fbpx
ชวนอ่าน 3 ผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2563 (Media Award 2020) โดย Amnesty International Thailand

ชวนอ่าน 3 ผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2563 (Media Award 2020) โดย Amnesty International Thailand


จากชายแดนใต้ถึงเราทุกคน ‘ความรุนแรงต่อผู้หญิงจะต้องยุติ

โดย ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

ผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลชมเชยข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

“ผลงานชิ้นนี้เป็นการไปสำรวจเรื่องของผู้หญิงที่สามจังหวัดทำให้เห็นว่ามีผู้หญิงที่ถูกละเมิดสิทธิเนื้อตัวร่างกายและจิตใจผ่านความรุนแรง งานชิ้นนี้หวังจุดประกายให้เกิดบทสนทนาต่อว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณส่วนตัวยังเกิดขึ้นอยู่ทั่วประเทศของเรา ไม่ใช่แค่ในครอบครัวระหว่างสามีภรรยาเท่านั้น แต่ยังเกิดระหว่างสมาชิกอื่นในครอบครัวและคู่รักที่ไม่ได้แต่งงาน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่เคยเป็นเรื่องส่วนตัวเลยและจะไม่มีวันเป็นเรื่องส่วนตัว”

“แม้เรื่องราวของผู้หญิงในบทความนี้เปี่ยมด้วยความแข็งแกร่งและความเป็นมนุษย์ แม้จะมีข้อจำกัดด้านวัฒนธรรม กฎหมาย และอะไรมากมาย เมื่อมีคนตั้งใจยุติความรุนแรงนี้อย่างจริงจัง ก็มีผู้หญิงหลุดออกจากความรุนแรงได้จริง ขอส่งเสียงต่อจากชื่อบทความอีกครั้งคือ “จากชายแดนใต้ถึงเราทุกคน ความรุนแรงต่อผู้หญิงจะต้องยุติ” ” – ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

50 ปีหลังมนุษย์เหยียบดวงจันทร์ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยยังอยู่ที่เดิม

โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย และเมธิชัย เตียวนะ

ผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลดีเด่นข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

“ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยอยู่กับสังคมไทยมายาวนานและมีมาถึงปัจจุบัน เด็กหลายแสนชีวิตต้องติดอยู่กับกับดักความยากจนและต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา หลายคนไม่มีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาที่ดี ไม่มีสิทธิที่จะมีชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับ”

“สารคดีนี้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตผู้คนที่ยังต้องอยู่กับความทุกข์ความลำบาก เด็กหลายคนต้องอยู่ในบ้านสังกะสี ไม่มีสมาธิเรียนเพราะไม่ได้กินข้าวตั้งแต่เมื่อคืน นี่เป็นเรื่องที่สังคมต้องแก้ไข เพื่อให้ผู้คนมีอนาคตที่ดีขึ้น อยากขอหยิบประโยคปิดท้ายในสารคดีนี้ขึ้นมากล่าวคือ “เด็กจะวิ่งเหมือนธนู ถ้ามีพื้นที่ให้วิ่ง” – ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

YouTube video

101 Gaze Ep.1 ‘โคตรคนกอง อึดทะลุคิว’

โดย ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์, กมลชนก คัชมาตย์ และ ฟ้าใหม่ พงศกรเสถียร

ผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์

“มีคนเคยบอกว่าการทำงานกองถ่ายคืองานที่ ‘นอนน้อยเอ็มร้อยฟรี’ ไม่ควรมีงานไหนในโลกนี้ที่มีคำจำกัดความแบบนั้น แรงงานทุกคน คนทำงานทุกคน เป็นมนุษย์มีเลือดเนื้อ เรามีความหิวโหย เรามีความเหนื่อย เรามีความง่วงนอนเป็นเรื่องปกติของคน มีข้อจำกัด มีขีดจำกัดของเรา การทำงานไม่ควรเป็นการทดสอบขีดจำกัดเหล่านั้น อยากให้ผลงานชิ้นนี้จุดประกายให้นายทุนหรือคนมีอำนาจเห็นว่ามันเป็นปัญหาและมองเห็นต้นทุนที่แท้จริงของการทำงาน ต้นทุนที่สำคัญมากที่สุด นั่นคือมนุษย์” – กมลชนก คัชมาตย์ ผู้กำกับสารคดี

………………………

::101 Gaze รายการที่เคลือบหวานให้ปรากฎการณ์ทางสังคมที่เข้มข้น ชวนคุณมาจดจ้องเรื่องราวต่างๆ ผ่านมุมมองความคิดที่ลึก และมุมมองสายตาที่ล้ำ::

ประเดิมตอนแรกด้วย ‘โคตรคนกอง อึดทะลุคิว’

เวลาการทำงานต่อกันหลายสิบชั่วโมงจนต้องอดหลับอดนอน คิวการถ่ายทำที่อัดแน่น วันต่อวัน คืนต่อคืน นี่คือสภาพการทำงานที่ท้าทายขีดจำกัดของ ‘คนกอง’ หรือคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ตลอดมา

และเมื่อถึงคราวที่วายร้ายอย่าง ‘โควิด’ เข้ามาเปลี่ยนทุก scene บนโลกไปอย่างฉับพลัน พวกเขาต้องเจอกับอะไร สภาพการทำงานที่แสนสาหัสจะถูกซ้ำเติมหรือไม่

หนทางใดจะเป็นทางออกเพื่อกู้หัวใจ ความเป็นธรรม และสวัสดิภาพในการทำงานของคนกองให้ดีขึ้น!

สำรวจปัญหาการทำงานกองถ่าย ผ่านความเห็นและประสบการณ์ของ ตั้ม-พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ ผู้ออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ (Production Designer) ไก่-ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ และ ปั๊ป-ภิไธย สมิตสุต ผู้กำกับภาพ

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018