fbpx
French Chic : สไตล์เก๋ๆ ของภริยาประธานาธิบดีฝรั่งเศส

French Chic : สไตล์เก๋ๆ ของภริยาประธานาธิบดีฝรั่งเศส

วิพากษ์กันอย่างเผ็ดร้อนไปตามๆ กัน แม้จะไม่ได้กอสซิบไปในทางเสียหาย แต่ได้แรงชมจาก ส.ว. ทั้งหลายสำหรับประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนใหม่ Emmanuel Macron และสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของฝรั่งเศส Brigitte Trogneux ที่ทำให้เหล่า ส.ว.ทั้งหลายกรีดร้องด้วยความชื่นชมประสมริษยาเล็กๆ  อ้อ…ส.ว.ในที่นี้คือสาวสูงวัย ไม่ใช่ สว.(สมาชิกวุฒิสภา) นะ

 

เราคงไม่มาแฉนั่งขุดคุ้ยเรื่องรักต่างวัยระหว่างมาดามแพรสซิดองต์ กับประธานาธิบดีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของฝรั่งเศส แต่อยากจะโฟกัสไปยังการที่เธอคือตัวแทนของผู้หญิงฝรั่งเศสอย่างแท้จริง

รวมถึงชูความเป็นเฟมินิสต์ที่กระแสโลกกำลังร้อนแรง เพราะการสร้างคำเหยียดเฟมินิสต์ของโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ผู้หญิงอเมริกันทั้งหลายลุกฮือขึ้นมาเรียกร้องสิทธิและบทบาทของสตรี ลามให้ผู้หญิงทั้งโลกต่างแสดงพลังหญิง ประกาศว่าผู้หญิงมีทั้งศักดิ์และสิทธิ์ในความเป็นเพศแม่และเฟมินิสต์

แต่สิ่งที่มาแรง นอกจากมาดามแพรสซิดองต์ ท่านนี้จะทำให้คนที่พลาดรถด่วนขบวนสุดท้ายไปแล้วมีความหวังว่าเดี๋ยวจะมีรถด่วนขบวนพิเศษมารับ คือภาพลักษณ์ของเธอ ที่สามีถึงกับบอกออกสื่อว่า ชีวิตเขาจะไม่มีวันเป็นเช่นนี้ถ้าไม่มีเธอเคียงข้าง

คู่รักต่างวัยนี้แต่งงานครองคู่กันมาสิบปีแล้ว และเธออายุมากกว่าเขา 25 ปี ทำให้คนเชื่อว่าเธอต้องมีเสน่ห์ในแบบของเธอ และสิ่งที่เห็นได้ง่ายที่สุดก็คือ สไตล์การแต่งตัว

ตามปกติแล้ว ภรรยาของประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะไม่มีบทบาทหน้าที่ที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประธานาธิบดีมาครง ยืนยันว่าภรรยาของเขาจะเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของฝรั่งเศสคนแรก ที่จะมีการบัญญัติหน้าที่อย่างชัดเจน แต่…ขอย้ำคำว่าแต่, เธอจะไม่ได้เงินเดือนใดๆ จากการหน้าที่นี้เช่นเดียวกับมาดามเพรสซิดองต์ท่านอื่นๆ ในอดีต

บริจิตต์ ทรอนเยอซ์ กำลังทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นฝรั่งเศสพลิกกลุ่มเป้าหมาย จากสาวๆ มาสู่ ส.ว.ที่มีสไตล์ของตัวเองที่ชัดเจน ไม่ใช่สไตล์แบบมาดามปารีเซียง แต่เป็นมาดามปารีเซียงยุคใหม่ที่เป็นแก่นแท้ของคำว่า Très chic อย่างแท้จริง

ต้องยอมรับว่าคำว่าเก๋ หรือชิค นี้มาจากสไตล์การแต่งตัวของสาวฝรั่งเศส ที่คนเข้าใจผิดว่าเป็นสไตล์มาดาม สวมเสื้อผ้าโอ๊ตกูตูร์หรือจากห้องเสื้อชั้นสูงของปารีส หน้าผมหมวกถุงมือครบเป๊ะ ซึ่งเป็นความชิคแบบยุคฟิฟตี้ส์ที่มาถึงวันนี้ดูเป็นแก่หรือป้าระเบียบ ต้องแบบบริจิตต์ ทรอนเยอซ์ ที่แม้จะวัย 64 ปีแล้วแต่เธอยังแต่งกายแบบภูมิฐานแต่ก็มีความลำลองอยู่ในที เป็นมาดามปารีเซียงที่มีความขบถ อย่างการสวมเสื้อพีโค้ทสีฟ้ากับกางเกงสกินนี่ และสวมรองเท้าผ้าใบ เธอไม่ได้แต่งตัวกระชากวัย แต่คือการเดินเคียงข้างสามีเพื่อถ่ายภาพในอิริยาบถลำลอง เพื่อเผยแพร่อย่างเป็นทางการ

โปรดสังเกตว่า ย่อหน้างข้างต้นมีการใช้คำย้อนแย้งตลอด เช่น ภูมิฐานแต่มีความลำลอง ลำลองแต่เผยแพร่อย่างเป็นทางการ เพราะนี่แหละ คือ ‘ตัวตน’ ของสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของฝรั่งเศสคนปัจจุบันที่ชัดเจนมาก และยิ่งชัดเจนขึ้น เมื่อเธอแต่งกายด้วยแบรนด์ฝรั่งเศสแบบไม่เว้นที่ว่างให้แบรนด์สัญชาติอื่น เธอทำให้หลายคนแปลกใจ เพราะพีโค้ทสีฟ้าที่เรียบแท่นั้นคือหลุยส์ วิตตอง อันเป็นอาภรณ์ซูเปอร์แบรนด์ที่แสนจะนำเทรนด์แฟชั่นบนแคทวอล์ค

จริงๆ แล้ว ผู้หญิงฝรั่งเศสที่เรียกว่า ‘Bon Chic Bon Genre’ (เก๋แบบมีภูมิปัญญา) มักจะเลือกใช้ของคุณภาพดีมีแบรนด์ แต่เลือกจากแบรนด์ที่ไม่เป็นเทรนด์แฟชั่นจนเกินไป ประมาณว่า พ้นฤดูกาลแฟชั่นมาหลายซีซั่นแล้ว ก็ยังนำมาสวมใส่ได้ จึงไม่แปลกใจที่ตอนนี้แบรนด์ฝรั่งเศสต่างๆ หันกลับมาจับแทรนด์ที่เป็นผู้หญิงฝรั่งเศสแท้ๆ แต่งตัวเป็นสาวปารีเซียงจริงๆ ที่เราพบเห็นตามท้องถนน อย่างเช่น เดินลากตระกร้ามีลูกล้อไปจ่ายตลาดนัดตามย่านต่างๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังดูเก๋ พวกเธอจะไม่สวมรองเท้าส้นสูงเดินตามถนนปารีสแน่ๆ เพราะถนนปูด้วยหิน เว้นแต่ต้องไปงานอย่างเป็นทางการเท่านั้น

บริจิตต์ ทรอนเยอซ์ จึงไม่ใช่สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งที่จะเป็นผู้นำเทรนด์แฟชั่น แต่เป็นผู้นำสไตล์ เธอคือผู้หญิงฝรั่งเศสที่ทำให้เราเชื่อตามคำโปรยบนปกหนังสือประเภทที่ว่า ‘ผู้หญิงฝรั่งเศสทำไมไม่อ้วน’ ‘แต่งตัวอย่างไรให้เก๋เป็นสาวปารีเซียง’ และสารพัดหนังสือ how to ทั้งหลายที่อิงกับความเป็นผู้หญิงฝรั่งเศสในอุดมคติ เพราะภาพทั้งหมดล้วนอยู่ในตัวของเธอ

ที่แน่ๆ เธอทำให้คนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนาน มีความเชื่อมั่นว่าชีวิตไม่ได้หยุดที่ตัวเลข 50 หรือ 60 แต่ยังสนุกกับชีวิตและการแต่งตัวได้ ทว่าต้องมีความขบถนิดๆ และอย่ายึดติดกับคำว่า-คนวัยนี้ไม่ควรทำ เอาเข้าจริง ส.ว.ไม่ได้หมายถึงสูงวัย แต่อาจหมายถึง-สวยโว้ย ก็ได้ เพียงแต่จะทำให้ชีวิตมีความสนุกสนานและสีสันแบบที่ใจอยากจะทำเท่านั้น

 

ก้าวข้ามกรอบที่เคยขีดให้ตัวเอง แล้วจะรู้ว่านอกกรอบอาจจะมีอะไรสวยงามกว่าที่คิดเยอะเชียว

นี่คือสิ่งที่มาดามแพรสซิดองต์บอกเราไว้ในการแต่งกายของเธอ!

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save