fbpx Skip to content
The101 Logo

The 101 World

  • World
    • Global Affairs
    • Trends
    • China
    • US
    • Asia
    • Europe
    • Latin America
    • Africa
    • Asean
  • Politics
    • Thai Politics
    • Law
    • Social Movement
    • Public Policy
  • Economy
    • Economic Focus
    • Political Economy
    • Business
  • Life & Culture
    • People
    • City
    • Books
    • Film & Music
    • Lifestyle
    • Art & Design
    • Science & Innovation
    • Health
    • Human & Society
    • Gender & Sexuality
  • Social Issues
    • Education
    • Justice & Human Rights
    • Anti-Corruption
    • Sustainability
    • Social Problems
  • Interviews
  • Documentary
  • •••
    • Media
    • Spotlights
  • Media
    • Talk Programmes
    • Videos
    • Podcast
    • Visual & Infographics
  • Spotlights
    • Happy Family
    • Democracy
    • Education Spotlights
    • Issue Of The Age
    • 101’s Pick
    • MODE
    • ก ก ก
Member
  • World
  • Politics
  • Economy
  • Social Issues
  • Life & Culture
  • Interviews
  • Media
  • Spotlights
  • MODE
  • ก ก ก
เวลาว่างและการนอน : วัฒนธรรมการพักผ่อนในโลกทุนนิยม กับ ปรีดี หงษ์สต้น

เวลาว่างและการนอน : วัฒนธรรมการพักผ่อนในโลกทุนนิยม กับ ปรีดี หงษ์สต้น

กองบรรณาธิการ 26 Jul 20189 Apr 2021 Life & Culture / Human & Society, Interviews
READ
LATER
10KREAD

วรัญญา บูรณากาญจน์ เรื่อง

ชลธร วงศ์รัศมี ภาพ

คำว่า ‘เวลาว่าง’ กับ ‘การพักผ่อน’ มักมาด้วยกันราวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  แต่แปลกที่เวลาเราถามใครๆ ว่าใช้เวลาว่างทำอะไร หลายคนอาจบอกว่าอ่านหนังสือ ฟังเพลง เล่นกีฬา ฯลฯ

แน่นอน บางคนอาจบอกว่าใช้เวลาว่างไปกับการนอน แต่เมื่อเราพูดเช่นนั้น คนฟังอาจมองว่าเราเป็นคนขี้เกียจ หรือถามกลับว่าทำไมไม่เอาเวลาว่างไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์ล่ะ

‘การนอน’ ถูกมองว่าเป็นกิจกรรมสำหรับคนขี้เกียจ และหลายคนก็คาดหวังว่า ‘การใช้เวลาว่าง’ ก็ควรใช้อย่างมีประโยชน์

ค่านิยมการใช้เวลาทุกนาทีอย่างมีประโยชน์ เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เกี่ยวข้องกับโลกทุนนิยมอย่างไร และค่านิยมเหล่านี้ในไทยกับในโลกตะวันตก แตกต่างกันหรือไม่

101 ชวน อ.ดร.ปรีดี หงษ์สต้น จากสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้มีความสนใจใน ‘วัฒนธรรมเวลาว่างของสยาม’ มาช่วยคลี่คลายคำถามนี้

ปรีดี หงษ์สต้น

อาจารย์เริ่มสนใจเรื่อง ‘เวลาว่าง’ ได้อย่างไร

ตอนแรกผมสนใจเวลาว่างแบบที่ทุกคนสนใจ ‘เวลาว่าง’ ที่หมายถึงเวลาสนุกๆ เพลินๆ แต่สุดท้ายแล้วคำว่าเวลาว่างกลายเป็นคำที่มีนัยยะทางการเมืองมากกว่าที่เราคิด เรียกได้ว่าอาจมีนัยยะทางการเมืองมากที่สุดในพจนานุกรม

เวลาว่างในภาษาอังกฤษคือ ‘leisure’ มีการศึกษาว่ารากศัพท์คำนี้มาจากคำภาษาฝรั่งเศสโบราณที่แปลได้ว่า ‘ได้รับอนุญาต’ (to be allowed) ผมว่าน่าสนใจ ทำไมการใช้เวลาว่างต้องได้รับอนุญาต พอพูดถึงคำว่าอนุญาต ก็ต้องมีผู้มีอำนาจมาอนุญาตเรา พอมีเรื่องอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้องก็กลายเป็นเรื่องใหญ่แล้ว แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้

หัวใจของการเข้าใจเรื่องเวลาว่าง คือเข้าใจระบบทุนนิยม เพราะมีทุนนิยมถึงมีเวลาว่าง ทุนนิยมโดยหลักคือความสัมพันธ์ทางการผลิต ที่ไม่ใช่แค่เรื่องการเมืองเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องของวัฒนธรรมด้วย ดังนั้นเมื่อผมสนใจทุนนิยม จึงสนใจเรื่องเวลาว่างด้วย

การปลูกฝังให้เราใช้เวลาอย่างเคร่งครัดเริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่

หลักๆ เริ่มจากสถาบันศาสนากับการศึกษา ผมคิดว่าเป็นทุกศาสนา ในด้านหนึ่งศาสนาช่วยปลดปล่อย แต่อีกด้านก็ยึดเราไว้จนไปไหนไม่ได้ คำว่าใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเถรวาทไทย ที่ยึดเราไว้อยู่กับอะไรบางอย่าง

ประโยคว่า ‘ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์’ มีอยู่ใน ธรรมจริยา ตำราเรียนซึ่งเขียนโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี มีคำสอนว่า เราจะทำตนอย่างไรให้เป็นผู้ที่มีประโยชน์ เป็นผู้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีบทหนึ่งยกคำพูดปราชญ์ตะวันตกที่กล่าวว่า ต้องใช้ทุกวินาทีให้มีค่า นั่งรอรถเมล์ก็ต้องอ่านหนังสือ นี่คือการปลูกฝังที่สำคัญ

ในวงการการศึกษา อย่างน้อยตั้งแต่การตั้งกระทรวงธรรมการ ใน พ.ศ. 2435  เจ้ากระทรวงธรรมการอย่างเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี และเจ้ากระทรวงคนอื่นๆ ล้วนช่วยปลูกฝังเรื่องนี้ต่อมา ผมคิดว่าในด้านหนึ่ง การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ก็มีประโยชน์ แต่อีกด้านหนึ่งก็ทำให้เราไม่คิดต่อ ไม่สามารถลุกขึ้นมาตั้งคำถามได้ และระบบการศึกษาเป็นส่วนสำคัญมากในการจัดการจังหวะชีวิตให้เข้าสู่ระบบทุนนิยม ผลคือมีคนส่วนหนึ่งจัดจังหวะชีวิตให้สอดคล้องกับทุนนิยมได้ และประสบความสำเร็จ  ขณะเดียวกันก็มีคนที่ปรับตัวกับระบบนี้ไม่เก่งถูกละทิ้งไป กลายเป็นคนขี้เกียจ ไม่มีวิริยะอุตสาหะ ทั้งที่คนเหล่านี้ไม่ได้ทำงานน้อยไปกว่าใคร

คำว่า ‘วิริยะอุตสาหะ’ มีในหนังสือเรียนมานานแค่ไหนแล้ว

ผมไม่แน่ใจทีเดียว แต่ก็ปรากฏอยู่ประปราย เช่นใน ธรรมจริยา เล่มที่ 5 ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ยกตัวอย่างถึงชนเผ่าหนึ่งในอาฟริกาที่ป่าเถื่อนและไม่ได้รับการศึกษา ไม่รู้หนังสือ อยู่ในป่าดง ไม่มีบ้านเรือน ไม่ใส่เสื้อผ้า พวกเขาดูเหมือนว่าจะไม่มีความเจริญ เกียจคร้าน และไม่ได้ทำงานมากไปกว่าการหากินไปวันๆ นี่เป็นตัวอย่างเรื่องความขี้เกียจ และมีตัวอย่างความเพียร ความขยัน เช่น การระบุถึงการใช้เวลาว่างให้มีค่าและเป็นประโยชน์ว่าเป็น ‘คุณธรรม’ อย่างหนึ่ง แต่เราไม่เคยคิดว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องการเมือง

ทำไมเราถึงต้องใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

นี่เป็นสิ่งที่ผมสงสัยเหมือนกัน ผมคิดว่าเมื่อ ‘เวลาว่างแบบทุนนิยม’ กำเนิดขึ้นมาในสังคมไทย มันมีคำสร้อยโดยไม่ต้องเขียน นั่นคือ การใช้เวลาว่าง ‘ให้เป็นประโยชน์’ สูบกัญชาเป็นเวลาว่างไหม ก็ใช่ แต่ไม่มีใครไปตอบคำถามออกทีวี ว่าเวลาว่างของผมคือสูบกัญชาครับ ทำไม่ได้ เวลาว่างต้องเป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เตะฟุตบอล ซึ่งเป็นฐานวิธีคิดที่ถูกกำหนดจากพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งพุทธศาสนาแบบเถรวาทสนับสนุนทุนนิยมอีกต่อหนึ่ง

ปรีดี หงษ์สต้น

‘เวลาว่างแบบทุนนิยม’ ที่อาจารย์กล่าวถึง เริ่มต้นในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่

การเกิดความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยมในสังคมไทย เริ่มตั้งแต่ประมาณปลายรัชกาลที่ 3 หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา เรื่องทุนนิยมเป็นระบบการจัดการของคนตั้งแต่ตื่นนอนจนกลับไปนอน เราเริ่มใช้เวลาตาม ‘นาฬิกากล’ หรือระบบเวลาแบบ 1 วันมี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงมี 60 นาที ในช่วงนี้ อย่างน้อยๆ ก็ในส่วนของสังคม ที่ไปสัมพันธ์กับการค้าทางไกล โดยมีทุนนิยมโลกที่อังกฤษเป็นศูนย์กลาง

ทุนนิยมเป็นความสัมพันธ์ทางการผลิตที่วางอยู่บนของแข็ง ไม่ใช่ของอ่อน ซึ่งของอ่อนในที่นี้คือความคิด ในแง่นี้ผมอาจไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการบางท่านซึ่งได้รับอิทธิพลจาก ‘Cultural Turn’ บอกว่าความคิดต้องเปลี่ยนก่อน การกระทำจึงจะเปลี่ยน ผมคิดว่าต้องมีวัตถุเป็นตัวตั้งก่อน การศึกษาวัตถุนิยมประวัติศาสตร์จึงสำคัญมาก เราอาจไม่รู้แน่ชัดว่าความคิดคนเปลี่ยนเมื่อไหร่ แต่เมื่อวัตถุอย่างนาฬิกากลรวมไปถึงปฏิทินเกรเกอเรียนที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันเริ่มเข้ามา เราถึงได้เห็นว่ามีเวลาว่างเกิดขึ้น

การมาถึงของวัตถุอย่างนาฬิกากล รวมถึงปฏิทิน ส่งผลต่อสังคมไทยอย่างไรบ้าง

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ท่าเทียบเรือจะมีหอนาฬิกา เวลาเรือส่งของเข้ามาเทียบท่า คนบนเรือจะปรับนาฬิกาให้ตรงปลายทาง เหมือนการปรับเวลาแบบเก้าอี้ดนตรี เป็นกระบวนการที่คล้ายกับกิจกรรมเข้าจังหวะ แต่เป็นกิจกรรมเข้าจังหวะเชิงอำนาจ ระบบทุนนิยมตะวันตกที่เดินทางเข้ามาส่งผลให้สังคมสยามต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่ระบบทุนนิยมแบบนี้

ในสังคมสยามมีระบบเวลาเป็นของตัวเองมาก่อนหน้านี้ อย่างอยุธยาเราจะมีระบบเวลาแบบอินเดียโบราณ เป็นระบบนาฬิกาน้ำ คำว่านาฬิกามาจากภาษาบาลีสันสกฤตว่า ‘นาฬิเกร์’ แปลว่ากะลา นาฬิกาน้ำคือการเอากะลามะพร้าวที่ผ่าครึ่งแล้วมาบากด้านในให้เป็นขีด เจาะรูตรงกลางแล้ววางลงในน้ำ พอจมถึงขีดที่บากไว้ก็ใช้ดูเวลาได้

มีเกร็ดประวัติศาสตร์ที่มีผู้เล่าเอาไว้ จริงเท็จอย่างไรยังถกเถียงไม่สิ้นสุดนะครับ ว่าพอนาฬิกาน้ำจมลงหนึ่งขีด เจ้าพนักงานอารักษ์ที่ดูเวลาอยู่จะตีฆ้องและกลอง เวลาตีจะมีสองคน สองตำแหน่งคือ ‘พันทิวาทิตย์’ กับ ‘พันพินิจจันทรา’ พันทิวาทิตย์ดูเวลาตอนกลางวัน พันพินิจจันทราดูเวลาตอนกลางคืน พันทิวาทิตย์บอกเวลาด้วยการตีฆ้อง ส่วนพันพินิจจันทราบอกเวลาตอนกลางคืนด้วยการตีกลอง การตีฆ้องทำให้ได้เสียง ‘โมง’ ส่วนการตีกลองทำให้ได้เสียง ‘ทุ่ม’

หลายครั้งเราเข้าใจว่าระบบข้างนอกเดินทางมาถึงแล้วทำให้ข้างในเปลี่ยน เกลี่ยข้างในเป็นของตะวันตก แต่ข้อเสนอของผมคือ จริงๆ ระบบข้างในสยามต่างหากที่เสริมให้ระบบข้างนอกทำงานได้ การจัดการเวลาในสยามไม่ได้แตกหักหรือแตกต่างจากตะวันตกมากนัก แต่ไม่ได้เหมือนเสียทีเดียว เช่น การคำนวณเวลาฤกษ์งามยามดี

แต่เดิมเราคำนวณฤกษ์ด้วยวิธีที่เรียกว่า ‘สุริยยาตร’ ซึ่งเป็นการดูฤกษ์ผสมระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เมื่อสยามเปลี่ยนมาใช้ระบบเวลาแบบตะวันตก เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 4 การประกาศราชกิจจานุเบกษา เรายังคงเลือกฤกษ์ตามสุริยยาตร แต่ใช้วิธีบอกเป็น 6 โมง 39 นาที กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นประมาณปลายรัชกาลที่ 3 ถึงต้นรัชกาลที่ 4 ผมคิดว่านี่คือจุดตั้งต้นของวิธีคิดเรื่องการแบ่งเวลาที่สำคัญที่สุด ที่ต่อมาจะเป็นวิธีการกำหนดชีวิตสังคมของชาวสยามในเวลาต่อมา

ก่อนหน้าระบบเวลาแบบนาฬิกากลเข้ามา คนสยามมีวิธีคิดเรื่องเวลาว่างเป็นอย่างไร

เวลาว่างมีอยู่ก่อนหน้านี้แน่ ในแง่ที่ว่าคนรู้ว่าตนเองทำกิจกรรมที่ต่างออกไปจากงาน ก่อนหน้านี้มีวิธีคิดที่ว่าฉันไปทำงาน เช่นไปทำนา หลังทำนาเสร็จฉันจะทำอะไร ฯลฯ แต่ที่สำคัญ นี่เป็นวิธีคิดที่แตกต่างจากเวลาว่างที่ถูกกำหนดโดยนาฬิกากล หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น ‘เวลาว่างก่อนทุนนิยม’ แต่เมื่อมีความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยม ในที่สุดเวลาว่างจะไม่มีทางแยกขาดออกจากเวลางานอีกต่อไป กล่าวให้ถึงที่สุดคือ มีทุนนิยมจึงมีเวลาว่าง

วิธีคิดเรื่องเวลาในช่วงนี้เปลี่ยนไปอย่างไร

ทุนนิยมเปลี่ยนสถานะของชาวนาชาวไร่หรือราษฏรมาเป็นผู้ผลิต และค่อยๆ เปลี่ยนการใช้ชีวิตตัวเองเข้าสู่ระบบทุนนิยม เริ่มมีการทำงานเพื่อเสียภาษีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งก่อตัวมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ระบบไพร่เปลี่ยนแปลง บทบาทของผู้หญิงในครัวเรือนเปลี่ยน ถึงแม้ว่าเปลี่ยนช้า แต่ค่อยๆ เปลี่ยนอย่างมีนัยยะสำคัญ

ในระบบทุนนิยม ไพร่ต้องทำงานที่เรียกว่า ‘เข้าเดือน’ และผู้หญิงเลี้ยงลูก แม้ว่าเราอาจเรียกว่าปลดปล่อยได้ลำบาก แต่เรามองเห็นว่าคนเหล่านี้ค่อยๆ เริ่มขยับตัวเองไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยม เช่น ได้รับการศึกษา ถึงแม้ว่าจะช้ามาก แต่ก็ได้รับ

การเปลี่ยนตัวเองไปสู่บทบาทที่มากกว่าการอยู่แค่ในบ้านของผู้หญิง ทำให้รูปแบบครอบครัวเปลี่ยนไป ครอบครัวมีขนาดเล็กลง ลูกหลานเริ่มเข้าเมืองมากขึ้น เริ่มมีการศึกษา ครอบครัวต้องเล็กลงเพราะว่าคนต้องเป็นหน่วยที่ขยับได้เร็วขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาของทุนนิยม

แน่นอนว่าคนเหล่านี้ต้องทำงานและใช้ชีวิตจังหวะเวลาแบบนาฬิกากล ใช้เวลาว่างไปในทิศทางเดียวกับที่ทุนนิยมต้องการ เช่น ปกติคุณตื่นตี 4 มาทำนาเพราะว่าอากาศเย็นกว่าตอนกลางวัน แต่คุณจะไปส่งไปรษณีย์ต่อตอนตี 5 ไม่ได้ คุณต้องไปตามระบบราชการ ต้องไปตอน 9.00 น. หรือคุณจะนั่งรถไฟจากโคราชไปกรุงเทพ รถไฟออกเวลา 8.35 น. คุณจะไปตอน 10.00 น. ไม่ได้เพราะรถไฟไปแล้ว คุณจะไป 7.00 น. ก็ไปได้ แต่ต้องไปรอ จังหวะเวลาคุณต้องเปลี่ยน วิธีคิดคุณต้องเปลี่ยน หรือต้องพยายามทำความเข้าใจว่ามีวิธีการหรือจังหวะอีกอย่างที่ต้องเรียนรู้

แต่กระบวนการเช่นนี้ไม่ได้เป็นกระบวนการทางเดียว อย่างที่ผมบอกเรื่องรถไฟ คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยเล่าให้ฟังว่า หากคุณเป็นเจ้าเมือง หรือมีเงิน เป็นพ่อค้า คหบดี คุณสามารถบอกว่ารถไฟรอก่อน เดี๋ยวขอขนของขึ้นรถก่อน เขาก็รอ ในสังคมไทยจะมีลักษณะแบบนี้คือ เวลารอเราได้ ถ้าเรามีเงินมากพอ บางคนสามารถให้คนรอได้ตลอด

ปรีดี หงษ์สต้น

ถ้าเป็นอย่างนี้ เราสามารถพูดได้ไหมว่า เวลาว่างของคนที่มีเงิน มีอำนาจ หรือเป็นชนชั้นสูง กระทั่งในประเทศไทยสมัยก่อน มีมากกว่าชนชั้นแรงงาน หรือชาวนาชาวไร่

ถูกต้อง มีเวลาว่างมากกว่าในความหมายที่ว่าเป็นคนกำหนดเวลาว่างด้วยซ้ำ สามารถกำหนดเวลาว่างให้ชาวนา ที่ต่อไป จะกลายเป็นกระฎุมพี และเป็นข้าราชการ

กลไกการกำหนดเวลาว่างของชนชั้นนำที่ว่ามา มีกระบวนการอย่างไร

ถ้าถามผม ผมคิดว่าเป็นกระบวนการแบบวิภาษวิธีครับ คำสั่งของผู้มีอำนาจไม่สามารถใช้บังคับคนได้ตลอดอยู่แล้ว ถ้าบังคับมากๆ คนจะหนีไปที่อื่น แต่เป็นการค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ในที่สุดแล้ว ไม่ต้องบังคับคนก็ทำ แถมยังช่วยดูช่วยสอดส่องคนอื่นๆ ในสังคมด้วยกันเองแทนผู้มีอำนาจด้วยซ้ำ ว่าคนอื่นใช้เวลาว่างทำอะไร

ในระบบทุนนิยม การนอนถือเป็นการใช้เวลาว่างไหม

ผมคิดว่ามีหลายมิติ การนอนถือเป็นเป็นเวลาว่างไหม อาจตอบไม่ได้ชัดเจน แต่การนอนหนีไม่พ้นระบบทุนนิยมแน่นอน อย่างสหรัฐอเมริกามีการสั่งยานอนหลับและยาคลายเครียดมหาศาลในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา การเติบโตของบริษัทยาทั่วโลก อุตสาหกรรมยาและการแพทย์ทำให้คุณต้องพิถีพิถันเรื่องการนอนเป็นพิเศษ ถ้าคุณนอนไม่หลับคุณต้องไปหายามากินเพื่อให้นอนหลับ คุณตอบสนองต่อระบบทุนนิยมทั้งการตื่นและการนอน อย่างที่นักสังคมวิทยา Theodor W. Adorno บอกคือ เวลาว่างจะกลายเป็นส่วนต่อขยายของเวลางานไปโดยสมบูรณ์

ดังนั้นเราต้องพยายามที่จะหาเวลาว่างจริงๆ ให้ได้ เพราะทุนนิยมไม่สามารถให้เวลาว่างจริงๆ แก่ชีวิตมนุษย์ได้ เราไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามหลักสิทธิแรงงานที่กำหนดให้คนเราต้องได้พักผ่อน 8 ชั่วโมง พัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง 8 ชั่วโมง ทำงาน 8 ชั่วโมง อย่างที่สหภาพแรงงานในหลายแห่งต่อสู้มาในสมัยก่อน

สำหรับผม การที่คุณจะสามารถมีเวลาว่างที่เรียกว่าเวลาว่างจริงๆ ได้ ต้องไม่เพียงแค่ปราศจากทุนนิยม แต่ต้องปราศจากศาสนาด้วยซ้ำไป

ศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการนอนได้อย่างไร

เรื่องการนอนเกี่ยวข้องกับศาสนาครับ อะไรก็ตามที่ทำให้คุณเสียการตระหนักรับรู้ (Consciousness) หรือเสียจิตที่มั่นตรงต่อพระเจ้า ถือเป็นบาปหมด ตั้งแต่การนอน การขี้เกียจ รวมถึงการมีความคิดเรื่องเพศ หรือเอาเฉพาะแค่พวกคาลวิน (Calvinism : นิกายหนึ่งของศาสนาคริสต์ที่แยกออกมาจากโปรเตสแตนท์) ก็เชื่อว่าการทำงานเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าสู่พระเจ้าได้โดยตรง

ศาสนาพุทธใช้หลักคิดนี้ด้วยหรือเปล่า

ผมคิดว่าน่าสนใจ แต่ผมยังไม่แน่ใจ ผมคิดว่าพุทธหันไปพูดแบบนี้ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ถามว่ามันเป็นของพุทธแต่ต้นไหม ผมไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตามพอมาถึงช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ถือว่าพูดแล้ว ถ้าคุณใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์ จะกลายเป็นอบายมุข กล่าวคือคุณไม่ควรใช้เวลาว่างไปกับอบายมุข

แต่การใช้เวลาว่างในยุคนั้น ก็ปรากฏว่ามีการใช้เวลาว่างไปกับอบายมุข เช่น บ่อน โรงฝิ่น โรงโสเภณี

แต่ในที่สุดอบายมุขเหล่านั้นโผล่ขึ้นมาอยู่ข้างหน้าไม่ได้ เพราะมันอายโลกเขา ยกตัวอย่างสมัยจอมพลสฤษดิ์ ถึงกับห้ามว่าโสเภณีอย่าขายบริการให้เห็นโจ่งแจ้ง ก็เข้าไปข้างในอาคารแทน

หลังๆ มาผมเพิ่งเห็นว่าไวยากรณ์เรื่องการใช้เวลาว่างเป็นบาป เข้ามาอยู่กับสังคมสยามในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน อะไรก็ตามที่คุณกระทำในเวลาว่างโดยไม่ตอบสนองหรือไม่สงเสริมกับเวลางาน มักจะกลายเป็นเรื่องบาปหรือเรื่องไม่ดี ซึ่งไม่แบ่งแล้วว่ามาจากพุทธหรือคริสต์ แต่ทั้งหมดทั้งมวลเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อระบบทุนนิยม ให้ทุนนิยมทำงานได้

หลังจากนั้นมา ช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในหนังสือเค้าโครงการเศรษฐกิจ  (สมุดปกเหลือง) มีการพยายามจัดการเรื่องเวลาของชาวนา ว่าระหว่างที่ไม่ได้อยู่หน้านา จะมีงานอะไรให้ทำได้ตลอดรอบปี ในสหรัฐอเมริกาเองมีการเสนอวิธีคิดเรื่องการจัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เรียกว่า ‘Talylorism’ ซึ่งเป็นที่ชื่นชมของบอลเชวิค เพราะฉะนั้นผมไม่คิดว่ามีที่ไหนรอด แม้ทุนนิยมจะทำให้ Elon Musk พาคนรวยไปอยู่ดาวอังคารหรือดาวเสาร์ได้ แต่อยู่ไปสักพัก จะต้องไปจัดการเวลาที่นั่นกันต่อ

ปรีดี หงษ์สต้น

พอเรามีคติเกี่ยวกับเวลาว่างอย่างนี้ ส่งผลอย่างไรกับเวลานอนของคนยุคนี้บ้าง

แน่นอนครับ สำหรับคนยุคนี้ถ้าจำเป็นต้องต่อสู้เพื่ออะไร ผมว่าคือการต่อสู้เพื่อให้ได้เวลาว่าง ถ้าเรามองเวลาในฐานะทรัพย์สิน จะเป็นความคิดที่ทำร้ายเราเยอะมาก เช่น ‘เสียเวลาจะทำไปทำไม’ ในทุกสังคมจะมีคำสอน สุภาษิตเหล่านี้ ที่บอกว่าชีวิตคุณมีเวลาน้อยแสนน้อย คุณต้องใช้ให้ ‘คุ้ม’ มากที่สุด หรือคุณจะได้ยินจากโฆษณาที่ยุคุณให้ออกไปดูโลก ออกไปใช้ชีวิตโดยการไปเที่ยวต่างประเทศ ถ้าคุณไปถามชาวนาชาวไร่ที่เขาไม่มีเงิน เขาไม่รู้จะไปได้อย่างไร เพราะประสบการณ์แบบนี้ต้องใช้เงิน

เมื่อเวลาที่เป็นเวลาว่างถูกทำให้กลายเป็นสินค้า ระบบความสัมพันธ์ทั้งหมดของเวลาว่างกับเวลางาน จึงตกอยู่ภายใต้ระบบความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยมโดยดุษฎี

มีวัฒนธรรมแบบไหน หรืออะไรที่ส่งผลให้คนมีเวลาว่างเพิ่มขึ้นไหม ทั้งในประเทศไทยหรือต่างประเทศ

ผมคิดว่าเป็นสหภาพแรงงาน รวมถึงการเรียกร้องสิทธิอื่นๆ เช่น ถ้าคุณมีลูก คุณสามารถลางานแล้วได้เงินเดือนขณะลาเลี้ยงลูก 3 – 6 เดือน ทั้งผู้ชายและผู้หญิง จริงๆ 3 เดือนยังน้อยไป ควรเป็น 6 เดือน – 1 ปี ได้ไหม สิทธิเหล่านี้สามารถทำให้เวลาว่างมาถึงเราได้

เราสรุปได้ไหมว่า การที่คนจะมีเวลาว่างมากขึ้นหรือน้อยลง จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบสังคมทั้งหมด

ใช่ครับ โลกที่ดีกว่าคือโลกที่ต้องมีเวลาว่างมากขึ้น และสิ่งนี้จะไปพ้องกับคำกล่าวที่ว่า โลกที่ดีกว่าคือโลกที่มีประชาธิปไตยมากขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น สำหรับผม โลกที่ดีกว่าคือโลกที่มีเวลาว่าง

 

เราจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อไปสู่โลกแบบนั้น

ถ้าตอบแบบที่ผมเล่ามา ก็คือปฏิวัติ อีกแบบคือเราต้องตะเกียกตะกายต่อสู้กันไปเรื่อยๆ อย่างน้อยเพื่อให้ได้มาซึ่งเวลาว่างรูปแบบต่างๆ เช่น สิทธิการลาคลอดบุตร การลาป่วย การได้สิทธิประโยชน์ของการเป็นคนทำงานทั้งหลาย ไม่ว่าคุณจะเป็นคนทำงานระดับไหน รวมทั้งการรักษาพยาบาล ขณะเดียวกันก็มีเวลาเหลือไปฟังดนตรีบ้าง ไปดูแกลเลอรีบ้าง ไปชื่นชมสิ่งต่างๆ ในชีวิตที่ไม่จำเป็นกับงานของเรา

มนุษย์ต้องมีสิ่งเหล่านี้ สำหรับผมเวลาว่างเป็นเรื่องสาธารณะ เวลาว่างต้องเป็นเรื่อง ‘ร่วมกัน’ ไม่ได้หมายความว่าต้องมาทำร่วมกัน แต่ทุกคนต้องมีร่วมกัน และต้องมีสิ่งนี้เท่าๆ กัน

อาจารย์คิดว่าอาจารย์มีเวลาว่างไหม

ไม่มีเลยครับ อยากมีมาก

หมายเหตุ : ติดตามอ่านเรื่องราวเนื่องด้วยการนอนไม่หลับและนอนน้อย ทั้งโรคนอนไม่หลับในทางการแพทย์ เปิดประสบการณ์หลากหลายของผู้มีอาการนอนไม่หลับ และผลกระทบจากการนอนน้อยที่มีต่อเศรษฐกิจ ได้ที่

 นอนไม่หลับ : โรคแห่งยุคสมัยในมุมมองแพทย์และนักจิตวิทยา

 โลกของคนนอนไม่หลับ

 ‘สังคมนอนน้อย’ ในมิติเศรษฐกิจ กับเทรนด์ธุรกิจเปิด 24 ชั่วโมง

Related Posts

  • กราฟิกดีไซเนอร์ กับ สกิลพิเศษ

    หลายคนอาจคิดว่า ‘กราฟิกดีไซน์เนอร์’ เป็นงานที่โดดเดี่ยว หรือต้องหมกมุ่นกับตัวเองเป็นส่วนใหญ่ แต่หารู้ไม่ว่า บรรดากราฟิกดีไซเนอร์ทั้งหลาย ล้วนต้องมี ‘สกิลพิเศษ’ ที่ช่วยให้งาน ‘ผ่าน’ ได้ง่ายขึ้น สกิลที่ว่านั้นคืออะไร ไปติดตามได้ในการ์ตูนแก๊กตอนใหม่ จาก ‘หัวนุ่ม’

  • ปรีดี พนมยงค์ กับภาพยนตร์แสนเฉิ่มเชยของเขา

    ท่ามกลางงานเขียนแสนจริงจังของปรีดี พนมยงค์ - ภาพยนตร์เรื่องแรกและเรื่องเดียว ซึ่งปรีดีเขียนบทและอำนวยการสร้าง อย่าง ‘พระเจ้าช้างเผือก’ คืองานการเมืองเชิงวัฒนธรรมที่สะท้อนแนวคิดและความเชื่อด้านสันติวิธีของเขาได้อย่างชัดเจนที่สุด

  • ทำไมไม่แบนพาราควอต ตีแผ่ทุกเบื้องหลัง กับ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ

    เผยเบื้องลึกเกี่ยวกับพาราควอต เปิดเอกสารประกอบการตัดสินใจ 'ไม่แบน' ที่รัฐไม่เปิดเผยให้ใครได้อ่าน และเหตุผลที่สารเคมีร้ายแรงจำนวนมากยังอยู่คู่กับสังคมไทย กับ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย)

  • ปรีดี พนมยงค์ กับธนาคารชาติ

    รู้หรือไม่ว่า ปรีดี พนมยงค์ คือผู้ริเริ่มวางรากฐานธนาคารชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม จะเปิดบันทึกประวัติศาสตร์เล่าให้คุณอ่านกัน

  • 101 One-On-One Ep38 “มหาวิทยาลัยอนาคต” กับ พิภพ อุดร

    :: LIVE :: “มหาวิทยาลัยอนาคต” - พิภพ อุดร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Business School) สนทนาเรื่องนวัตกรรมการศึกษาใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยไทย เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่พร้อมรับมือกับสารพัดความท้าทายในยุคดิจิทัล ทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยยังไม่ตาย…

  • 101 One-on-One ep23 “เราอ่านอะไรในการฟัง” กับ ธนพล เศตะพราหมณ์

    :: LIVE :: "เราอ่านอะไรในการฟัง" กับ ธนพล เศตะพราหมณ์ Music Director ของ Mahidol Wind Orchestra เป็นหัวหน้าภาควิชาการอำนวยเพลงที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล…

ปัญหาการนอน วัฒนธรรมการพักผ่อน วรัญญา บูรณากาญจน์ เวลาว่าง ปรีดี หงษ์สต้น

Print Friendly, PDF & EmailPrint
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

เรื่อง: กองบรรณาธิการ

RELATED POSTS

หัวนุ่ม

30 Apr 2018

กราฟิกดีไซเนอร์ กับ สกิลพิเศษ

หลายคนอาจคิดว่า ‘กราฟิกดีไซน์เนอร์’ เป็นงานที่โดดเดี่ยว หรือต้องหมกมุ่นกับตัวเองเป็นส่วนใหญ่

แต่หารู้ไม่ว่า บรรดากราฟิกดีไซเนอร์ทั้งหลาย ล้วนต้องมี ‘สกิลพิเศษ’ ที่ช่วยให้งาน ‘ผ่าน’ ได้ง่ายขึ้น

สกิลที่ว่านั้นคืออะไร ไปติดตามได้ในการ์ตูนแก๊กตอนใหม่ จาก ‘หัวนุ่ม’

วศิน ปฐมหยก

30 Apr 2018
ปรีดี พนมยงค์ กับภาพยนตร์แสนเฉิ่มเชยของเขา

Thai Politics

5 Jul 2017

ปรีดี พนมยงค์ กับภาพยนตร์แสนเฉิ่มเชยของเขา

ท่ามกลางงานเขียนแสนจริงจังของปรีดี พนมยงค์ – ภาพยนตร์เรื่องแรกและเรื่องเดียว
ซึ่งปรีดีเขียนบทและอำนวยการสร้าง อย่าง ‘พระเจ้าช้างเผือก’ คืองานการเมืองเชิงวัฒนธรรมที่สะท้อนแนวคิดและความเชื่อด้านสันติวิธีของเขาได้อย่างชัดเจนที่สุด

เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

5 Jul 2017
ทำไมไม่แบนพาราควอต ตีแผ่ทุกเบื้องหลัง กับ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ

Interviews

20 Jun 2018

ทำไมไม่แบนพาราควอต ตีแผ่ทุกเบื้องหลัง กับ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ

เผยเบื้องลึกเกี่ยวกับพาราควอต เปิดเอกสารประกอบการตัดสินใจ ‘ไม่แบน’ ที่รัฐไม่เปิดเผยให้ใครได้อ่าน และเหตุผลที่สารเคมีร้ายแรงจำนวนมากยังอยู่คู่กับสังคมไทย กับ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย)

กองบรรณาธิการ

20 Jun 2018
ปรีดี พนมยงค์ กับธนาคารชาติ

Economic Focus

28 Jun 2017

ปรีดี พนมยงค์ กับธนาคารชาติ

รู้หรือไม่ว่า ปรีดี พนมยงค์ คือผู้ริเริ่มวางรากฐานธนาคารชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม จะเปิดบันทึกประวัติศาสตร์เล่าให้คุณอ่านกัน

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม

28 Jun 2017
101 One-On-One Ep38 “มหาวิทยาลัยอนาคต” กับ พิภพ อุดร

Media

17 Jul 2018

101 One-On-One Ep38 “มหาวิทยาลัยอนาคต” กับ พิภพ อุดร

:: LIVE :: “มหาวิทยาลัยอนาคต” – พิภพ อุดร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Business School) สนทนาเรื่องนวัตกรรมการศึกษาใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยไทย เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่พร้อมรับมือกับสารพัดความท้าทายในยุคดิจิทัล ทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยยังไม่ตาย แต่ยังมีคุณค่าความหมายในโลกแห่งอนาคต

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม 2561 เวลาสองทุ่มตรง ทาง The101.world ดำเนินรายการโดย ธร ปีติดล

101 One-on-One

17 Jul 2018
101 One-on-One ep23 “เราอ่านอะไรในการฟัง” กับ ธนพล เศตะพราหมณ์

Talk Programmes

20 Mar 2018

101 One-on-One ep23 “เราอ่านอะไรในการฟัง” กับ ธนพล เศตะพราหมณ์

:: LIVE :: “เราอ่านอะไรในการฟัง” กับ ธนพล เศตะพราหมณ์ Music Director ของ Mahidol Wind Orchestra เป็นหัวหน้าภาควิชาการอำนวยเพลงที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล คุยกันว่าด้วยเรื่องการศึกษาดนตรีคลาสสิกในเมืองไทย กันสดๆ ใน 101 one-on-one EP23

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561 เวลาสองทุ่มตรง ทาง The101.world โตมร ศุขปรีชา ดำเนินรายการ

101 One-on-One

20 Mar 2018

MOST READ

ปรากฏการณ์จีนบุกไทย - ไชน่าทาวน์ใหม่ในกรุงเทพฯ
166KREAD

Interviews

3 Sep 2018

ปรากฏการณ์จีนบุกไทย – ไชน่าทาวน์ใหม่ในกรุงเทพฯ

คุยกับ ดร.ชาดา เตรียมวิทยา ว่าด้วยปรากฏการณ์ ‘จีนใหม่บุกไทย’ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการท่องเที่ยว แต่คือการเข้ามาลงหลักปักฐานระยะยาว พร้อมหาลู่ทางในการลงทุนด้านต่างๆ จากทรัพยากรของไทย

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

3 Sep 2018
ทรมานแสนสุขสม : เปิดโลก 'BDSM' รสนิยมทางเพศที่ตั้งต้นจากความยินยอมพร้อมใจ
79KREAD

Life & Culture

1 Feb 2019

ทรมานแสนสุขสม : เปิดโลก ‘BDSM’ รสนิยมทางเพศที่ตั้งต้นจากความยินยอมพร้อมใจ

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์ ชวนสำรวจรสนิยมทางเพศแบบ BDSM ผ่านการพูดคุยกับสองสาวเจ้าของเพจ Thailand BDSM : Let’s Play and Learn ว่าด้วยนิยาม รูปแบบ คำอธิบายของความสุขในความเจ็บปวด ไปจนถึงความเสี่ยงในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อตามหาผู้มีรสนิยมแบบเดียวกัน พร้อมเก็บบรรยากาศการแสดง ‘ชิบาริ’ โดยศิลปินชาวญี่ปุ่นมาเล่าสู่กันฟังอย่างถึงเนื้อถึงหนัง

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

1 Feb 2019
77KREAD

Life & Culture

8 Sep 2021

คนกระโปกแห่งยุคสมัย 199x ทำไมเด็กเจนวายไม่ยอมโต

คอลัมน์ PopCapture พิมพ์ชนก พุกสุข เขียนถึงสาเหตุสำคัญว่าเพราะอะไร ‘ชาวมิลเลนเนียลส์’ ถึงไม่อาจเติบโตได้อย่างที่ใจหวัง

พิมพ์ชนก พุกสุข

8 Sep 2021
The101 Logo
Facebook icon Twitter icon YouTube icon LINE icon
  • WORLD
    • Global Affairs
    • Trends
    • China
    • US
    • Asia
    • Europe
    • Latin America
    • Africa
    • ASEAN
  • POLITICS
    • Thai Politics
    • Law
    • Social Movement
    • Public Policy
  • ECONOMY
    • Economic Focus
    • Political Economy
    • Business
  • LIFE & CULTURE
    • People
    • City
    • Books
    • Film & Music
    • Lifestyle
    • Art & Design
    • Science & Innovation
    • Health
    • Human & Society
    • Gender & Sexuality
  • SOCIAL ISSUES
    • Education
    • Justice & Human Rights
    • Anti-Corruption
    • Sustainability
    • Social Problems
  • EDITOR’S NOTE
  • INTERVIEWS
  • DOCUMENTARY
  • MEDIA
    • Talk Programmes
    • Videos
    • Podcast
    • Visual & Infographics
  • SPOTLIGHTS
    • Happy Family
    • Democracy
    • Education Spotlight
    • Issue of the Age
  • PROJECTS
  • ABOUT
The101 Logo
บริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์ จำกัด
83/2 ซอยอารีย์สัมพันธ์ 1 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
Copyright © 2021 the 101 percent. All rights reserved.

พลังความรู้และความคิดสร้างสรรค์
เป็นฐานสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น

เต็มที่กับบทความและสื่อสร้างสรรค์ที่จัดมาให้แบบรู้ใจที่สุด

ระบบ Recommend จะคัดสรรบทความและสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ ที่คุณสนใจ มาให้คุณเลือกในหน้าโปรไฟล์ส่วนตัวของคุณ ให้คุณไม่พลาดทุกเนื้อหาที่คัดมาสำหรับคุณโดยเฉพาะ

บันทึกเนื้อหาไว้อ่านในภายหลัง

คุณสามารถบันทึกบทความแบบ Read Later โดยคลิกที่ปุ่ม Bookmark Icon หรือจะเก็บบทความที่ชื่นชอบเป็นการส่วนตัวไว้ในหมวด Favorite โดยคลิกที่ปุ่ม Favorite Icon เพื่อกลับมาอ่านในภายหลัง

อ่าน 101 ในแบบที่คุณชื่นชอบ

เพียงคุณลงชื่อเข้าใช้ ระบบจะจดจำตัวเลือกฟอนต์และธีมสีที่คุณเคยเลือก ให้คุณอ่านและรับชมทุกเนื้อหาอย่างเต็มที่ สบายตาและเพลิดเพลินใจในแบบที่เหมาะกับคุณ ไม่ว่าจะใช้งานบนคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ตโฟน

เข้าสู่ระบบด้วยอีเมล

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?

สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว

ลืมรหัสผ่าน

เข้าสู่ระบบ

หรือ

เข้าสู่ระบบด้วย

Continue with Facebook
Continue with Google

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Allow
Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save