลย

เลขที่ออก…คือ 53 เล่ม!

(ถ้าคุณอ่านหนังสือในลิสต์ทั้งหมด โดยใช้เวลาเล่มละหนึ่งสัปดาห์ ก็จะใช้เวลาราวๆ หนึ่งปีในการอ่านทั้งหมดนี้ให้จบพอดี)

ไปลุ้นกันได้เลยว่าเล่มไหนตรงใจหรือไม่ตรงใจคุณบ้าง

 

ผู้หญิง + จุดสุดยอด = ความซับซ้อนที่มากกว่าความสุข

 

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

โดยพฤตินัย, ’จุดสุดยอด’ คือปลายทางของเซ็กส์

สำหรับเพศชาย ไม่ว่ากาลเวลาจะโรแมนติไซส์เซ็กส์และความรักมากแค่ไหน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสุขจากจุดสุดยอดมีไว้เพื่อเหตุผลในการสืบทอดเผ่าพันธุ์มนุษย์

ยิ่งรู้สึกดี ก็ยิ่งอยากปลดปล่อย เพิ่มโอกาสขยายพันธุ์ให้มีมากยิ่งขึ้น

แต่จุดสุดยอดสำหรับเพศหญิงล่ะ มีไว้เพื่ออะไรกัน?

เทพพิทักษ์ มณีพงษ์ พาไปสำรวจว่า จุดสุดยอดของผู้หญิงมี ‘ฟังก์ชัน’ อะไรบ้าง เป็นไปได้ไหม ที่จุดสุดยอดของผู้หญิงจะเป็นมากกว่าตัวแทนแห่งความสุข!

 

ตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้น แต่ทำไมคนทั่วไปไม่ค่อยรู้สึก?

 

โดย พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ตอบข้อสงสัยว่า แม้หลายฝ่ายปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจสูงขึ้น แต่ทำไมผู้คนจำนวนมากถึงยังไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยดีขึ้นตามไปด้วย

“แข็งนอก-อ่อนใน” | “แข็งบน-อ่อนล่าง” | “ดีขึ้น-แต่เคยดีกว่านี้” คือสามคำตอบของพิพัฒน์

 

อันวาร์ ปาตานี แม่น้ำจระเข้

 

โดย ธิติ มีแต้ม

หลังจากได้รับอิสรภาพ “อันวาร์” เล่าให้เราฟังว่าทหารมาขอจับมือด้วยรอยยิ้มและถามว่าเป็นมือยิงหรือมือวาง !

คงไม่ใช่เรื่องน่าสนุกนัก หากชีวิตคนหนุ่มคนหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำหน้าที่สื่อมวลชนอิสระ และนักเคลื่อนไหวสันติภาพในบ้านเกิดตัวเอง กลับถูกคุมขังในคดีอั้งยี่ซ่องโจร เป็นแนวร่วมก่อการร้าย และได้รับการพ่วงเป็นแกนนำก่อจลาจลเผาคุกจากฝ่ายความมั่นคงในเวลาต่อมา

มีกุญแจหลายดอกที่ช่วยไขเหตุการณ์ความไม่สงบที่สามารถนำไปสู่ความเข้าใจอันเป็นพื้นฐานของสันติสุขได้ “อันวาร์” อาจเป็นกุญแจดอกหนึ่ง

“อันวาร์” คือใคร ชีวิตชายหนุ่มคนหนึ่งเป็นภาพสะท้อนของปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความมั่นคง และกระบวนการยุติธรรมอย่างไร

“ธิติ มีแต้ม” ส่งมอบกุญแจให้อยู่ในมือคุณแล้ว เชิญไขได้ตามอัธยาศัย

 

“การที่คุณไม่พูด เท่ากับคุณอนุญาต” ดวงฤทธิ์ บุนนาค

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

“คุณรู้ไหมว่าตอนนี้คอร์รัปชันแม่งบานเลย นี่เป็นยุคที่คอร์รัปชันเบ่งบานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่ผมเกิดมา มันคอร์รัปชันทุกเม็ด ทุกหย่อมหญ้า เข้าไปถึงระบบราชการแบบละเอียดมาก ตั้งแต่เจ้าหน้าที่เขต ตำรวจ ทหาร ผู้นำ ทุกระดับ คอร์รัปชันกันแบบสนั่นหวั่นไหว…

“อย่างถนนเลียบแม่น้ำ 14 กิโลเมตรนี่ก็คอร์รัปชัน คุณดูไม่ออกจริงๆ เหรอ ผมว่าทุกคนก็ดูออก แต่คุณอนุญาตให้มันเกิดขึ้น การที่คุณไม่พูดเท่ากับคุณอนุญาต”

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล คุยกับ ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกรุ่นใหญ่ ว่าด้วยการพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และโครงการใหม่ล่าสุดของเขา ‘Warehouse30’

 

ทำไมคนชั้นกลางไทยถึงหันหลังให้ประชาธิปไตย

 

โดย สมคิด พุทธศรี

ธร ปีติดล กับ ชานนทร์ เตชะสุนทรวัฒน์ สองอาจารย์หนุ่มจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุยกับ สมคิด พุทธศรี กองบรรณาธิการ 101 เปิดงานวิจัยใหม่สด ไขปริศนา “ทำไมคนชั้นกลางระดับบนของไทยถึงหันหลังให้ประชาธิปไตย” ที่นี่ที่แรก!

 

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save