fbpx
มารู้จักกับ ‘ห้องแล็บขนมปัง’ กันเถอะ

มารู้จักกับ ‘ห้องแล็บขนมปัง’ กันเถอะ

คำว่า ‘ห้องแล็บขนมปัง’ หรือ Bread Lab ในที่นี้ ไม่ใช่ชื่อร้านขายขนมปังเก๋ๆ ที่ไหน แต่มันคือห้องแล็บที่เป็นห้องปฏิบัติการจริงๆ ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน หรือ The Washington State University ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อทำงานด้านขนมปังกันโดยเฉพาะ!

 

เราก็สงสัยเหมือนคุณนั่นแหละ ว่าเอ๊ะ! ทำงานด้านขนมปังนี่มันยังไงกันนะ จริงๆ แล้ว Bread Lab ทำทุกอย่างที่เกี่ยวกับขนมปังเลย คือเขาจะทำงานเพื่อ ‘ให้ความรู้’ แก่สาธารณชนว่าด้วยเรื่องขนมปัง ตั้งแต่เมล็ดธัญพืชที่ใช้ในการทำขนมปัง การเพาะปลูก ชีวิตของชาวไร่ชาวนาที่ปลูกธัญพืชชนิดต่างๆ ไล่มาจนถึงวิธีการทำขนมปัง ไปจนถึงผู้บริโภคในขั้นตอนสุดท้าย ว่าจะเข้าถึงและเลือกซื้อขนมปังที่มีคุณภาพดีได้อย่างไรบ้าง

Bread Lab เปิดตัวในปี 2011 โดยอาจารย์ชื่อสตีเฟน โจนส์ (Stephen Jones) ตอนแรกก็เป็นแค่ห้องแล็บเล็กๆ อยู่ในศูนย์วิจัยเมาท์เวอร์นอนของมหาวิทยาลัยก่อน แต่ตอนนี้ Bread Lab มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร คือพันกว่าตารางเมตร ภายในมีทั้งห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จริงๆ รวมไปถึงครัวที่ใช้อบขนมปัง แล้วยังมีห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า Cytology Lab คือเป็นห้องปฏิบัติการที่เอาไว้ดูเรื่องโครงสร้างของขนมปังโดยเฉพาะ รวมไปถึงมีโรงเรียนสอนการอบขนมปังที่ชื่อ King Arthur Flour Baking School อีกต่างหาก และที่เจ๋งมากก็คือ ในปี 2017 นี้ Bread Lab กำลังจะเปิดห้องปฏิบัติการสีธัญพืช (Milling Lab) รวมไปถึงครัวจริงจังแบบมืออาชีพด้วย

อาจารย์สตีเฟน โจนส์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของ Bread Lab นี่ จริงๆ เป็นนักเพาะพันธุ์ข้าววีต เขาจบด้านพันธุศาสตร์มา เลยตั้งใจจะสร้าง Bread Lab ให้เป็นศูนย์รวมของทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักอบขนมปัง เกษตรกรชาวไร่ชาวนา รวมไปถึงการเอาธัญพืชไปทำเป็นเหล้าต่างๆ จึงมีทั้งนักปลูกมอลต์ (มอลต์คือต้นวีตที่เพิ่งงอก) นักปรุงเบียร์ นักกลั่นเหล้า รวมไปถึงนักสีธัญพืช ที่จะมารวมตัวกันสร้างสรรค์ทั้งขนมปัง ธัญพืชอย่างวีตหรือบาร์เลย์ที่คุณภาพดี

นี่คือการรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต โดยเอามาไว้ในมหาวิทยาลัยกันเลยทีเดียว

คูล!

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save